พ.ร.บ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ ผ่านการโหวตของ สนช. ไปเรียบร้อยแล้ว แต่กฎหมาย "ชุด" นี้ยังไม่จบ เพราะมีร่าง พ.ร.บ. อีกฉบับที่ใช้ควบคู่กัน นั่นคือ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคง ปลอดภัยไซเบอร์ ที่อาจน่ากลัวกว่า พ.ร.บ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์ด้วยซ้ำ
Blognone เคยนำเสนอข้อมูลของร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคงไซเบอร์ฯ ไปเมื่อต้นปี 2015 (บวกความเห็นจาก iLaw) แต่ในช่วงปลายปี 2016 ที่มีความตื่นตัวกันมากจากกระแสคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ. ความผิดทางคอมพิวเตอร์ ก็คิดว่าเป็นโอกาสดีที่จะนำเสนอข้อมูลของ ร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคงไซเบอร์อีกครั้ง
หมายเหตุ: สำหรับผู้ที่สนใจและไม่อยากติดตามกฎหมายแบบผ่านๆ สามารถดาวน์โหลด ร่างกฎหมายฉบับเต็ม ไปอ่านกันอย่างละเอียดได้
ในหน้าหลักการและเหตุผลของร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ ระบุว่า "เพื่อให้ประเทศไทยสามารถปกป้อง ป้องกัน หรือรับมือกับสถานการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ที่ส่งผลกระทบหรืออาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการให้บริการหรือการประยุกต์ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โครงข่ายโทรคมนาคม หรือการให้บริการโดยปกติของดาวเทียม ซึ่งกระทบต่อความมั่นคงของชาติในมิติต่างๆ อันครอบคลุมถึงความมั่นคงทางการทหาร ความสงบเรียบร้อยในประเทศ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ"
มาตรา (6) ของกฎหมายฉบับนี้ กำหนดให้ตั้ง "คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ" (กปช.) หรือชื่อภาษาอังกฤษ National Cybersecurity Committee (NCSC) ประกอบด้วย
นอกจากคณะกรรมการ กปช. แล้ว จะยังมีการจัดตั้ง "สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ" เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่ไม่เป็นส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ โดยจะโอนพนักงานและทรัพย์สินของ "สำนักความมั่นคงปลอดภัย" ที่อยู่ภายใต้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) มาเป็นสำนักงานใหม่แห่งนี้
ภาพจาก Pexels
อำนาจของกรรมการมีดังนี้ (มาตรา 7)
กปช. ยังมีอำนาจสั่งการให้หน่วยงานรัฐดำเนินการเพื่อป้องกัน แก้ปัญหา หรือบรรเทาผลกระทบจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ และถ้าหน่วยงานใดไม่ทำตามมติ กปช. ก็ถือว่าหัวหน้าหน่วยงานนั้นมีความผิดทางวินัย (มาตรา 31-33) และในกรณีที่ภัยคุกคามไซเบอร์กระทบต่อ "ความมั่นคงทางการเงินและการพาณิชย์" กปช. สามารถสั่งงานหน่วยงานภาคเอกชนได้ด้วย (มาตรา 34)
เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากเลขาธิการสำนักงาน กปช. มีอำนาจ "เข้าถึงข้อมูลการติดต่อสื่อสารทั้งไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ในการสื่อสารสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศใด เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติการเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์" (มาตรา 35 (3))
ในร่างกฎหมายฉบับล่าสุด ไม่ระบุเงื่อนไขของอำนาจตามมาตรา 35 (3) บอกเพียงแค่ว่า เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ซึ่งยังไม่มีใครรู้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังสามารถ
ตอนนี้สถานะของร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ฯ อยู่ในการพิจารณาของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท. เปรียบได้กับวุฒิสภาในปัจจุบัน) โดย สปท. มอบหมายให้คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน ศึกษาผลกระทบของร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้
