สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ที่กสทช. เรียกผู้ให้บริการมือถือเข้าพบเพื่อหารือและร่างหนังสือ ในการยื่นเรื่องไปยัง Niantic Labs เพื่อจัดระเบียบ (zoning) เกม Pokemon Go (ข่าวเก่า) ล่าสุดทางกสทช. ได้ส่งหนังสือไปยัง Niantic Labs อย่างเป็นทางการแล้ว
ใจความสำคัญของหนังสือ คือกสทช. ได้ขอความร่วมมือให้ Niantic Labs ระงับการปล่อยให้โปเกมอนสุ่มเกิดในพื้นที่อันตรายซึ่งประกอบไปด้วยทางเท้า, ทางรถไฟและริมฝั่งคลอง พื้นที่ศาสนสถาน โรงเรียน สถานพยาบาล อาคารสำนักงานของรัฐบาลและกองทัพและพื้นที่ส่วนตัว (private places) โดยทางกสทช. ระบุด้วยว่าจะลิสต์รายชื่อสถานที่และยื่นให้ Niantic Labs เพิ่มเติมต่อไป
นอกจากนี้กสทช. ยังขอให้ Niantic Labs จำกัดการเล่นเกมในช่วงกลางคืน เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเล็กออกไปเล่นเกมข้างนอกแล้วเกิดอุบัติเหตุด้วย
ที่มา - @TakornNBTC
หนังสือจากสำนักงาน กสทช. ถึงบริษัท ไนแอนติค (Niantic) เพื่อขอความร่วมมือในการกำหนดพื้นที่ในเกม Pokemon Go pic.twitter.com/WkFbG9HfYj
— Takorn Tantasith (@TakornNBTC) August 11, 2016
Comments
ผมสงสัยว่า กสทช. มีอำนาจหน้าที่อะไร ถึงจะเข้ามาควบคุมเกมในกรณีนี้ได้
อำนาจ กสทช. คือควบคุมแค่โทรคมนาคมและการกระจายเสียงไม่ใช่เหรอ ในเมื่อชื่อขององค์กรก็บอกอยู่แล้ว
ทำงานเกินหน้าที่
รวมถึงกรณีก่อนหน้านี้ ที่เลขาธิการกสทช. คนนี้ ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นที่ไม่เหมาะสมเท่าไหร่ กับกรณีของ JAS และ 3BB ด้วยนะครับ
รู้สึกว่าต้องการขึ้นหน้าหนึ่งมากเกินไป
+1
เป็นการขอความร่วมมือครับ ไม่น่าจะเป็นกฏบังคับให้เขาทำได้ คือเขาจะทำไม่ทำก็ได้ ผมเข้าใจอย่างนั้นนะ
เข้าใจครับว่าขอความร่วมมือได้ นายก อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้านก็ทำหนังสือขอความร่วมมือได้ไม่ผิดหรอก
แต่ประเด็นคือเค้ามีงานอื่นต้องทำเร่งด้วนกว่านี้ไหมล่ะครับ
กสทช. งานเยอะจะตาย กลับมานั่งเสียเวลากับโปเกม่อน?
อยากขึ้นหน้าหนึ่งชัดๆ
หน้าที่ดูแลคนในครอบครัวก็ต้องเป็นของคนในครอบครัว ไม่ใช่หน้าที่ของ กสทช หรือบริษัทเกม
ตัวผู้เล่นเองนั่นแหละครับ
แหม่ ... ผมว่าใจความสำคัญของจดหมายนี้อยู่ที่ ส่วนพ่วงตอนท้ายของจดหมายป่าวครับ เรื่องขอให้ทรูมีสิทธิ์จัดการ Pokemon GO?
สมควรหรือไม่ที่ กสทช ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐ ออกมาปกป้องสิทธิ์(เทียม?)ของเอกชน โดยเฉพาะในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับอำนาจและหน้าที่ของกสทช?
เขาคงงงๆ อะไรของพวกนี้
lewcpe.com, @wasonliw
"สำหรับบริษัท ห้าง ร้าน ที่เริ่มต้น หรือกำลังคิดจะใช้ Pokémon GO ทำการตลาด ก็ต้องคิดให้รอบคอบมากขึ้น เพราะ ทรู ส่งสัญญาณมาแล้วในฐานะผู้ดูแลลิขสิทธิ์เกม"
https://brandinside.asia/true-pokemon-go-right-to-marketing/
ผมอ่านตรงนี้แล้วก็งงๆ (เห็นว่าเป็นเวปในเครือ Blognone?)
สรุปทรูถือลิขสิทธิ์ในตัวเกมแล้วหรอครับ? ตั้งแต่เมื่อไร? แล้วที่แถลงต่อกสทช. ไปคืออัลไล...
ถ้าผมจำไม่ผิด เวปนี้เหมือนจะเป็นเวปแรกๆเลยที่ลงข่าวว่าทรูถือลิขสิทธิ์โปเกมอนโกนะครับ
ถือลิขสิทธ์ pokemon ไงครับ ดังนั้นจะเอาคำว่า pokemon ไปโฆษณาไม่ได้ ถ้าสามารถเลี่ยงโปเกมอน หรือชื่อตัวละครโปเกมอนก็คงไม่มีปัญหา
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
เรื่องรายละเอียดปลีกย่อยผมคงตอบแทนทรูไม่ได้ครับ ไปดูสัญญาของเขากันเอง ถ้าใครไปเจรจาน่าจะขอดูได้ ว่าเขาได้ transfer สิทธิ์อะไรมาบ้าง (มาเล่ากันด้วยก็ดี)
แต่เท่าที่ผมเข้าใจประเภททำป้ายเชิญชวนให้คนไปเล่นที่นั่นที่นี่ มีโลโก้โปเกมม่อน (ซึ่งโลโก้โปโกมม่อนโก ก็มีโลโก้โปเกมม่อนเป็นส่วนประกอบ), มีตัว Pikachu อยู่ในภาพ, อาจจะรวมไปถึงการใช้ screenshot เกม (ซึ่งมีภาพตัวละคร) ฯลฯ เขาคงถือว่าเข้าข่ายต้องคุยกับเขา
ตอนแถลงข่าวกสทช. ตัวแทนทรูบอกชัดในงาน (นาทีที่ -18:00) ว่าได้รับสิทธิ์ดูแล "sponsorship และกิจกรรมของเกม" (quote ตามคำพูด)
การที่เขาไม่ใช่ "เจ้าของ" ไม่ได้แปลว่าเขาจะไม่ได้มีสิทธิ์จัดการครับ (ถือสิทธิ์การจัดการลิขสิทธิ์ กับการถือลิขสิทธิ์ ก็คนละเรื่องกัน) นึกถึงคนเก็บลิขสิทธิ์เพลงตามต่างจังหวัดก็แบบนี้ ส่วนว่าจะเชื่อว่าเขาได้สิทธิ์มาจริงไหม อันนี้อย่างที่บอกว่าไปขอดูสัญญาของเขากันเอง ถ้าเขาให้ดู
lewcpe.com, @wasonliw
ขอให้ Niantic เมิน
+1 ขอให้ กสทช. ไปดูแลเรื่องที่มันควรจะเป็นหน่อยเหอะ เรื่อง Pokémon Go นี่ดิ้นเป็นน้ำร้อนลวก หรือเป็นเพราะอยากทำให้ทรูกันแน่ ส่วนเรื่อง SMS กินเงินกับเรื่องยื้อย้ายค่ายแทบจะไม่มีอะไรดีขึ้นเลยด้วยซ็ำ
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
ผมไม่เห็นว่าภาครัฐควรเข้ามายุ่งเรื่องนี้ตรงไหนเลยครับ
เห็นด้วย เพื่อความปลอดภัย
ใช่ครับเห็นด้วย
ปกติ niantic เขาก็มีส่วนสำหรับติดต่อในเรื่องพวกนี้อยู่แล้ว ก็จัดการไปตามช่องทาง
แต่อย่าไปมาตีเนียนทำเป็นขอสิทธิ์ในการจัดการ pokemon go ในประเทศไทยเชียว ทรูมันมีสิทธิ์แค่ในตัวโปเกม่อน ซึ่งสิทธิ์นั้นก็ไม่เกี่ยวกับเกม pokemon go สักนิด เห็นทรูมันตีเนียนมาตั้งแต่วันแรกที่เข้าไทยละ ขวางลำไม่ให้ใครเข้ามายุ่ง แถม กสทช ยังบ้าจี้ไปคุยกับทรูเรื่อง pokemon go แล้วดันออกมาบอก "เพิ่งรู้ว่าทรูไม่เกี่ยว" เหอะ ๆ
ถ้าคนเล่นมันเล่นจนทำผิดกฎหมาย เช่น บุกรุกพื้นที่ส่วนตัว/พื้นที่ราชการ เล่นมือถือระหว่างขับรถ ก็แค่จับไง จับมันเข้าไปสิ กฎหมายมีให้ใช้ไม่ใช้ อย่ามาทำตัวแบบพ่อแม่ที่ออกมาโวยโทษเกมว่าลูกติดจนเสียการเสียงาน ทั้ง ๆ ที่มันเรื่องของตัวเองแท้ ๆ แต่พอจัดการเองไม่ได้ก็โทษเกม
