นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถาในงานสัมมนา E-payments: Driving Thailand's Economy Forward ที่จัดโดยหนังสือพิมพ์ Bangkok Post โดยกล่าวถึงแผนการ National E-payment ของรัฐบาล
นายอภิศักดิ์ บอกว่าประเทศไทยไม่ค่อยพูดถึงประสิทธิภาพของภาคการเงินกันมากนัก เรื่องเงินอิเล็กทรอนิกส์พูดกันมานานแล้วแต่ไม่เกิดสักที รัฐบาลจึงลงมาทำโครงการ National E-payment เปรียบเสมือนลงทุนทำซูเปอร์ไฮเวย์ให้ทุกคนใช้งาน ธนาคารรายเล็กที่อาจมีงบลงทุนไม่เท่ารายใหญ่ก็สามารถมาใช้โครงสร้างพื้นฐานนี้ได้ องค์กรที่ไม่ใช่ธนาคาร (non-bank) ก็ใช้ได้ เมื่อทุกคนอยู่บนโครงสร้างเดียวกัน ก็มาแข่งกันที่คุณภาพของผลิตภัณฑ์แทน ประชาชนก็ได้ประโยชน์
เป้าหมายของ National E-payment คือลดการใช้เงินสดลง เพราะทุกวันนี้ธนาคารมีต้นทุนการดูแลเงินสดเยอะมาก เริ่มตั้งแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องพิมพ์ธนบัตร ธนาคารต้องขนเงินสดไปยังสาขา ไปยังตู้เอทีเอ็มทุกตู้ มีค่าใช้จ่ายมหาศาล ถ้าสามารถลดต้นทุนพวกนี้ได้ ธนาคารแห่งหนึ่งอาจมีต้นทุนลดลงถึง 4-5 หมื่นล้านบาทต่อปี
ปัจจุบัน เงินอิเล็กทรอนิกส์ถูกใช้งานอยู่แล้วในรูปบัตรเครดิตและบัตรเดบิต แต่คนที่เข้าถึงเงินเหล่านี้ยังมีเฉพาะคนชั้นกลางขึ้นไปเท่านั้น ทำอย่างไร คนทุกกลุ่มถึงจะสามารถเข้าถึงการใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ได้ มีกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่าย และสามารถใช้จ่ายได้ทุกที่
นายอภิศักดิ์ บอกว่าทุกวันนี้คนสนใจกันแต่ PromptPay แต่นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของแผน National E-payment เท่านั้น อาจจะเพียงแค่ 10% ด้วยซ้ำ เพราะมีองค์ประกอบอย่างอื่นด้วย
PromptPay
นายอภิศักดิ์ บอกว่าทุกวันนี้กระแสโซเชียลแรง คนเลยกลัว PromptPay กัน จริงๆ ชื่อเดิมของมันคือ AnyID แต่พอเปลี่ยนชื่อเป็น PromptPay คนเลยกลัว เพราะชื่อมีคำว่า Pay หมายถึงจ่ายเงินออกไป ทั้งที่จริงๆ เป็นระบบที่สร้างมาเพื่อรับเงินต่างหาก
การมาถึงของ PromptPay จะกระตุ้นให้คนใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ผ่านแรงจูงใจเรื่องค่าธรรมเนียมที่ลดลง ซึ่งธนาคารก็จะได้รับการชดเชยค่าธรรมเนียมที่เสียไป ด้วยปริมาณธุรกรรม (volume) ที่มากขึ้น และต้นทุนการดูแลเงินสดที่ลดลง
ส่วนประเทศก็จะได้ประโยชน์จากความต้องการใช้เงินสดที่น้อยลง และเงินรั่วไหลน้อยลง ทั้งในแง่การรั่วไหลของภาษี (เงินเข้ามาอยู่ในระบบมากขึ้น) และการคอร์รัปชัน
การจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์
