เมื่อวันพุธที่ 28 กันยายนที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ไฟดับเป็นวงกว้างที่รัฐ South Australia ประเทศออสเตรเลีย สาเหตุเกิดจากพายุหนักชนิดที่ว่าเกิดขึ้นครั้งเดียวในรอบ 50 ปี โดยสายไฟฟ้าแรงสูงเริ่มเสียหายบางส่วนและเกิดเป็นลูกโซ่ต่อๆ กันไปจนไฟดับเกือบทั้งรัฐในเวลาราว 15:50 นาฬิกาตามเวลาท้องถื่น
ทางการได้เร่งดำเนินการจนสามารถส่งไฟฟ้าให้กับเมือง Adelaide ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐได้ในช่วง 22 นาฬิกาของวันเดียวกัน แต่ในพื้นที่อื่นอย่าง Mid North และ Eyre Peninsula ก็ยังประสบปัญหา และไม่มีไฟฟ้าใช้กันเกิน 24 ชั่วโมง
เวลาผ่านไปเกือบสองวัน ในช่วงเช้าของวันศุกร์ที่ 30 กันยายน ก็ยังมีสิ่งปลูกสร้างถึง 10,000 หลังคาเรือนที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ และทางการต้องตั้งเสาส่งไฟฟ้าชั่วคราวมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน
ปัญหานี้สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง และผู้คนเริ่มหาทางเลือกอื่นเพื่อป้องกันเหตุการณ์เช่นนี้ โดยบริษัท Off-Grid Energy Australia เปิดเผยว่าพวกเขาได้รับการติดต่อและคำถามต่างๆ เกี่ยวกับแบตเตอรี่สำหรับบ้าน Tesla Powerwall เข้ามามากกว่าปกติถึง 30 เท่า โดยผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทฯ Emily McMahon เปิดเผยว่า "ผู้คนกำลังเบื่อหน่ายกับเครือข่ายไฟฟ้าในภาพรวม และราคาไฟฟ้าที่แพง"
Tesla Powerwall เป็นแบตเตอรี่ขนาดใหญ่สำหรับบ้านทั้งหลัง โดยทั่วไปจะติดตั้งคู่กับแผงโซลาร์เซลล์เพื่อชาร์จไฟเก็บไว้ในเวลากลางวัน ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่ค่อยมีคนอยู่บ้าน และนำมาใช้ในช่วงกลางคืน จึงทำให้แทบจะไม่ต้องใช้ไฟฟ้าจากเครือข่ายปกติเลย การทำแบบนี้เรียกว่า "off-grid" หรือ "นอกเครือข่าย"
การติดตั้ง Tesla Powerwall สามารถทำได้ตามความต้องการของเจ้าของบ้าน เช่นหากบ้านใหญ่หรือใช้ไฟฟ้าเยอะ ก็อาจติดตั้งได้มากกว่า 1 ลูก หรือติดเพียง 1 ลูกเพื่อลดการใช้ไฟฟ้าจากเครือข่ายปกติ โดยซอฟต์แวร์จะคำนวณและจัดการการใช้ไฟฟ้าให้อัตโนมัติ ผู้ใช้สามารถเข้าดูสถานะและรายงานต่างๆ ผ่านแอพได้ทันที
ราคา Tesla Powerwall 1 ลูกอยู่ที่ 3,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 80,000 บาท) และเมื่อติดตั้งพร้อมกับแผงโซลาร์เซลล์ขนาด 5 กิโลวัตต์ บวกกับค่าแรงต่างๆ แล้ว จะอยู่ที่ 20,000 ถึง 25,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 5.38 ถึง 6.73 แสนบาท) สำหรับระบบเต็ม พร้อมรับประกัน 10 ปี