ปรึกษาคุณกอบกาญจน์ บ้างไหมครับ เห็นคุณกอบกาญจน์ จะนำPokémon GO มาโปรโมทการท่องเที่ยว
ทำไมไม่ไปทำให้ประเทศไทยน่าดูปลอดภัยทั้งกลางวัน หรือกลางคืนด้วยละเนี่ย มาควบคุมเกม ห้ามให้สุ่มเกิดที่นุ่นนี่ ที่กลางมานี่มันก็บล็อคเกือบทั้งประเทศละ ต้องไปเล่นในป่าละมั้งเนี่ย 55+
ในป่าโปเกมอนก็ไม่เกิดอีก 55
การทำให้ตอนกลางคืนปลอดภัยนี่ไม่ง่ายนะครับ คงมีแต่ประเทศเล็กๆที่ทำได้
อันนี้ผมพูดเฉพาะเรื่องความปลอดภัยนะ ส่วนเรื่องควบคุมนี่ ผมก็ไม่ได้เห็นด้วย เพราะมันเป็นการแก้ที่ปลายเหตุจนเกินไป
ทำไมไม่บอกว่าทำให้ทุกคนในประเทศเป็นคนดีไปเลยล่ะงั้น
โลกสวยสุดๆเลยครับ
ผมไม่มองโลกสวยหรอกครับ คนดีทั้งหมดมันคงเป็นไปไม่ได้อยู่แล้วนะครับ
ป้องกันเด็กเล็ก? เด็กเหล่านั้นไม่มีผู้ปกครองคอยควบคุมเหรอ? หรือมีแต่ไม่สนใจลูกหลานตัวเอง? แล้วเรื่องนี้มันหน้าที่กสทช.? ว่างเหรอ งานตัวเองจริงๆ น่ะทำดีแล้วหรือยัง
ให้ดีคือควรประกาศ remove ให้หมดทั้งแผนที่ประเทศไทยเลย
แล้วส่ง zone ที่อนุญาติให้เล่นได้ให้กับ Niantic
สนับสนุนให้ AEC รวมตัวกันฟ้องศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในเฮก
เรื่องของการจัดกิจกรรมหาประโยชน์บนพื้นที่อธิปไตยของรัฐ และ
Niantic ต้องจ่ายภาษีในอัตราเดียวกับบริษัทต่างชาติที่หาประโยชน์กับพื้นที่อันเป็นอธิปไตยของรัฐ
โลกควรมีสนธิสัญญาเรื่อง รัฐมีสิทธิใน ข้อมูลของประชาชนในรัฐ ได้แล้ว
อธิปไตยครอบคลุมถึงพื้นที่ + ประชาชนแห่งรัฐนั้น ห้ามมิให้ประเทศอื่นละเมิดสูบข้อมูล เว้นแต่จะมีการทำสัญญาตกลงกัน
Engine แผนที่ของเกมคือ Google Maps ดังนั้น Google Maps ก็ไม่ควรใช้ในประเทศไทย?
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ รับพิจารณาคดีเฉพาะการพิพาทระหว่างรัฐ เช่น เขตแดน เป็นต้น
Niantic ไม่ใช่รัฐ ไม่มีสถานะของการเป็นรัฐ และไม่ได้ถือหุ้นโดยรัฐ ว่าง่ายๆ คือไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ และต่อให้รัฐมีสนธิสัญญาในลักษณะนี้ อะไรคือ "เขตแดน" (territory) ของรัฐในโลกออนไลน์ (cyberspace) ครับ? ข้อมูลที่ถูกส่งผ่านระหว่างประเทศ หากข้อมูลชุดนั้นไม่ผิดกฎหมายของประเทศต้นและปลายทาง แต่ผิดกฎหมายของประเทศระหว่างทาง จะทำอย่างไร? ฯลฯ
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
ผมว่าคุณ Kukumo เค้าประชดหรือเปล่าครับ ^^;;;
โปรดอ่าน ตัวอย่างนี้ และ ตัวอย่างนี้ ประกอบการพิจารณา
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
ร่างอวตารหรือเปล่านะ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ชัวครับ
สำนวนการเขียนสไตล์จับแพะชนแกะนี่เค้าล่ะ
ก็ฟ้องรัฐ ที่ตั้ง Niantic ไงละครับ ซับซ้อนตรงใหน ?
ให้ถือว่าข้อมูลของเอกชน ณ ตำแหน่งที่ตั้งรัฐนั้น รัฐสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยพฤตินัย
(เช่นในเวลาเกิดสงคราม รัฐไม่ต้องทำอะไร แค่สั่งให้เอกชนมอบข้อมูลให้ ก็ต้องทำตามโดยพฤตินัย)
ในเมื่อ Niantic ไม่ใช่รัฐ แต่มีพฤติกรรมเก็บข้อมูลหรือหาประโยชน์[ โดยมีเงื่อนไขผูกพันกับพื้นที่ของรัฐอื่น ] รัฐที่ตั้ง Niantic ก็ต้องรับผิดชอบ
เพราะ[ข้อมูลของรัฐหนึ่ง] ถูกส่งไปเก็บยังรัฐอื่น
ศาลยุติธรรมเกิดขึ้นด้วยจุดประสงค์ป้องกันปัญหาพิพาทระหว่างประเทศ เพื่อไม่ให้เกิดกรณี WW2 ขึ้นอีก
สงครามมันก็เริ่มมาจากการ "พยายามล่วงละเมิดอธิปไตย" สมัยการล่าอาณานิคมยังคงมีอยู่
เก็บสะสมในเอเชียหมดแล้ว ชิล ประเทศ A ไปพยายามเก็บประเทศในยุโรป B เป็น อาณานิคม (ในทางพฤตินัย) มันเลยเกิดสงครามไง
ตอนนี้เราอยู่ในยุคสงครามนอกแบบ สงครามข้อมูลข่าวสาร สงครามเศรษฐกิจ
อยากยึดประเทศก็แค่เล่นเกมเงิน จนประเทศ A ล้มละลาย และก็เข้าไปแทรกแซงเสีย
มันมีช่องว่างตรงที่
อธิปไตยของรัฐ ครอบคลุมถึงข้อมูลของประชาชนในรัฐ และข้อมูลของตัวรัฐหรือไม่ ตรงนี้มันไม่เคยเป็นประเด็นมาก่อน
ลองนึกถึงเด็กในยุคหลังจากนี้ ที่เกิดมา พ่อแม่เก็บภาพลง facebook
มีข้อมูลทุกอย่างตั้งแต่เกิด ยันทำงาน จนถึงยันเป็น CEO หรือบุคคลที่กุมเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในประเทศนั้น
มีตั้งแต่ข้อมูลโรงเรียนแรกที่เข้า ขนมที่ชอบกิน หนังที่ชอบดู ถนนที่เกิด เคยเดินบนถนนเส้นใดบ้างในเวลาใด
และเคยเห็นพวกคำถาม secret question เวลาเรา forget password มั้ยครับ ?
มันถามอะไรบ้าง ถาม "สัตว์เลี้ยงตัวแรก" "ถนนเส้นที่เกิด" "พ่อแม่พวกคุณพบกันที่.." "ดาราที่ชอบ"
หวังว่าพอจะคิดอะไรออก
เรียกได้ว่า รัฐที่เก็บข้อมูล มีข้อมูลของเรา มากกว่าที่เรารู้จักตัวเองเสียอีก
ชีวิตผู้คนตั้งแต่เกิดจนโต ถูกเก็บบันทึกไว้ในประเทศหนึ่ง และมันสามารถถูกใช้ได้ทุกวิถีทาง
พูดแบบนี้ก็ไม่ถูกนะครับ เพราะประชาชนเป็นคนยินยอมส่งข้อมูลให้เค้าเอง เหมือนซื้อปืนแล้วเอามายิงในประเทศเราเองนั้นล่ะ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
โอย .. Facebook กับ โปเกม่อน เรายอมรับ "สิทธิ์" นั้นๆ กับผู้ให้บริการเป็นรายบุคคล ถ้าจะมากังวลกับการรั่วไหลของข้อมูลข่าวสารที่ท่านรู้ลึกรู้จริง เอาดาวเทียมออกไปจากหัว รัฐเลิกทำเอกสารด้วย Microsoft word บน Windows แล้วส่งผ่าน LINE กันก่อนดีไหม .. รถ เครื่องบิน เรือรบ ใส่อะไรมาบ้าง รื้อให้หมด เทียมเกวียนกันบนทางด่วนกันเลยดีกว่า
my blog
ซับซ้อนสิครับ เพราะการกระทำนี้มันเป็นเรื่องของเอกชน ไม่ใช่การกระทำของรัฐ สิ่งที่คุณพยายามชี้คือภาครัฐต้องรับผิดชอบการกระทำของเอกชน เป็นสิ่งที่ตลกมากนะครับ คิดในแง่นี้สมมติว่า บริษัทไทยไปดำเนินกิจการที่ต่างประเทศ รัฐบาลไทยก็ต้องพร้อมที่จะโดนฟ้องด้วยนะครับ จะเอาแบบนั้นจริงๆ ใช่ไหมครับ?