คณะกรรมาธิการฯ เสนอรายงานผลการศึกษาต่อที่ประชุม สปท. ไปแล้วเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายนที่ผ่านมา และ สปท. จะรายงานผลการศึกษานี้ต่อไปยังคณะรัฐมนตรี
คณะกรรมาธิการฯ มีความเห็นว่าควรแก้ไขเนื้อหาใน ร่าง พ.ร.บ. หลายมาตรา ประเด็นสำคัญคือมองว่าร่าง พ.ร.บ. มีเนื้อหาเป็น "เชิงรับ" เน้นการปกป้องและป้องกันภัย แต่ยังขาดมาตรการ "เชิงรุก" โดยเฉพาะหากเกิดการโจมตีจากศัตรูนอกประเทศที่จำเป็นต้องใช้มาตการตอบโต้ จึงควรเพิ่มเนื้อหาในส่วนนี้มากขึ้น
คณะกรรมาธิการฯ ยังเสนอว่าคณะกรรมการ กปช. เดิมกำหนดให้รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลฯ เป็นประธาน แต่ควรเปลี่ยนเป็นนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธานแทน โดยมีรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลฯ และรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม เป็นรองประธาน รวมถึงควรเพิ่มกรรมการโดยตำแหน่งขึ้นอีกหลายตำแหน่ง เช่น ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงพลังงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ฯลฯ
ส่วนในมาตรา 35 (3) ที่เป็นที่จับตากันมากในเรื่องอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ คณะกรรมาธิการฯ เสนอว่าควรมีการถ่วงดุลโดยให้เจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องเพื่อขอคำสั่งศาล ยกเว้นกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่อนุญาตให้ดำเนินการก่อนแล้วค่อยรายงานให้ศาลทราบได้
อ่านความเห็นฉบับเต็มของคณะกรรมาธิการได้จาก ระเบียบวาระการประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ครั้งที่ ๖๐/๒๕๕๙ วันจันทร์ที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
ข้อมูลเพิ่มเติมจาก - Thai Netizen Network
Comments
กฎหมายเกสตาโป
อ่านแล้วก็เป็นกฏหมายที่ดีออกส์นะ XD
ดีจังเลยครับ อยากรู้ข้อมูลวงในบริษัทไหน อยากรู้ข้อมูลส่วนตัวของใครก็อ้างว่าเพื่อ"ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์"แล้วดักฟังเอา แล้วแบบนี้จะมีบริษัทต่างชาติที่ไหนกล้ามาลงทุนละครับพี่น้อง
นี่แหละครับ คีย์หลักที่เรากลัวๆกัน เราไว้ใจคนในรบ.แค่ไหนที่จะให้อำนาจขนาดนี้ แล้วเราตรวจสอบการใช้อำนาจของรบ.ได้มั้ย ว่าไม่ได้เอาไปหาประโยชน์ส่วนตัว
แล้วกฎหมายไทยก็เขียนให้กว้างๆ ตีความยากๆ เอาสิ่งที่จับต้องไม่ได้มาเขียนเป็นกฎ เหนื่อยใจ
น่าจะไม่มีเก็บข้อมูลการเข้าตรวจสอบด้วยนะ
ไม่ทำผิดกลัวอะไร แล้วผู้เข้าตรวจสอบจะกลัวอะไร
ตปท เขาก็มีแบบนี้อยู่แล้วหรือป่าวครับพวก หน่วยสืบราชการลับ
แล้วประเทศนี้ตีความคำว่า"ความมั่นคง"ว่าเป็นของชาติหรือเป็นของรัฐบาลอะครับ ถ้าดูจากวีรกรรมที่ผ่านมาเนี่ย
ระดับต่อไปก็สแกนสมองผมดูว่าคิดอะไรที่เป็นภัยต่อความมั่นคงหรือเปล่าด้วยนะครับ
นึกถึง psycho pass เลย
ต้องอ่านต่อในมาตรา 36 ด้วยรึเปล่าครับ
36 เป็นข้อกำหนดเรื่องการห้ามเปิดเผยข้อมูลที่ได้รับมาจาก 35 ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการเข้าถึงข้อมูลใน 35 ครับ โดยส่วนตัวผมว่าดีที่มี 36 แต่ก็ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาของ 35
จากความเข้าใจคือ อนุญาตให้ดักจับข้อมูลได้ แต่จะเอามาใช้งาน ต้องขอศาล
แต่ถ้าขัดแย้งกันกับรัฐธรรมนูญ ถ้ามีใครร้องศาลรัฐธรรมนูญตีความในมาตรานี้ก็น่าจะได้นะครับ
วรรคสองนี่มันคือ exception ของวรรคหนึ่งนะครับ
ไม่เปิดเผย แต่ก็เอาไปใช้ได้เงียบๆ .... น่ากลัวนะ
ข้อมูลสำคัญ ราคายิ่ง.............