คลิปแถม ฟังประสบการณ์จากผู้ใช้ Tesla Powerwall ที่สหราชอาณาจักร โดยสรุปคือคนแรกในคลิปใช้ไฟฟ้าจากเครือข่ายภายนอกเพียง 3% ต่อวันเท่านั้น
Comments
น่าสนใจดีครับ ดูเป็นการลงทุนระยะยาว (ที่ค่อนข้างแพง) TT
โห...รวมติดตั้งขึ้นไปถึง 6 แสน นี่แพงค่าแผงหรือค่าแรงล่ะนั่น -0-
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ทั้งระบบมันไม่ใช่แค่แผงโซลาร์เซลล์กับแบตเตอรี่น่ะสิครับ ยังมีหม้อแปลงไฟ DC -> AC อีก (ต้องเจาะจงหม้อแปลงเฉพาะรุ่นด้วย ใช้ทั่วไปไม่ได้) รวมถึง panel จ่ายไฟต่างๆ ต้องติดใหม่หมด (source)
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
จะลองศึกษาไว้เป็นความรู้
ใกล้เคียงกับ solar rooftop ของไทยนะ แต่ของเขาอาจจะคืนทุนเร็วกว่าเพราะค่าไฟแพงกว่า
ค่าอุปกรณ์ที่แพงครับ แต่โดยรวมแล้วผมว่าถูกกว่าที่ไทยมากครับ เพราะเคยถามราคากับบริษัทนึง แค่ 2 kVA ไม่ต่ำกว่าล้านครับ (ล้านสี่แสนมั๊ง ถ้าจำไม่ผิด)
อีกอย่างบ้านเราฝุ่นเยอะ ต้องหมั่นล้างแผงบ่อยๆด้วย ไม่งั้นเกิด hot spot แล้วแผงจะไหม้ ถ้าระบบดับเพลิงไม่ดีก็ลุ้นเองละครับว่าจะไหม้แค่แผงหรือไหม้ทั้งบ้าน
ตอนอ่านถึงหกแสนก็อึ้งไปเหมือนกัน แต่พอลองค้นข้อมูลดูแล้วปรากฏว่าถูกกว่าราคาเครื่องแบบอื่นในระดับเดียวกันซะงั้น (มิน่าว่าทำไมโทรถามหารุ่นนี้กัน) แถมค่าไฟฟ้าที่แพงมากก็น่าจะทำให้คุ้มค่าสำหรับเขาด้วย
ญี่ปุ่นเองก็เพิ่งดับใหญ่เขตโตเกียวไป แต่ไม่นาน
ความสามารถในการผลิตไฟฟ้าของแผลลดลงทุกปี แบตก็เสื่อมทุกปีเหมือนกัน เงิน 6 แสน จ่ายค่าไฟเดือนละ 6000 ได้ถึง 10 ปีสบายๆ เป็นการรักษ์โลกที่แพงจริงๆ
แต่จากกรณีในข่าว จ่ายค่าไฟมากแค่ไหนก็ไม่มีไฟมาให้นะครับ -..-'
my blog
+1 ประเด็นของข่าวไม่ได้เกี่ยวอะไรกะการรักษ์โลกเลย หลักๆคือไม่มีไฟใช้จะหาจากไหนมาใช้
+9
📸
เคยอยู่สมุยช่วงที่ไฟดับทั้งเกาะ ทนอยู่ได้ราวๆ สองวัน วันที่สามต้องรีบหนีออกจากเกาะเลย ไฟดับนี่ในระยะสั้นเป็นปัญหาที่วิกฤติมากกว่าน้ำไม่ไหลมากมายจริงๆ
แต่ผมรู้สึกตรงกันข้ามนะ
ตอนอยู่หอพักมหาลัย เคยน้ำไม่ไหล 4 วัน นรกมากๆๆๆ เป็นช่วงที่หลายคนไม่น้ำอาบไม่แปรงฟันและขี้ไม่่ล้าง เพราะห้องน้ำมีระเบิดเต็มทุกห้อง เด็ก 300-400 คน ต้องไปแย่งคิวกันใช้ห้องน้ำที่คณะ เพราะน้ำสำรองที่เจ้าหน้าที่หอพักเตรียมมาไม่พอ แต่พอหอไฟดับแทบจะไม่ส่งผลอะไรมาก เพราะที่หอพักมีไฟสำรองใช้ร่วมกับเครื่องปั่นไฟ แค่ใช้ให้ประหยัดสุด
