Tags:
Node Thumbnail

GrabGas สตาร์ทอัพสัญชาติมาเลเซีย บริการส่งแก๊สหุงต้มผ่านแอพพลิเคชั่น ที่ได้รับรางวัลสตาร์ทอัพจาก Digi Accelerate (Digi เป็นบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายในมาเลเซีย ภายในเครือ Telenor) และได้รับเม็ดเงินลงทุนจาก Digi กว่า 62,000 ดอลลาร์

ล่าสุดทาง Digi ออกมาประกาศว่าจะไม่ลงทุนให้ GrabGas แล้ว ส่วนเหตุผลที่ Digi ขอหยุดไว้กลางทางนั้นไม่ใช่อะไรอื่น แต่เป็นปัญหาภายในของตัว GrabGas เอง

No Description

ย้อนเรื่องราวไปช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Julian Ee หนึ่งในทีมงาน GrabGas เขียนบล็อกเปิดเผยถึงความคับข้องใจต่อผู้ก่อตั้ง และยังมีเรื่องความไม่โปร่งใสที่ทำให้มีข่าวไม่ดีเกี่ยวกับสตาร์ทอัพเจ้านี้ เรื่องราวดังกล่าวมีคนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะ GrabGas ค่อนข้างจะมีคนใช้บริการเยอะ จึงไม่แปลกที่ลูกค้าอยากจะรู้ว่าบริษัทที่ใช้บริการอยู่มีเรื่องราวปัญหาอะไรบ้าง

No Description

เนื้อหาในบล็อกของ Julian Ee พอจะสรุปคร่าวๆได้ว่า เขามาทำงานเพราะเป็นเพื่อนกับผู้ก่อตั้ง งานที่ทำคือด้านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นสิ่งที่ GrabGas ยังไม่มีในตอนแรกๆ ทำให้กิจการไปไม่สวยเท่าที่ควร คนสั่งออร์เดอร์น้อย โดยสถานะของเขาไม่ได้มาทำงานอย่างเดียวแต่ถูกชักชวนให้เป็นผู้ถือหุ้นด้วย คำชวนคือให้มาเป็น “one of the shareholders”

พอเขาเข้ามาทำงานในฐานะ CTO ก็พัฒนาเว็บไซต์, API และแอพพลิเคชั่น GrabGas จนเป็นรูปเป็นร่าง มีหน้าตาดูเป็นสตาร์ทอัพมากขึ้น เริ่มมีลูกค้าเข้ามาใช้งาน

หลังจากนั้น GrabGas ก็ดีลกับผู้ค้าแก๊สรายใหญ่ และผ่านการคัดเลือกเข้าโครงการบูธแคมป์ของ Digi จนได้รับรางวัล และได้รับเม็ดเงินลงทุนจาก Digi ด้วย

หลังจากงานด้านไอทีเข้าที่แล้ว ผู้ก่อตั้งทั้งสาม คือ Sean, Jeson และ Gabriel ก็จดทะเบียน GrabGas เป็นบริษัท แต่กลับไม่มีชื่อของ Julian Ee ในรายชื่อผู้ถือหุ้น เมื่อถามเหตุว่าทำไมไม่มีชื่อเขา คำตอบที่ได้รับคือเขาเป็นแค่พนักงานรุ่นแรกๆ แต่ทึกทักไปเองว่ามีส่วนในกรรมสิทธิ์บริษัท

สัดส่วนผู้ถือหุ้นของ GrabGas ที่ไม่มีส่วนของ Julian มีดังนี้

  • Sean - 40%
  • Jeson - 33%
  • Gabriel - 22%
  • ผู้ค้าแก๊สที่ตกลงกันไว้ - 5%

เมื่อ Julian พบความจริงดังกล่าว เขาจึงไม่พอใจและออกจากบริษัทมา โดยนำระบบไอทีที่เขาพัฒนาขึ้นออกมาด้วย

