สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส. หรือ PDPC) มีคำสั่งปรับทางปกครองต่อบริษัทเอกชนรายหนึ่ง (ไม่ระบุชื่อ) ที่ทำธุรกิจด้านซื้อขายสินค้าออนไลน์ เป็นเงิน 7 ล้านบาท หลังปล่อยให้ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้ารั่วไหล ซึ่งผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA)
บริษัทรายนี้ เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้ามากกว่า 1 แสนราย แต่กลับไม่ปฏิบัติตามกฎหมายดังนี้
กระทรวงดิจิทัลฯ แถลงข่าวร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กรมสอบสวนคดีพิเศษ, กสทช., ธนาคารแห่งประเทศไทย, สมาคมธนาคารไทย, และปปง. ว่าเมื่อวานนี้พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
กฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจธนาคารเพื่อระงับการทำธุรกรรมของบัญชีที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมไว้ได้ทันทีที่ผู้เสียหายแจ้งธนาคารและผู้เสียหายต้องแจ้งความภายใน 72 ชั่วโมงโดยสามารถแจ้งความได้ทุกท้องที่ และเจ้าพนักงานแจ้งให้ระงับบัญชีต่อไป 7 วัน
วันนี้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับ AWS ประเทศไทยเพื่อนำบริการคลาวด์ของ AWS เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (Government Data Center and Cloud Service - GDCC) โดยกระทรวงดีอีเอสจะทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐและ AWS ในการนำระบบต่างๆ เข้ามาเริ่มรันบน AWS ภายในปีหน้า ซึ่งเบื้องต้นระบุว่าจะมีโครงการนำร่องก่อน 10 โครงการ
นอกจากนี้ AWS จะยังสนับสนุนการฝึกอบรมข้าราชการ 1,200 คนให้พร้อมกับการใช้งานคลาวด์ AWS ด้วย โดยจะมีทั้งแบบเรียนออนไลน์ด้วยตนเองไปจนถึงการจัดอบรมจริงๆ
วันนี้นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตอบคำถามในรัฐสภาระหว่างการประชุมสมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง โดยพูดถึงประเด็นแก๊งล่อลวงหลอกเงินประชาชนรูปแบบต่างๆ ว่ารัฐบาลกำลังพยายามจัดการปัญหา พร้อมกับต้องแก้กฎหมายเพื่อเพิ่มอำนาจในการจัดการ
รูปแบบการแก้ไขยังไม่ชัดเจนนัก แต่นายชัยวุฒิ พูดถึงประเด็นใหญๆ่ ได้แก่ การแก้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่กำลังมีการศึกษากันอยู่, การควบคุมเงินคริปโตที่เป็นช่องทางใหญ่ในการนำเงินออกนอกประเทศหลังจากหลอกลวงมาได้, และการจัดตั้ง Single Gateway ควบคุมข่าวสาร
วันนี้ระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ขึ้นตอบการอภิปราย โดยยืนยันว่าไม่ได้ใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือทางการเมือง โดยระบุว่ากระบวนการนั้นทางกระทรวงมีระบบ social listening และพบข้อความที่ผิดกฎหมายตามพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
ระหว่างการตอบการอภิปราย นายชัยวุฒิ ระบุว่า คนไทยซื้อสินค้าออนไลน์เป็นอันดับสามของโลก เป็นรองอินโดนีเซียและอังกฤษ และการจ่ายเงินออนไลน์ หรือ Mobile Banking เป็นอันดับหนึ่งในโลก โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นผู้สร้างระบบพร้อมเพย์ ทำให้ประชาชนไทยจ่ายเงินออนไลน์ได้โดยไม่มีปัญหาและมีความปลอดภัย
นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายไม่ไว้วางใจนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในประเด็นการออกหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ.2564 เป็นการบิดเบือนกฎหมายเพื่อประโยชน์ทางการเมือง เพื่อสอดแนมการใช้อินเทอร์เน็ตของประชาชน
