เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวร่วมกับ VMware ประเทศไทย นำเอาโซลูชั่นด้านเทคโนโลยีของ VMware เข้ามาใช้ในกระทรวง โดยเน้นไปที่ vSphere และ Horizon ซึ่งเป็นโซลูชั่นด้าน VDI (Virtual Desktop Infrastructure) และ Virtualization ในองค์กร
ผศ. (พิเศษ) นพ.พลวรรธน์ วิทูรกลชิต ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าการนำเอาระบบของ VMware เข้ามาใช้งานเป็นเรื่องของการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานของการทำระบบสาธารณสุของประเทศ ให้สอดคล้องกับกรอบ eHealth ของ WHO และ ITU ซึ่งเป็นองค์กรที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิก (ทั้งสององค์กร มีสถานะเป็นสำนักเชี่ยวชาญพิเศษขององค์การสหประชาชาติ) รวมถึงนโยบายหลักของประเทศในการปรับเปลี่ยนไปสู่โครงสร้างแบบดิจิทัลภายในปี 2020 ด้วย
สธ. ในฐานะองค์กรที่กำกับดูแลสถานประกอบการ (สำหรับโรงพยาบาลเอกชน) และผู้ดำเนินการ (สำหรับโรงพยาบาลรัฐ ที่นอกเหนือไปจากกรุงเทพมหานคร) จึงต้องวางระบบและทำแนวทางให้สอดคล้องกับแผนการเปลี่ยนผ่านดังกล่าว ทั้งในระดับสากล และระดับประเทศ แนวทางหนึ่งที่ใช้คือการนำเอาโซลูชั่นของ VMware ซึ่งมีการใช้งานในโรงพยาบาลหลายแห่งทั่วโลกเข้ามาใช้งาน นอกจากจะเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับกรอบของ WHO และ ITU แล้ว ยังเพิ่มความคล่องตัวในการทำงานให้กับเจ้าหน้าที่ด้วย (จำนวนคนที่สังกัดสำนักงานปลัด สธ. ถือว่าเยอะมาก)
ผมมีโอกาสถามว่า เมื่อมีการเปลี่ยนผ่านเช่นนี้ เรื่องของการแลกเปลี่ยนเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล คืบหน้าไปถึงไหนบ้าง ซึ่งทาง นพ.พลวรรธน์ ยอมรับว่าเรื่องนี้ยังคงเป็นปัญหาอยู่ อย่างไรก็ตามในหลายโรงพยาบาล การแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วยฉุกเฉิน สามารถเริ่มทำได้แล้ว แต่ในส่วนที่เหลือยังอยู่ระหว่างการตกลง ซึ่งยังมีอุปสรรคพอสมควร แต่เชื่อว่าจะสามารถตกลงกันได้ในอีกไม่นานนี้ เพราะมีการคุยกันมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว
