Tags:
Node Thumbnail

บีคอน อินเตอร์เฟส สตาร์ทอัพด้านฟินเทคสัญชาติไทย ที่ได้รับการสนับสนุนโดยธนาคารกสิกรไทย พัฒนาแอพพลิเคชั่นโอนเงินสำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น ส่งผลงานเข้าประกวดในโครงการ Global FinTech Hackcelerator ล่าสุดได้รับรางวัลชนะเลิศในงาน Singapore FinTech Festival 2016 และยังได้รางวัล Developer Hub Award จาก Citigroup ด้วย

บีคอน อินเตอร์เฟส คือผลงานร่วมกันพัฒนาระหว่างทีมผู้ก่อตั้งกับทีมวิศวกรจาก KBTG (กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป) และ ABLE Lab (Achieve Better Living for Elderly Lab) ในการทำแอพเพื่อให้เหมาะกับผู้บกพร่องทางการมองเห็นและผู้สูงอายุ

No Description

ด้านวิธีการใช้งาน ตัวแอพพลิเคชั่นใช้เสียงและการสั่นเป็นเครื่องมือนำทางสำคัญ มีหน้าจอสีสดและตัวอักษรใหญ่เพื่อให้ผู้สูงอายุที่การมองเห็นเลือนรางใช้งานได้ ผู้ใช้สามารถเลื่อนปัดขวาเพื่อทำรายการต่อโดยปัดขวาตรงไหนของหน้าจอก็ได้ เพราะเป็นเทคโนโลยี Non-location Based Interface

No Description

หากผู้ใช้ต้องการโอนเงินก็สามารถพิมพ์ชื่อบัญชีผู้รับด้วยการหมุนแป้นตัวอักษรคล้ายกดแป้นโทรศัพท์แบบโบราณ ระบบจะขานอักษรที่กดไปออกมา จากนั้นจะช่วยตรวจสอบรายชื่อที่พิมพ์ไปว่าถูกต้องหรือไม่

No Description

ก่อนจะเลื่อนปัดขวาเพื่อยืนยันการโอนเงิน ระบบจะขานตัวเลขเพื่อให้ผู้ใช้รู้จำนวนเงินที่ตัวเองระบุไป เป็นการยืนยันก่อนจะโอนจริงๆ

No Description

ด้านผู้ก่อตั้ง Beacon Interface อภิรัตน์ หวานชะเอม บอกเหตุผลที่ทำให้บีคอนชนะว่า เพราะเป็นสตาร์ทอัพฟินเทคที่มีลักษณะทำเพื่อสังคม และในช่วงพิชชิ่งก็ใช้กลยุทธการนำเสนอที่พยายามตรึงใจกรรมการ โดยให้ผู้ที่บกพร่องทางการมองเห็นมาร่วมนำเสนอแอพพลิเคชั่นให้ดูตรงนั้นเลย ซึ่งตรงนี้ต้องเฟ้นหาผู้ที่มีความบกพร่องและพูดภาษาอังกฤษคล่องมาช่วยด้วย ส่วนความพร้อมในการใช้งาน ตอนนี้อยู่ระหว่างปรับปรุงและเพิ่มฟีเจอร์ต่างๆ คาดว่าจะเสร็จในไตรมาสแรกของปี 2017

การแข่งขันในโครงการ Global FinTech Hackcelerator ภายใต้งาน Singapore FinTech Festival 2016 จัดโดยธนาคารกลางของสิงคโปร์ (MAS) มุ่งเฟ้นหานวัตกรรมฟินเทคระดับโลก ในงานนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมประกวดประมาณ 650 โครงการ จาก 50 ประเทศทั่วโลก ซึ่งบีคอน อินเตอร์เฟส เป็นสตาร์ทอัพไทยรายเดียวที่ผ่านเข้ารอบ 20 ทีมสุดท้ายและได้รับรางวัลชนะเลิศ และยังเป็นทีมเดียวในการแข่งขันที่ได้รับถึงสองรางวัลอีกด้วย

Get latest news from Blognone

Comments

By: Jirawat
Android
on 22 November 2016 - 19:29 #955117
Jirawat's picture

ผมว่าในอนาคตอาจใช้ Machine Learning +สั่งงานด้วยเสียงจะสะดวกกว่าไหม

By: Virusfowl
ContributorAndroidSymbianWindows
on 22 November 2016 - 20:28 #955126

