การเปิดตัวสมาร์ทโฟนเรือธงในปีนี้ของ Huawei อย่างรุ่น Huawei P9 ได้สร้างความฮือฮาให้กับหลายฝ่ายอย่างมาก จากการประกาศว่าได้ร่วมพัฒนากล้องกับ Leica แบรนด์ผู้ผลิตกล้องชื่อดัง ถึงแม้จะมีข่าวออกมาภายหลังว่า Leica ไม่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและผลิตแต่อย่างใด แค่ช่วยรับรองโมดูลกล้องให้ก็ตาม แต่ถือว่า Huawei ได้สร้างความกระแสและชี้ให้เห็นถึงความพยายามจะยกมาตรฐานกล้องของสมาร์ทโฟนเรือธงตัวเองได้ระดับหนึ่ง
ผมมีโอกาสได้ Huawei P9 มาทดลองใช้อยู่เกือบๆ 1 อาทิตย์ ก็เลยนำมาฝากกันแบบคร่าวๆ โดยเฉพาะประสิทธิภาพของกล้องที่ Huawei พยายามโปรโมทในสมาร์ทโฟนตัวนี้ครับ (ภาพเยอะ)
ตัวเครื่องของ Huawei เป็นโลหะแบบ unibody สวยงาม น้ำหนักทั้งเครื่องประมาณ 144 กรัม ซึ่งถือว่าเบามาก เบาจนเสียวจะทำเครื่องหล่นได้ง่ายๆ ด้วยซ้ำไป หน้าจอให้มาขนาด 5.2 นิ้ว ถือว่าไม่เล็กไม่ใหญ่ กำลังพอดีมือ
ด้านขวามือเป็นปุ่มปรับเสียงและปุ่มล็อคหน้าจอมาตรฐาน ด้านซ้ายเป็นถาดใส่ซิมพร้อม micro SD ด้านล่างเป็นลำโพง ช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. และพอร์ท USB-C
ด้านหลังเป็นกล้อง พร้อมแฟลชคู่เรียบเนียนไปกับตัวเครื่อง และเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ
Huawei P9 มาบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 6.0 Marshmallow ครอบทับด้วย EMUI เวอร์ชัน 4.1 ที่ไม่แตกต่างเวอร์ชัน 4.0 มากนัก ที่ยังคงไม่มีหน้า app drawer และมาพร้อมสารพัดแอพพื้นฐานรวมถึงแอพสารพัดประโยชน์อย่างไฟฉาย กระจก เข็มทิศ ฯลฯ พร้อมฟีเจอร์จัดการแบตเตอรี่และเคลียร์แรม
อย่างไรก็ตามข้อมูลแพทช์ความปลอดภัย (ช่วงที่รีวิว) ยังเป็นรอบเดือนเมษายน 2016 อยู่
นอกจากแอพข้างต้นแล้ว Huawei ยังให้ฟีเจอร์ช่วยเหลืออัจฉริยะ (Smart Assistance) อาทิ การวาดตัวอักษรภาษาอังกฤษเพื่อเข้าแอพ การคว่ำหน้าจอเพื่อปิดเสียงนาฬิกาปลุกหรือเสียงเรียกเข้า ยกโทรศัพท์แนบหูเพื่อรับสาย รวมถึงฟีเจอร์ที่อาศัยการใช้ข้อนิ้วเคาะที่หน้าจอ 2 ครั้งเพื่อเก็บภาพหน้าจอ ซึ่งดูค่อนข้างมีประโยชน์ แต่พบว่าแทบไม่ค่อยได้ใช้ในสถานการณ์จริงเท่าไหร่นัก
ขณะที่การใช้งานเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือด้านหลัง ด้วยขนาดของ Huawei P9 ที่ค่อนข้างพอดีมือ ประกอบกับตำแหน่งของเซ็นเซอร์ ต้องบอกว่าทำออกมาได้พอดีและสะดวกกว่าเซ็นเซอร์บริเวณปุ่มโฮมค่อนข้างมาก (ยกเว้นจะใช้งานโดยวางโทรศัพท์ไว้บนโต๊ะ) หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาแทบจะปลดล็อกได้ทันที และที่สำคัญคือการตอบสนองของเซ็นเซอร์ค่อนข้างเร็วมาก