อันนี้คุณก็ทราบความจริงข้อนี้อยู่เต็มอก ผมไม่รู้ว่าคุณจงใจจะสับสนหรือหลับหูหลับตาหรือไม่ แต่ Niantic เป็นองค์กรภาคเอกชนไม่ใช่รัฐ นี่คือจุดที่ผมย้ำ ICJ ไม่มีอำนาจแบบนี้
Statistic (สถิติ) รากศัพท์ของมันคือ status (สถานะ) ซึ่งเป็นรากศัพท์ของคำว่า "State" ที่แปลได้ทั้งว่า "สถานะ" และ "รัฐ"
ข้อมูลของประชาชนและรัฐ เป็น "ประเด็น" มาตั้งแต่การกำเนิดขึ้นของรัฐชาติสมัยใหม่ อย่างน้อยที่สุดในกลางศตวรรษที่ 17 ของยุโรป (อ้างอิง: Security, Territory, Population โดย Foucault) และภายใต้โครงสร้างนี้ ข้อมูลเหล่านี้ถูกแสดงออกมาในรูปของสถิติที่เปิดเผย และเป็นหนึ่งในกลไกป้องกันการทำสงครามกันเองในยุโรป สถิติ ในฐานะข้อมูลของรัฐ จึงเป็นประเด็นมาตั้งนานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งจะมาเป็น
กลไกของการเก็บข้อมูลของรัฐ ก็เกิดขึ้นจากสถิติเช่นนี้ อย่างน้อยที่สุดก็เพื่อการวางผังเมืองและการป้องกันโรคระบาดในเมือง เรื่องนี้ไม่ใช่ "ของใหม่" เพราะเป็นระบบที่มีมาอย่างยาวนานแล้ว และไม่ใช่ปัญหาใหม่แม้แต่น้อย
คราวนี้ ข้อมูลในอินเทอร์เน็ต รัฐมีอำนาจอธิปไตยเหนือข้อมูลเหล่านี้หรือไม่ คำตอบก็ย้อนกลับไปที่คำถามที่ผมตั้งเอาไว้ว่า แล้วอะไรคือขอบเขตและดินแดนของรัฐบนอินเทอร์เน็ต อะไรจะเป็นตัวตัดสินว่าใครเป็นคนควบคุม กลไกเหล่านี้ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้แน่นอน และยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง แถมหากพิจารณาโดยละเอียดแล้ว อำนาจรัฐก็เข้าไปไม่ถึงกับการจัดการนั้น เรื่องนี้ไม่ใช่เกิดขึ้นเฉพาะกับประเทศไทย แต่เกิดขึ้นทั่วโลก (ลองอ่านบทความชิ้นนี้ และ ชิ้นนี้ประกอบ)
ผมก็หวังว่าคุณก็พอจะคิดอะไรออกเช่นกัน เรียนตามตรงว่าถ้าเคยศึกษาเรื่องรัฐและประวัติการกำเนิดของรัฐชาติมาดีพอ คุณก็น่าจะพอทราบว่าของจริงที่เป็นอยู่จริงๆ จากสถานการณ์จริง เป็นอย่างไรนะครับ
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
มุกเก่าๆประเภท "อินเตอร์เนตไม่มีพรมแดน" เนี่ย ผมว่ามันใช้ไม่ได้แล้วแหละ (อย่างมากก็ใช้ต้มคนในประเทศด้อยพัฒนาได้เท่านั้น)
เพราะสุดท้ายบริษัทที่ให้บริการก็มี "ตำแหน่งจริงบนโลกใบนี้ ตำแหน่งที่เก็บข้อมูลก็มีจริงบนโลกใบนี้ " และ "อยู่ภายใต้รัฐหนึ่ง"
เพราะสถานการณ์ที่มีช่องโหว่แบบนี้ มันเลยมีปัญหา อย่างสมัย WW2
กฎของโลกก็มีง่ายๆ คนแพ้จ่ายค่าปฎิกรณ์สงคราม ทุกประเทศเล่นตามกฎใหม ? และสุดท้ายมันนำไปสู่อะไร
เพราะข้อตกลง - กฎ จำเป็นต้องพัฒนาตามรูปแบบของโลกที่เปลี่ยนไป
กฎและข้อตกลงไม่ใช่สิ่งที่อยู่กับที่ มันออกแบบมาให้ พัฒนาต่อไป
เพื่อบรรลุ ตามเจตนารมณ์ของกฎนั้น
ไม่มีนักวิชาการอินเทอร์เน็ตศึกษารายไหนที่ naive พอที่จะละเลยความเป็นจริงว่าอินเทอร์เน็ตมันไม่มีพรมแดน อินเทอร์เน็ตมันมีพรมแดนอยู่แล้ว แค่ไม่มีอุปกรณ์หรือบริการที่เข้าถึงเครือข่ายได้ ก็เข้าถึงไม่ได้แล้ว
แต่สิ่งที่ผมหมายถึงและมันเป็นจุดที่ผมตั้งคำถามหนักๆ คือ "พรมแดนของรัฐบนอินเทอร์เน็ต" ซึ่งคุณบอกว่ามันมี ปัญหาคือแล้วอะไรคือพรมแดนนั้น? รัฐจะจัดการยังไง? คุณก็ตอบไม่ได้ ลากไปหาสงครามโลกครั้งที่ 2 พันกันไปหมด ทั้งที่คำถามผมง่ายมากๆ คือ อะไรจะเป็นตัวกำหนดขอบเขตของรัฐบนโลกอินเทอร์เน็ต? เพราะการออกแบบอินเทอร์เน็ต มันไม่เอื้อต่อการมีโครงสร้างลักษณะนั้น
อีกทีนะครับ กลับไปอ่านบทความเรื่อง "Law And Borders: The Rise of Law in Cyberspace" ของ David R. Johnson และ David G. Post เสียก่อน เพราะนี่มันไม่ใช่มุก แต่เป็นปัญหาจริงที่ทุกรัฐทั่วโลกคิดหัวแทบแตกก็คิดไม่ออก
สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นเรื่องระหว่างรัฐ (State and State) ไม่ใช่ เอกชน กับ รัฐ แบบ Pokemon Go โครงสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นคนละคู่ขัดแย้งโดยตรง แทบหาความเหมือนในเชิงตัวอย่างได้ยาก ยกมาเปรียบเทียบกันคงเป็นการยกตัวอย่างที่ผิดฝาผิดตัว
อ้างจากการอ้างเหตุผลนี้ กฏที่ล้าสมัยก็สมควรที่จะถูกกวาดทิ้งไปด้วยนะครับ ดังนั้นกฎอะไรก็ตามที่ดำรงอยู่มาเป็นร้อยๆ ปี ก็สมควรโดนกวาดทิ้งด้วยเช่นกันเพราะว่าล้าสมัยครับ ดังนั้นถ้าคิดไปให้ไกลที่สุด รัฐก็สมควรโดนกวาดทิ้งด้วยเพราะถือเป็นองค์กรทางการเมืองที่เกิดจากการตกลงและกฎระเบียบต่างๆ และกฎเหล่านั้นก็ล้าสมัยไปแล้ว จะเอาแบบนั้นจริงๆ นะครับ?
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
แรกสุดคุณบอก "อินเตอร์เนตไม่มีพรมแดน"
พอมา reply นี้คุณบอก "มีพรมแดน "
คุณเถียงตัวคุณเอง ในประเด็นที่คุณเปิดเอง เสร็จสรรพเลย
ตกลงคุณจะคุยกับตัวคุณเอง หรือจะคุยกับผมกันแน่ งงมาก
ผมไม่ได้ใช้คำพูดว่า "พรมแดน" ตั้งแต่แรก และไม่ได้กล่าวถึงพรมแดนของอินเทอร์เน็ต (internet boundary/territory) ตั้งแต่ตอนแรก สิ่งที่ผมกล่าวและเน้นย้ำคือ "พรมแดนของรัฐในอินเทอร์เน็ต" (State Territory in Cyberspace) ครับ
เมื่อคุณบอกว่าอินเทอร์เน็ต (ในฐานะอินเทอร์เน็ตหรือ cyberspace) เป็นสิ่งที่มีพรมแดน ผมก็เห็นด้วยว่าอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่มีพรมแดน แต่สิ่งที่ผมถามคือ แล้วพรมแดนของรัฐ มีอยู่บนหรือในอินเทอร์เน็ตหรือไม่ (do state territories exist in cyberspace?) คุณกลับเอาไปเชื่อมโยงกับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 แล้วพาไปเชื่อมโยงกับ ICJ ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ เลย
คุณบอกว่าผมเถียงตัวผมเอง ผมกล้าพูดว่าผมไม่ได้เถียงตัวเอง เพราะผมตระหนักว่าสิ่งที่ผมพูดนั้นแยกกันชัดเจน เพราะ พรมแดนของอินเทอร์เน็ต != (ไม่เท่ากับ) พรมแดนของรัฐบนอินเทอร์เน็ต ในการเขียนงานวิชาการ สองเรื่องนี้เป็นคนละประเด็น ไม่เกี่ยวข้องกัน ถ้าจะมีใครสักคนที่สับสนคงไม่ใช่ผมแน่นอน
กรุณาย้อนกลับไปอ่านใหม่อีกครั้งหนึ่งให้เข้าใจครับ ถ้าไม่เข้าใจให้อ่านงานที่ผมอ้างอิงมาทั้งหมดมาก่อน
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
นี่
ตั้งแต่แรกนะ
ไม่มีใครพูดซักคน
เรื่องพรมแดนรัฐบนอินเตอร์เนต
มีแต่พูดเรื่อง ผู้ให้บริการ/บริษัท ประกอบกิจการ อยู่ในรัฐหนึ่ง
ใต้กฎหมายของรัฐหนึ่ง และสมาชิกบริษัทก็เป็นมนุษย์เป็นประชาชนของรัฐหนึ่ง
เป็นกลุ่มบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริง และข้อมูลที่เก็บมาก็สถิตย์อยู่ในพรมแดนของรัฐหนึ่งจริง
ได้รับการคุ้มครองกิจการจากรัฐหนึ่งจริง
เข้าใจยัง หรือไม่เคลียร์ ?