เมื่อคนมีบัญชีอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ในฝั่งของร้านค้าก็ต้องยอมรับการจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ด้วย ซึ่งรัฐบาลจะกระตุ้นให้ธนาคารกระจายเครื่องรับรูดบัตรอิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึ้น ในอนาคต ขึ้นรถเมล์ ขึ้นแท็กซี่ ก็ต้องจ่ายเงินด้วยบัตรได้เหมือนในต่างประเทศ
ร้านค้าที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ จะมีเงื่อนไขให้ต้องมีเครื่องรับรูดบัตร และรับแค่บัตรอย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องมองไปถึงเทคโนโลยีที่ไกลกว่านั้นด้วย ต้องรับ NFC ได้ จ่ายเงินด้วยมือถือได้
ตอนนี้เรายังเห็นห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าใหญ่ๆ มีเครื่องรูดบัตรของทุกธนาคารวางเรียงกันหมด อันนี้ไม่ค่อยดีเพราะเสียทรัพยากรเปล่าประโยชน์ ทางแก้ควรมี EDC Pool เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันข้ามธนาคาร มีเครื่องรูดอันเดียวก็พอ ซึ่งตอนนี้ยังอยู่ระหว่างการพูดคุย และอาจได้เห็น EDC Pool มากกว่าหนึ่งราย
รัฐบาลยังจะออกแคมเปญชิงโชคให้กับร้านค้าที่ติดตั้งเครื่องรูดบัตรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อจูงใจร้านค้าด้วย โดยนายอภิศักดิ์ พูดแบบติดตลกว่าโอกาสถูกรางวัลเยอะกว่าซื้อล็อตเตอรี่ ดังนั้นอยากให้มาติดตั้งกันเยอะๆ
ภาษีอิเล็กทรอนิกส์
เรื่องนี้กรมสรรพากรเป็นเจ้าภาพอยู่ ระบบยื่นภาษีอิเล็กทรอนิกส์มีอยู่แล้ว ต่อไปไม่ควรต้องยื่นภาษีผ่านกระดาษอีกเลย และปลายทางคือทุกบริษัทต้องมี "บัญชีภาษี" ของตัวเอง เปิดบัญชีไว้เพื่อจ่ายภาษีโดยเฉพาะ และบัญชีเดียวรองรับภาษีทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นภาษีนิติบุคคล, VAT, การหัก ณ ที่จ่าย ฯลฯ ภาษีทุกอย่างสามารถหักลบ (net) กันได้เพื่อจ่ายภาษีทีเดียว ซึ่งต้องใช้เวลาอีกสักระยะกว่าจะทำได้จริง
การรับและจ่ายเงินของภาครัฐ
รัฐบาลต้องทำตัวเป็นตัวอย่างเรื่องการใช้จ่ายเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ถ้ารัฐเริ่มก่อน ก็จะเร่งให้ประชาชนหันมาใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ตอนนี้การจ่ายเงินของรัฐ 70% ผ่านอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ทำอย่างไรจะขยับให้เป็น 100%
ตัวอย่างคือการคืนภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ยังทำเป็นเช็คกันอยู่เลย พอเช็คหายก็วุ่นวายต้องไปตามหาหลักฐานมายืนยันกัน ต่อไปในอนาคต การคืนภาษีต้องผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ คืนผ่านบัญชี PromtPay ที่ผูกกับรหัสประจำตัวประชาชนที่ผูกเอาไว้