ผมก็ว่าน้ำไม่ไหลชีวิตลำบากกว่าไฟไม่มาจริงๆ แต่ส่วนมากพอไฟไม่มาปั๊มน้ำก็พลอยหยุดทำงานไปด้วยเป็นเหตุให้น้ำไม่ไหลอีกนั่นแล
ก็น่าจะแล้วแต่เงื่อนไขในแต่ละสถานการณ์ครับ อาจจะต้องลองไปเจอชีวิตแบบติดเกาะดูครับ น้ำไม่ไหลยังพอสามารถใช้ไฟเพื่อหาแหล่งน้ำจากแหล่งอื่นๆ ได้ เท่าที่จำได้คร่าวๆ คือ ต้องพยายามเซฟแบตเตอรี่โทรศัพท์ให้มากที่สุด ปั๊มน้ำมันไม่สามารถจ่ายน้ำมันได้ ต้องเซฟน้ำมันที่มีอยู่แบบสุดๆ เพราะหมดแล้วคือหมดเลยไม่สามารถเดินทางไปไหนได้ เซเว่นปิด อาหารและน้ำดื่มที่ตุนไว้ก็เริ่มร่อยหรอ น้ำใช้ในถังสำรองที่เก็บไว้ร่อยหรอต้องลดการใช้น้ำให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การสื่อสารที่ติดต่อโลกภายนอกยากมากเพราะเสาโทรศัพท์ก็เริ่มมีไฟใช้ไม่พอ ตอนที่กำลังจะหนีออกจากเกาะสภาพตอนนั้นคือต้องนัดแนะรถตู้ที่จะมารับให้ชัดเจนเพราะแบตก็จะหมดแล้ว โอกาสที่จะรับสายมีอยู่ครั้งเดียว ต้องพยายามหาทางสแตนด์บายมือถือให้นานที่สุด ต้องภาวนาให้รถตู้มารับตรงจุดและตรงเวลา แต่สุดท้ายก็โชคดีถึงแม้ว่ารถตู้จะมาสายเกือบเป็นชั่วโมง ตอนนั้นต้องเปิดปิดมือถือเพื่อเซฟแบตแล้วก็ภาวนาอย่าให้รถตู้โทรมาตอนที่ปิดเครื่อง เป็นประสบการณ์ที่ยากจะลืมจริงๆ
“น้ำคือชีวิต” ดังพระราชดำรัส ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๒๙ ความตอนหนึ่งว่า
“...หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้...”
ถ้าเป็นเรื่องหลักการดำรงชีวิตพื้นฐานก็ตามนั้นครับ แต่ที่ผมจะบอกคือมันเป็นอีกสถานการณ์หนึ่งครับ
-*- นำ้ก็สำคัญสุดแหละครับงั้น
ในไทยพวกโซล่าเซล ถ้าไม่ใช้ Tesla ผลิต 5KW เริ่มต้นที่ 2.5 แสนบาทก็มีนะครับ
บางที่ก็เคลมว่า 2 ปีคุ้มทุนแล้ว แต่คุณภาพจีน จะเท่าของ Tesla รึเปล่า ไม่มั่นใจครับ
แพงเกินไปครับ เหมือนเป็นการซื้อ Insurance ป้องกันไฟดับมากกว่าแบบนี้
แต่ต่อไปถ้าคนใช้มากขึ้นหรือมีคู่แข่งมากขึ้น มันก็คงถูกลงตามเทคโนโลยีแหละครับ
นั่นสิครับ ซื้อเครื่องปั่นไฟกับน้ำมันมาเก็บไว้ในห้องเก็บของก็น่าจะทดแทนได้ระดับนึงเลยนะครับเนี่ย
เครื่องปั่นไฟ 15kVA ดีเซล ผลิตในไทยราคาประมาณไม่เกินสามแสนครับ ต้องสั่งให้มันอุ่นเครื่องทุกสัปดาห์ (กันลูกสูบติด) แถมควันเนี่ยก็.... ไม่รัญจวนแถมรบกวนชาวบ้านไม่น้อยเลยครับ (ทำมาแล้ว ชาวบ้านเอือมมาก ดีที่แถวนั้นเป็นบ้านพักข้าราชการเลยย้ายหนีกันได้)