ถ้าไม่เคลียร์ฟังตรงนี้ ข้อมูล-อยู่ใน HDD - HDD - อยู่ที่ใหน ใครเป็นเจ้าของ
ใครมีสิทธิเข้าถึงทางพฤตินัย
คิดแบบ PHYSICAL ไม่เอาปราณไทเก๊ก
มีแต่คุณที่พูดจา วกวนอยู่กับเรื่องพรมแดนของรัฐ บนอินเตอร์เนต อยู่คนเดียวมาตั้งแต่แรกแล้ว
และก็เถียงตัวเองเบ็ดเสร็จจนผมชักงง ว่าควรจะพิมพ์อะไรต่อดีรึปล่าว ?
ถ้าคุณเข้าใจอะไรถ่องแท้จริงๆ อธิบายด้วยความเข้าใจและเหตุผลของคุณเอง ดีกว่า
ไม่ต้องเรียกแสตนด์มาช่วยหรอก
ประเด็นคือ คุณมั่วตั้งแต่คอมเม้นนี้แล้วหล่ะครับ Moroku
ที่คุณ nrad6949 พิมพ์เค้าก็แค่อธิบายความมั่วในตรรกะของคุณ ซึ่งพอคุณไม่ยอมรับว่าคุณมั่วตั้งแต่แรก เค้าก็เลยต้องอธิบายเพิ่ม ซึ่งคุณอาจจะไม่เข้าใจหรือ'พยายามไม่เข้าใจ' ไม่ก็จับประเด็นไม่ถูกเอง เลยไปหาว่าเค้าพูดวกวน
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
เรื่องนี้คุณยกขึ้นมาเองเลยนะครับ บอกว่าข้อมูลที่เก็บโดย Niantic เป็นข้อมูลที่อยู่ต่างรัฐ แถมเสนอให้ประชาคมอาเซียน (AEC) ฟ้องต่อ ICJ เพื่อบังคับเรื่องการหาประโยชน์เหนือดินแดนรัฐ ซึ่งรูปแบบของเกม Pokemon Go คือการหาบนโลกออนไลน์ บนพื้นที่ cyberspace และเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพูดถึง พื้นที่ของรัฐบนอินเทอร์เน็ต นะครับ
ก็ใช่ไงครับ แต่สิ่งที่ผมบอกคือ การกระทำนี้มันเป็นเรื่องของเอกชน ไม่ใช่การกระทำของรัฐ สิ่งที่คุณพยายามชี้คือภาครัฐต้องรับผิดชอบการกระทำของเอกชน ซึ่งฟังแล้วยังไงก็ตลก เหมือนกับว่าถ้าสมมติผมเป็นเจ้าของกิจการ S ในไทย ไปเปิดในประเทศ A แล้วรัฐบาลไทยต้องรับผิดชอบการกระทำของกิจการ S อ่ะครับ ฟังแล้วไม่สมเหตุสมผลทั้งปวง
ถ้าข้อมูลอยู่บน Cloud ที่กระจายไปในแต่ละประเทศล่ะครับ? ข้อมูลชุดนั้นควรตกอยู่ภายใต้พื้นที่กฎหมาย (legal jurisdiction) ของรัฐไหนครับ?
ที่ผมต้องพูดประเด็นนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะคุณต่างหากที่ไม่เข้าใจสิ่งที่เรียกว่า "ความขัดแย้งเชิงโครงสร้างระหว่างรัฐและอินเทอร์เน็ต" ซึ่งเป็นประเด็นใหญ่ที่สุดในรอบ 5 ปี ทั้งในแวดวงอินเทอร์เน็ตศึกษา รัฐศาสตร์ และปรัชญาการเมือง (เป็นอย่างน้อย) เพราะถ้าคุณเข้าใจ คุณจะไม่จับเรื่องพวกนี้ ชนเข้ากับ ICJ และคุณย่อมจะเข้าใจกลไกการทำงานของ Internet Governance Forum ของ UN เป็นอย่างดี และเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นบนเวทีแทบจะทุกปีด้วยซ้ำ
ผมถูกฝึกให้มีความเคารพในจริยธรรมที่ต้องให้เครดิตแนวคิดคนอื่นเสมอเมื่อจำเป็นต้องใช้งาน เพราะทุกแนวคิดใหม่ๆ ล้วนแล้วแต่ยืนอยู่บนแนวคิดดั้งเดิม ถ้าผมพูดอะไรลอยๆ โดยไม่มีการอ้างอิง เท่ากับว่าผมกำลังทำการ plagiarized (ขโมยความคิด) ของคนอื่นมาเป็นของตัวเอง ซึ่งผมทำไม่ได้เด็ดขาด
การเข้าใจอะไรบางอย่าง โดยมีการอ้างอิง แม้จะไม่สามารถเข้าใจมันได้ทั้งหมด แต่ก็ยังดีกว่าการนั่งนึกแล้วหลงคิดไปเองว่าสิ่งเหล่านี้มันควรจะเป็นเช่นนี้ โดยการตัดขาดออกจากทั้งโลกความเป็นจริง และการอ้างอิงอย่างเป็นเหตุเป็นผล
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
ขอปรบมือให้คุณ nrad6949 ที่มีความอดทนในการถกและอธิบายได้อย่างยอดเยี่ยม
เรื่องนี้คุณยกขึ้นมาเองเลยนะครับ บอกว่าข้อมูลที่เก็บโดย Niantic เป็นข้อมูลที่อยู่ต่างรัฐ แถมเสนอให้ประชาคมอาเซียน (AEC) ฟ้องต่อ ICJ เพื่อบังคับเรื่องการหาประโยชน์เหนือดินแดนรัฐ ซึ่งรูปแบบของเกม Pokemon Go คือการหาบนโลกออนไลน์ บนพื้นที่ cyberspace และเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพูดถึง พื้นที่ของรัฐบนอินเทอร์เน็ต นะครับ
คนที่พูดเรื่องโลกออนไลน์มั่ง ไซเบอร์เสปชมั่ง มีแต่คุณคนเดียวนะ
กิจกรรม + พื้นที่อันมีอธิปไตย + Pokemmon go แปลว่าอะไร
ผมว่าคนปรกติก็เข้าใจนะ มีแต่คุณพยายาม mislead อยู่คนเดียว
ก็ใช่ไงครับ แต่สิ่งที่ผมบอกคือ การกระทำนี้มันเป็นเรื่องของเอกชน ไม่ใช่การกระทำของรัฐ สิ่งที่คุณพยายามชี้คือภาครัฐต้องรับผิดชอบการกระทำของเอกชน ซึ่งฟังแล้วยังไงก็ตลก เหมือนกับว่าถ้าสมมติผมเป็นเจ้าของกิจการ S ในไทย ไปเปิดในประเทศ A แล้วรัฐบาลไทยต้องรับผิดชอบการกระทำของกิจการ S อ่ะครับ ฟังแล้วไม่สมเหตุสมผลทั้งปวง
ข้อความที่คุณพิมพ์นะ
ถ้าคุณอ่านข้อความที่คุณพิมพ์เอง มันกลับกลายเป็นคำตอบที่ คุณตอบตัวเองอีกแล้ว
กิจการในไทยไปเปิด A คุณเปิดเนี่ย
ต้องขออนุญาติและจดทะเบียนกับรัฐบาล A ใช่มะ คิดยัง ?
ต้องเสียภาษีให้กับประเทศ A คิดยัง ?
และต้องมีการทำใต้กฎข้อบังคับของประเทศ A นะ
และสามารถถูกประเทศ A ฟ้องได้โดยตรง
ตกลงพวกที่มาดูดข้อมูลคนไทยเนี่ย เสียภาษียัง ? อยู่ใต้กำกับของอธิปไตยไทยหรือยัง ?
เอาแซมเปิ้ลแค่ภาษีพอนะ โมเดลมันแมตซ์กับที่คุณกล่าวมั้ย อะไรแตกต่าง
เอาเข้าเรื่องหน่อย ให้ไทยส่งหนังสือไปถึงรัฐบาล usa บอก
บ. ในประเทศคุณเกรียนมาดูดข้อมูล จ่ายภาษีมา + ทำตามข้อตกลงที่เราเขียนด้วย
usa ก็จะบอกว่า not my business
ทยส่งหนังสือไปหา บ. ก็จะโดนกลับมาว่า not my business อีก
บริษัทเราไม่ได้อยู่ในประเทศคุณ ไม่จำเป็นต้องฟังรัฐบาลคุณ
หลังจากโดนเกรียนมา 2 รอบก็เอาหนังสือที่ทั้ง บ. นี่ + usa ส่งมาเอาไปเป็น
[สิ่งที่ใช้เป็นมูลเหตุของข้อพิพาท] ไง เคลียร์มั้ย ?
