ต่อจากข่าว รมว. คลัง ชี้แผน National E-payment ไม่ได้มีแค่ PromptPay ตั้งเป้าลดต้นทุนการใช้เงินสดให้ประเทศ โดยมีประเด็นเรื่องเครื่องรูดบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (EDC) รวมอยู่ด้วย
ล่าสุด นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ว่ากำลังให้กรมสรรพากรพิจารณาการลดภาษีหัก ณ ที่จ่ายลงเหลือ 2-3% จากปัจจุบัน 3-5% เพื่อจูงใจให้ร้านค้าติดตั้งเครื่องรับบัตร EDC ส่วนร้านค้าที่ไม่เข้าร่วมโครงการจะต้องจ่ายในอัตราเดิม
นายอภิศักดิ์ บอกว่าปกติแล้วร้านค้ามักไม่กล้าขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ้าย เพราะกลัวกรมสรรพากรไปตรวจสอบภาษีนั่นเอง
ที่มา - ประชาชาติธุรกิจ
Comments
แนวคิดดีครับ
ไอย่อหน้าสุดท้ายนิจะบอกว่าจะลดไปก็ไม่ช่วยจูงใจเพราะกลัวโดนยอดหลังสรุปมันช่วยหรือเปล่า.....
เพราะปกติร้านค้ามักแจ้งยอดรายได้ไม่ตรงไงครับ
ใช่ครับสุดท้ายเลยมาเป็นคำถามสรุปลดตรงนี้มันช่วยหรือเปล่า หรือต้องทำอะไรเพิ่มเติมอีก...
แจ้งตรง สรรพากรก็ไม่เชื่อ แล้วมารีดอยู่ดีครับ
เพราะมันมีข้อผิดพลาดให้สรรพากรปรับไง
เหมือนเขียนโปรแกรมใหญ่ๆ แล้วมีบัก
งานทั้งปีมันย่อมมีข้อผิดพลาดบ้าง
แล้วสรรพากรยังวุ่นวายอย่างเช่นขอเอกสารทั้งปีรวมย้อนหลัง แหม่ต้องค้นสี่ห้าสิบกล่องห่อให้เลยนะครับ
แล้วบางทีเอาเอกสารไปส่งกลับไม่ครบทำเอกสารหายอีก จะเอาเรื่องก็ไม่ได้พูดไม่ออก
แล้วก็ต้องมีสมนาคุณต่างหาก
จ้าย => จ่าย
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ุเครื่องรูดหน้าตาแบบไหนหรอครับ
เครื่องรูดปัจจุบัน ธนาคาร จะเก็บรายเดือนให้ได้เลย แล้วจะให้เราซื้อที่รูปแบบเสียบต่อตูด มือถือ แทน
คนวงการค้าขายไม่ค่อยมีใครอยากเปิดเผยตัวตนกับรัฐหรอก ไม่ใช่แค่เพราะไม่อยากจ่ายภาษี แต่การทำงานของรัฐมักจะมาไล่บี้กับคนที่เดินมาแสดงความบริสุทธิใจ ใครเปิดร้านขยของคงทราบดี แล้วถ้าค้าขายขาดทุน ก็ไม่เชื่อด้วยนะ จะเอาให้ได้ ในขณะที่ร้านที่หลบเลี่ยง ก็ไม่มีใครไปตอแย เงียบๆเนียนๆไป สุดท้าย คนดีก็อยู่ไม่ได้ แข่งขันกับพวกหนีภาษีไม่ได้
+1
อยากให้ช่วยนิยาม คนในวงการค้าขายหน่อยครับ
บริษัท เอกชน ส่วนใหญ่ก็เปิดเผยตัวตน จ่ายภาษี แต่อาจมีการทำบัญชีให้โดนภาษีน้อยที่สุด การแข่งขันกับพวกหนีภาษีไม่ได้ น่าจะจัดอยู่ในกลุ่มร้านค้าเล็กๆทั่วไป ที่ไม่มีการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม มากกว่ามั้งครับ