ด้าน Tisa Murdock ผู้อำนวยการฝ่าย End User Computing Industry Solutions ของ VMware ระบุว่าโซลูชั่นทางการแพทย์ที่ VMware นำมาให้บริการนั้น ไม่ใช่การนำเอาผลิตภัณฑ์ทั่วไปที่มีอยู่แล้วของบริษัท มาให้ลูกค้าใช้ทันที แต่ต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานทางการแพทย์ที่รับรอง ผมมีโอกาสสอบถามว่าในการเปลี่ยนแปลงนี้ทำอย่างไรบ้าง Tisa ระบุว่า นอกจากต้องแก้ไขซอฟต์แวร์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานเหล่านี้แล้ว VMware ยังตั้ง CTO พิเศษ เพื่อดูแลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้านการแพทย์ และจ้างแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาทำงานร่วมกับบริษัทด้วย
Tisa ระบุว่าลูกค้าในปัจจุบันสำคัญๆ ของ VMware มีอยู่ทั่วโลก โดยสำหรับของไทยคือโรงพยาบาลสมิติเวช ที่มีการใช้งานระบบนี้อยู่ (สธ. ถือเป็นองค์กรสาธารณสุขภาคราชการแห่งแรกของไทย) ส่วนในระดับนานาชาติก็มีเช่น Mayo Clinic เป็นต้น
ที่มา - งานแถลงข่าวร่วมระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและ VMware
Comments
รพ.รัฐใช้ระบบ HIS (Health Information System) มากกว่า 5 Vendor การ Integrate ข้อมูลผู้ใช้บริการเข้าด้วยกันยังต้องผลักดันอีกมาก
จริงๆ มีแล้วนะแต่เรื่องคุณภาพข้อมูลยังไม่โอเคมากๆ (43 แฟ้มมาตรฐาน ของสปสช.) จะว่ายากก็ยากจะว่าง่ายก็ง่าย ปัญหามาตั้งแต่ต้นทางคือ คนไม่พอทั้งผู้ปฎิบัติงานและคนคีย์ข้อมูล
เอาใจช่วยต่อไปครับ
ในเครือของทหารอากาศ มี 3 ระบบ การ Integrate ข้อมูลข้าม Platform กัน ปวดหัวพอสมควรเลย
ศธ ใช้ระบบเดียวเก็บข้อมูลเด็ก แต่แปลก เวลามีการย้ายต้องให้ไปคัดระเบียนที่ต้นสังกัดมาเป็นแบบกระดาษทุกที ทั้งๆที่มีระบบอิเล็กทรอนิคอยู่แล้ว
ทำอันนี้แล้วรบกวนช่วยเปลี่ยนค่าเริ่มต้น(Default) ของการค้นหาประวัติคนไข้จากเอกสารกระดาษเป็นระบบคอมพิวเตอร์ทั้งประเทศด้วยครับ เพราะรพ.รัฐ(ขนาดใหญ่)แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ ยังคงใช้กระดาษอยู่และชอบหาประวัติคนไข้ไม่เจอทำให้คนไข้รอหมอไปอย่างไร้ประโยชน์ทวงถามไร้การตอบรับแถมโดนลัดคิว ลัดคิวไม่พอเจ้าหน้าที่รพ.ปัดความรับผิดชอบอีก เอ่้มแล้วจะตั้งคอมอยู่ในห้องประวัติคนไข้ให้เปลืองงบประมาณทำไมครับ... คนไข้รอแค่ประวัติคนไข้ให้หมออย่างเดียวสองชม.ครึ่งนิคืออะไร?!?