หรืออย่างการไปทำธุรกรรมกับกรมที่ดิน ทุกวันนี้ยังต้องใช้เงินสด บางคนต้องหอบเงินไปเป็นล้าน แถมถ้าประเมินราคาที่ดินผิด เอาเงินไปไม่พอ ก็ต้องวิ่งไปเบิกเงินกันใหม่ ในอนาคต เอาบัตรไปใบเดียว แตะเพื่อจ่ายก็ต้องทำธุรกรรมเกี่ยวกับที่ดินได้
สุดท้าย การจ่ายเงินสวัสดิการของรัฐให้คนที่มีรายได้น้อย ในอนาคตก็จะจ่ายผ่าน PromptPay ซึ่งก็อยากให้คนไปลงทะเบียนรับเงินสวัสดิการกันเยอะๆ เพราะถ้าไม่ลงทะเบียนก่อน รัฐก็จะถือว่าไม่ต้องการความช่วยเหลือ ก็จะไม่จ่ายเงินให้
Comments
สรุปสั่้นๆคือ ยังไงทุกคนก็ต้องใช้ PromptPay (หนีไม่พ้นหรอก 555+)
พร้อมเพย์ ตามคอนเซ็ปก็โอเคดีอยู่นะครับ ผมก็สมัครไปละยังไงถ้ารัฐอยากได้ความเคลื่อนไหวบัญชีของเราก็คงได้อยู่ละไม่ได้ซีเรียสอะไรเรื่องนี้
ผมยังสงสัยความปลอดภัยของ PromptPay อยู่ครับ - -"
จากที่ฟังมา ทุกวันนี้เวลาเราโอนเงินข้ามธนาคารจะมีคนกลางในการส่งต่อเงินของเราให้นั้นคือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งความปลอดภัยก็ตามที่เราใช้กันมานานนม และคนที่ดูแลระบบPromptPay ก็ธนาคารแห่งประเทศไทยคับ(ผมสดับมากรุณานำไปพินิจอีกที)
มาแก้ให้นิดนึงครับว่า ตัวกลางการโอนเงินระหว่างธนาคารตอนนี้คือ บริษัท เนชั่นแนลไอทีเอ็มเอ็กซ์ (NITMX) ครับ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามนโยบายของ ธปท. และมีทั้งรัฐและเอกชน (ธนาคารทั่วไป) เป็นผู้ถือหุ้นครับ (ถ้าจำไม่ผิด)
ตัวระบบ Promptpay ก็อยู่กับ nitmx ครับ
หลักการดีนะครับ แต่ขั้นตอนปฏิบัติจริงคงต้องตามแก้ปัญหาไปทีละขั้น ดูตัวอย่างธนาคารกสิกรไทยที่ระบบขัดข้องไปลงทะเบียนพร้อมเพย์ให้ลูกค้าเองซะงั้น
สตาร์บัค การ์ดยังเคยล่มเลย นี่รัฐบาลจะเอามาใช้ในชีวิตประจำวันมีแผนอะไรยังไงบ้าง ไม่ใช่นึกจะทำก็ทำ ไม่คิดถึง consequence
ผมอ่ะอยากได้บัตรแบบนี้นะ จะได้ไม่ต้องพกบัตรเซเว่น แรบบิต แมงมุม ฯลฯ แต่ผมไม่เชื่อเรื่องความปลอดภัยสักนิดเลย และเรื่อง privacy อีก
เห็นพูดเรื่องเอกชนเสียโอกาสหลายอย่างนี่ เอกชนช่วยจ่ายด้วยไหมอ่ะ พวกเครื่องอ่านการ์ด กับการเก็บรักษาธนบัตร กู้ดอกแพง ฝากดอกน้อย ค่าธรรมเนียมก็ขึ้นเอาๆ ประกันก็ขาย ถ้ามีเครื่องพวกนี้จะลดค่าธรรมเนียมใหมอ่ะ ถ้าไม่ ก็เชิญจ่ายเองเถอะ
ก็เริ่มต้นลดค่าธรรมเนียมการโอนด้วยพร้อมเพย์ไงครับ
ว่าแต่คุณเอาบัตรสตาร์บัคส์มาเทียบกับระบบ Clearing house ของประเทศเลยเหรอ? น่าจะคนละสเกลกันเลยนะครับ
เสริมเรื่องนี้ ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด ระบบจ่ายเงินแบบในองค์กรอย่างเดียว จะถูกกำกับดูแลคนละแบบกับที่ไปจ่ายให้คนอื่นได้นะครับ (ความเข้มน้อยกว่ามาก) แบบเดียวกับบัตรเติมเงินศูนย์อาหาร บัตรสะสมของบริษัทต่างๆ เทียบกับพวก Truemoney, MPay ฯลฯ
lewcpe.com, @wasonliw