ใช่ครับ ร้านคาเล็กๆทั่วไป ที่จริงๆก็ไม่ได้เล็กตามชื่อหรอกครับ ร้านค้าส่งค้าปลีก ร้านห้องแถว กิจการSMEที่มีเต็มเมืองนี่แหละครับที่อยู่ในสภาพนี้ พวกออฟฟิศที่เน้นบริการ อยู่ตามตึกห้องแอร์ หรือกิจการเชนใหญ่ตามห้างไม่เจอปัญหานี้หรอกครับ แต่กิจการค้ปลีกค้าส่งที่แข่งกันด้วยราคาล้วนๆพวกนี้ เรื่องภาษีสามารถชี้เป็นชี้ตายกันได้เลยครับ
ผลสุดท้ายจึงออกมาเป็นว่าทุกคนก็หลบ เลี่ยง หนี ยื้อให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ความกดดันก็ไปตกที่ฝั่งรัฐ แล้วพอใครหนีไม่ไหว ออกมาที่แจ้งก็เลยโดนบี้หนักเลย เจ้าไหนแข็งพอ ก็ไปต่อได้ กลายเป็นกิจการในระบบได้ก็ดีไปครับ แต่คนที่ไม่ไหว ต้องปิดร้านเก่าแล้วเปิดร้านใหม่แบบหนีภาษีก็มี แถมกลายเป็นตัวอย่างให้ร้านค้าอื่นๆดูเป็นตัวอย่างอีกว่าหลบได้ให้หลบ
ถ้าทำธุรกิจแบบถูกกฎหมายแล้วอยู่ไม่ได้ ก็น่าจะเลิกกิจการไปทำอย่างอื่นมากกว่านะครับ ดีกว่าทำแบบเดิมแต่เปลี่ยนมาทำผิดกฎหมายแทน จะเปลี่ยนสินค้าเปลี่ยนทำเล หรือไปเป็นลูกจ้างก็ได้ครับ ถ้าเป็นเจ้าของธุรกิจไม่ได้
ดีครับ ให้คนไทยเป็นลูกจ้างเยอะๆ เดี๋ยวถ้านายจ้างขาดแคลน ต่างชาติเขาก็คงมาเปิดกิจการเองแหละ คนไทยไม่ต้องกลัวตกงาน #ประชด
ทุกวันนี้แรงงานก็ขาดแคลนอยู่นะครับ ลองดูตามร้านอาหารนี่แทบไม่เจอเด็กเสริฟไทยเลย
นอกจากนี้ ถ้าต่างชาติสามารถมาเปิดกิจการอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้วทำกำไรได้ ก็ต้องมานั่งคิดแล้วล่ะครับว่าทำไมคนไทยเองที่น่าจะรู้จักตลาดไทยดีถึงทำให้กำไรไม่ได้ ต้องทำผิดกฎหมายหนีภาษีถึงจะอยู่รอด เพราะการจัดการไม่ดีเนื่องจากไม่เคยเอาภาษีมาใส่ใจหรือเปล่า?
ปล. อันนี้คุยกันถึงร้านเล็กๆ ขายของตลาดนัด เปิดร้านก๋วยเตี๋ยวนะครับ เพราะอย่างที่บอกว่ากิจการใหญ่ๆ ทำถูกระบบไม่ได้มีปัญหาอยู่แล้ว
เอาเลยครับ เชิญคิดวิเคราะห์เลยว่าปัญหามันคืออะไร หรือจะแก้ได้อย่างไร ผมยินดีรับฟัง ถ้าฟังแล้วดูเข้าทีกว่าที่คุณ sialsialsial เล่า เดี๋ยวผมจะเอาไปบอกต่อ
ที่จริงแล้วคุณเองเป็นคนตั้งสมมติฐานนะครับว่า ธุรกิจ SME ไทยที่ทำถูกต้องแล้วเจ๊ง ชาวต่างชาติจะสามารถเข้ามาทำแล้วกำไรได้ และชาวไทยต้องไปเป็นลูกจ้างเขา สิ่งที่ผมคิดไว้คือ ธุรกิจที่เจ้าของเป็นคนไทยแล้วแข่งขันแบบถูกกฎหมายไม่ได้ เจ๊ง ก็ไปเป็นลูกจ้างของธุรกิจอื่นที่เจ้าของ (ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือไม่) สามารถทำกำไรได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายครับ ระหว่างทำอาจได้เรียนรู้ประสบการณ์เพื่อมาใช้กับธุรกิจตนเองในอนาคตก็ได้