นายปกรณ์วุฒิ วิจารณ์แนวทางการทำงานของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ว่าใช้การข่มขู่จับผิดคนต่อต้านรัฐบาลผ่านโซเชียลมีเดีย มากกว่าจะไปแก้ปัญหาเรื่องดิจิทัลอย่างเช่นปัญหาการทำงานของแอปหมอพร้อม, ไทยชนะ, ไทยร่วมใจ ที่เกิดปัญหามากมาย กระทบต่อประชาชนโดยตรง สร้างความสับสนเรื่องระบบการจองวัคซีน
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เผย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ประกาศผลคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ หรือ ITA โดย กระทรวงดิจิทัลฯ ได้คะแนน 95.42 อยู่ในระดับ AA และเป็นหน่วยงานที่ได้รับคะแนนประเมินสูงที่สุดเป็นอันดับ 1 ในระดับกระทรวง
วันที่ 13 ส.ค. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประกาศกฎหมายลูกของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. 2564 ลงราชกิจจานุเบกษา มีข้อกำหนดเพิ่มเติมหลายเรื่อง และแบ่งแยกประเภทผู้ให้บริการรูปแบบใหม่ๆ อย่าง Clubhouse และ Telegram ด้วย
ประกาศฉบับนี้เป็นการอัปเดตจากประกาศฉบับเดิมเมื่อปี 2007 ที่ออกตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับแรก
หลังจากที่ประยุทธ์ออกคำสั่งตัดอินเทอร์เน็ตผู้เสนอข่าว ที่อาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวจนกระทบความมั่นคงไป วันนี้ รมว. DES ให้สัมภาษณ์ระบุว่าการตีความว่าข่าวใดที่เข้าข่ายทำให้หวาดกลัวต้องดูที่เจตนา โดยดุลยพินิจเป็นของเจ้าหน้าที่กระทรวง DES กสทช. และเจ้าหน้าที่ตำรวจ และการเสนอข่าวแม้จะเป็นความจริงแต่ถ้าเป็นการเสนอข่าวที่ไม่ครบถ้วนที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อความเชื่อมั่นก็อาจเข้าข่ายดังกล่าวได้
จากประเด็นกระทรวงดิอี ออกโรงขู่ดาราที่โพสต์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลในช่วงนี้ ล่าสุด นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ อดีตบอร์ดกสทช. โพสต์ทวิตเตอร์ถึงกระทรวงดีอี และ กสทช. ว่า สิ่งที่ควรเน้นเป็นวาระแห่งชาติขณะนี้คือผลักดัน #Broadband for All หาเน็ตและอุปกรณ์ให้เด็กๆเรียนออนไลน์ 100% ไม่ใช่คอยเป็น censorship machine
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส แถลงว่าศาลมีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ในบัญชีผู้ใช้ Facebook แล้ว 8 บัญชีคือ
วันนี้คณะรัฐมนตรีมีมติเลื่อนบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 บางหมวดออกไปอีก 1 ปี หลังจากเลื่อนมาหนึ่งปีก่อนหน้านี้
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระบุว่าภาคธุรกิจอย่าง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, และกลุ่มสมาคมด้านการท่องเที่ยว ได้ขอให้รัฐบาลบรรเทาผลกระทบจากความไม่พร้อมต่อกฎหมายนี้ ทางกระทรวง DE จึงเสนอให้ครม. เลื่อนกฎหมายออกไป
Change.org กลับมาแล้ว หลังถูกปิดกั้นการเข้าถึงจากการที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือกระทรวงดีอี ได้อาศัยอำนาจตามคำสั่งศาลสั่งปิดกั้นการเข้าถึง Change.org ทำให้ผู้ใช้งานในไทยไม่สามารถเข้าเว็บไซต์ได้เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ปี 2020 ล่าสุด Change.org กลับมาเข้าถึงได้แล้ว หลังต่อสู้ทางกฎหมาย ศาลได้มีคำสั่งให้ยกเลิกการปิดกั้นเว็บไซต์
ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรีชุดใหม่ หลังจากนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ แกนนำกปปส. และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลถูกตัดสินจำคุก 7 ปีจนต้องพ้นตำแหน่งไป โดยนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีคนล่าสุด