เรื่องราวดังกล่าวเป็น Talk of the Town มีคนเข้ามาอ่านมาก จน GrabGas ออกมาโพสต์ Facebook เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม เชิงว่ากำลังหาทางคุยกับ Julian และหวังว่าจะได้ข้อสรุปที่เขาพึงพอใจ

No Description

หลังจากนั้นช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา GrabGas ก็โพสต์ Facebook ขนาดยาวออกมาสู้ ใช้หัวข้ออย่างดุเดือดว่า "The Julian fiasco: Our side of story" พูดถึงว่า บริษัทก่อตั้งมาอย่างไร และ Julian เข้ามาทำงานที่ GrabGas ได้อย่างไร

GrabGas ก่อตั้งช่วงกลางปี 2015 เปิดตัวเบต้าสั่งแก๊สช่วงเดือนสิงหาคม 2015 ผู้ร่วมก่อตั้งมี

  • Sean - CEO
  • Jeson - COO/CMO
  • Gabriel - CFO
  • Mr. S - Designer
  • Ms. K - Driver management

ในตอนนั้นมี Mr.T เข้ามาดูแลเรื่องไอที ปรากฏว่าไม่เป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้ กำหนดการเปิดตัวดีเลย์

ช่วงปลายปี 2015 GrabGas ก็ค่อยๆ ฟื้นขึ้น มีโลโก้ใหม่ แอพพลิเคชั่น เว็บไซต์ใหม่ที่ออกแบบโดย Mr.S ซึ่งทุกอย่างสมบูรณ์แบบ ยกเว้นช่องทางออนไลน์แพลตฟอร์มที่ยังมีปัญหา ทาง GrabGas จึงอยากได้ CTO เก่งๆ สักคน ซึ่งก็มารู้จักกับ Julian ที่เป็นเพื่อนของ CTO คนเก่า ผลงาน Julian เป็นที่พึงพอใจ จึงเสนอกรรมสิทธิ์บริษัทให้ 10% จะได้หุ้นเมื่อทำงานครบ 3 ปี และ Julian ก็ตกลง

ช่วงต้นปี 2016 ผลประกอบการดี มีนักลงทุนร่วมลงทุน 60,000 ดอลลาร์ กำลังใจทีมงานก็มีมากขึ้น หลังจากนั้นเข้าโปรแกรมบูธแคมป์โดย Digi Accelerate และติด 1 ใน 3 ทีมสุดท้าย

บริษัทคิดว่าเวลาของเรากำลังมาถึงแล้ว และระหว่างที่กำลังจะจดทะเบียน GrabGas เป็นบริษัท Julian ก็เดินเข้ามาถามถึงส่วนกรรมสิทธิ์ ทั้งที่เคยตกลงกันไว้แล้วว่า 10% 3 ปี แต่ Julian คิดว่าเขาควรได้เท่าๆ กันกับผู้ก่อตั้งคนอื่นๆ เพราะงานด้านเทคโนโลยีเป็นเรื่องสำคัญมากในบริษัท

ทางผู้ก่อตั้ง GrabGas ไม่ได้มีแค่ Julian ที่อุทิศเพื่อ GrabGas แต่ยังมีอีกหลายคน ทั้งคนทำการตลาด หุ้นส่วนอื่นๆ การที่ Julian ต้องการได้ส่วนแบ่งเท่าๆ กับผู้ก่อตั้งจึงเป็นเรื่องที่น่าตกใจมาก แต่ไม่อยากเสียคนเก่งไอทีอย่าง Julian ไป บริษัทจึงยอมทบทวนส่วนแบ่งเดิมที่เคยตกลงกันไว้