สำหรับระดับ SME ปัญหาเท่าที่ผมเคยเห็นคือไม่มีการจัดทำระบบบัญชีที่ดีครับ รับเข้าเท่าไหร่ จ่ายออกเท่าไหร่ หยิบเอาจากเก๊ะ ไม่ได้คำนวนต้นทุนค่าจ้างตัวเอง (และภาษี) และไม่แยกบัญชีส่วนตัวกับกิจการออกจากกัน (เพราะถือว่า "ทั้งหมดนั่นคือเงินของเจ้าของ") ทำให้คุมค่าใช้จ่าย คิดอัตรากำไรต้นทุนลำบากครับ ทางแก้ก็ทำบัญชีให้ชัดเจนก็จะช่วยได้
แต่ถ้าทำแล้วยังขาดทุน ก็แปลว่าธุรกิจของคุณยังมีประสิทธิภาพสู้คนอื่นไม่ได้ ก็ควรหันไปทำอย่างอื่นแทนครับ แต่ไม่ใช่การลดต้นทุนภาษีด้วยวิธีการผิดกฎหมาย
ครับ ผมก็ต้องตั้งสมมติฐานอยู่แล้วล่ะครับ เพราะมันไม่ได้เกิดขึ้นจริง และผมก็ยอมรับนะครับว่าส่วนหนึ่งก็เพราะทำระบบบัญชีไม่ดี แต่มันก็มีส่วนหนึ่งที่ธุรกิจมันขนาดเล็กและรายได้น้อยจริงๆ ด้วย ถ้ากำไรพอแค่ใช้ชีวิตไปวันๆ แต่จะให้แบ่งไปจ่ายภาษีด้วยมันก็อยู่ยากครับ(ซึ่งถ้าตอนขายดีมีเงินพอจ่ายมันก็อยู่ได้นะ แต่ถ้าขายไม่ดีแล้วยังต้องจ่ายเท่าเดิมมันก็อยู่ไม่ได้ ซึ่งเศรฐกิจมันก็ขึ้นๆ ลงๆ เป็นธรรมดาอยู่แล้ว) ซึ่งถ้าอยู่ไม่ได้แล้วต้องไปเป็นลูกจ้างเลย แบบนั้นมันก็ทำให้คนไทยลืมตาอ้าปากไม่ได้ซักทีสิครับ เจ้าของธุรกิจรายใหม่ๆ จะเกิดได้ไง ส่วนเรื่องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงธุรกิจผมเชื่อว่าทุกคนอยากทำอยู่แล้วล่ะถ้ารู้วิธีและมีต้นทุน ใครบ้างไม่อยากให้กิจการตัวเองรุ่งเรือง
ปล.เรื่องต่างชาติอะไรนั่นไม่ต้องไปโฟกัสมากก็ได้ครับ ผมแค่มโนความน่าจะเป็นเฉยๆ ไม่ใช่ประเด็นสำคัญอะไร ประเด็นสำคัญ(ในหัว)ของผมคือพ่อค้าแม่ค้ารายเล็กๆ นี่ล่ะ
ขอเสริมนิดนะครับ คนต่างชาติอยู่ๆ จะมาเปิดร้านหรือค้าขายอะไรในไทยแบบขายของตลาดนัดอะไรเนี่ยผิดกฎหมายนะครับ ซึ่งถ้าเห็นว่ามีขายที่ไหนนี่แสดงว่ากำลังทำผิดกฏหมายหรือหลบเลี่ยงกฎหมายอยู่นะครับ
มั่นใจเหรอครับว่าบริษัทต่างชาติทำกำไรได้และทำถูกกฎหมาย
สมัยเรียนกฎหมายภาษีอาจารย์เล่าให้ฟังว่า มีบริษัทรถยนต์ขนาดใหญ่แห่งหนึ่งจ้างไปวางแผนภาษีให้บริษัท ลดภาษีไปได้หลายสิบเท่าจากเดิม โดยจ่ายค่าจ้างเป็นเปอร์เซ็นต์ตามที่ประหยัดได้ ยิ่งกว่านั้นอาจารย์คนนั้นเองเป็นคนที่ทำงานราชการ แทนที่จะช่วยเก็บภาษีให้รัฐ เอิ่ม....
