เรื่องจอมอนิเตอร์ในบางวงการไม่ใช่ว่าจะเป็นจออะไรก็ทำงานได้ บางวงการต้องสีตรงกับต้นฉบับ แสดงสีได้มากๆ และสว่างสดใส ล่าสุด Panasonic เปิดตัวพาเนลจอภาพแบบ IPS ความสว่าง 1,000 nits กับค่า contrast ratio ที่ 1,000,000:1 แล้ว ซึ่งแหล่งข่าวระบุว่าจอ IPS ในตลาดทั่วไปทำได้แค่ 2,000:1 เท่านั้น
Panasonic ระบุว่าเขาใช้วิธีปรับความสว่างของแบ็กไลท์แบบพิกเซลต่อพิกเซล (แบบเดียวกับ OLED) ที่สามารถผลิตด้วยเทคโนโลยีการทำจอ LCD ปัจจุบันได้ จากเดิมที่แบ็กไลท์ของจอปกติจะมาเป็นแบบเต็มแผง ควบคุมความสว่างบางจุดได้ไม่ละเอียดนัก Panasonic ใช้วิธีเพิ่ม Light-modulating cell ซ้อนระหว่างแบ็กไลท์กับแผงจอภาพนั่นเอง แผงนี้ผลิตจากคริสตัลเหลวที่ปิดกั้นแสงได้ที่ไม่ได้ระบุว่าทำจากอะไร พร้อมปรับใช้ในเดือนมกราคม 2017 ครับ
ที่มา - Anandtech
Comments
โฮ่ ทำได้ pixel ต่อ pixel แล้วหรอ เมื่อซักหลายปีที่แล้วยังแข่งกันเปิดปิดแบ็คไลท์หลักร้อยหลักพันจุดเอง
เมื่อวานขับรถทางด่วน พระรามเก้า มอเตอร์เวย์ ขาออก ประมาณสี่ทุ่ม
ป้ายอันใหญ่มาก สว่างมากๆ ยิงเข้าตา จนน่าเป็นห่วงครับ
โดยตำแหน่งและทิศที่สวนกับแสงแดดทางทิศตะวันตกเลยจัดเต็ม
ถ้าหลังพระอาทิตย์ตกแล้วลดความสว่างบ้างก็คงดี อันตรายจริงๆ ตรงนั้นรถขับกันเร็วด้วย
จอ LED นี่ผมบ่นมานานแล้วเหมือนกันครับ เปิดกลางคืนสว่างอัดเต็มเท่ากลางวัน ไม่รู้ผู้บริหารไม่เคยเดินมาดูเองหรือไง
กระทั่งที่ญี่ปุ่นก็ยังเป็นแบบเดียวกันครับ แสบตาตอนกลางคืนเหมือนกัน
อาจจะผิดกฎหมายครับ
เปลืองไฟขึ้นหรือป่าวครับ? LCD มีข้อเสียตรงนี้
เคยใช้ contrast สูงๆ แล้วปวดตามากครับ สุดท้ายต้องซื้อใหม่เอา contrast ต่ำๆ
คล้ายๆ จะเป็น LCD ซ้อนกันสองแผ่นเหรอ เจ๋งดี
iPAtS
อีกนิดนึง
อันนี้ไม่น่าจะแปลว่า "คริสตัลเหลวที่ไวต่อแสง" นะครับ น่าจะเป็นประมาณว่า คริสตัลเหลวที่ปิดกั้นแสงได้
iPAtS
ขออภัยในความผิดพลาดครับ ขออนุญาตแก้ไขครับ
จอ IPS สมัยนี้(600 นิต) ถ้าเปิดความสว่าง 100% มันก็สว่างมากแล้วนะ ถ้าใช้ในไซต์งานกลางแจ้งก็พอเข้าใจ แต่จอไอโฟนสมัยนี้ น่าจะสู้แดดได้ดี