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพรรคพลังประชารัฐลำดับที่ 10 (นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ อยู่ในบัญชีรายชื่อลำดับที่ 3 ส่วนนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณอยู่ในลำดับที่ 1) และยังเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประกาศข่าวแผนการควบรวม TOT และ CAT เป็นบริษัทเดียว โดยจะใช้ชื่อว่า บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (National Telecom Public Company Limited ตัวย่อ NT) มีกำหนดจดทะเบียนบริษัท 7 มกราคม 2564
วันนี้นายพุทธิพงษ์ ยังได้พบกับพนักงานและสหภาพแรงงานของทั้งสองบริษัท เพื่อสื่อสารให้เข้าใจเรื่องการควบรวมบริษัทเป็น NT มากขึ้น โดยนายพุทธิพงษ์บอกว่า NT จะเป็นบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติที่มีศักยภาพด้าน 5G และดาวเทียม การควบรวมยังลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อนด้วย
วันนี้ในงาน Powering Digital Thailand จัดโดยหัวเว่ย มีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี มาพูดเปิดงาน, พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีกระทรวงดีอี และณัฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ มาบรรยาย Blognone ได้เก็บรายละเอียดมาฝาก
นายภุชพงศ์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเปิดเผยว่าศาลอาญามีคำสั่งปิดช่องทางออนไลน์ของ Voice TV ทั้งหมดหลังจากทางกระทรวงนำหลักฐานเสนอศาล โดยระบุว่าพบการนำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
กระทรวงดิจิทัลได้รับคำสั่งจากกอร.ฉ. ให้ติดตามสื่อออนไลน์ 5 ราย ได้แก่ Voice TV, ประชาไท, The Reporters, The Standard, และเพจเยาวชนปลดแอก นายภุชพงศ์ระบุว่าอีก 4 รายนั้นก็มีการเสนอศาลไปเช่นกันแต่ยังไม่ได้รับคำสั่งศาลกลับมา
ที่มา - ThaiPBS
เมื่อเช้านี้หลังกรมประชาสัมพันธ์เผยแพร่คำเตือนของกระทรวงดิจิทัลว่าให้ระวังการโพสโซเชียลผิดกฎหมาย ทางกระทรวงเองก็ประกาศรายละเอียดออกมาเพิ่มเติมว่าจะเอาผิดกับกลุ่มผู้โพสต้นทางก่อน โดยระบุชื่อได้แก่ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์, สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, ภาณุพงศ์ จาดนอก (ไมค์ ระยอง) พร้อม Voice TV และเพจ Free YOUTH
ทางกระทรวงไม่ได้ระบุว่าจำนวนโพสที่จะเอาผิดกับบุคคลเหล่านี้เป็นจำนวนกี่โพส แต่ระบุเพียงจำนวนรวม 324,990 เรื่อง เป็นทวิตเตอร์ 75,076 เรื่อง, เฟซบุ๊ก 245,678 เรื่อง, และเว็บบอร์ด 4,236 เรื่อง ในจำนวนนี้รวมถึงการรีทวีตและกดแชร์ไปด้วย
กองอำนวยการร่วมแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (กอร.ฉ.) ออกคำสั่งให้กสทช. และกระทรวงดิจิทัลตรวจสอบและระงับการออกรายการของสื่อออนไลน์หลายแห่ง ได้แก่ Voice TV, ประชาไท, The Reporters, The Standard, และเพจเยาวชนปลดแอก
คำสั่งฉบับนี้ลงวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา แต่เพิ่งมีการเผยแพร่ผ่านเพจจุลสารราชดำเนินของสมาคมนักข่าวในเช้าวันนี้ และทางเพจได้ลบเอกสารออกไปภายหลัง อย่างไรก็ดีคุณฐปณีย์ เอียดศรีไชย นักข่าวของ The Reporters ยืนยันว่าเป็นเอกสารจริง และทางกอร.ฉ. จะแถลงข่าวในวันนี้
วันนี้หลังกระทรวงดิจิทัลประกาศกำชับแนวทางการปิดกั้นข้อมูลตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ก็มีรายงานว่าเว็บ Change.org ถูกปิดกั้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยผมทดสอบจาก AIS Fibre และ dtac ก็พบว่าถูกบล็อคทั้งคู่ โดย redirect 302 ไปยังไอพี 125.26.170.3