อีกเคสก็พวกบริษัทออนไลน์ขนาดใหญ่ เปิดสำนักงานในไทยสวยๆ แต่พอเวลาเราจ่ายค่าโฆษณาให้เค้าดันไปจ่ายให้สำนักงานในสิงคโปร์ หรือประเทศอื่นๆ
ทั้งสองเคสเค้าไม่ผิดกฎหมาย แต่มันเป็นช่องโหว่ทางภาษี ซึ่ง SME เค้าไม่ได้วางแผน หรือไม่มีความสามาถจ้างนักภาษีเก่งมาช่วยเค้าได้ครับ พอทำผิดพลาดทีนึงเจ้าหน้าที่ก็เล่นงาน ทั้งปรับย้อนหลัง ทั้งดอกเบี้ยจนเรียกได้ว่าแทบเจ๊งกันเลยทีเดียว กลับกันเจ้าใหญ่ๆก็รวยเอาๆ ผูกขาดไปทุกกลุ่มสินค้าโดยที่รัฐไม่ช่วยอะไรเลยด้วย
ผมบอกว่า "ถ้า" ครับ ตามสมมติฐานที่คุณ Thaitop_BN ตั้งไว้
อีกอย่าง สิ่งที่คุณว่ามา มันคือ"ช่องโหว่"ของกฎหมายครับ สิ่งที่ควรทำคือแก้ไขกฎหมายซะ ซึ่งผมก็เห็นด้วยเต็มที่ แต่ไม่เห็นด้วยถ้าจะบอกให้ SME ออกนอกกฎหมายครับ
ผมขอความรู้หน่อยได้มั้ยครับว่าทำไมคนไทยเป็นนายจ้างแล้วขาดทุนจนต้องไปเป็นลูกจ้าง ขณะที่ต่างชาติต้องข้ามน้ำข้ามแผ่นดินมาเป็นนายจ้างแล้วได้กำไร?
ทุนหนาไงครับ ส่วนพวกทุนน้อยเขาคงไม่มาหรอก ก็เห็นอยู่ว่าขนาดคนไทย(ระดับเดียวกัน)ยังอยู่ไม่รอดละเขาจะมาทำไม
ปล.อย่าเรียกว่าขอความรู้เลย เพราะผมก็แค่นึกตามตรรกะที่คุณ holy ให้ไว้เท่านั้นเอง
ทุนหนาแล้วทำไมถึงทำกำไรได้ในธุรกิจเดียวกันกับที่คนไทยทำแล้วเจ๊งล่ะครับ?
ขอมาตอบตรงนี้เพราะมีพาดพิงชื่อผมด้วยละกันครับ
ทุนหนาสามารถทำใน Scale ใหญ่ขึ้นได้ เกิด Economies of Scale ช่วยให้สัดส่วนต้นทุนต่อรายได้ต่ำลง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะกลายเป็นการแข่งขันคนละสเกลไป บางกรณี เช่น ร้านข้าวมันไก่หน้าปากซอย มีอุปสงค์จำกัด ทุนหนาไปก็ไม่มีประโยชน์เพราะกลายเป็นลงทุนเกินความจำเป็นครับ ตรงนี้เราก็พูดถึง SME กันอยู่ดังนั้นทุนหนาค่อนข้างสร้างประโยชน์ในระยะยาวได้น้อย มีดีที่สายป่านยาวทนความผันผวนได้ แต่ถ้าสุดท้ายบริหารไม่ดีก็ไปเหมือนกัน
และผมขออธิบายตรรกะของผมเพิ่มง่ายๆ ว่า ผมมองว่าถ้าคุณแข่งขันแล้วสู้(แบบถูกกฎหมาย)ไม่ได้ ก็ควรหันไปแข่งอย่างอื่นครับ หรือไม่ก็ปรับปรุงตัวเอง สักวันคุณอาจจะเก่งขึ้นจนกลับมาสู้คนอื่นได้ หรือถ้าไม่ได้ก็มีคนไทยเก่งๆ อีกเยอะที่สู้(แบบถูกกฎหมาย)ไหว แต่ทุกวันนี้แพ้พวกนอกกฎหมายเลยไม่ได้ลุกมาแข่งครับ
เสริมว่าผมถึงมีระบุไว้ "ธุรกิจเดียวกัน" ครับ ถ้าทำอย่างเดียวกันแต่คนละสเกลนี่ผมก็นับเป็นคนละประเภทแล้ว และไม่ได้มีแต่ต่างชาติที่ทุนหนา แต่คนไทยที่ทุนหนาๆ ก็มีครับ
