เราเพิ่งเห็นข่าว Seagate เปิดตัว SSD ขนาดใหญ่ถึง 60TB ในไดรฟ์ขนาด 3.5 นิ้ว ฝั่งของคู่แข่งอย่าง Samsung ก็เปิดตัวไดรฟ์ SSD ความจุ 32TB ซึ่งอาจดูน้อยกว่ากันเกือบครึ่ง แต่ขนาดไดรฟ์ก็เล็กกว่าคือ 2.5 นิ้ว
ไดรฟ์ตัวนี้เป็นตัวแรกที่ใช้เทคโนโลยี 3D Vertical NAND (V-NAND) รุ่นที่สี่ของ Samsung โดยวางเลเยอร์ NAND ซ้อนทับกัน 64 เลเยอร์ในชิปตัวเดียว สมัยเปิดตัวเทคโนโลยี V-NAND ในปี 2013 บริษัทสามารถวางได้ 24 เลเยอร์ และค่อยๆ พัฒนามาเรื่อยๆ จนทำได้ 64 เลเยอร์แล้ว ช่วยให้ความจุต่อขนาดของ SSD เพิ่มขึ้นมาก
อินเทอร์เฟซการเชื่อมต่อเป็น SAS (serial-attached SCSI) และออกแบบมาสำหรับเซิร์ฟเวอร์เป็นหลัก สินค้าจะวางขายจริงในปีหน้า
ที่มา - Samsung, Computerworld
Comments
ช่วยแข่งกัน "ลด" ราคาด้วยคร้าบ ><
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
เหลือแค่ราคาเลยตอนนี้
20TB ราคาสักหมื่นนึงนี่คงดีมิใช่น้อย/ผมฝันอยู่
ที่น่ากลัวคือ พอทำของแบบนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ความจุสูงขึนเรื่อย แน่นอนว่าราคาในอนาคตก็จะถูกลง แต่คุณภาพและความคงทนของสื่อในการเก็บข้อมูลมันจะด้อยตามราคาหรือเปล่า เพราะตอนนี้แม้ SSD จะน่าเชื่อถือและอยู่ได้นานขึ้นตามเทคโนโลยี แต่ก็ยังตามหลัง Hard disk แบบดั้งเดิมอยู่ โดยเฉพาะการกู้ข้อมูลบน SSD ที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าชำรุดเสียหาย ซึ่งตรงข้ามกับ Hard disk ที่ไม่มีปัญหาตรงนี้เลย
อาจจะเหมือน Hard disk กับ Floppy disk ในอดีต แม้ความจุน้อย แต่อยู่ได้คงทนหลายทศวรรษ ตรงข้ามกับของใหม่ที่อยู่ได้ไม่กี่ปีก็จากไปแล้ว ต้องซื้อใหม่หรือทำคัดลอกอยู่เสมอ
Get ready to work from now on.
ตอนนี้ที่ฮาร์ดคอร์จริงๆก็เก็บใส่แท็ปครับ ฮาร์ดดิสโดยแม่เหล็กทีก็จบ อนาคตจะเก็บใส่ DNA แล้วครับไม่นานใกล้ขายได้แล้ว
ผมเคยอ่านเจอในหนังสือคอมเล่มหนึ่งซึ่งเป็นหนังสือแปลมาจากเยอรมันเมื่อนานมาแล้ว
เขาก็มีทดสอบเรื่องแม่เหล็กกับฮาร์ดดิสอยู่ครับ โดยใช้แม่เหล็กแรงสูง จ่อๆ ถูๆ
ผลคือฮาร์ดดิสไม่เป็นอะไรเลยครับ ข้อมูลปกติดี ซึ่งเขาอธิบายว่าสนามแม่เหล็กจากแม่เหล็กจากภายนอกนั้นแรงไม่พอที่จะทำให้สถานะบนจานข้อมูลเปลี่ยนได้ แต่ที่หัวฮาร์ดดิสเขียนข้อมูลได้เพราะว่า เมื่อเทียบความหนาแน่นของสนามแม่เหล็กแล้วสูงกว่าแม่เหล็กจากภายนอกมหาศาล จากที่หัวอ่านมันใกล้กับจานมากๆ ครับ
ปกติแล้วในอุปกรณ์พวกนี้มันจะมีการแบ่งเกรดอยู่แล้วครับ ขึ้นอยู่กับงบประมาณในการเลือกใช้งานของคุณ
ทำไมประสบการณ์ของผมช่างแตกต่างกัน
ผมใช้งานแบบปกติ SSD ไม่เคยเจอปัญหา ทั้งแบบ 2.5 และ M2
ส่วน Floppy Disk สมัยก่อนเจอ Bad Sector เป็นว่าเล่น
HDD แบบ 2.5 ก็เจอเสียบ้าง ส่วน 3.5 เสียบ่อยมาก และ External ยิ่งเสียง่ายสุดๆ
oxygen2.me, panithi's blog
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
+1
HDD เนี่ยนะครับทนกว่า SSD?