-
ปัญหาที่ไปเจอมาตอนไปคุย Requirement
"มีที่ไหนที่ไม่ต้องพิมพ์เข้าระบบไหมน้อง ตอนนี้งานพี่ก็โหลดมาก รพ. เงินก็ไม่ค่อยมีจ้างคนคีย์ข้อมูล ถ้าบอกสปสช. ให้ทำเรื่องเบิกเงินมาได้เร็วขึ้น ได้พี่จะดีใจมากเลย"
เราก็ยิ้มครับๆ ไป
ที่ให้เปลี่ยนค่าจากการค้นหาแฟ้มเวชระเบียนเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดทั้งประเทศ ตอนนี้ยอมรับเถอะครับว่า "มันยากมาก" เพราะ
- การอ้างอิงข้อมูลทางการแพทย์นั้น เน้นแฟ้มเวชระเบียนกระดาษเป็นสำคัญ (แน่นอนว่ารวมถึงในทางกฎหมายด้วย)
- เวลา ข้อมูลเวชระเบียนเก่าๆ ซัก 5 ปีขึ้นไปเนี่ย สำหรับผมขอตอบแบบส่วนตัวว่า ทำไมต้องกรอกข้อมูลคนไข้ย้อนหลังด้วย เหนื่อยครับ ยิ่งคนไข้ที่มาแบบรายวันและต้องกรอกข้อมูลย้อนหลังให้ครบตั้งแต่เริ่มเข้ามา(สมมุติว่าผู้ป่วยเริ่มเข้าตรวจครั้งแรกตอนที่ปี 2538 ยังใช้เครื่อมพิมพ์ดีดอยู่เลย) ผมก็ไม่เอาด้วยหรอก
ส่วนเรื่องหาแฟ้มนั้น ทุกที่มีปัญหาหมดแหละครับ
ยิ่งโรงพยาบาลใหญ่ๆ ยิ่งปัญหาเยอะเลยครับ ต้องหาแฟ้มคนๆ หนึ่งจากแฟ้มนับแสนๆ ที่อยู่ในตู้เก็บแฟ้ม แล้วแฟ้มหาไม่เจอก็ต้องหาว่าแฟ้มไปไหน และปัญหาก็ไม่ได้มีแค่ 10-20 คน มีปัญหาเป็นร้อย ผมเอาก็เข้าใจครับว่ามันอย่างนู้นอย่างนี้ แต่ต้องเข้าใจเขาด้วยนะ ทำงานทุกวัน เสาร์อาทิตย์ นักขัตรฤกษ์ ก็ต้องมาเข้าเวรเช้า เวรบ่าย เวรดึก เงินเดือนก็น้อย
ถ้าเป็นผม ให้ใช้กันทั้ง 2 ระบบควบคู่ ทั้งกระดาษทั้งระบบคอมพิวเตอร์ กันนั่นแหละดีแล้ว เพราะถึงจะมีปัญหากับแบบหนึ่ง แต่ก็มีอีกแบบไว้เป็นหลักประกัน จะดีกว่า
"การอ้างอิงข้อมูลทางการแพทย์นั้น เน้นแฟ้มเวชระเบียนกระดาษเป็นสำคัญ (แน่นอนว่ารวมถึงในทางกฎหมายด้วย)"
ตอบ ไม่ได้บอกให้ทิ้งกระดาษครับแต่กระดาษมีไว้ยืนความถูกต้องกับสำรองระบบได้ผมบอกแค่ว่าทุกอย่างไม่ใช่ลงที่กระดาษมันต้องเป็นตัวเลือกสำรองสิ
"เวลา ข้อมูลเวชระเบียนเก่าๆ ซัก 5 ปีขึ้นไปเนี่ย สำหรับผมขอตอบแบบส่วนตัวว่า ทำไมต้องกรอกข้อมูลคนไข้ย้อนหลังด้วย เหนื่อยครับ ยิ่งคนไข้ที่มาแบบรายวันและต้องกรอกข้อมูลย้อนหลังให้ครบตั้งแต่เริ่มเข้ามา(สมมุติว่าผู้ป่วยเริ่มเข้าตรวจครั้งแรกตอนที่ปี 2538 ยังใช้เครื่อมพิมพ์ดีดอยู่เลย) ผมก็ไม่เอาด้วยหรอก"