คนละสเกลก็แข่งกันได้ครับ เช่น 7-11 กับร้านขายของชำ ส่วนคนไทยทุนหนามีผมรู้ครับ เพราะงั้นผมถึงเขียนว่าถ้าขาดแคลนไง
เพราะ 7-11 เป็นรายบุคคลเหมือนร้านของชำ ผมว่าสเกลเดียวกันนะ
อันที่จริงปัญหาของธุรกิจ SME ในไทยนี่ส่วนหนึ่งเป็นปัญหาด้านกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายด้วยแหละครับ การทุ่มตลาดและการผูกขาดนี่เห็นกันเป็นประจำและทำอะไรไม่ได้
ส่วนเรื่องกฎหมายภาษีนี่ผมไม่มีความเห็นแฮะ ไม่รู้เบื้องหน้าเบื้องหลังพอ - -"
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ผมขอร่วมวงเสวนาด้วยละกันนะครับ
จากประสบการณ์ตรงล้วน ๆ (ทั้งจากตัวเองและเพื่อน ๆ ที่ทำธุรกิจอยู่)
ขอตอบคำถามว่าทำไมแข่งขันไม่ได้นะครับ อันนี้เริ่มจากธุรกิจระดับเดียวกันหรือใกล้เคียงกันก่อน
- เพื่อนผมทำร้านอาหาร แน่นอนมันพยายามทำถูกกฏหมายทุกอย่าง ทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้ ๆ ตลาด กฏหมายร้านอาหารคือต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียก่อนทิ้ง (ถังดักตะกอน) น้ำที่ใช้ทำอาหารต้องสะอาด (มีเครื่องกรอง) ฯลฯ
- สาธารณสุขหรืออะไรซักอย่างนี่แหละ ขยันมาตรวจจริง ทั้ง ๆ ที่เพื่อนมันก็ส่งตัวอย่างน้ำตรวจสถาบันการศึกษาของรัฐแล้ว มีใบรับรองถูกต้องเรียบร้อย หน่วยงานนี้ไม่ยอม มาถึงจะตรวจอีก ก็เอ้า แล้วแต่ ไม่เชื่อก็เอาไปตรวจเอง (เพื่อนผมเสียตังค์ค่าตรวจเพิ่มนะ = =") แน่นอนว่าผ่านอยู่แล้ว (เพื่อนผมจบสายสาธารณสุขมา มีความรู้อยู่บ้าง) แล้วมันไม่จบครับ อีหน่วยงานนี้มันขยันมามาก ๆ ทั้ง ๆ ที่ไส้กรองเนี่ย มันไม่ได้เสื่อมเร็วขนาดนั้น แม่มมาเกือบทุกเดือน จะขยันไปไหน -*-
- เพื่อนผมโมโห เลยถามกลับไปบ้างว่าไอ้ร้านรถเข็น ทั้งหลายแหล่ในตลาด รอบตลาด ข้างทาง ข้างถนน (ซึ่งอันหลัง ๆ มันไม่น่าจะถูกกฏหมายอยู่แล้ว) ทำไมไม่ไปตรวจล่ะ มันตอบกลับมา "โอ๊ย พวกนี้แตะไม่ได้ เดี๋ยวหาว่ารังแกประชาชน"
สรุปคือในสเกลเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน พวกทำผิดกฏหมายมีต้นทุนน้อยกว่า (มาก) ทำถูกกฏหมายโดนอ่วมครับ มันเลยตั้งราคาขายให้สู้กันไม่ได้ไงครับ ข้าวจานนึงมันต้องพุ่งไป 35-40 บาทเป็นอย่างต่ำแล้ว (ราคานี้ขาดทุนแน่นอนถ้ารวมค่าบัญชี ค่าแรงเจ้าของร้าน และอีกหลาย ๆ ค่าที่เป็นต้นทุนแฝงอยุ่ ซึ่งคนทั่วไปมักไม่ได้คิดว่ามันคือต้นทุน) แต่ไปซื้อจากข้างทางมันถูกกว่านี้หรือราคาเท่ากัน (แต่คนขายกำไรกว่าอย่างเยอะ)