No Description

ผลการทบทวนคือ Julian ได้ข้อเสนอที่ดีขึ้น คือลดระยะเวลาในกรรมสิทธิ์เป็น 2 ปี จาก 3 ปี เงินเดือน1800 ริงกิต มีการสนับสนุน Julian ในกรณีที่ออกไปเปิดบริษัทเองในอนาคต ให้อิสระในการทำงานกับสตาร์ทอัพเจ้าอื่นไปพร้อมๆ กัน แต่ Julian ต้องการติดต่อกับที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยงของ GrabGas และต่อรองผลประโยชน์เพิ่มขึ้นจนเกินกว่าบริษัทจะให้ได้ สุดท้าย การต่อรองก้ไม่เป็นผล นำไปสู่การออกจากบริษัทของ Julian

เรื่องราวของทั้งสองฝั่งมีคนให้ความสนใจและเข้ามาคอมเมนท์กันมากมาย และไม่เพียงคนทั่วไป ผู้ลงทุนอย่าง Digi ก็ให้ความสนใจด้วย

ล่าสุด Digi ประกาศจะไม่ลงทุนให้ GrabGas โดยให้เหตุผลว่า ทาง GrabGas เปิดเผยข้อมูลสำคัญให้ Digi ไม่หมด และข้อมูลในการเปิดเผยแต่ละครั้งก็ไม่เหมือนกัน ซึ่ง ความซื่อสัตย์และความโปร่งใส เป็นพื้นฐานสำคัญที่ Digi จะตัดสินใจทำธุรกิจด้วย และมันก็สะท้อนถึงหลักการเดียวกันถึงความคาดหวังของคู่ค้า

ที่มา - Tech in Asia

Get latest news from Blognone

Comments

By: darthvader
Windows PhoneWindows
on 11 September 2016 - 11:32 #939215
darthvader's picture

อดกันหมดเลยทีนี้

By: nrml
ContributorIn Love
on 11 September 2016 - 23:01 #939219
nrml's picture

ทุกอย่างคงต้องว่ากันด้วยหลักฐาน แต่ถึงตอนนี้ดูท่าทางคงกู่ไม่กลับแล้ว แถมชื่อคนที่เกี่ยวข้องยังใช้เป็นตัวย่ออย่างกับแทบลอยด์แถวนี้

By: tonkung
Windows Phone
on 11 September 2016 - 12:00 #939221

เรื่อง it นี้สำคัญจริง

By: dukez78
iPhoneUbuntuWindows
on 11 September 2016 - 12:22 #939227

ปัญหา classics

By: wittawasw
ContributorAndroidBlackberryRed Hat
on 11 September 2016 - 12:23 #939228

เงินเดือนที่ต่อรองได้มา 1800 MYR นี่น้อยกว่าเงินเดือนเด็กจบใหม่ทั่วไปใน KL ซึ่งได้กันประมาณ 2500 MYR (ราว 21,000 บาท) ครับ คือในตอนท้ายนี่ห่วยแตกมากตรงที่บอกให้ commit เวลาแค่ 50% ให้ก็พอแต่ ต้องได้ตาม timeline นี่แหละ เพราะมันก็ fulltime นี่เองแต่เล่นคำพูด

ในบล็อกมีบอกอีกด้วยว่า Julian เป็นคนออกค่า Server, SMS เอง ไม่ได้เอาเงินจากบริษัทจ่าย เพราะเค้าคิดว่าเค้าเป็นหุ้นส่วนเลยยอมเสียตรงนี้
อีกส่วนก็คือ สามคนได้ seed funding มาจำนวนหนึ่งราวๆ 500k-600k บาท แต่ไม่ได้แบ่งเงินส่วนนี้ออกมาจ่ายให้คนในทีมเท่าที่ควรจะเป็นด้วย ทำให้ Julian ไม่พอใจที่เค้าต้องออกเองแต่พวก Founder เอาเงินบริษัทไปใช้ทำอะไรบ้างก็ไม่รู้


@wittawasw

By: ploy1375 on 11 September 2016 - 12:50 #939233
ploy1375's picture

"เมื่อ Julian พบความจริงดังกล่าว เขาจึงไม่พอใจและออกจากบริษัทมา โดยนำระบบไอทีที่เขาพัฒนาขึ้นออกมาด้วย"

ปรกติการทำงานในบริษัท ระบบที่เขาพัฒนา จะเป็นของบริษัท จะถือเป็นสิทธิ์ ส่วนตัวได้ด้วยรึ???