เทียบเพราะผมไม่เห็น/ไม่เข้าใจความต่างน่ะสิครับ ถ้ารัฐจะให้คนเข้ามาใช้ใหม่เชื่อมั่น ควรจะต้องชี้แจงให้laymanเข้าใจอย่างชัดเจนไม่ใช่หรือครับ ว่ามันมีความปลอดภัยและมั่นคงอย่างไร
กรณีแบบนี้ผมเทียบอย่างนี้ครับ มันเหมือนคูปองศูนย์อาหาร กับธนบัตรไทยน่ะครับ คูปองศูนย์อาหารไม่มีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องเท่าไหร่นัก การปลอมแปลงมันง่าย ส่วนธนบัตรไทยมีการปรับปรุงเป็นรอบๆ และใช้เทคโนโลยีที่ค่อนข้างสูง
การที่คุณอนุมานเอาว่าระบบที่มีผลกระทบจำกัดอย่างระบบจ่ายเงินภายในซึ่งจ่ายได้ในองค์กรเดียวกันเอง มีการควบคุมดูแลแบบหนึ่ง แล้วระบบมันล่ม ไปเทียบเอาว่าระบบทั่วไปเทศล่มได้ เป็นการอนุมานที่ขาดความเชื่อมโยง
กรณี starbucks ผมเขียนข่าวเพราะผลกระทบค่อนข้างเยอะ เป็นระบบเฉพาะที่ค่อนข้างใหญ่ แต่ก็ยังเป็นระบบเฉพาะ เราอาจจะเรียกร้องให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าไปกำกับดูแลระบบที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติได้ ซึ่งหลายชาติก็ทำกันว่าระบบขนาดใหญ่แม้จะใช้ภายใน ก็ต้องกำกับดูแลมากขึ้น แต่ก็ยังเป็นคนละประเภท
ส่วนเรื่องว่าคุณไม่รู้ว่าระบบ PromptPay มีความน่าเชื่อถืออย่างไร อันนี้เป็นอีกเรื่อง ผมไม่คิดว่าคุณเคยเห็นระบบระดับชาติล่มกันเท่าไหร่ ระบบโอนเงินธนาคารอาจจะมีล่มบ้างแต่ก็เป็นรายธนาคารเท่านั้น คุณอยากเห็นระบบภายในแต่พวกนี้เป็นเรื่องความมั่นคงปลอดภัย การที่เขาจะไม่เปิดเผยข้อมูลโครงสร้างระบบก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร หรือต่อให้เปิดก็น่าจะเปิดเผยเป็นโครงสร้างกว้างๆ เท่านั้น
ถ้าคุณไม่เห็นความต่างของสองระบบ คุณต้องเรียนรู้เองครับ ว่าโลกนี้มันมีการจัดหมวดหมู่การกำกับดูแลของกิจการแต่ละประเภท
lewcpe.com, @wasonliw
ขอบคุณสำหรับรายละเอียดครับ ผมก็เชื่อมโยงไปตามความรู้หยาบๆ
ประเด็นอยู่ที่ว่า ถ้ารัฐไม่ทำอะไรที่เป็นการให้ความเชื่อมั่น ผมก็ไม่ใช้ และผมก็เชื่อว่าหลายคนก็ไม่ใช้ เพราะไม่เห็นที่มาที่ไป และ คิดว่าคนส่วนใหญ่คงไม่ไปขวนขวายหารายละเอียดของสิ่งที่ตัวเองไม่เชื่อตั้งแต่แรกหรอกครับ ถ้าโครงการนี้ไปรอดจริงก็ต้องรอเห็นคนเขาใช้กันระดับนึงล่ะครับ ถึงจะเริ่มมาใช้กัน
ผมก็ไม่เคยรู้เบื้องหลังหรือที่มาที่ไปของตู้ ATM นะ แต่ผมก็ใช้
ใช่ครับ ผมก็ไม่รู้เมื่อนกัน แต่ผมก็ใช่เหตุผลง่ายๆคือมันเคยชินกับสะดวกแล้วก็มีมานานแล้ว แรกๆตอน ATM มาคนก็มีความกลัวกันแบบนี้ไม่ใช่เหรอครับ
PromptPay ถ้าอยู่ยืดสัก 3 ปีขึ้นไป แล้วมันสะดวกจริงๆ มีปัญหาได้เงินคืนจริงๆ(จะช้าหรือเร็วนั่นอีกเรื่องเพราะ ATM ก็เป็น เช่นกดเงินไม่ออกแต่ยอดเงินโดนตัด ก็มีปัญหามาเป็นระยะระยะ) เดี๋ยวคนก็ทะยอยมาเอง ช่วงนี้เป็นช่วงคนกลัวเทคโนโลยีขั้นตอนการทำงานของระบบนี้อยู่ ต้องรอความเชื่อมั่น