ตอบ เป็นหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นเจ้าของโรงพยาบาลที่ต้องผลักดันให้เกิดให้ได้ครับงั้นจะเสียเงินเป็นร้อยล้านเพื่อทำระบบที่ไม่มีคนใช้ทำไม ไม่ต้องนั่งกรอกก็ได้ตัวเก่าๆก็แสกนเก็บเข้าไปทั้งดุ้นแล้วมานั่งอ่านรูปเอาก็ยังไหว ประเทศเราเล็กนิดเดียวทำไมจะทำไม่ได้ครับประเทศใหญ่ๆเขาก็ทำมาแล้ว มันอยู่ที่รัฐบาลตั้งใจจะทำไหม แล้วเราเรียกร้องมันแค่ไหน ซึ่งผมคิดว่าใครก็อยากหาหมอเร็วๆครับมันเสียเวลาไปทั้งวันกับเรื่องแค่นี้มันมากเกินไป
"ส่วนเรื่องหาแฟ้มนั้น ทุกที่มีปัญหาหมดแหละครับ"
ตอบ ผมถึงบอกให้ใช้คอมเป็นค่าเริ่มต้นได้แล้วก็ในเมื่อมันช้าแล้วมันมีปัญหาทุกที่ โรงพยาบาลเอกชนเข้าก็ใช้คอมเป็นหลักคนป่วยก็เยอะ แต่กระดาษก็เป็นระบบสำรอง
"ทำงานทุกวัน เสาร์อาทิตย์ นักขัตรฤกษ์ ก็ต้องมาเข้าเวรเช้า เวรบ่าย เวรดึก เงินเดือนก็น้อย"
ตอบ ไม่ใช่หน้าที่ของเข้าครับมันต้องจ้างเข้ามาทำต่างหากซึ่งรัฐต้องทำเรื่องนี้ หน้าที่ของเขาคือเก็บรักษาและบริหารประวัติผู้ป่วยไม่ใช่มานั่งกรอกเอกสารเข้าระบบแน่ๆครับ เพราะถ้าทำอันนี้ไม่ได้โปรเจ็คตามข่าวก็ไม่มีประโยชน์ครับเพราะประวัติผู้ป่วยก็ยังอยู่บนกระดาษ...
ผมสงสัยว่าทำไมของเก่าไม่แสกนเก็บอะครับ มีไว้อ่าน อ่านกระดาษได้ก็อ่านบนจอได้ครับ สำคัญก็ปริ้นออกมาได้ ไม่ต้องทำ OCR ต้องหวังขนาดมากด search คำก็ได้มั้ง(ผมว่าตอนหมออ่านประวัติก็ไม่ได้ใช้แนวนั้น)
แค่งานประจำวันของเวชระเบียนก็แทบแย่แล้วครับ
ผมว่ามันไม่ใช่คำตอบเลยครับ
ถ้าบอกปริมาณงานแทบแย่ทำอะไรไม่ได้งั้นก็ไม่ต้องทำอะไรแล้วครับชีวิตนี้ค้นมันต่อไปแหละข้ออ้างเรื่องอื่นไม่เกี่ยวเลย ไม่พยายามเปลี่ยนแปลงไม่พยายามทำเพิ่ม คนทำไม่พอไม่เพิ่มคน ไม่จ้างบริษัทมาเก็บลง digital ให้
เวลาผมจะทำอะไรลงคอมมันเหนื่อยตอนเริ่มถ้างานน้อยๆเตรียมตั้งต้นในคอมจะไม่คุ้มแต่ถ้างานที่คิดว่าเยอะแน่ๆ ลองคิดดูวันนี้มีแสน วันหน้ามีล้าน ไม่ทำตอนนี้ไปค้นเอกสารตอนเพิ่มจากแสนเป็นล้าน งั้นก็โชคดีกับกองเอกสารครับ
ก็เพราะแบบนั้นถึงยังต้องมาค้นกองแฟ้มกองเอกสารเป็นแสนๆ อยู่ไม่ใช่เหรอครับ?