By: Hadakung
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 11 September 2016 - 13:05 #939237 Reply to:939233

ขึ้นอยู่กับข้อกฏหมายครับ แต่ถ้าเป็นเอกชนไทยถ้าไม่เขียนสัญญายกลิขสิทธิ์ให้เป็นของบริษัทตลอดกาล ลูกจ้างถือเป็นเจ้าของผลงานทั้งหมดครับมีสิทธิ์เต็มในการเอาไป แต่ถ้าเป็นการว่าจ้างเหมือนฟรีแลนซ์สิทธิ์ถึงจะเป็นของผู้ว่าจ้างครับ

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 11 September 2016 - 17:04 #939269 Reply to:939233
tekkasit's picture

ก็ในเมื่อตกลงกันปากเปล่า ไม่พูดให้ชัดเจนปล่อยให้คลุมเครือ แสดงว่าที่ทำไปก็ยังเป็นสิทธิ์ของคนเขียนสิ

By: devilblaze
iPhoneAndroidWindows
on 12 September 2016 - 15:39 #939524 Reply to:939233
devilblaze's picture

เริ่มแรกยังไม่เป็นบริษัทครับ คงเข้ามาในระบบเพื่อนฝูง ไม่มีสัญญาจ้าง มีแต่ปากเปล่า พอบริษัทเริ่มเป็นรูปเป็นร่างถึงเริ่มมีโครงสร้างต่างๆ

แล้วพบว่า Julian ดันกลายสถานะเป็นแค่พนักงาน ทั้งๆที่ Julian ลงทุนช่วยหลายอย่าง แบบนี้ = หุ้นส่วนชัดเจน

แต่หลังจากจะเป็นบริษัท Julian พบว่าตัวเองกลายเป็นแค่พนักงาน ใครมันจะยอมครับ

By: tomomycenter
iPhoneAndroid
on 11 September 2016 - 13:06 #939238
tomomycenter's picture

ไอ้การทำสัญญาปากเปล่าวัดกันที่ความไว้ใจนี้ ทำหายนะมาเยอะเลยนะ

By: chunbogbog
Android
on 11 September 2016 - 13:50 #939243

1,800 ริงกิต ~ 15,000 บาท

CTO นี่ได้เงินเดือนกันแค่นี้เรอะ

By: redgene
iPhoneAndroid
on 11 September 2016 - 14:21 #939246

ยอมรับเงินเดือนแค่ 1800 ริงกิต ก็พอจะรู้แล้วล่ะว่าจะต้องแบ่งหุ้นให้พอตัวเลย

By: xnone
AndroidWindows
on 11 September 2016 - 14:23 #939247

1800 ริง.... คือเอาจริงๆ คนที่นี่ได้ประมาณนี้ล่ะครับ มากน้อยกว่านิดหน่อย
ค่าครองชีพ ค่าอาหารที่นี่แพงกว่าไทยมากๆๆ แถวๆ ออฟฟิตผม กินมื้อนึง 10 ริงกิตนี่ปรกติเลย

เขาน่าจะอยู่กันลำบากนะ

By: NocM on 11 September 2016 - 14:29 #939251

เอาแค่ Mr.S Mr.K ก็ต้องถามต่อแล้ว

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 11 September 2016 - 17:28 #939271
panurat2000's picture

สุดท้าย การต่อรองก้ไม่เป็นผล

ก้ => ก็

By: Faln
AndroidBlackberry
on 11 September 2016 - 22:25 #939313

ทางผู้ก่อตั้ง GrabGas ไม่ได้มีแค่ Julian ที่อุทิศเพื่อ GrabGas แต่ยังมีอีกหลายคน ทั้งคนทำการตลาด หุ้นส่วนอื่นๆ การที่ Julian ต้องการได้ส่วนแบ่งเท่าๆ กับผู้ก่อตั้งจึงเป็นเรื่องที่น่าตกใจมาก

