ศ. Robert MacLaren ศัลยแพทย์จากโรงพยาบาล John Radcliffe ในมหาวิทยาลัย Oxford ประสบความสำเร็จในการใ้หุุ่่นยนต์ผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อออกจากจอประสาทตาของผู้ป่วย
อุปสรรคสำคัญในการผ่าตัดครั้งนี้ คือเนื้อเยื่อที่มีความบางเพียง 1 ส่วน 100 มิลลิเมตร ออกโดไไม่ทำลายหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อจอประสาทตาผู้ป่วย ซึ่ง MacLaren ยอมรับว่าเกินความสามารถของมนุษย์ไปมาก ขณะที่ความสำเร็จในครั้งนี้ เกิดจากการเคลื่อนไหวที่แม่นยำและละเอียดอ่อนของหุ่นยนต์ โดยมีศัลยแพทย์ควบคุมผ่าน joystick และหน้าจอสัมผัส
การผ่าตัดครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่หุ่นยนต์ถูกนำมาใช้และประสบความสำเร็จในการผ่าตัดดวงตา อย่างไรก็ตามความสำเร็จนี้เป็นเพียงขั้นแรกเท่านั้น เพราะขั้นต่ไปคือการนำเข็มขนาดเล็กสอดเข้าไปใต้จอประสาทตา เพื่อปล่อยของเหลวเข้าไป ซึ่งหากสำเร็จ MacLaren ระบุว่าจะเป็นการบุกเบิกการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการตาบอด ด้วยวิธีการที่เรียกว่า Gene Therapy รวมไปถึงการปลูกถ่ายสเต็มเซลส์ใต้จอประสาทตา ซึ่งต้องอาศัยความแม่นยำและละเอียดอ่อนที่สูงมาก
ที่มา - The Guardian
ภาพจาก Pixabay
Comments
เก่งจริง ๆ
FOR HUMANKIND!!!!!
สุดยอด นวัตกรรมเพื่อมวลมนุษย์
ก้าวสำคัญจริง ๆ แอบหวังให้ต่อยอดไปถึงขั้นรักษาคนตาบอดได้เลยนะ
ทึ่งจนไม่รู้จะเม้นต์ว่าอะไรดี T^T
1/100 มิล ก็ 10 ไมครอน เอง สุดยอด
แอบสงสัยว่าจะสอดเครื่องมือยังไง
แต่ก็ดีใจที่ไม่มีภาพประกอบ
ขอให้สำเร็จนะครับ ถ้ารักษาอาการตาบอดได้เนี่ย สุดยอดมากๆเลย
..: เรื่อยไป
Human Revolution
retina = จอประสาทตา
https://en.wikipedia.org/wiki/Retina
ม่านตา = iris
เป็นเรื่องดี เนื่องจากผ่าตัดจอประสาทตานั้นยากกว่าม่านตามาก ๆ
ถ้ามีการผ่าตัดตาเทียมที่สามารถมองเห็นได้เหมือนกับตาจริง ก็คงจะดีสำหรับคนตาบอดที่จะได้มองเห็นโลกภายนอก
Get ready to work from now on.
น่าจะไม่เกียวกับตาเทียมมั้งครับ เกี่ยวกับการปลูกประสาทตาด้วย สเตมเซล เหมือนข่าว ปลูกหัวใจ หรือ ฟัน