คำถามจากกลุ่มเป้าหมาย (มั้ง) คือ แล้วมันไม่ตีกับฟีเจอร์ Screen Reader ของ Mobile OS เหรอครับ คือฟีเจอร์ที่ว่าๆ มานั่น แค่คุณทำ "แอพปกติ" ให้ได้มาตรฐาน คนตาบอดก็ใช้แอพคุณได้สบายๆ อยู่แล้ว

ทำแอพพิเศษมาแบบนี้ ถ้าไม่รวมเข้ากับแอพหลักในสักวัน แล้วคุณจะมีทีมงานมาคอยอัพเดตแอพสองตัวสองสายได้นานแค่ไหน เห้อ อ่านแล้วไม่รู้สึกว่าดีตรงไหน

เห็นคนทำแอพหลายตัวที่คิดว่าต้องพัฒนาฟีเจอร์ขึ้นมาให้คนตาบอดโดยเฉพาะแล้วก็เซ็ง เหมือนเขาไม่เคยศึกษาว่า OS แต่ละตัว เขาก็มี accessibility feature ของตัวเองไว้ให้อยู่แล้ว ซึ่งไม่มีความจำเป็นเลยที่คุณต้องทำแอพให้มี accessibility feature เป็นของตัวเองขึ้นมาอีก ซ้ำซ้อน ยุ่งยากในการใช้งาน รวมถึงการพัฒนาด้วย จริงๆ นะ

ป.ล. เว็บกสิกรเอง ปรับปรุง Accessibility ก่อนไหมครับ มาตรฐาน WCAG น่ะ รู้จักกันไ


@ Virusfowl

I'm not a dev. not yet a user.

By: aragon10
Android
on 23 November 2016 - 07:58 #955181 Reply to:955126

ผมว่าถ้าเรามองว่าทุกอย่างที่ให้มากับเครื่องมันดีอยู่แล้ว มันก็คงไม่มีการพัฒนาสิ่งที่ดีกว่าขึ้นมา
keyboard ปกติที่ให้มากับเครื่องก็ดีอยู่แล้วนิครับ แต่ก็ยังมีคนพัฒนา keyboard ที่ดีกว่าขึ้นมาให้เลือกใช้

เรื่องคน maintain application ทำไมคุณถึงไปห่วงแทนเค้าละครับ ถ้าเค้าอยากได้ตังเค้าก็ maintain ถ้าเค้าไม่อยากได้หรือทำแล้วไม่คุ้มเค้าก็เลิก มันเรื่องปกติรึเปล่าครับ มันก็เป็นแบบนี้ทุก Application นะแหละ

ส่วนตัวผมดีใจมากกว่าที่เห็นคนพัฒนาสิ่งต่างๆเพื่อผู้ด้อยโอกาศ ไม่ว่าจะดีกว่าหรือแย่กว่าของที่มีอยู่ อย่างน้อยก็มีคนใส่ใจช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาศ

By: Virusfowl
ContributorAndroidSymbianWindows
on 23 November 2016 - 09:33 #955195 Reply to:955181

ผมไม่ได้บอกนะครับว่าสิ่งที่มีอยู่แล้วดีที่สุด การพัฒนามีน่ะดีครับ แต่ที่ผมพยายามบอกคือ คนส่วนมากมักพัฒนาอะไรๆ ให้คนด้อยโอกาสแบบผิดทางครับ แทนที่จะนำสิ่งที่มีอยู่แล้วมาต่อยอด กลับไปสร้างฐานใหม่ และก็มีน้อยรายมากที่ฐานใหม่ที่ว่าจะกลายมาเป็นรากฐานที่ใช้งานได้ "ดี" จริง ส่วนมากก็เป็นฐานทิ้งไว้ แล้วก็มีคนใหม่ๆ มาสร้างฐานใหม่อื่นอีก

ขยายความเช่น แอพกสิกรที่ว่านี่ ผมไม่แน่ใจว่าเขาดึง accessibility feature จาก OS มาใช้แค่ไหน แต่เท่าที่อ่านจากข่าว และการทำโปรเจคคล้ายๆ กันแนวนี้ พบว่า นักพัฒนามักจะพัฒนา accessibility feature ขึ้นมาเป็นของตัวเอง หรืออย่างน้อยเนื้อข่าวก็เขียนให้เข้าใจว่าเป็นอย่างนั้นนะครับ ซึ่งแปลว่า ในมุมมองของผู้ใช้ ที่ใช้ accessibility feature อันเดิมอยู่แล้ว คุณก็ต้องเรียนรู้ใหม่ นี่ยังไม่นับว่า สิ่งที่นักพัฒนาทำขึ้นมาใหม่เอง จะตีกับ accessibility feature ของเดิมหรือเปล่า ถึงขั้นว่ามีบางแอพพลิเคชัน ที่ทำมาแนวนี้ ผู้ใช้ต้องปิดการทำงานของ accessibility feature เดิม เพื่อมาใช้ของที่แอพทำไว้ให้ใช้ อะไรแบบนั้นก็มีนะครับ