ส่วนการใช้งานอื่นทั่วไป ถึงแม้ Huawei P9 จะมาพร้อมแบตเตอรี่ขนาด 3,000 mAh แต่เอาเข้าจริงแบตเตอรี่กลับหมดค่อนข้างเร็ว โดยเฉพาะวันที่ใช้งานหนัก (ไม่ได้จับเวลาแน่นอน แต่ที่เร็วที่สุดคือออกจากบ้านเช้า หมดตั้งแต่บ่ายๆ)
อีกหนึ่งประเด็นที่อยากจะพูดถึงคือลำโพง ผมพบว่า Huawei P9 รองรับไฟล์ FLAC (ให้มาในเครื่องด้วย) แต่เมื่อลองเล่น ลำโพงกลับไม่ได้ดีพอจะรองรับคุณภาพเสียงดังกล่าว เหมือนถูกปรับจูนเสียงมาให้ก้อง ทำให้ช่วงเสียงสูงและกลางพอไปได้ แต่พอเป็นเสียงต่ำกลับแตกและไม่ได้มิติเท่าไหร่นัก
ทั้งนี้ผมไม่ได้ทดสอบประสิทธิภาพของตัวเครื่องผ่านแอพ benchmark ต่างๆ เนื่องจากไม่สามารถติดตั้งได้แม้แต่ตัวเดียว (ขึ้น Unknown error code during application install: “-505”)
กล้องบนสมาร์ทโฟนถือเป็นหนึ่งในประเด็นที่หลายค่ายพยายามเข็นและแข่งขันกันอย่างดุเดือด โดยใน Huawei P9 ใช้ระบบกล้องคู่ โดยกล้องตัวแรกสำหรับถ่ายภาพสี และกล้องอีกตัวสำหรับถ่ายภาพ monochrome โดยเฉพาะ ความละเอียด 12 ล้านพิกเซล ใช้เซ็นเซอร์รับภาพ Sony IMX 286 รูรับแสง f/2.2 พร้อมเลเซอร์ช่วยออโต้โฟกัส
แอพกล้องใน Huawei P9 มีตัวเลือกมาให้มากมาย ทั้งฟิลเตอร์และโหมดต่างๆ ซึ่งมีตัวที่น่าสนใจแต่ผมไม่ได้มีโอกาสทดสอบ (เพราะไม่มีขาตั้งกล้อง) อย่าง Light Painting หรือการเปิดรูรับแสงเอาไว้เป็นระยะเวลาหนึ่ง เพื่อสร้างภาพให้แสงออกมาเป็นเส้น
นอกจากตัวเลือกปรับแต่งมากมายข้างต้น ตัวกล้องมีโหมดหลักๆ มาให้เลือก 2 โหมดคือออโต้และโปร ที่สามารถปรับค่า ISO, Speed Shutter, ออโต้โฟกัสและค่าชดเชยแสง รวมถึงเลือกไฟล์ภาพ RAW ได้ด้วยเช่นกัน (แต่ซูมไม่ได้)
การถ่ายภาพสีจาก Huawei P9 ต้องบอกว่าดีไม่แตกต่างหรือโดดเด่นไปกว่าเรือธงเจ้าอื่นๆ มากนัก ทั้งความคมชัด สดใส คอนทราสต์ที่จัดจ้าน (ยิ่งดูบนหน้าจอของ Huawei เองยิ่งสวย) ทั้งในพื้นที่ที่มีแสงเพียงพอและพื้นที่ที่มีแสงน้อย ถึงแม้ระบบออโต้โฟกัสจะมีเอ๋อๆ บ้างในพื้นที่มืดๆ ก็ตาม
อย่างไรก็ตาม จุดเด่นของกล้องของ Huawei P9 ต้องยกให้กับภาพขาวดำ (monochrome) ที่มีเลนส์แยกออกมาต่างห่างโดยเฉพาะ ทำให้ภาพที่ออกมาแตกต่างจากการใช้ฟิลเตอร์ขาวดำอย่างชัดเจน ภาพมีถ่ายออกมามิติและไดนามิกของแสงที่มากกว่าอย่างเห็นได้ชัด