ปัญหาของ SSD ที่เกิดขึ้นจริงๆถ้าไม่นับปัญหาจากการผลิต(ในสมัยก่อน)เลยคือ random write ส่วนปัญหา HDD เนี่ยมาหลายปัจจัยมากครับ ทั้งวงจร/mecha มีผลกระทบจากไฟฟ้าง่ายกว่า, bad sector, head crash และปัญหาอื่นๆอีกมากรวมการเสื่อมของ mechanical ด้วย
เอาง่ายๆว่าในตอนนี้ไม่มี consumer HDD ยี่ห้อไหนให้ประกันเกินกว่า 3 ปีเลยครับ(เคยให้ 5 ปีแล้วคงไม่ไหวเลยลดลง) ส่วน SSD นี่ 5 ปี 10 ปีเป็นเรื่องปรกติ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
เทคโนโลยีผลิตดีขึ้นคุณภาพมันไม่ลดหรอกครับ ยกเว้นแต่ว่าตั้งเป้าลดต้นทุนเพื่อลดราคาโดยเฉพาะ ซึ่งมันเป็นคนละปัจจัยกันครับต้องแยกตามเกรดสินค้าไป
เรื่องกู้ข้อมูล HDD จะสองโหลผมไม่เคยกู้ข้อมูลสำคัญสำเร็จเลย ถ้าเอาราคาส่ง lab ที่อาจกู้ได้บางลูกซื้อ HDD สำรอง 3 เท่าคุ้มกว่าครับ ซึ่งด้วยความน่าเชื่อถือของ SSD ถ้าลงมาราคาพอๆกันผมว่าซื้อ SSD แค่ 2 ชุดพอเพราะปัจจัยที่ทำให้เสียมีน้อยกว่ามาก HDD จานหมุนนี่เคยทำถุงขาดสูงประมาณ 30cm หล่นทีเดียวพัง 2 ตัวคู่เลย
อยากทราบว่าอะไรทำให้คุณคิดว่า No moving part solid state จะมีความทนทานด้อยกว่า HDD แบบจานหมุนครับ ?
คือตอนนี้ read/write circle ยังน้อย เมื่อเทียบกับ HDD ปกติ และเวลาเสียก็กู้ไม่ได้เลยหรือทำได้ยาก ไม่เหมือน HDD ที่สามารถทำได้โดยถอดชิ้นส่วนแล้วเข้ากระบวนการกู้ข้อมูลในห้องปลอดฝุ่นไงครับ
Get ready to work from now on.
ไม่เถียงเรื่องการกู้หรือซ่อมนะครับ พูดเรื่อง "ความทนทาน" ล้วนๆเลยครับ
ส่วนตัวผมเองใช้ SSD แบบราคาถูกเกือบที่สุดในตลาด โหลดบิตและรันวินโดว์แบบ 24/7 มาเกือบสามปีแล้ว มันก็ยังไม่พัง เลยสงสัยแนวคิดเรื่องความทนทานน่ะครับ
Harddisk ปล่อยไว้นิ่งๆเป็นทศวรรษนี่แขนมันเดี้ยงค้างไม่ขยับเลยก็มีครับ โดยนี่ไม่ต้องโดนกระทบหรืออะไรก็แล้วแต่
ปัญหาคือ ssd ถ้ามันพังแล้ว มันไปเลยครับ ไม่มีสัญญาณเตือน
แต่ถ้าระดับองกรณ์ ส่วนใหญ่มี raid ป้องกันอยู่แล้ว
ปัญหาอยู่ที่ผู้ใช้ตามบ้านมากกว่า
SSD ถ้าติดตั้งและ monitor ดีๆ ก็สามารถทำ alert เตือนได้ครับ พวกที่อยู่ๆ แล้วพังไปเลยเนี่ย มักเป็นที่ controller ห่วยมากกว่า NAND Flash ครับ
SSD ระดับ enterprise จากที่ใช้มา ทนกว่าแบบ consumer พอสมควรแถมยังนิ่งกว่าด้วย แต่ราคาก็แพงกว่าหลายเท่า รวมไปถึง IOPS ที่น้อยกว่ามาก เช่นกัน ซึ่ง enterprise เกรดพวกนี้มี s/w monitor พร้อม และมีสเปคบอกว่า limit ของมันอยู่ตรงไหนไว้อย่างชัดเจน จนรุ่นหลังๆ consumer ก็ต้องเอาตัวเลขพวกนี้มาใส่ด้วยเหมือนกัน และเคลมว่ามันทำงานได้ แต่ Gen เดียวกัน enterprise มักให้ตัวเลข IOPS น้อยกว่า แต่ TBW สูงกว่าอยู่เสมอๆ ลองเทียบๆ ดูครับ หลายๆ อย่างความจุเท่ากัน แต่พอมาดูพวก TBW จะเห็นว่าพวกราคาแพงๆ จะมีค่าพวกนี้สูงตาม
64 layers นึกถึงคอนโดมิเนียมเลย
รอดู intel 3dxpoint
http://www.digitaltrends.com/computing/intel-optane-ssd-2016-3dxpoint/