หลังเครือข่ายพลเมืองเน็ตและองค์กรนิรโทษกรรมสากล ประเทศไทย ยื่นรายชื่อกว่าสามแสนรายที่ไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้สภาลงมติไม่รับร่างพ.ร.บ. ในวาระ 2 และวาระ 3 นั้น
ล่าสุด พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ สมาชิก สนช. และประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ยืนยันว่าคณะกรรมาธิการจะพิจารณาแก้ไขร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ให้รัดกุมและชัดเจนมากยิ่งขึ้น พร้อมยืนยันว่าไม่มีการนำเรื่องซิงเกิลเกตเวย์เข้ามาปนอย่างที่เข้าใจผิดกัน เนื่องจากเป็นกฎหมายอีกฉบับ ไม่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
พร้อมกันนี้ ประธาน กมธ. ตอบโต้กรณีที่ร่าง พ.ร.บ. มีเนื้อหาว่าด้วยความผิดที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประเทศ ซึ่งเป็นนิยามที่กว้างเกินว่า ผู้ที่จะตีความว่าเรื่องใดขัดหรือไม่ขัดนั้นคือ ศาล ไม่ใช่ดุลยพินิจของคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ 5 คน เพราะทั้ง 5 คนมีหน้าที่เพียงส่งเรื่องไปให้รัฐมนตรีพิจารณา เพื่อส่งไปให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดเท่านั้น และยืนยันว่าไม่ได้เป็นการมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่มากเกินไป
ที่มา - ไทยรัฐ
Comments
สภาลงมติไม่รับร่างพ.ร.บ. ในวาระ 2 และวาระ 3 ?
าสุด ?
งั้นทำไมไม่ใส่ไปเลยว่าจะขัดหรือไม่ขัดศิลธรรมก็ได้ เพราะสุดท้ายก็โยนไปศาลหมด?
เดี๋ยวๆ นี่สับขาหลอกกันเหรอ?
นายกฯ ยันไม่ใช้ซิงเกิ้ลเกตเวย์ แต่จำเป็นต้องใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ สกัดเว็บหมิ่นสถาบันฯ
รบ.โต้ร่าง พ.ร.บ.คอมพ์โยงซิงเกิลเกตเวย์ ขออย่าเชื่อพวกบิดเบือน ย้ำปรับให้ทันสมัย
บิ๊กป้อมลั่นต้องมี "ซิงเกิ้ล เกตเวย์" ยกกลุ่มเคลื่อนไหวในลาวเป็นตัวอย่าง
อะไรคือศีลธรรมอันดี
พูดตรงๆ เลยละกัน แล้วเราจะเชื่อดุลพินิจศาลได้มากน้อยแค่ไหนครับ ?
คือมันต้องมีคนชี้ขาดซักคนเหมือนเวลาเตะบอลก็ต้องฟังกรรมการแหละครับ
ถ้าไม่เชื่อศาลแล้วจะให้เชื่อใคร
กรรมการเป่าจุดโทษมั่ว ก็แค่ทีมแพ้ชวดถ้วย แต่ถ้าศาลตัดสินผิดนี่ อาจถึงขั้นมีคนตายฟรีได้เลยนะครับ
แต่ก็ต้องมีคนตัดสินคดีอยู่ดี ไม่งั้นมันก็ไม่ยุติล่ะครับ :/
กรรมการห่วยต้องโดนเปลี่ยน ไม่ไช่ปล่อยไปเฉยๆ ไช้ไปเรื่อยๆ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ถ้าต้องการหาความยุติธรรมในเรื่องที่เราคิดว่าไม่ได้รับความยุติธรรม เราก็ฟ้องศาลเป็นปกติครับ ถ้าไม่ให้ศาลช่วย จะให้ใครช่วย
ศาลยุติธรรมแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ถ้าศาลชั้นต้นพิจารณาคำตัดสินในแบบที่เราคิดว่ายังไม่ได้รับความยุติธรรมตามข้อกฏหมาย ก็สามารถยื่นอุทธรณ์ได้นี่ครับ
อย่าไปกลัวดุลพินิตศาลครับ เพราะตอนนี้ทำกันเองได้แล้ว แล้วค่อยแจ้งรัฐมนตรีอีกที???
ตามร่างมันหมายถึงให้ส่งให้ศาลได้เลยแล้วค่อยแจ้งรัฐมนตรีไม่ใช่เหรอครับ
ผมนึกถึงถนนไร้ฝุ่นขึ้นมาทันที
ศีลธรรมอันดี?
ศีลของศาสนาไหน ข้อไหน? ศีลแบบหยาบ หรือแบบละเอียด?
ผมเชื่อว่าแม้แต่คนเขียนกฎหมายก็ตอบไม่ได้...
ความดีมันจะผันไปตามอารมณ์ของผู้มีอำนาจในขณะนั้น ซึ่งเราจะเจอมันในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ทุกยุคทุกสมัย
ถ้าเป็นประวัติศาสตร์ยุคใหม่ เขาใช้ระบบกฎหมายไงครับ มีข้อเขียนชัดเจน
ส่วนถ้าอ้างศีลธรรม อันนี้คงเป็นยุคกลาง รัฐศาสนา เปลี่ยนแปลงดุลพินิจได้เสมอ เพราะไม่ได้เขียนไว้ชัดเจน
นั่นคือเราจะบอกว่า ตอนนี้เราปกครองแบบรัฐศาสนา?
ก่อนจะพูดถึงใครเป็นคนตีความ เอานิยามก่อนไหมว่า ศีลธรรมอันดีมันคืออะไร? มีขอบเขตแค่ไหน?
เท่าที่ผมเข้าใจ
อันนี้ไม่ใช่ single gateway
เป็นMulti gatewayแบบเดิม ที่เพิ่มเติมคือมีสิทธิตรวจได้ทุกwaysโดยไม่ต้องรอศาล