ถ้าคิดจะใช้เครื่องเบนซินเล็กๆขนาดสามฟุตล่ะก็ ผมว่าไม่พอใช้ทั้งบ้านครับ
เอารถเก๋งบ้านๆ แทนได้เปล่าหว่า
ได้ครับ เห็นตปท.เอามาโมกันเพียบครับ
เสียงเครื่องปั่นไฟนี่ไม่ใช่อะไรที่น่าพิศมัยเลยจริงๆ ครับ
แฮะๆ อันนี้ผมไม่ทราบเลยครับ เห็นที่นี่ไฟไม่ดับก็ไม่ได้ใช้เลยเป็นปีๆ
เฉพาะเวลาจำเป็นจริงๆ ผมพอทนนะครับ (คือเคสแบบดับทีครึ่งวันหรือเป็นวันๆ) ดีไม่ดีข้างบ้านนี่แหละจะต้องมาขอชาร์จแบตหรือปรุงอาหารด้วย (แต่ผมกะว่าซื้อที่ปั่นไฟมือหมุนไว้สักชุดดีกว่า ขอแค่โทรศัพท์ยังทำงานได้สักชิ้น)
เครื่องแบบขนาดนั้นนี่พอใช้ได้สักขนาดไหนเหรอครับ พอดีเคยเห็นเค้าใช้กันเวลาล่องแพ
ได้ประมาณ 3-5kVA ครับ
ขอบคุณครับ น้อยพอสมควรแต่คิดว่าก็ยังพอใช้ได้ นิดหน่อย - -"
บางทีเอาตัวแปลงไฟ 12V -> 220V แบบดีๆ หน่อยไว้เสียบรถยนต์เลยอาจจะเข้าท่ากว่า (สำหรับใช้แค่นิดหน่อย)
อันนี้เขาใช้แทนซื้อไฟฟ้าเลยนะครับ อย่าลืมนะครับคุณต้องนั่งฟังมัน 24*7 ถ้าใช้แทนไปเลย อาจตีกับข้างบ้านได้นะครับ
ยังไม่รวมว่าคุณต้องลำบากซื้อน้ำมัน เก็บน้ำมันมากเกินเดียวเพลิงไหม้ยุ่งยากกฏหมายอีก ค่าซ่อมบำรุงเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ใช้นานติดต่อกันก็ต้องมีเครื่องสำรองสลับกันทำงานอีก สร้างโรงไฟฟ้าในบ้านไม่ใช่เรื่องง่ายเลยครับ
เมื่อขายได้เงิน ก็ รับเอาไปกำจัดให้ฟรี ด้วย
ขยะก้อนใหญ่โตแบบนี้ พังมา จะเอาไปทิ้งที่ไหน ให้ปลอดภัย
ที่ออสเตรเลีย มีปัญหาเรื่องการผลิตไฟฟ้าจากต้นทุนที่สูงครับ ตอนนี้ค่าไฟอยู่ที่ราวๆ 450ดอลล่าต่อเม็กกะวัตต์ชั่วโมง (เทียบบ้านเราราวๆ 11 บาทต่อหน่วย) หมายถึงแพงกว่าไทยหลายเท่าตัว แต่ก็ขาดทุนครับ Alinta Energy เองคล้ายกับบริษัทไอทียุคก่อน ที่ไม่ยอมปรับตัวเพราะคิดว่าเป็นของตาย ขายได้ สุดท้ายการรุกคืบของพลังงานทดแทน และ Off Grid ทำให้ต้องปิดโรงไฟฟ้าหลักของประเทศ ถึงสองแห่งหลังจากประชาชนไม่ไว้ใจระบบ Infra ที่ไฟดับบ่อย ทั้งที่ค่าไฟแพง
งงจัง ออสนี่ส่งออกถ่านหิน ติดอันดับต้นๆ
ทำไมไม่เอามาผลิตกระแสไฟฟ้า มีถ่านหินในประเทศเยอะ ต้นทุนน่าจะถูก
โรงไฟฟ้าถ่านหินมีสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้ามากที่สุดในออสเตรเลียครับ ซึ่งทำให้เป็นปัญหาทางนโยบายพลังงานที่ต้องการลดปริมาณคาร์บอนลงและยังมีเสียงเรียกร้องไม่เอาพลังงานนิวเคลียร์อีก