ถ้าแบบนั้นก็ค้นกองแฟ้มหลักแสนไปนะครับ
ผมล่ะสงสัยจริง ๆ ว่าทำไมเวลาจะย้ายจากกระดาษเป็นดิจิตอล ราชการมักไม่มีงบจ้างคนกรอกข้อมูล หน่วยงานของแม่ผมเนี่ยก็เคยถูกสั่งให้ต้องกรอกเองโดยไม่ได้จ่ายเงินเพิ่ม งานประจำวันก็ต้องทำทำไปได้ 3-4 ปีมั้งสำเร็จเท่าไหร่ไม่ทราบแต่น่าจะใกล้แล้วอยู่ ๆ กรมไปทำสัญญากับเอกชนรายหนึ่งทำระบบใหม่และให้กรอกข้อมูลใหม่ด้วย(มั้งถามผ่านแม่ที่ไม่ค่อยรู้เรื่องนี้) แต่ดีหน่อยที่ที่เอกชนรายนี้จ้างคนกรอกข้อมูลประจำอยู่ทุกสำนักงาน ไม่เกิน 1 ปีใกล้เสร็จแล้ว
เลยสงสัยน่ะว่าทำไมไม่จ้าง ถ้าเป็นเพราะต้องการเก็บความลับเอกสารก็ไม่น่าจะเก็บลับได้ เพราะตอนที่ให้กรอกเองข้าราชการหลายคนก็ใช้วิธีควักเนื้อตัวเองจ้างลูกหลาน/นักเรียนนักศึกษามาช่วยทำช่วงปิดเทอม ไม่งั้นไม่เสร็จแล้วได้กลับบ้านมืดค่ำทุกวันเพื่อทำมัน
ว่าไปไอการกรอกข้อมูลนี่ไม่ธรรมดาจริง ๆ เจอคนเก่า ๆ เมื่อ 10-20 ปีที่แล้วเก็บเอกสารไม่เป็นไปตามระเบียบหากันให้วุ่นบางวันกรอกได้ไม่ถึง 10 ชุดเพราะวุ่นกับการตามหา
-
จริงๆน่าจะกำหนดมาตรฐานที่ชัดเจนรูปแบบเดียว(พร้อมกดราคาให้เรียบร้อย ไม่ก็เขียนเองเลย) ดูเรื่องการไช้กับ tablet และการผูกข้อมูลเข้ากับบัตรประชาชนด้วยก็ดี
แล้วเอาเข้าหลักสูตรตอนเรียนให้หมอเป็นหมดทุกคน ส่วนของเก่าก็ค่อยๆ phase out ไป
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
เป็นการเร่มต้นที่ดีนะครับ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
43 แฟ้มมาตรฐานเป็นมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขออกแบบและสร้างระบบ HDC ขึ้นมานะครับ ไม่ใช่ของ สปสช.
สปสช. แค่เข้ามาขอใช้ข้อมูลไปใช้ในการเบิกจ่ายครับ
และบริบทอื่นๆ ตาม comment ด้านบน มันเป็นประเด็นที่คนในสาธารณสุขรับทราบปัญหากันดีอยู่แล้วพอสมควรครับ ศูนย์ ICT สธ. เขาก็กำลังหาแนวทางสร้างระบบ กำหนดแนวทาง และปรับปรุงและแก้ไขปัญหาเดิม ทั้งเรื่องพัฒนาคนและลงทุนด้านทรัพยากรอื่นๆ การลงพื้นที่เพียงครั้งสองครั้งไปสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่แค่บางคนไม่ได้สะท้อนสภาพที่แท้จริงไปทั้งหมดนะครับ
หากมองภาพรวมๆ สาธารณสุขพัฒนาไปมากกว่าหลายๆ ส่วนราชการครับ หากจะมัวแต่มองปัญหาอย่างที่หลายๆท่านไปพบมาก็อาจจะย่ำอยู่กับที่ และพัฒนาไปข้างหน้าไม่ได้ครับ แต่การก้าวไปข้างหน้าโดยไม่กำหนดมาตรการอะไรก่อนก็จะกระทบกับผู้ปฏิบัติครับ ก็อาจจะต้องใช้เวลากำหนดกติกา ออกกฎหมายคุ้มครองผู้ปฎิบัติงานก่อน ไม่ให้ไปขัดต่อกฎหมาย พรบ.คอมพิวเตอร์ เป็นต้นครับ
น่าจัดนักศึกษาฝึกงานไปลงแขก สัก 3-4 ปีคงโอนข้อมูลจากกระดาษสู่ Digital ได้
ฝึกงาน 3-4 ปี นี่กะไม่ให้เรียนจบเลยหร๋อ
3-4 รุ่นก็ได้ เพื่อความเข้าใจ