ทุกวันนี้ถึงไม่มี พรบ. นี้ก็ดูกันเงียบๆอยู่แล้ว เพียงแต่จะเอามาใช้ทางกฏหมายนั้นทำได้ยากหรือไม่ได้เลย
ทำไมจะใช้ไม่ได้ ผมเคยอ่านคำพิพากษาคดี... ที่ลงหลักฐานว่าได้มาจากกระบวนการสอบสวน"ลับ"
หุๆ
โคต้าไม่พออ่านหรอครับ ในประโยคเขียนว่า "ทำได้ยาก"
ผมก็พูดถึง"ข้อเท็จจริง"ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ขนาดไม่มีกฎหมายอนุญาต ก็ยังใช้อำนาจเกินเลยกันเต็มไปหมด นั่งอ่านสำนวนคดี คำพิพากษาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีหลายๆอัน เจออะไรแปลกๆเต็มไปหมด
ยิ่งถ้ามีกฎหมายอนุญาตโดยตรง ไม่คิดว่าเขาจะใช้อำนาจกันยิ่งกว่านี้หรือ?
คำพูดที่เขียนว่า "เท่าที่จำเป็น" "ตามสมควร" เป็นแค่ดุลพินิจที่ไม่มีเส้นแบ่งชี้วัดชัดเจน และห้าม"สงสัย" อีกด้วย
ผมก็แย้งคุณโดยตรงว่า ในทางปฎิบัติทุกวันนี้มันไม่"ได้ยาก"เลย และกฎหมายใหม่ยิ่งทำให้ทำแบบเปิดเผยได้มากขึ้นอีกด้วย
ป.ล. นอกประเด็นไป นึกถึงคดีดังคดีนึง ออกหมายจับ จับมาฝากขังแล้ว ถึงค่อยขอหมายศาลไปขอหลักฐาน IP จาก ISP มายืนยันอีกที อืม....
ข้อ36มันต่อจากข้อ35ไม่ใช่หรอครับ ซึ่งหมายความว่าถ้าเค้าเอาข้อมูลใครออกมาแล้วไปเปิดเผยก็สามารถฟ้องร้องรัฐบาลได้นิครับว่าทำผิดกฎหมาย
เปิดเผย... เมื่อไหร่เปิดเผยแล้วคนที่โดนเปิดเผยจะได้รู้ว่าตัวเองโดนเปิดเผยเมื่อไหร่ครับ แล้วเปิดเผยเน้นถ้านำไปให้ท่านผู้นำอ่านนี้เรียกเปิดเผยไหม??? แค่เอกชนขายข้อมูลลูกค้าตัวเองอย่าง AIS ยังขนาดนั้น แล้วคนอำนาจถึงขนาดบัญญติที่มี ม.44 ขึ้นมาในมือยังต้องกลัวว่าตัวเองจะโดน ม.36 ในพรบ.ฉบับนี้หรือครับ???