ทำให้เกิดข้อพิพาทระหว่างประเทศ (หลายประเทศ vs usa) จะได้ไปเฮก
ถ้าข้อมูลอยู่บน Cloud ที่กระจายไปในแต่ละประเทศล่ะครับ? ข้อมูลชุดนั้นควรตกอยู่ภายใต้พื้นที่กฎหมาย (legal jurisdiction) ของรัฐไหนครับ?
ข้อมูลอยู่ใน HDD HDD อยู่ใน Data center
ไม่ได้กระจายเป็นละอองน้ำนับล้านในอากาศนะ
การ backup ข้อมูล ก็ต้องกลับประเทศของบริษัทต้นทางอยู่ดี
พื้นที่กฎหมายไม่สำคัญเลย
เพราะสำเนาข้อมูลก็ไปอยู่ที่ประเทศต้นทาง
การเข้าถึงข้อมูลทำได้ทั้งวิธีที่ 1) ถูกกฎหมาย 2) ไม่ถุกกฎหมาย ทำได้หมด
** google มี 7 แห่งใน usa **
** 7 แห่งนอก usa เท่ากันเป๊ะ **
ฮิตๆก็ amazon fb ดูเอา อยู่ใหน
ที่ผมต้องพูดประเด็นนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะคุณต่างหากที่ไม่เข้าใจสิ่งที่เรียกว่า "ความขัดแย้งเชิงโครงสร้างระหว่างรัฐและอินเทอร์เน็ต" ซึ่งเป็นประเด็นใหญ่ที่สุดในรอบ 5 ปี
ใช่ และคุณพูดอยู่คนเดียว
ถ้าผมพูดอะไรลอยๆ โดยไม่มีการอ้างอิง เท่ากับว่าผมกำลังทำการ plagiarized (ขโมยความคิด) ของคนอื่นมาเป็นของตัวเอง
คุณแค่พยายามเบนความสนใจให้ประเด็นมันกลายเป็น cyberspace มีจริงหรือไม่ บรรยากาศมาคุมีจริงหรือไม่ โลกวิญญาณมีจริงหรือไม่
และก็เอาบทความมาล่อให้คนเข้าไปอ่านจะได้ติด loop แบบคุณแค่นั้นเอง จนลืมว่าประเด็นมันก็เรียบง่าย แค่คุณต้องเดินบนถนนยางมะตอยไปจับโปเกมอน
ให้ดีคือควรประกาศ remove ให้หมดทั้งแผนที่ประเทศไทยเลย แล้วส่ง zone ที่อนุญาติให้เล่นได้ให้กับ Niantic
Engine แผนที่ของเกมคือ Google Maps ดังนั้น Google Maps ก็ไม่ควรใช้ในประเทศไทย?
นี่คือบรรทัดแรกสุดที่คุณตอบผมนะ คุณพยายามมากที่จะ mislead ให้มันกลายเป็น google maps
ทั้งที่มันก็ง่ายแค่ remove จุดเกิดโปเกมอน พิมพ์โค้ดไม่น่าเกิน 5 นาที
ผมถึงได้บอกไง เหมือนคุณพยายามคุยกับตัวคุณเอง ไม่ได้คุยกับผมซักนิด
ขอตอบคุณ Kukumo บ้าง ในเรื่องของการทำธุรกิจผ่านอินเตอร์เน็ตถ้าจะให้มีการยึดตามความเห็นของคุณ ต่อไปเวลาจะทำธุรกิจอะไรบนอินเตอร์เน็ตนี่น่าจะยากลำบากน่าดู เพราะไม่แน่ใจว่าวันดีคืนดีจู่ๆ อาจจะมีบิลเรียกเก็บเงินค่านั่นค่านี่จากแต่ละประเทศส่งมาถึงหน้าบ้านก็ได้ กลายเป็นว่าธุรกิจเล็กๆ โดนทำหมันไปโดยปริยาย
ไอ่สิ่งที่คุณต้องการน่ะ คุณnrad เขาบอกว่ามันยังไม่มีข้อตกลงหรือบรรทัดฐานในการปฏิบัติ เขาเถียงกันมา 5 ปีแล้ว (เข้าใจผิด ถูก มาแก้อีกทีละกันนะครับ) ทีนี้ถ้าเป็นแบบนี้ (ผมคิดเองเออเองนะว่า) จู่ๆส่งจดหมายไปเก็บภาษีกะรัฐบาล USA เขาก็บิลช็อคสิครับ ! ยูจะมาเก็บอะรายกะไอ ไม่เห็นบอกแต่แรกว่าจะมีแบบนี้นี่ ไองงปายหมดแลว?? แล้วจะให้ไปฟ้องศาลโลก ? กลายเป็นว่าคนที่เกรียนคือคนส่ง จม. มากกว่า ต่อให้ฟ้องศาลกาแลคซี่ ศาลจักรวาล ศาลดาวนาเม๊ก ก็มีแต่จะโชว์เกรียน เพราะเขายังไม่มีข้อตกลง แล้วจะเอาหลักเกณฑ์อะไรมาตัดสินให้เราล่ะครับ? ขนาดไอ่ที่ทะเลมันทับซ้อนกัน ยังอ้างกันไปสารพัดสารเพ อันนี้อินเตอร์เน็ทจะขอเก็บค่าต๋ง จะไม่ให้เขาเข้ามาทำก็บอกมาตรงๆเลยง่ายกว่า
ป.ล. ที่ว่ามาสูบข้อมูลนั่นนี่โน่น ผมว่าคุณก็มองโลกแค่มุมเดียวเกินไปครับ ไอ้ที่กูเกิ้ลมาทำคนบ้านเราไม่ได้ประโยชน์อะไรกันมั่งเลยเหรอครับ? ถ้ามันเลวร้ายจนเกินไป คนก็แอนตี้ไปนานแล้วแบบ Baidu น่ะรู้จักป่าว อันนั้นสูบข้อมูลของแท้ไม่ให้อะไรกลับด้วย
ผมกลับคิดว่า คุณไม่มีความเข้าใจเรื่องธรรมชาติของอินเทอร์เน็ตและสื่อประเภท locative media รวมถึงธรรมชาติของรัฐเลยในการถกเถียงนี้ แน่นอนว่ารัฐจากมุมมองแบบ Hobbsian มันต้องพยายามเข้ามาควบคุม แต่ปัญหาคือ theoretical operation กับ reality operation มันเป็นคนละเรื่องเดียวกัน และคุณไม่พร้อมที่จะเข้าใจความซับซ้อนเหล่านี้ ทึกทักเอาว่าทุกอย่างมีสภาพแบน flat กันไปทั้งหมด
มาถึงจุดนี้ ผมยังไม่แน่ใจว่าคุณเข้าใจ "ธรรมชาติของรัฐ" "การเกิดขึ้นของรัฐ" และสิ่งที่เรียกว่า "Raison d'Etat" (เหตุผลของรัฐ) มากน้อยเพียงใด
ทำไม่ได้ เพราะถึงที่สุดนี่เป็นเรื่องของเอกชน คู่พิพาทไม่ใช่ระหว่างรัฐ จะเอามั่วสุ่มไปศาล ICJ ของ UN ไม่ได้ ยกเว้นมีเรื่องของการคุ้มครองทางการทูต (diplomatic protection) ซึ่งในกรณี Pokemon Go ไม่มีกรณีลักษณะนี้แม้แต่น้อย
เอกสารของ ICJ ระบุชัดว่า "Only States (States Members of the United Nations and other States which have become parties to the Statute of the Court or which have accepted its jurisdiction under certain conditions) may be parties to contentious cases." ซึ่งแปลว่าไม่สามารถขยายไปยังภาคเอกชนได้
ไม่จริง การสำรองข้อมูลสามารถสำรองแล้วเก็บเอาไว้ที่ไหนก็ได้บนโลกถ้าอยากจะเก็บ เช่น ผมสามารถสำรองข้อมูลที่อยู่ไทย แต่เอาไปเก็บไว้ที่ออสเตรเลียก็ย่อมทำได้ กรณีของ cloud ก็เช่นกัน คุณจะมีหลักประกันอะไรแน่นอนว่า ข้อมูลชุดนี้อยู่ในเขต jurisdiction ไหน ซึ่งถ้ามีความพยายามที่จะพิจารณากันสักนิด คุณก็จะพบว่าปัญหานี้ไม่ใช่ของที่เพิ่งจะเกิด แต่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว และในสหรัฐอเมริกาก็เคยมีการตีความกันมาแล้ว และเป็นปัญหาใหญ่มาก (ดังเช่นกรณีนี้)
คุณละเลยความเป็นจริง สิ่งที่ผมพูดทั้งหมดมันเป็นปัญหาที่อยู่ต่อหน้า แล้วไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะพื้นที่ 513,120 ตารางกิโลเมตรที่ชื่อ "ประเทศไทย" แต่เกิดขึ้น "ทั่วโลก" ซึ่งถ้าคุณเข้าใจโลกจริงแบบที่คุณพยายามอ้างว่าคุณเข้าใจ แต่ผมไม่เข้าใจ คุณจะพบว่าปัญหาเหล่านี้ไม่ได้แก้แบบที่คุณเสนอแม้แต่น้อย
โลกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ วันนี้มันเดินมาไกลกว่าวิธีคิดที่ว่า ใครจะเป็น proxy war ของใคร และรัฐยังมีพละกำลังวังชา สิ่งเหล่านี้มันเริ่มอ่อนตัวลง จนตอนนี้ทุกคนเดินมาถึงจุดที่ตั้งคำถามว่า "รัฐยังเป็นสิ่งจำเป็นอยู่หรือไม่" เสียด้วยซ้ำ
ผมไม่ mislead เพราะคุณอ้างเนื้อหาด้านความมั่นคง ผมเองเลยตั้งคำถามกลับว่า ถ้ากลัว Pokemon Go กันมากมายขนาดนั้น ระบบของ Pokemon Go อิงกับ Google Maps ด้วย อย่างนั้นก็ควรเอา Google Maps ออกไปด้วยนะครับ คือถ้าไหนๆ อยากจะขอให้แบนเกมแล้ว ก็แบนไปให้สุดเลยครับ เพราะ Google Maps ก็อาจจัดได้ว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงได้เช่นกัน ยังไม่นับว่ามาหาประโยชน์เหนือเขตแดนของรัฐด้วยเช่นกัน