ในสเกลที่ต่างกัน
บ้านผมเป็นโชว์ห่วยครับเป็นหนึ่งในร้านไม่กี่ร้านที่ยังรอดอยู่ แม้จะมีร้านสะดวกซื้อชื่อดังมาตั้งใกล้ ๆ (ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะเจ๊งเมื่อไหร่) ต้องดิ้นรนมาก ๆ ครับ ใช้ทุกวิถีทางที่จะชูจุดเด่นตัวเองให้ได้ จากที่ค้าขายสบาย ๆ เรื่อย ๆ ไม่ซีเรียส เดี๋ยวนี้ต้องศึกษาคู่แข่งตลอดเวลา ราคาเขาเท่าไหร่ เขากำลังฮิตอะไรกัน ลูกค้าชอบแบบไหน ไม่ชอบแบบไหน ชอบอะไรเรา ไม่ชอบอะไรเรา อะไรที่เขามีแต่เราไม่มี อะไรที่เรามีแต่เขาไม่มี ฯลฯ
มองมุมนึงก็ส่งเสริมการแข่งขันดีนะครับ เป็นประโยชน์กับผู้บริโภค แต่อีกมุมนึงมันจะแข่งไปได้ซํกกี่น้ำกันครับ อีกฝั่งเขาเป็นบริษัทใหญ่มาก มีผู้เชี่ยวชาญไม่รู้กี่สาขาวิชามาช่วยคิดให้ ควบคุม supply chain ได้หมด (ในขณะที่เราไม่มีอำนาจซักนิดเดียว) บอกตรง ๆ ว่านับถอยหลังไปเรื่อย ๆ ครับ ตอนนี้ยังไหวก็ทำไป ไม่ไหวเมื่อไหร่ก็คงกลายเป็นร้านสะดวกซื้อไปอีกร้านแหละครับ...
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
มั่นใจเหรอครับว่าบริษัทต่างชาติทำกำไรได้และทำถูกกฎหมาย
สมัยเรียนกฎหมายภาษีอาจารย์เล่าให้ฟังว่า มีบริษัทรถยนต์ขนาดใหญ่แห่งหนึ่งจ้างไปวางแผนภาษีให้บริษัท ลดภาษีไปได้หลายสิบเท่าจากเดิม โดยจ่ายค่าจ้างเป็นเปอร์เซ็นต์ตามที่ประหยัดได้ ยิ่งกว่านั้นอาจารย์คนนั้นเองเป็นคนที่ทำงานราชการ แทนที่จะช่วยเก็บภาษีให้รัฐ เอิ่ม....
อีกเคสก็พวกบริษัทออนไลน์ขนาดใหญ่ เปิดสำนักงานในไทยสวยๆ แต่พอเวลาเราจ่ายค่าโฆษณาให้เค้าดันไปจ่ายให้สำนักงานในสิงคโปร์ หรือประเทศอื่นๆ
ทั้งสองเคสเค้าไม่ผิดกฎหมาย แต่มันเป็นช่องโหว่ทางภาษี ซึ่ง SME เค้าไม่ได้วางแผน หรือไม่มีความสามาถจ้างนักภาษีเก่งมาช่วยเค้าได้ครับ พอทำผิดพลาดทีนึงเจ้าหน้าที่ก็เล่นงาน ทั้งปรับย้อนหลัง ทั้งดอกเบี้ยจนเรียกได้ว่าแทบเจ๊งกันเลยทีเดียว กลับกันเจ้าใหญ่ๆก็รวยเอาๆ ผูกขาดไปทุกกลุ่มสินค้าโดยที่รัฐไม่ช่วยอะไรเลยด้วย
"มั่นใจเหรอครับว่าบริษัทต่างชาติทำกำไรได้และทำถูกกฎหมาย"
คุณก็บอกเองว่า "ไม่ผิดกฏหมาย" ตกลงถามเองตอบเองเหรอครับ? ผิดก็ส่วนผิด ช่องโหว่ก็ส่วนช่องโหว่ครับ เขาอาศัยช่องโหว่มันไม่ได้ผิดกฏหมาย แต่มันน่าเกลียดแค่นั้น (มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าช่องโหว่มันใหญ่แค่ไหน) และไม่ใช่เฉพาะบริษัทต่างชาติที่อาศัยช่องโหว่ครับ บริษัทไทยก็ทำ ตัวดีเลยล่ะ ก็ต้องถามกลับว่าถ้าเป็นคุณทำบริษัทตัวเอง รู้ว่าทำยังไงจะลดภาษีตัวเองได้บ้างคุณจะไม่ทำ? ผมว่าช่องโหว่ส่วนใหญ่มันเป็นโซนเทา ๆ นะ ไม่ได้ดำปี๋ขนาดนั้น