ข้อมูลทางโทรศัพท์ และข้อมูลบัตรเครดิต "บางส่วน" บางแห่งถูกเปิดเผยและแอบซื้อขายกันมานานแล้ว
อันนั้นมันคนใน แอบขายข้อมูล
ไม่ใช่ด้วยคำสั่งจาก"รัฐ"
แต่ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายที่เคยเห็นมา คือกระบวนการสอบสวน"ลับ" ที่แม้แต่คำพิพากษายังไม่เผยแพร่วิธีการได้มา แต่ดันยอมรับเป็นหลักฐานสำคัญซะงั้น
จขคห. อ้างถึง AIS ครับ จึงยกกรณีข้อมูลอื่นๆของเอกชน ที่มีแอบขายกันปกติอยู่แล้ว
ได้ที
ในการเขียนข่าวที่ดี ผมคิดว่าควรจะยกมาตรา36มาด้วยนะครับ เพราะการยกมาเพียงบางมาตราแบบนี้จะเป็นการต้องการให้ผู้อ่านได้รับรู้ข้อมูลเพียงบางส่วน ซึ่งจะทำให้เข้าใจผิดและชักจูงให้เกิดข้อขัดแย้งกับกฎหมายในแบบที่คิดไปเองเพราะรับรู้กฎหมายไม่ครบทั้งฉบับ
+1
ใช่เลยครับ
ขนาด มาตรา 35 ในบทความ
ยังตัดข้อความช่วงต้น ที่ว่า
จนท. จะมีอำนาจได้ต่อเมื่อได้หนังสือจาก เลขานุการ
แล้วยกเอามาเฉพาะ อำนาจที่ จนท. ได้
เหมือนจงใจให้คนอ่านคิดไปเองว่า
"จนท.มีอำนาจได้โดยตัวเอง จะใช้ยังไงเมื่อไหร่ก็ได้" เลย
หมู...
ถ้าเราเห็นมันตายทั้งตัว เราจะรู้สึกสงสาร
ถ้าเราเห็นหมูชิ้น เราจะเริ่มนึกว่าจะเอามาทำอะไรดี
ยิ่งเป็นหมูชิ้น ปรุงสุกแล้ว ก็มีแต่ความน่ากิน!!
เลขาธิการนี่ได้มายังไงครับ เลือกกันเองหรือเปล่า?
ประเด็นคือไม่ต้องขอหมายศาลครับ ศาล != เลขาธิการ
+1
NSA Thailand กำลังจะเกิดขึ้นครับ
ต่างกันนะครับ อันนี้รัฐไม่ได้แอบดู
แต่ขอดูตรงๆ เลย
งี้ก็ขอดูเงินในบัญชีได้นะสิ
ถ้าเรื่องนี้ไม่ต้องห่วงครับ มี พรบ.ฟอกเงินให้สิทธิ์เจ้าหน้าที่หลายหน่วยขอดู transaction แบบละเอียด(ละเอียดกว่าที่เราเห็น) ได้สบายมาก
ถ้าตาม พรบ.นี้ไม่ต้องขออนุญาต
อยากได้ก็ล้วงเอาจากธนาคารได้เลย
แล้วหน้าแรกๆที่บอกผลการศึกษาและข้อสังเกตร่าง ... ไม่ได้เอามาปรับแก้หรอครับ
สปท. มีหน้าที่ให้ความเห็นครับ ส่วนอำนาจในการปรับแก้เป็นของ สนช.
เป้าหมายของกฎหมายเหมือนจะเป็นสิ่งจำเป็นต่อการโจมตีทาง cyber ทว่าการให้อำนาจที่มากเกินพอดี และคำจำกัดความของการโจมตีทาง cyber ยังเป็นปัญหาอยู่ ถ้าใช้ในความหมายปกติก็ดีไปแต่ถ้าใช้แบบกว้างแถ ๆ ตามสไตล์ไทย ๆ ก็คงจะเป็นสิ่งที่ไม่ดี
ดังนั้นการขอหมายศาลก่อนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และสามารถยกเว้นกระทำก่อนรายงานศาลทีหลังได้เฉพาะกรณีฉุกเฉินจริง ๆ เท่านั้น
ผมว่าพรบ.นี้ยังเขียนได้ใจความชัดเจนกว่าพรบ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์ฉบับที่ผ่านไปนะ อย่างน้อยผมยังไม่เห็นวลี "ศีลธรรมอันดีของประเทศ"
ฮ่า
That is the way things are.