ผมพยายามชี้ให้เห็นถึงความสลับซับซ้อนของปัญหา ทั้งฝั่งรัฐและฝั่งเกม (ผ่านแว่นของ cyberspace) ซึ่งเชื่อมโยงกับสิ่งที่เรียกว่า "ความขัดแย้งเชิงโครงสร้างระหว่างรัฐและอินเทอร์เน็ต" เพราะการแก้ไขปัญหามันไม่ได้ง่ายอย่างที่คุณคิด และผมคงไม่ได้พูดกับตัวเองแน่ๆ เพราะผมเลือกที่จะพูดกับคุณด้วยความชัดเจน แถมถ้าบอกว่าคนอื่นไม่เข้าใจ ก็คงจะไม่ถูก เพราะผมก็เห็นหลายคนเข้าใจในสิ่งที่ผมพิมพ์อยู่ระดับหนึ่งผ่านความเห็นที่ตอบกันไปก่อนๆ หน้านี้
ในท้ายที่สุด ผมขออนุญาตยกความเห็นคุณ McKay ที่ตอบไว้ด้านบนว่า
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
ช่างเขาเถอะครับ คุณ nrad
ดูแล้ว เหมือนเข้ามาป่วนมากกว่า
เชื่อเรื่อง Pokemon Go สอดแนมข้อมูลตามที่แชร์กันมาในไลน์ด้วยเหรอครับ
ผมอ่านตั้งแต่ต้นยันจบ ก็ไม่เห็นที่คุณ Kukumo จะตอบได้สักทีว่าจะเอาประเด็นไหนที่สามารถฟ้องได้จริงไปฟ้อง
ถ้าคิดว่าเกม Pokemon Go คือสิ่งที่เป็นการหาประโยชน์จากพื้นที่รัฐ เรื่องที่คุณ nrad6949 พูดถึง Google Maps มันเป็นสิ่งที่ถูกอยู่แล้วครับ เพราะทั้งคู่ล้วนเป็นแค่ชุดข้อมูลที่อาศัยลักษณะภูมิศาสตร์ของประเทศมาทำเหมือนกัน ทั้งคู่ก็เป็นแค่ข้อมูล และชุดข้อมูลไม่ใช่ประเทศ ไม่ใช่รัฐ ไม่งั้นคนทำหนังสือแผนที่โลก คงโดนทุกประเทศจับส่งออกอวกาศไปแล้ว (ฮา) แต่ดูจากที่คุณ Kukumo พูดมา ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรที่ผมคงทำความเข้าใจไม่ได้ คงไม่อยากให้นับเรื่องแผนที่สินะครับ งั้นก็ผ่านไป
แล้วต่อมาเห็นพูดถึงสิทธิของรัฐที่ควรมีต่อข้อมูลของประชาชนในรัฐ อันนี้ผมถามกลับครับ ว่าแบบนี้มันไม่ใช่การริดรอนสิทธิของประชาชนเหรอครับ ถ้ารัฐมีอำนาจสิทธิหมด คุณจะได้ประเทศเกาหลีเหนือเพิ่มอีก 1 ea เพราะประเทศนั้น การปิดกั้นข้อมูลคือเรื่องปกติ การที่ประชาชนไปคุยกับชาวต่างชาติจะถูกจับตามอง ชีวิตแบบนั้นไปกินหญ้ายังดีกว่าครับ (อันนี้ผมนอกเรื่องไปอีกเรื่องล่ะ เพราะเรื่องพวกนี้คงเหมือนรสนิยมของแต่ล่ะคน)
ที่นี้ จากประเด็นเดิมมาต่อให้ถูกทางกัน คุณต้องเข้าใจก่อนว่า User หรือคนใช้งานนั้น ยินยอมจะให้ข้อมูลของตัวเองไป ซึ่งคุณควรมาทำความเข้าใจก่อนว่าในข้อมูลที่ส่งไปนั้น มีอะไรบ้าง แน่นอนว่ามีหลายอย่างแต่ผมจะพูดแค่ตัวเอกคือ Geolocation ของคนใช้งาน (GPS) มีค่าแค่ lat long เป็นตัวเลขคู่ แล้วข้อมูลพวกนี้มาจากไหน ... ดาวเทียมบนหัวเรานี้แหละครับ + ข้อมูลนาฬิกาในเครื่องเรา ประเด็นอยู่ตรงนี้ครับ อาณาเขตของรัฐมันต้องเป็นสิ่งคงทนถาวร อันนี้ถูกต้องไหมครับ ไม่ใช่ว่าปักหมุุดแล้วย้ายง่ายๆ ที่นี้ข้อมูล GPS ที่ว่าเนี่ย ไม่ใช่ของคงทนครับ ทุกวันนี้ข้อมูลเราอาศัยการเทียบเคียงของนาฬิกาอะตอมกับนาฬิกาของเรา ร่วมกับตำแหน่งตั้งต้นของดาวเทียม หักส่วนต่างการชดเชยเพิ่มจากความเร็วของดาวเทียม (ซึ่งดาวเทียมสถิตไม่ลอยตลอดกาลนะครับ เดี๋ยวมันก็ร่วง) แล้วยังเอาความเร็วการ response ข้อมูลส่งกลับไป ซึ่งสภาพชั้นบรรยากาศก็มีผลอีก จะเห็นว่าปัจจัยที่ทำให้ผันผวนมีเยอะมากครับ (ผมไม่อยากอธิบายเรื่อง GPS ลึกกว่านี้ ค้น Google มีคำตอบหมดครับ)
ที่อยากจะบอกคือ มันเป็นข้อมูลจากด้าน User ล้วนๆ ครับ ไม่แน่ไม่นอนด้วย ไอ้ส่วนดาวเทียม ใครเรียกไปถามมันก็ตอบหมดแหละ ข้อมูลที่ตอบออกมา ถ้าไม่คำนวณด้วยข้อมูลที่ User รู้ก็จะไมี่มีประโยชน์เลย คุณเข้าตึกมันมันก็ไม่มีอะไรส่งออกไป อย่างมากเปิด AGPS ก็ได้แต่ Data Cellsite กะโหลกกะลาที่ค่ายมือถือตั้งเอาไว้แต่ไม่มีการทวนสัญญาณได้แบบ GPS พูดง่ายๆ คือ GPS ไม่ใช่ตัวชี้วัดที่ชัดเจนได้ด้วยซ้ำว่าคนๆ นั้นอยู่ ณ ที่นั้นจริงๆ เว้นแต่คุณมีระบุว่าข้อมูลที่ใช้คำนวณ GPS นั้นมาจากดาวเทียมดวงไหนบ้าง และบนดาวเทียมเองก็ต้องมี log การเข้าถึงด้วย ซึ่งก็ไม่ว่าทางไหนก็ไม่แน่นอน ไม่งั้นคงจะเก็บข้อมูลไม่ไหวแน่ๆ ตั้งโหมดประหยัดพลังงาน GPS ยังทวนทุกวินาทีต่อหนึ่งคนใช้งาน ส่วนยามปกติเราเรียกกันถี่กว่านั้น
แบบนี้คุณจะยังเรียก GPS ว่าเป็นข้อมูลที่ใช้อ้างอิงอะไรได้อีกไหมครับ เอาแค่นาฬิกาในมือถือคุณเพี้ยน หรือไปใช้มือถือในรถที่เคลือบปรอทด้านนอก GPS ก็เพี้ยนหมดล่ะ
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
- เรื่องแผนที่เนี่ยคุณ nrad เข้าใจมั่วๆเหมือนเขาคิดว่าเกม pokemon go กับ google map
เป็นอันเดียวกัน เข้าใจไปโน่นว่า " ต้องยุติการใช้แผนที่ประเทศไทยไปเลย " ผมละเหนื่อย
ทั้งที่ตัวเกมมันก็ใช้แค่ Unity Engine ไม่ได้ใช้ Google Map Engine ในการสร้างเกมเล้ยยยยยยย
(เกมนี้ใหญ่โตขนาดฝังไปใน google service เลยหรอ ? อะโห) ส่วนแผนที่มันก็แค่ data source
คนที่เคยใช้พวก core location ก็คงรู้ว่ามันก็แค่ fetch ข้อมูล latitude แล้วเอามาแสดงผลบนเกม แค่นั้นเอง
คนละ Layer กันเลย โค้ดส่วนเกม พิมพ์ประมาณ monstersspawn = 0; ก็ remove spawn area ได้หมด
นี่ประเด็นแรกที่เขาเมา ตั้งแต่ข้อความแรกที่เขาพิมพ์เลย ข้อความ 1 บรรทัดยังไม่คิดจะอ่านให้เข้าใจเลย
ประเด็นที่สอง เข้าใจไปโน่นว่ากำลังพูดเรื่องโลก sword art เป็นประเทศหรือไม่เป็น พิมพ์ reply ตอบตัวเองเฉยเลยด้วย เล่นเอาผมงง
ประเด็นที่สามเรื่อง cloud เหมือนเขาเข้าใจว่า cloud คือ HDD กระจายไปทั่วโลกแบบดราก้อนบอลนับร้อยพัน ทั้งที่จริงมันก็แค่ HDD ใน data center ใช้นิ้วมือนิ้วเท้านับเอายังครบเลย (จะไปสร้างกระจายให้มันดูแลรักษายากทำไม)
ผมก็เดาทางออกนาน แล้วว่าสุดท้ายมันจะกลายเป็นการพยายามตอบรักษาหน้า
และก็วกวนอยู่กับประเด็นที่มันไม่ได้เกี่ยวอะไรเลยเหมือนๆเดิม
ไม่ได้เกี่ยวข้อง อะไรกับบรรยากาศมาคุ โลกเกมออนไลน์มีอธิปไตยของตัวเองหรือไม่ dotA ถือเป็นประเทศหรือไม่ ซักนิดเล้ยยยยย
โลกไซเบอร์อะไรก็ตามสภาพความเชื่อของเขาไป สำหรับผมมันก็แค่ก้อนโพลีกอน
กับโค้ด c# ท้องฟ้าประดับดาวมันก็แค่ sphere object
ก็พยายามมากที่จะลากเรื่องไปเป็นโพลีกอนเวิร์ดของเขา และเขาก็พูดอยู่คนเดียว ถามตอบ ตัวเขาเองคนเดียวไปแล้ว ใน rep บนๆ
เอาเป็นว่าเขาอยากคุยกับตัวเขาเองต่อไป ผมปล่อยดีกว่า
ผมจะเลียนแบบมั่งจะเล่นประเด็นพระอาทิตย์ขึ้นทางตะวันออกก็ได้ จะพรรณา 30 บรรทัดก็ได้
ทุกคนรู้ว่าพระอาทิตย์ขึ้นทางตะวันออก ต่อให้มันไม่เกี่ยวอะไรกับเรื่องที่คุยเลยก็เหอะ
แต่มันทำให้ผม "มีเรื่องที่พูดถูก" อย่างน้อยหนึ่งอย่าง . . . .