อยากได้เท่าๆกันมันน่าตกใจตรงไหนหว่าาาา ทรรศนะคติแปลกๆ นะนี้

By: pote2639
ContributoriPhoneWindows PhoneWindows
on 11 September 2016 - 23:09 #939321

อ่านแล้วแอบปวดหัว สงสัยสมองผมไม่ค่อยรับอะไรที่เป็นเศรษฐศาสตร์ชักเท่าไร - -

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 12 September 2016 - 06:39 #939343

เขียนโค้ดคนเดียวนอกนั้นนอนสบายใจเฉิบ คุ้มตายล่ะ

ส่วนเรื่องหุ้น ถ้าเป็นออฟชันเป็นผมคงไม่เอา เอาเงินเดือนเยอะๆดีกว่า เคยมีเคส Chick-Fil-A ที่ CEO ทัศนคติสนับสนุน LGBT แต่เจ้าของกับพนักงานตรงกันข้าม เลยไปอัดวีดีโอด่าพนักงานแล้วโพส ผลคือโดนถอนหุ้นออฟชันพร้อมกับได้กินแกลบไปอีกนาน

By: rainhawk
AndroidWindows
on 12 September 2016 - 06:57 #939345
rainhawk's picture

วัดด้วยความไว้ใจก็แบบนี้ละ
ลงเอยไม่สวยซะราย ไว้ใจแค่ก็ควรมีสัญญา

By: toeyspicy
iPhoneWindows
on 12 September 2016 - 13:57 #939492
toeyspicy's picture

ผมว่าไม่ใช่เรื่องแปลกนะถ้า CTO จะขอหุ้นส่วนเท่าๆกับผู้ก่อตั้ง เพราะสตาร์ทอัพส่วนมาก IT เป็น core ขององค์กรซึ่งต้องทำงานหนักมากๆกว่าจะสามารถสร้างแพลตฟอร์มขึ้นมาสักอันนึงได้ ยิ่งเงินเดือนน้อยยิ่งต้องตอบแทนเป็นเงินปันผลจากหุ้น ไม่เช่นนั้นไม่มีใครเข้ามรับตำแหน่งแบบนี้แน่นอน

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 13 September 2016 - 10:45 #939722

เงินเดือนCTO น้อยกว่าเด็กจบใหม่อีก สิบปีที่แล้วเคยถามเพื่อนร่วมงาน เงินเดือนstart upวิศวกรโรงงานจบใหม่(รวมถึงprogrammerในโรงงานข้ามชาติ) ก็2000MYR กันไปนานแล้ว(สมัยนั้น 1MYR=11บาทไทย)

ยิ่งถ้าให้เงินเดือนน้อย เขาก็หวังส่วนแบ่งจากหุ้นเป็นธรรมดา ยิ่งถ้ามีส่วนอย่างมากในตอนเริ่ม มันก็ไม่แปลกที่เขาจะเรียกร้องสิ่งที่ควรจะได้ล่ะนะ ไม่ใช่ไปจ้างfreelance มารับjobด้วยราคามาตรฐานสักหน่อย

By: Bigkung
iPhoneWindows Phone
on 13 September 2016 - 19:45 #939889
Bigkung's picture

ก็ถ้า Julian Ee ไม่สำคัญบริษัทต้องไปต่อได้สิครับเหอๆ เขาแทบจะเป็นตัวสำคัญเลยนะ

By: Jirawat
Android
on 14 September 2016 - 03:00 #939962
Jirawat's picture

เจ้งสินะอิอิ

By: WarHammeR_TH
iPhone
on 14 September 2016 - 09:37 #940000
WarHammeR_TH's picture

ถ้าคนเดียวออกจากบริษัท แล้วทำให้บริษัทเจ๊ง

บริษัทนี้สมควรเจ๊งครับ