เมื่อพิจารณาจากราคาของ Huawei P9 รุ่นเล็กที่วางจำหน่ายในราคาเริ่มต้น 16,990 บาท ต้องบอกว่าไม่ขี้ริ้วขี้เหร่เท่าไหร่นัก หากจะหยิบเรือธงตัวนี้ของ Huawei มาพิจารณา โดยเฉพาะเรื่องกล้องที่ดีไม่แพ้เรือธงราคาสูงกว่า 20k ของเจ้าอื่น และที่เด่นกว่าก็คงหนีไม่พ้นการถ่ายภาพขาวดำ
ข้อดี
ข้อเสีย
Comments
ฟีเจอร์ใช้ข้อนิ้วเคาะที่หน้าจอ 2 ครั้งเพื่อเก็บภาพหน้าจอ ลองใช้ดูฮะ แล้วจะรู้ว่าแม่งเจ๋งมาก จนเผลอไปเคาะจอมือถือชาวบ้านเพราะลืมตัวมันสะดวกกว่ากดพาวเวอร์ลดเสียงมาก เพราะไม่ต้องเปลี่ยนท่ามือและออกแรงบีบ หรือบางรุ่นกดพาวเวอร์ค้างและกดเก็บภาพก็ค่อยยังชั่วหน่อย แต่เคาะสะดวกจริง จะแคปปุ๊ปก็เอาอีกมือเคาะป็อกๆ ได้ภาพเลยแทบไม่ต้องออกแรงกด
เซ็นเซอร์นิ้วด้านหลังยังคงเป็นจุดที่ไม่ชอบเพราะเป็นคนวางมือถือบนโต๊ะ
ชอบโหมดไลท์เพนติ้ง เพราะถ้าเราใช้ dslr ถ่ายกว่าเราจะเห็นภาพที่วาดก็ตอนถ่ายเสร็จแล้ว
แต่พอเป็นในมือถือ เราวาดแสงปุ๊ปมันก็ขึ้นจอให้เลยเกือบเรียลไทม์แหนะ
สงสัยว่า ใช้นิ้วเคาะ มันเหมือนกับ double Touch ไม๊ครับ .... แบบนั้นผมคงเล่น Love Live! ไม่ได้ ... เพราะต้องจิ้มรัวๆ (บางจังหวะเร็วๆ ก็กระแทกกันรัวๆ เลยแหละ อย่าเรียกจิ้มเลย 555+)
ไม่สับสนครับ มันต้องใช้ข้อนิ้ว ป็อกๆ ออกแรงนิดนึง ไม่สับสนกับแทปจอ
ของ Samsung ใช้ฝ่ามือปาดหน้าจอ
ก็สะดวกดีเหมือนกันนะครับ
ปาดยากมากบอกเลย เผลอวางมือผิดเดียว หน้าจอเลื่อนไปบ่อยมาก
น่าสน ;)
my blog
มะเหงก capture ผมว่ามันไม่ค่อยโอเคนะครับใช้ ผมใช้ p8 max
555 มะเหงก capture
รูปสีไม่ค่อยโดน รู้สึกคอนทราสหนักไปหน่อย
แต่รูปขาวดำนี่ โดนสุดๆ
ถ่าย RAW ได้แบบนี้ น่าจะถูกใจคอถ่ายรูปมือโปรบ้างล่ะน้า
ในโหมดโปรใช้ถ่ายไฟล์ RAW ได้ครับ
//ตอบไม่ทัน แก้ข้อความไปแล้ว ^^
RAW มือถือ ผมยังไม่ประทับใจสักตัว
ต้องยอมรับเลยว่าพวกแอพกล้องบนมือถือนี้มันดีมากๆครับ
ผมสงสัยมากอย่างหนึ่ง
ถ่ายรูปสี ถ้าเราเอามือไปปิดเลนส์ขาวดำข้างหนึ่ง สีจะออกมายังไงแตกต่างจากเดิมไหม เห็นเขาว่าเป็นการรวมภาพสีกับขาวดำเข้าด้วยกัน
มี 2 สิ่งที่ทำให้ผมไม่ซื้อ huawei p9
นอกนั้นผ่านนะครับ เทียบราคากับคุณภาพ ส่วนกล้องแม้จะถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อย ยังสู้ S7 ไม่ได้ก็เถอะ
ใครอยากลองเล่นตัวต่ำสุด P9lite กล้องก็พอใช้ได้นะครับ แบตทน (ตามรีวิวต่างประเทศ ทนกว่า P9 ซะอีก) ซีพียูก็แรง
ที่น่าเสียดายอย่างเดียวคือ EMUI
เพื่อเข้าแอพ
นัยสำคัญ
?
ถาดในซิม ?
ช่องใส่หูฟัง ?
ที่มีไม้เอกสองตัว
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ตัวเครื่องสวย ราคาไม่แพงมาก เสียแต่แบตหมดค่อนข้างเร็ว กับใช้ชิพเซ็ต Kirin นี่แหละ