อันนี้ไม่แปลกครับ การดูจากประวัติการให้บริการที่ผ่านมา (track record) ก็เป็นเรื่องปกติ กับระบบที่เราเข้าไปดูไม่ได้
อย่าง NITMX ผมจึงบอกให้คุณไปดูว่าระบบโอนเงินข้ามธนาคารเคยล่มทั้งประเทศบ่อยแค่ไหน? หรือกรณีที่ไม่ล่มทั้งประเทศแต่ระบบที่มีหลายองค์กรเชื่อมต่อกันเราก็ควรพิจารณาเลือกธนาคารที่มีความน่าเชื่อถือสูง ผมเองก็เขียนข่าวธนาคารระบบมีปัญหาอยู่เรื่อยๆ อันนี้ก็ไล่กันได้ว่าธนาคารใดมีรูปแบบการรับมือปัญหาอย่างไรบ้าง
แต่ผมแนะนำให้พิจารณาจากบริการในระดับเดียวกันครับ เพื่อจะได้เห็นภาพตามความเป็นจริง
lewcpe.com, @wasonliw
แนวทางดี และสนับสนุนอยู่แล้ว
แต่ความชัดเจน ความปลอดภัย ยังรู้สึกว่าไม่ชัดเจน
ผมมองว่า ระดับกระทรวงการคลัง ไม่ควรลงไปทำเอง ถึงระดับที่เป็นอยู่ในปัจจุบันครับ
ถ้าอยากให้เกิดควรกำหนดนโยบาย หรือ ข้อกำหนดของบัตรเครดิต กับ การจ่ายเงินผ่าน โทรศัพท์มือถือ
ให้ง่ายขึ้น แล้วให้ เอกชนเค้าไปจัดการกันเอง จะได้ผลดีกว่า
เอาง่ายๆ ทุกวันนี้ จะมีเครื่องรูด ECD หรือ mpos ผ่านโทรศัพท์
ถึงจะบอกว่าถูกยังไง ตอนรูดขี้หมูขี้หมา ร้านโดนหักค่าธรรมเนียมจากยอดแน่นอนแล้ว 2%
ซึ่งก็หมายความว่า มันจะไปลงกับ คนที่เอาบัตรมารูดนั่นแหละ
รูด 10,000 โดนชาร์ต 200 ใครจะรูด ถ้าไม่มี 0% 10 เดือน
เดินไปกด ATM เอาเงินมาจ่ายไม่ดีกว่าเหลอ ?
ผมเคยคิดนะว่า ถ้าไม่อยากให้ใช้เงินสดกันมากๆจริงๆ ธนาคารแห่งประเทศไทย ก็เอาส่วนที่ต้องผลิตธนบัตรที่ใช้ไม่หมดมารับภาระค่าธรรมเนียมค่ารูดบัตรไปเลยไม่ดีกว่าเหรอ รับรองรูดกันกระจาย เนอะครับ
ถ้าใช้บัตรเครดิตธนาคารที่ต้องจัดการเงินก็ต้องจัดการเงินจริงอยู่ ดังนั้นธปทก็ยังต้องพิมพ์ต้องดูแลอยู่ จนกว่าจะยกเลิกการใช้เงินกระดาษๆด้ ก็ต้องจ่ายสองขั้นตอนครับ
ปัญหามันคือ เมื่อเป็นบัตรเครดิต ระบบมันจะวิ่งไปเคลียร์ริ่งนอกประเทศนู่นเลยครับ ทำให้โดนค่าธรรมเนียมจากพวก Visa Mastercard แบงก์อยากลดก็ลดลำบากครับ
อันเดียวที่พอลดได้คือบัตรที่เคลียร์ในประเทศ (Local switching) ซึ่งก็คือชิปการ์ดที่ก่อนหน้านี้บังคับกันไปนั่นแหละครับ ตอนนี้ก็รอดูอยู่ว่าค่าธรรมเนียมโดยรวมจะลดลงมั้ย
จัดไป
ผมเป็นSalary man บัญชีเข้าออก ถ้าอยากดูก็ไม่มีปัญหา ภาษีเงินได้ก็โดนหักตั้งแต่เงินยังไม่เข้าบัญชีแล้ว
ผมไม่กลัวเรื่องโดนหักเงินในบัญชีอยู่แล้ว เงินเก็บอยู่ในกองทุนหมด มีติดบัญชีไว้แค่หลักพันใช้จ่ายรายวัน
ผมอยากได้แบบบัตรเดียวจ่ายได้ทุกอย่าง เอาแค่ mrt กับ bts ใช้บัตรเดียวกันแล้วไปซื้อของใน 7-11 กับ family mart ได้แบบเดียวกับญี่ปุ่นจะแหล่มมาก
บังคับข้าราชการไปใช้ Paypromtp ให้หมดเปนตัวอย่างก่อนเถอะ
Destination host unreachable!!!