update: ข้อมูลจากคุณ icez พบว่า Change.org จาก https://change.org จะ redirect ไปยัง http://www.change.org เสมอ ทำให้เว็บเชื่อมต่อแบบไม่เข้ารหัสครั้งหนึ่งจนทำให้ระบบบล็อคเว็บสามารถตรวจพบ URL ได้
กระทรวงดิจิทัลจัดประชุมร่วมกับกสทช., ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP), และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ให้ช่วยกันเฝ้าระวังและดำเนินการต่อข้อมูลและเว็บไซต์ที่ผิดต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่เพิ่งประกาศเมื่อช่วงเวลาตีสี่ที่ผ่านมา และพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ
แถลงของกระทรวงย้ำถึง มาตรา 11 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ระบุว่า "ห้ามเสนอข่าว จำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด รวมตลอดทั้งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์บรรดาที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนในทั่วราชอาณาจักร"
หลังจากเมื่อวานนี้ทวิตเตอร์ได้รายงานถึงบัญชีไอโอของกองทัพบกไทยจำนวน 926 บัญชี ล่าสุดพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลก็ออกมาแสดงความรู้สึกแปลกที่ออกมาเปิดเผยข้อมูลเรื่องนี้ "และโดยเฉพาะในช่วงเวลานี้" แทนที่จะดำเนินการปิดกั้นหา หรือลบบัญชีของผู้ที่โพสต์ข้อความหมิ่นสถาบันหลักของไทย
พุทธิพงษ์เรียกร้องให้ทวิตเตอร์ปิดกั้นเนื้อหาตามคำสั่งศาลไทย "เพื่อแสดงความจริงใจในการทำงานที่โปร่งใสของทวิตเตอร์เอง"
ก่อนหน้านี้พุทธิพงษ์ เคยแสดงความสงสัยต่อเฟซบุ๊กว่าทำไมระบบแปลข้อความอัตโนมัติถึงแปลผิด
พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เข้าแจ้งความกับแพลตฟอร์มสามแพลตฟอร์มหลัก ได้แก่ เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์, และอินสตาแกรม หลังจากทั้งสามแพลตฟอร์มไม่ปิดกั้น URL ต่างๆ ที่ทางกระทรวงดีอีได้แจ้งให้ปิดกั้นไปแล้วเกิน 15 วัน ขณะที่ยูทูปนั้นได้ปิดกั้นแล้วจนครบ
ก่อนหน้านี้ พุทธิพงษ์ เคยระบุว่าการที่แพลตฟอร์มไม่ทำตามคำสั่งปิดกั้นอาจผิด มาตรา 27 ของ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่มีค่าปรับไม่เกิน 200,000 บาทต่อ URL และค่าปรับรายวันอีก 5,000 บาทต่อ URL โดยรายการที่แพลตฟอร์มยังไม่ได้ปิดกั้น ได้แก่ เฟซบุ๊ก 436 รายการ, ทวิตเตอร์ 64 รายการ, และอินสตาแกรม 1 รายการ
พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เตรียมดำเนินการทางกฎหมายกับ Facebook หลังไม่ยอมบล็อกเนื้อหาทั้งหมดที่หน่วยงานรัฐไทยร้องขอ โดยกล่าวว่า หาก Facebook ไม่ทำตามข้อเรียกร้องให้ลบหรือปิดกั้นการเข้าถึงเนื้อหาที่ขัดต่อกฎหมายไทย อาจผิดกฎหมายมาตรา 27 ของ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่กำหนดไว้ว่า
“ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกวาจะปฏิบัติให้ถูกต้อง”
หลังจากที่ช่อง Thai PBS ได้ถ่ายทอดสด พิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2563 แต่มีข้อความส่วนหนึ่งถูกแปลผิดพลาด วันนี้พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลก็ออกมาแสดงท่าทีแสดงความไม่พอใจต่อคำชี้แจงของเฟซบุ๊กว่า "บริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีของโลก เหตุใดถึงมีข้อผิดพลาดในการแปลแบบนี้ได้" พร้อมแสดงภาพมีข้อความ "มาตรการขั้นเด็ดขาด เตรียมดำเนินการเฟซบุ๊ก หากผิด พ.ร.บ. คอม!!!"
นอกจากประเด็นการแปลผิดแล้ว รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลยังระบุว่าเฟซบุ๊กทำลบข้อมูลตามคำสั่งศาลของไทยเพียง 20% ขณะที่ YouTube ของกูเกิลปิดหรือลบเกือบ 90%