สิทธิของรัฐที่จะปกป้องข้อมูลของประชาชนในรัฐ ไม่ให้ตกไปอยู่ในมือ "รัฐอื่น"
"สิทธิในการปกป้อง"
ถ้า user ใช่งาน gps แค่ครั้งเดียว ใช่ แต่ในความเป็นจริงผู้ใช้งานยิงข้อมูลกลับไปหลายครั้ง
สามารถคิดเฉลี่ยได้ว่าข้อมูลเวริ์คมั้ย ตัด noise ที่ผิดพลาดออกไป
แผนที่ของ Pokemon Go ใช้ Google Maps ครับ
ผมก็ทำ App ใช้ google map API
ผมลบ App ตัวเองทิ้ง คนไทยทั้งประเทศคงถึงกับอดใช้ Google Map เลย ทีเดียวเชียว
เท่าที่อ่านมาเรื่องที่โต้เถียงกันก่อนหน้านี้พอจะจับใจความได้โดยคุณบอกว่าถ้าจะเข้ามาใช้ผลประโยชน์จากข้อมูลของประชาชนในรัฐหนึ่งๆ ต้องยอมจ่ายค่าใช้งานหรือทำตามเงื่อนไขอะไรก็ว่าไป ไม่งั้นก็ลบข้อมูลออกไปเลย ทีนี้มันก็เลยกลายเป็นว่าถ้างั้นแอพใดๆ ที่จะมาใช้งานตรงนี้ถ้าไม่จ่ายก็ต้องลบข้อมูลออกเช่นกัน อย่างเช่น Google Map แล้วทีนี้ก็คุยวันไปวนมาซ้ำยังแตกประเด็นย่อยไปเรื่องนั้นเรื่องนี้อีก คราวนี้เลยมั่วไปกันใหญ่
เค้าไม่รู้จริงๆ เหรอว่าถ้ามอนมันเกิดในทำเนียบ คนนั่งรถเมล์ผ่านเห็นก็จับมอนได้โดยที่ไม่ต้องแลกบัตรเลยนะ??
อะไรที่มันขึ้นโชว์บนหน้าจอ จิ้มที่จอมันก็จับได้หมดแหล่ะ ไม่ต้องเอาตัวเดินเข้าไปจับหรอก เห้อ
เค้าคิดว่ามอนมันเกิดในห้องน้ำแล้วเราต้องวิ่งไปจับในห้องน้ำจริงๆ เหรอ?? เกมมันไม่ได้เล่นเหมือนในคลิปโปรโมทเป๊ะๆ นะเฮ่ย ออกหนังสือมานี่ได้ลองสัมผัสเกมจริงๆ กะเค้าบ้างรึปล่าวเนี่ย
อีกอย่างคือพวกสถานที่ต้องห้ามถ้าคนทั่วไปไม่มีสิทธิ์เข้าไปในนั้น เดินเข้าไปไม่ได้ มอนมันก็ไม่เกิด ไม่แสดงขึ้นมาบนหน้าจอ จบ หลักการของเกมมันก็ไม่เห็นจะซับซ้อนซ่อนเงื่อนอะไรขนาดนั้น ทุกวันนี้ก็ยังสงสัยนะว่าเค้ากลัวอะไรกัน
ไปรณรงค์เน้นๆ เรื่องการเล่นไม่ให้รบกวนคนอื่น หรือห้ามเล่นตอนขับรถยังเข้าท่ามากกว่า
นั่นแหละครับ โปเกมอนมันเกิดในน้ำก็แค่ยืนอยู่บนบกก็จับได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องโดดลงน้ำตามมัน นี่เค้าไม่รู้กันจริงๆหรือแกล้งไม่รู้
คนไม่เคยเล่นเกม จะมาควบคุมคนเล่นเกมไง
เอาแล้ว ! วัดเริ่มติดป้ายเตือนเป็นเขตอภัยทาน ห้ามจับ Pokémon หลังกระแสเกมโปเกมอนบุกไทย
จริงๆ หน้าที่นี้ ควรเป็นของกระทรวงไอซีที หรือกระทรวงวัฒนธรรม หรือกระทรวงการท่วงเที่ยวและกีฬา มากกว่านะ
เพ้อเจ้อ..
เด็กเล็กควรอยู่ในความดูแลของผู้ปกครอง ถ้าไม่มี pokemon ก็คือปล่อยออกไปนอกบ้านตอนดึกๆ ได้?
แล้วเกี่ยวอะไรกับ true อันนี้ยิ่งงง จนท.รัฐ เรียกร้องสิทธิ์ให้เอกชน?
ผมว่าพี่แกท่าจะว่างจัด ทำงานที่มันไม่ใช่หน้าที่ของตัว เอาเวลาไปจัดการคลื่นความถี่กับควบคุมค่าบริการอินเทอร์เน็ตให้มันได้อย่างที่เคยโม้ไว้ดีกว่า
บางที กสทช.ก็ขยันเกินหน้าที่
ทีค่ายมือถือหน่วงเวลาย้ายค่ายล่ะ ไม่จัดการ
สงสัยว่า ไม่มีงานทำหรอ กสทช?
เรื่องย้ายค่ายยากนี่ดูแลบ้างนะ งานหลักตัวเองเลยไม่ใช่เหรอ
เรื่องเขตความมั่นคงสูง คุก ค่ายทหาร หรือสถานที่ราชการ โรงพยาบาลผมเห็นด้วยนะที่จะทำเป็น silient zone
คือกางกรอบเลยไม่ให้โปเกม่อนไปเกิดหรือมี pokestop ภายใน หากมีอยู่ก็ให้ย้ายมาไว้ด้านนอกแทน แต่จะไม่ห้ามไม่ให้มีในวัดวาอาราม หรือโบราณสถาน มหาลัย อันนี้ NIA ไม่ทำให้หรอกมันจุดขายเกมนะนั้นที่คนจะได้ออกไปเที่ยวกัน
ในโรงเรียน ส่วนใหญ๋ไทยก้ใช้กฏยึดมือถือกันอยู่แล้ว อาจจะไม่จำเป็น ประเด็นห้ามเล่นยามวิกาล แล้วคนทำงานเลิกเย็น นักเรียนก็เลิกเย็น กลับบ้านมาค่ำๆแทนที่จะได้เดินเล่นละแวกบ้านหรือชวนพ่อแม่ไปเดินเล่นตามห้างก็อดสินะครับ แต่ถ้าเป็๋นเขตวัดก็ว่าไปว่าทำได้ ประเด็นคือ ทาง NIA ต้องลงทุนจัดการและออกแบบระบบเพิ่ม ไทยเป็นคนให้เงินเขาลงทุนเหรอ แล้วเหตุที่เราจะไปจำกัดขอบเขตของข้อมูลบนโลก internet สรุปไอที่เราเรียนๆมาว่า internet คือโลกไร้พรหมแดน ตอนนี้เรากลับจะกั้นรั้ววางคอกมันสะเองใช่ไหมครับ อีกประเด็นในเมื่อตัวเองคิดว่ามีอำนาจในฐานะ องค์กรของรัฐ ทำไมต้องไปอวยหรือยกองค์กรเอกชนมาด้วยคุยแบบในฐานะตัวเองไปเลยสิ
โปเกม่อนมันเกิดตามโปเกสตอปครับ
จริงๆหน่วยงานไหนไม่อยากให้มีเสาก็ส่งเรื่องเอาออกตามช่องทาง
ยากตรงไหน?