เห็นประโยคนี้ ทำให้ผมนึกถึงประโยคที่ว่า "ทำของเก่าให้ดีก่อนเถอะ ก่อนที่จะนำเสนอสิ่งใหม่ๆ" หรือ "ทำ 3G ให้ดีก่อนเถอะ ก่อนที่ทำ 4G" ประมาณนี้เลยครับ
กระทรวงการคลังมีเลขประชาชนและเลขบัญชีข้าราชการทุกคนอยู่แล้ว เอาไว้จ่ายเงินเดือน จะต้องบังคับอะไรอีก ออกระเบียบทีเดียวก็เข้าไปอยู่ในpromtpayทันทีเลย
เห็นหน่วยงานผมไปเจอมานี่เหมือนผลักดันให้คนในสมัครเลยนะครับ มีเอกสารมากรอกๆ ไรไม่รู้
หน่วยงานราชการไม่ได้บังคับครับ แต่ "ขอความร่วมมือ" ผมโดนมาแล้วครับ
ก็คือ.. อยากจะลดต้นทุนให้ธนาคาร 4-5 หมื่นล้านบาทต่อปี?
โดยตัวนโยบายภาพใหญ่คงแทบไม่มีปัญหา แต่ในรายละเอียดคงต้องตั้งคำถามกันไปเรื่อยๆ อย่างกรณี PromptPay โดยตัวบริการโอนเงินข้ามธนาคารฟรีเองแทบไม่มีคำถาม แต่พออยากให้ผูกเลขโทรศัพท์ (ซึ่งเอาเข้าจริงก็ไม่ได้จำเป็น?) ก็ดูจะมีคำถาม มีกระบวนการผูกที่ดูสับสนจนแทบจะหลอกลวง
EDC การรับบัตรนี่เท่าที่รู้ร้านรายย่อยก็อยากได้กันหลายร้านแต่เงื่อนไขมันเยอะ ต้นทุน EDC แพง (แต่กลับกันพอเป็นห้างใหญ่ก็ถือ EDC มันเยอะๆ ให้ค่าธรรมเนียมถูกๆ) ในแง่รายย่อยที่บอกว่าอยากให้ใช้ EDC จะทำยังไงให้มันถูกลง (รัฐสนับสนุนเป็นตัวเงิน? หรือมีช่องว่างให้ปรับปรุงจนมันถูกได้?)
lewcpe.com, @wasonliw
ความเจริญยังกระจุกอยู่แบบนี้ มันก็ใช้ได้แค่นี้จริงๆ
บางอย่างต้องการเวลา โดยเฉพาะการเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์
ในห้างที่เห็นตั้งหลายๆเครื่องนั้น มันเป็นส่วนของการผ่อนชำระ ซึ่งต้องใช้เครื่องของแบงก์ตัวเอง
ถ้าเครื่องที่รูดชำระเต็มจำนวน จะมีอยู่แค่เครื่องเดียว
เขาว่ามีเงินสด 2 ล้านบาทในตู้atm จำนวน หมื่นตู้ เท่ากับเราต้องสำรองเงินบาทไปกับพวกนี้ ไหนจะค่าoverhead ถ้าคนหันมาใช้promptpay ก็จะลดเงินพวกนี้ไป บางทีก็ealryปลดพนักงานได้อีกเยอะ งานนี้กระทบคนแบงค์เยอะนะ
สนับสนุนครับงานนี้ แต่ถ้ารัฐบาลไม่จริงจัง ไม่เกิดแน่ครับ
เอาง่ายๆ รูดบัตรเครดิต บังคับยกเลิกขั้นต่ำก่อนเลยครับ
เมืองนอก สิบบาทยังจ่ายด้วยบัตรได้ เมืองไทยบางเจ้าถึงจะให้จ่ายได้ แต่พนักงงานมองค้อนเลยครับ
Tops 30 บาทผมจ่ายมาแล้ว เป็นตัวอย่างที่ดีครับ
ผม ซื้อไอติม Mc บ่อยๆครับ แค่ 10 บาท
ผมมองว่าถ้าเป็นระบบที่ใช้กันส่วนใหญ่ไม่เวิร์คครับ แทนที่จะลดเวลาจะเพิ่มเวลาดำเนินการของผู้ให้บริการ 10 บาท 20 บาท ถึงขั้นต้องรอเอาบัตรไปรูดมาให้เซ็น แต่ถ้าห้างหรือร้านที่รับพวก paypass, paywave แบบนี้ค่อยเหมาะสม ตอนนี้ก็ยังมีบัตรน้อยใบที่รับ คิดว่าควรเน้นให้มีตรงนี้ครับ ไม่ก็วางเครื่องไว้ให้เสียบเองหน้าเคาเตอร์ก็ยังดีแล้วกดรหัสเอา ทุกวันนี้ไม่รู้เซ็นไปทำไมผมขีดมั่วๆเค้าก็รับ