ถ้าผู้ใช้ไม่มีพื้นฐานการใช้งาน accessibility feature เก่าอยู่เลย นักพัฒนาก็คิดแค่ว่า ก็นี่ไง ก็มาเรียนรู้การใช้งานแอพเรา ซึ่ง (คิดว่า) ก็ทำให้ใช้ง่ายๆ สะดวกๆ แล้วไง แต่คำถามคือ ถ้าผู้ใช้ไม่มีพื้นเลยที่บอก ก่อนเขาจะเข้ามาใช้งานแอพคุณ เขาจะใช้งาน device นั้นๆ ได้ยังไงครับ ต้องให้คนปกติเปิดใช้งานแอพของคุณมาให้ก่อนเหรอ

ซึ่งจากข้อสงสัยของผม ก็เป็นการตั้งสมมติฐานว่า ผู้ใช้ที่จำเป็นต้องใช้ accessibility feature นั้น เขาก็ควรจะใช้ accessibility feature ของ OS นั้นๆ ได้ในระดับนึงอยู่แล้ว และการเข้าถึงการใช้งานของแอพพลิเคชันต่างๆ ก็แค่ใช้งานแอพที่เขียนมาได้มาตรฐาน ทำให้เขาสามารถใช้งานได้ (เกือบสมบูรณ์) อยู่แล้ว ทำไมเขาถึงจะต้องมาเรียนรู้วิธีใช้แอพพลิเคชัน (ที่คุณหวังดี) ทำ accessibility feature ขึ้นมาใหม่ ต้องเรียนรู้ใหม่ ละครับ?

ผมไม่ได้ห่วงเรื่องคน maintain application ในมุมมองของบริษัทหรอกครับ ผมห่วงในฐานะ user นี่แหละ ว่าสมมติว่าเขาพัฒนาแอพนี้มาจนดีจริงๆ มีกลุ่มเป้าหมายใช้งานกันในระดับนึง แต่พอวันนึง ทางธ.เปลี่ยน API หลังบ้าน ทีมที่พัฒนาแอพนี้จะยังอยู่ตามอัพเดตแอพให้ได้สักกี่ปีครับ

แต่ถ้าอย่างที่ผมเสนอไปแล้วคือ คุณก็แค่ทำแอพตัวปกติของคุณให้เป็นไปตามมาตรฐาน สามารถเข้าถึงได้โดย accessibility feature ของ OS โดยปกติ คุณก็พัฒนาแอพเดียว ทีมเดียว ผู้ใช้ก็ไม่ต้องห่วงว่า วันนึงแอพที่ฉันใช้ จะโดนลอยแพหรือเปล่า ใช่ไหมครับ


@ Virusfowl

I'm not a dev. not yet a user.

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 23 November 2016 - 10:41 #955207 Reply to:955195
hisoft's picture

เห็นด้วยครับ โดยเฉพาะอย่างตรงนี้

หากผู้ใช้ต้องการโอนเงินก็สามารถพิมพ์ชื่อบัญชีผู้รับด้วยการหมุนแป้นตัวอักษรคล้ายกดแป้นโทรศัพท์แบบโบราณ ระบบจะขานอักษรที่กดไปออกมา

คือต้องหัดใช้คีย์บอร์ดแบบนี้เพื่อแอปนี้โดยเฉพาะไปเลย?

By: Jirawat
Android
on 23 November 2016 - 14:41 #955245 Reply to:955207
Jirawat's picture

ผมก็ว่างั้นแหละใช้ยากไปคนก็ไม่ใช้ สั่งงงานด้วยเสียงดีกว่าไหมเหมือนsiri ไรงี้

By: aragon10
Android
on 23 November 2016 - 11:25 #955218 Reply to:955195

อ่อครับ ขอบคุณที่อธิบายโดยละเอียดครับ ผมก็เข้าใจในมุมมองของคุณครับ

By: Virusfowl
ContributorAndroidSymbianWindows
on 1 April 2017 - 22:45 #978101

ได้ลองฟังตัวอย่างการทำงานจริงๆ (นิดหน่อย) จากในคลิปแล้ว ผมก็ยังคิดเหมือนเดิมว่าแนวคิดพื้นฐานแบบนี้น่าจะไม่เวิร์คในระยะยาว


@ Virusfowl

I'm not a dev. not yet a user.