จัดประชุมซะใหญ่โต แต่ไม่เตรียมข้อมูล มานั่งกินเบี้ยประชุมกันปลิ้น
นอกโปเกสต๊อบก็เกิดครับ ข้างบ้านผมห่างจากจุดโปเกสต๊อบหนึ่งกิโลได้ ก็ยังมีมอลเกิด
เรื่องให้หน่วยงานที่มีเสาอยู่ทำเรื่องเอง มันไม่น่าเชื่อถือต้องอ้างอิงเอกสารที่เป็นทางการและที่สำคัญอำนาจตัดสินใจอยู่ที่ใคร
แต่ทำในนาม กสทช.มันเป็นในนามประเทศ เป็นเหมือนผู้ได้รับมอบอำนาจ
บางสถานที่ก็ไม่ควรมีเสาจริง ๆ ครับ
เพื่อความสะดวกในการทำงานของเจ้าหน้าที่
ควรเสนอถอนเป็นบางเสาที่มันไม่ควรมีจะดีกว่าที่ออกมาห้าม ห้าม ห้าม หรือหว่านแหให้ถอนเสาไปทั่วแบบนี้นะครับ และการเล่นเกมนี้ไม่จำเป็นต้องไปในสถานที่สำคัญทางราชการ หรือ สถานที่ความมั่นคงอะไรเลย กระต่านตื่นตูมไปรึเปล่าครับ หรือเคยเล่นกันรึเปล่าครับ
ว่าแต่ กสทช. มีอำนาจจัดการควบคุมเกม ด้วยหรอครับ หรือที่ดึงเอาทรูที่มีสิขสิทะ์เทียมมา เพื่อให้โยงกับโทรศัพท์ เพื่อให้มีอำนาจหรอครับ
ถ้า กสทช.ไม่ออกมาเป็นเจ้าภาพแล้วใครล่ะครับที่ควรเป็นเจ้าภาพ
เกมนี้เล่นได้เพราะใช้เน็ตมือถือเป็นหลัก
และสถานที่ที่ต้องการไม่ให้มอนเกิดก็เป็นสถานที่ราชการ ไม่ใช่ที่เอกชน และแน่นอนครับว่า กสทช. จะดำเนินการไม่ได้ถ้าไม่ได้รับคำสั่งจากรัฐบาลที่มีอำนาจในสถานที่ที่จะสั่งไม่ให้มอนเกิด
แน่ใจหรอครับ
เอาเถอะ ยังไงซะมันควรมีวิธีจัดการที่ไม่เป็นศัตรูกับประชาชนแบบนี้ มันสร้างความเกลียดชังให้กับหนวยงานที่เข้ามาจุ้นมากกว่าที่จะมาควบคุมอะไรที่ไม่ใช่หน้าที่ของเขา
มันก็ถูกต้องครับ
ผมเห็นควรว่าพื้นที่ทุกพื้นที่มีเจ้าของ
ไม่ใช่ว่าอยากให้เกิดในพื้นที่ใดก็ได้
ในที่นี้การที่รัฐเป็นตัวเริ่มต้นชี้ให้เห็นบ้าง ก็ควรแล้วครับ
วัด-โรงเรียน-สถานพยาบาล-ฯ ไม่ควรทำให้เกิดโเกม่อนในสถานที่เหล่านี้ครับ คนเราควรมีขอบเขตอันสมควรครับ สนุกให้พอเหมาะครับ ถือเสรีและสิทธิจนไม่สนอะไรเลยมันก็แย่นะผมว่า
ผมเห็นด้วยครับว่า โรงเรียนควรจำกัดเวลาเกิด โรงพยาบาลควรงด
มีโปเกสตอปเกิดในโรงเรียน เด็กที่ควบคุมตัวเองไม่ได้ก็ไม่มีสมาธิ มานั่งแอบหมุนเสาเอาบอล นั่งแอบจับมอลในเวลาเรียน
มอลเกิดในโรงพยาบาล ก็จอดรถจับกีดขวาง
ปล่อยๆ ไปเถอะครับ เดือนสองเดือน คนส่วนใหญ่ก็จะเบื่อไปเอง เหลือแค่กลุ่มคนชอบจริงๆ คอเกมจริงๆ ไม่เท่าไหร่
ตอนนี้ก็ขอความร่วมมือกำลังตำรวจ เหนื่อยเพื่อ ปชช. ไปสัก 2เดือน
+1
ก็ว่างั้นแหล่ะครับ จะวี๊ดว้ายกระตู้วู้ทำไม
ประมาณนั้นครับ ตอนนี้เท่าที่สังเกตจากวันแรกๆ ที่เปิดคนเต็มสวนสาธารณะมาวันนี้ก็เริ่มบางตาลงแล้ว
อาทิตย์นี้ช่วงปลายสัปดาห์คนก็เริ่มเบื่อกันแล้วครับ สังเกตเริ่มถือกันน้อยลงแล้ว
ส่วนหนึ่งผมคิดว่า Pokemon Go มันเป็นเกมที่เวลาหามอนใหม่ๆ ต้องเดินทางไปที่ใหม่ๆ
ใจกลางเมืองจุดเยอะก็จริง แต่จับได้แต่ตัวซ้ำๆ คนส่วนมากก็อยู่แต่ที่ซ้ำๆ ไปห้างเดิมๆ
เวลาเล่นเกมนี้มันก็ได้แต่ตัวเดิมๆ แป๊ปเดียวก็เบื่อแล้ว
พวกที่เล่นตามกระแส พอเลเวลถึงจุดหนึ่ง จับโปเกม่อนได้จำนวนหนึ่ง 70-80ชนิด ก็จะเริ่มเบื่อแล้วแหละครับ มันจะเริ่มจับได้แต่ตัวซ้ำ ตัวเดิมๆ ไม่มีอะไรทำไปมากกว่าแค่นี้ มันไม่ตื่นเต้นเหมือนเปิดใหม่ๆหรอก แล้วก็จะเหลือแค่พวกที่เล่นจริงๆ จะถึง 10% ของทั้งหมดที่เริ่มเล่นแต่แรกไหมนี่สิ
เรื่องนี้ผมเองก็ได้ประมาณการไว้ตอนที่เกมส์เปิดวันแรกๆ แล้วเช่นกันครับ ดูได้จากกระแสต่างๆ ที่เคยผ่านมา การจะยืนระยะให้ได้นานๆ สมัยนี้นี่ค่อนข้างยากกว่ายุคก่อนเยอะ
ผมว่า กสทช. ควรจะโหลดเกมมาเล่น แล้วทำความเข้าใจตัวเกม และติดตามอ่านบทความสอนเล่นต่างๆ นะ
จะได้เข้าใจว่า หลักการทำงานของเกม มันเป็นอย่างไร แล้วออกหนังสือวิธีการเล่นโดยไม่ไปปิดกั้นเขา ประเทศที่เขาเข้าใจในตัวเกม เขาก็ไม่ห้าม แถมยังออกคำแนะนำในการเล่นมาให้ด้วย ว่าควรจะเล่นอย่างไรให้ปลอดภัย และไม่รุกล้ำที่คนอื่นเขา
สถานที่หวงห้ามแล้วไง? ถ้าเราเห็นว่า Pokemon มันเกิดอยู่ในบริเวณสถานที่หวงห้าม เราก็สามารถแตะเพื่อจับ Pokemon ทั้งๆ จากข้างนอกพื้นที่หวงห้ามได้อยู่ดี
สิ่งที่ควรจะจัดการ คือส่งเรื่องเสา PokeStop หรือ Gym ที่มันไปตั้งอยู่ในสถานที่หวงห้ามนั้นๆ มากกว่า เพราะรัศมีในการกดรับไอเท็มกับต่อสู้ยิม มันจะมีระยะประมาณ 10-20 เมตร ซึ่งถ้ามันตั้งอยู่ริมๆ ภายในสถานที่หัวงห้าม แล้วรัศมีทำการยังสามารถหมุนรับของหรือต่อสู้จากภายนอกสถานที่หวงห้ามได้โดยที่เราไม่ต้องเข้าไป ก็คงไม่มีปัญหา แต่ถ้ามันตั้งอยู่ลึกเข้าไปภายในสถานที่จนทำให้เดินเข้าไปไม่ได้นี่สิ ก็ควรจะทำเรื่องส่ง Niantic ให้เอาออกซะ
บางอย่างก็ควรปล่อยให้เป็นไปตามกระแสสังคม หรือคัดเลือกตามธรรมชาติ ดีกว่าโดนก้าวก่ายและดูแลโดยอำนาจรัฐเพียงอย่างเดียว
Get ready to work from now on.