Tops กี่บาทผมก็รูดครับ ส่วนใหญ่อยู่ในวงเงินไม่ต้องเซ็นด้วย สบายๆ
ตอนนี้ผมผูกแล้ว1บัญชี ทั้งบัญชีมีเงินแค่2k ผูกไว้เล่นๆ รอดูการใช้งานจริงก่อน
อย่างน้อยตอนนี้ก็กันไม่ให้โดนสวมสิทธิ์โดยพลการจากธนาคารอื่นไว้ละกัน เพราะเก็บหลักฐานตอนสมัครไว้หมดแล้ว
ทำไปเถอะครับ ปัญหาก็ตามแก้กันไป ยังไงเปลี่ยนแปลงมันต้องมีปัญหา
ทำคนก็บ่น ไม่ทำก็บ่น
งั้นทำเถอะ โดนบ่นเหมือนกัน แต่ได้อะไรกลับมา
เท่าที่อ่านดู แปลว่ารัฐต้องออกบัตร PromptPay ให้เราเอาไว้ใช้รูดจ่ายแทนเงินสดด้วยใช่ไหมครับ แล้วจะเริ่มออกบัตรไดเมื่อไหร่กัน ตอนนี้เห็นบอกจะได้แค่โอนระหว่างบุคคล
นโยบายหลายๆอย่าง รบ.นี้
เหมือนกำลังเตรียมรับ การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 แฮะ
Cashless Society ก็เป็นหนึ่งในนั้น
ซึ่งนโยบายน่าจะมาถูกทาง
แต่ส่วนปฏิบัติการ ยังเป็นที่น่าสงสัย
(ว่าไปรอดมั๊ย คนทำมือถึงจริงๆมั๊ย มีนอกในหรือเปล่า ฯลฯ)
ตอนนี้ใครจะสมัคร PromptPay
ผมจะแนะให้ผูกกับบัตรประชาชน"อย่างเดียว" ไปก่อนเหมือนกัน
เพราะช่วงต้น น่าจะได้ใช้ทำธุรกรรมกับรัฐมากกว่า
ซึ่งทำธุรกรรมกับรัฐ คือใช้บัตรประชาชน
ระยะกลาง อาจจะให้ร้านค้าแต่ละร้านมี gen QRCode ตอนคิดเงิน
เวลาจ่ายก็ให้ลูกค้าใช้มือถือถ่าย เพื่อชำระค่าสินค้า ไปพลางๆ แบบเมืองจีน
จนกว่า NFC จะเป็นมาตรฐานมือถือ
ไม่ใช่ Cashless Society ครับ -> Useless Society
ผมว่ามันมีประโยชน์มากเลยนะครับ ถ้าทำให้ทุกอย่างเหลือแค่บัตรใบเดียวได้ลดการใช้เงินที่เป็นแบ้ง ผมไปฮ่องกงนี่สะดวกสบายมากจริงๆ บัตรใบเดียวขึ้นรถซื้อของ สบายมากครับ ไม่น่าจะถึงขั้น Useless
Cashless Society ถูกแล้ว
Useless Society ก็เกินไป
บางประเทศที่เลิกใช้เงินสดก็เพื่อเป็นการทำลายองค์การอาชญากรรม และการก่อการร้ายให้หมดลงให้ได้
จาก http://www.thairath.co.th/content/536808
NFC ให้ใช้ได้ทั่วด้วยค่าธรรมเนียมต่ำๆมาจริงผมคงได้เปลี่ยนมือถือ ผมยังไม่ถูกใช้กับ Android นะแต่ Apple ของตัวเองก็ไม่มาซะทีให้คนอื่นเขียนใช้ด้วยก็ไม่ยอม ถ้าถึงขั้นทำให้ไม่ต้องพกกระเป๋าตังได้นี่ผมย้ายค่ายเลย
ทุกวันนี้เวลาผมคิดทำโปรเจกต์อะไรใหม่ๆที่ใช้ nfc แล้วจะสะดวกขึ้นมาก สุดท้ายก็มาตายที่ iPhone ไม่เปิด api ของ nfc นี่แหละครับ ไม่งั้นเราคงได้เห็น application ที่มีประโยชน์อีกเยอะ