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ขออภัยครับ ปกติอ่านอย่างเดียวไม่เคยตอบ ผมตั้งใจตอบคอมเม้นท์ของคุณ Holy ด้านบนครับ
ที่เค้าบอกว่าต่างชาตอเข้ามาเสียภาษีถูกฎหมายได้กำไร ทำไมคนไทยทำถูกกฎหมายแล้วเจ๊ง
ทีต้องการสื่อ เปรียบเทียบบริษัทขนาดใหญ่ กับ เอสเอ็มอี
นอกจากเงินทุนแล้ว ก็แพ้เพราะ"ความรู้"ภาษี ตอนเปิดกิจการใหม่
เจ้าของไม่ได้คิดหรอก ภาษียื่นตอนไหน ทำยังไง คิดแค่ว่าหาเงินๆ
ทำยังไงให้บวกลบต่อเดือนเหลือกำไร บางคนไม่รู้ด้วยว่า 1.8 ล้านต้องเข้า vat
พอมารู้ตอนหลังจากที่ผิดไปแล้ว ก็ไม่กล้าออกไปรับผิด
เพราะกลัวว่าจะมีเบี้ยปรับย้อนหลังอะไรตามมา เจ้าหน้าที่เองก็รอซ้ำเติมที่กับคนกลุ่มนี้แหละ
ไม่แปลกที่ SME จะเจ๊งกันระนาว
+1 เห็นด้วยตามนั้นครับ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
รัฐน่าจะควบคุมค่าธรรมเนียมที่ธนาคารหักจากยอดรูดของร้านค้าด้วย เพราะร้านส่วนใหญ่ ก็มีเครื่องรูดแค่เครื่องเดียว เจอบัตรต่างธนาคาร ต่างระบบ ร้านก็โดนค่าธรรมเนียมไป2%กว่า จากยอดรูดแล้ว ถ้าไม่ได้บวกราคาหน้าร้านเผื่อไว้ ร้านก็ต้องไปชาร์จจากลูกค้าอีกที เป็น 3%เลย ส่วนต่างถือเป็นกำไรของร้านค้าเพิ่มอีกด้วย
อันนี้เป็นคำถามสำคัญครับ ว่าต่อให้มีแรงจูงใจ แต่ที่ผ่านมากระบวนการจ่ายผ่านบัตรมีต้นทุนสูง ไม่นับเรื่องค่าธรรมเนียมก็ยังมีระยะเวลา hold เงินกันอีก ถ้าระบบ national e-payment เกิดได้จริงก็ต้องออกมาเป็นชุดแก้ปัญหาครบชุด จัดหาเครื่องมาใช้ได้ง่าย (ไม่เรื่องมาก เงื่อนไขเยอะ หรือเครื่องแพง), ต้นทุนการใช้เครื่องไม่แพง (โดนหักแพง หรือโดนดึงเงินไว้นาน)
lewcpe.com, @wasonliw
ถ้าเครื่อง EDC ที่กล่าวถึงเกิดจริงๆ
ภาษีต้องเก็บได้มากขึ้นแน่ๆ
ขายของ รายย่อยที่ทุกวันนี้อยู่ได้ก็เพราะไม่ต้องจ่าย VAT นี่แหละ ....
ทั้งในเน็ต แม้กะทั่ง ร้านข้าวแกง ริมถนน
รายได้ มากกว่า 1.2ล้านต่อปี แต่ ไม่ได้ขายรวม VAT
สินค้าเลยถูกกว่ารายใหญ่ๆที่มี VAT ...
ท้ายสุดเข้าระบบทั้งหมด ได้จริง ต้องมีคนเจ็บตัว
...แต่ก็สมควรจะเป็นแบบนี้จริงๆ
ขอสนับสนุน อีกแรง
เครื่องรูดบัตรแม่เหล็ก นี่ เอาแบบผูกมือถือ เครื่องไม่ถึง 100 บาท แจกร้านค้าที่จดทะเบียนได้เลย
ส่วนเครื่องรูดบัตรที่เป็น EMV ก็ไม่น่าถึงพัน