ทุกอย่างมีข้อดีข้อเสียของมัน
ซึ่งเมื่อใช้จริงอาจจะมีโทษมหันต์ก็ได้ในอนาคต
เทคโนโลยีมันมาและก็ไปสู่สิ่งที่ดีกว่า
อะไรที่ปรับตัวไม่ได้ก็จะตายไป รัฐเองก็ไม่ได้คิดประกันความเสี่ยงอะไรเท่าที่ฟังคือเจอปัญหาแล้วค่อยแก้
ชีวิตคือการทดลอง
คิดว่าความกลัวของคนไทยในเรื่องนี้เกิดจากสาเหตุหลักๆเลยคือ
1.คนไม่ไว้ใจรัฐ
2.คนไม่ไว้ใจธนาคาร
ซึ่งความไม่ไว้ใจนี้ มันก็ไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ แต่สั่งสมกันมายาวนานอย่างที่เราๆท่านๆรู้ เห็น และเป็นอยู่
แค่ได้ยินว่า "รัฐจะมายุ่งกับเงินในบัญชีเรา" แค่นี้ก็ฟังดูน่ากลัวแล้ว
ไหนจะ สถาบันธนาคาร ที่ขยันบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือไปจนหมดสิ้นแล้วจากนโยบายฉ้อฉลต่างๆนาๆที่ทุกท่านก็ประสบพบเจอกัน เช่น การทำตัวเป็นบริษัทขายประกันชีวิต อาการบัตรATM แบบธรรมดาหมดตลอดเวลา การหลอกคนแก่ทำประกันแล้วบอกว่าเป็นบัญชีเงินฝาก อาการกระหายเงินแบบนี้ที่ทำต่อเนื่องมายาวนานทำให้ความน่าเชื่อถือของสถาบันธนาคารไทยมันป่นปี้ไปหมดแล้ว ทุกวันนี้เมื่อไปติดต่อธนาคารผมไม่ได้เห็นภาพความปลอดภัยน่าเชื่อถืออีกต่อไป แต่เห็นภาพความน่ากลัว ต้องระวังตัวว่าพนักงานจะหลอกอะไรเราหรือเปล่า คนเฒ่าคนแก่ไปทำธุรกรรมก็ไม่รู้จะโดนหลอกอะไรอีกไหม
แล้วยิ่งมาเจอกรณีอื้อฉาวมัดมือชกสมัครพร้อมเพย์เมื่ออาทิตย์ที่แล้วนี่อีก แล้วเรื่องก็จบลงง่ายๆว่า "ระบบคอมพิวเตอร์ผิดพลาด"
จะอธิบายข้อมูลเชิงเทคนิคว่าปลอดภัยอย่างนั้นอย่างนี้แค่ไหนก็แทบไม่มีความหมาย
ปัญหาของพวกระบบที่นำมาใช้ใหม่ๆยังไงก็ต้องมีครับ แต่ต้องไม่รุนแรงมากเกินไป แล้วต้องมีระบบเยียวยาผู้รับเคราะห์ที่ดี สะดวก รวดเร็วด้วย เอาจริงๆ ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยเห็นระบบดิจิตอลระบบใหนเปิดตัวมาแล้วไม่เจอปัญหานะ แต่ที่เห็นคือเจอปัยหาแล้วเยียวยาโครตช้า ยิ่งเกี่ยวกับเรื่องเงิน นี่รอนานมากกว่าจะได้คืน บางคนก็ตกสำรวจต้องวุ่นวายไปตามเรื่องเอง
ต่างประเทศก็เป็นครับ คนไม่ไว้ใจคนในรัฐและไม่ไว้ใจคนในธนาคาร แต่ก็ต้องคอยตรวจสอบกันไป เพราะระบบมันต้องมา
แต่ก่อน(ตอนนี้) ที่มันตามยากส่วนหนึ่งน่าจะเพราะมันยังมีความคาบเกี่ยวระหว่าง offline กับ online อยู่ ถ้าระบบมันเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวก็น่าจะสามารถติดตามได้ง่ายหรือลดเวลาในการแก้ปัญหาส่วนนี้ลงไปนะครับ