Tags:
Node Thumbnail

rgb72 ผู้ริเริ่มและจัดงาน Creative Talk ได้จัดงาน Creative Talk Conference 2017 เมื่อวันเสาร์ที่ 21 มกราคมที่ผ่านมาด้วยค็อนเซ็ป A Year in (p)review เป็นการรีวิวเรื่องราวในปีที่ผ่านมา (review) พร้อมมองไปยังเทรนด์ที่น่าจะเกิดขึ้นในปีนี้ (preview)

งานนี้มีเซสชันใหญ่ๆ อยู่ 4 เซสชันได้แก่ Creative/Design, Technology, Digital Marketing และ Startup/Entrepreneur ซึ่งผมมีโอกาสได้ไปฟังงานนี้ด้วย เลยเอาเซสชันสุดท้ายที่น่าสนใจและมีประเด็นที่สุดมาฝากกันก่อนครับ

alt="Image 1-23-2560 BE at 20.00"

เซสชัน Startup/Entrepreneur มีวิทยากรทั้งหมด 4 คนได้แก่

  • คุณพรทิพย์ กองชุน COO จาก Jitta
  • คุณยุทธนา ศรีสวัสดิ์ Tax Designer แทนจาก iTAX
  • คุณณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ Founder และซีอีโอ จาก Ookbee Venture Partner และ 500 Startups
  • ดร.ชินาวุธ ชินะประยูร Director of New Venture & Entrepreneurship จาก สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)

alt="Screen Shot 2560-01-23 at 20.19.26"

ปีที่ผ่านมาใครก็พูดถึงสตาร์ทอัพ ecosystem เติบโตเร็ว

วิทยากรพูดไปในทิศทางเดียวกันว่าปี 59 ที่ผ่านมา คำว่าสตาร์ทอัพ เป็นกระแสที่ใครๆ ก็พูดถึงอย่างมาก โดยหนึ่งในงานที่จุดประกายให้ผู้คนได้ตระหักและรู้จักสตาร์ทอัพมากขึ้นคืองาน Startup Thailand จน "ความเป็นผู้ประกอบการ" (entrepreneurship) เกิดเป็นกระแสตามมา รวมถึงเกิดเป็นสังคม entrepreneurship ในระดับระหว่างประเทศมากขึ้นด้วย อย่างที่เห็นได้ชัดคือการที่กระทรวงการต่างประเทศเชิญแจ๊ค หม่า ในฐานะผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จมาวิทยากร

ขณะที่คุณณัฐวุฒิ ระบุจากมุมมองของนักลงทุนว่ามีสตาร์ทอัพที่ระดมทุนในระดับ seed เยอะมาก จนมันเลยจุดที่จะถามว่า สตาร์ทอัพคือะไร กันไปแล้วโดยหนึ่งในสตาร์ทอัพที่มีการพูดถึงการเยอะมากที่สุดคือ FinTech ขณะที่ธนาคารก็ให้ความสนใจเข้ามาลงทุนค่อนข้างเยอะ แต่สตาร์ทอัพ FinTech กลับไม่เยอะตาม ธนาคารเองก็หาสตาร์ทอัพลงทุนไม่ค่อยได้ (วิทยากรเน้นว่า FinTech นะไม่ใช่ Online Payment) ซึ่งตามความเห็นของวิทยากร สตาร์ทอัพที่จะเอาตัวรอดได้จะต้องเข้าใจ industry นี้เป็นอย่างดีด้วย ซึ่งจะเห็นได้ชัดมากขึ้นในปีนี้ว่าใครจะรอดใครจะร่วง

คุณยุทธนาระบุด้วยว่ากลุ่มสตาร์ทอัพ FinTech มีการรวมตัวกันจัดตั้งชมรม FinTech จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เพื่อต่อรองอำนาจกับภาครัฐมากขึ้นและพูดคุยถึงแนวางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

และด้วยกระแสที่เกิดขึ้นทำให้ ecosystem โตเร็วมาก เกิดผู้ประกอบการ, VC, Inbucator, Accelerator กันเยอะ แม้แต่ภาครัฐเองก้ให้ความสนใจ เริ่มมีการออกนโยบายที่สนับสนุนสตาร์ทอัพมากขึ้น

เทคโนโลยีที่มีการพูดถึงกันมากในปีที่แล้วคือ AI, Machine Learning และ Blockchain ซึ่งตัว Blockchain น่าจะเห็นเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นและอาจถูกนำมาประยุกต์ใช้งานในปีนี้ เนื่องจากปีที่แล้วยังขาดวิศวกรที่มีความรู้

alt="Image 1-24-2560 BE at 13.01 (1)"

สตาร์ทอัพจะไม่ใช่แค่ disrupt แต่จะ collaborate กันมากขึ้น

คุณพรทิพย์มองว่า สภาพการณ์ในปีนี้ยังมีความคล้ายกับปีที่แล้ว คือ ecosystem พร้อมแต่กลับไม่มีความสมดุล อย่างภาครัฐบอกว่าจะสนับสนุนสตาร์ทอัพ 10,000 เจ้า มีผู้ประกอบการ มีนักลงทุน มีศูนย์บ่มเพาะ แต่สิ่งที่ขาดคือวิศวกร โดยเฉพาะวิศวกรที่เก่งๆ ยิ่งหายากเข้าไปใหญ่

ขณะที่ทิศทางของวงการสตาร์ทอัพปีนี้น่าจะเปลี่ยนไป จากเดิมที่ถูกมองผู้ประกอบธุรกิจเดิมว่าเป็นคู่แข่ง จากแนวคิดของการ disrupt กลายมาเป็นความร่วมมือหรือ collaboration กันมากขึ้น ธุรกิจเดิมจะเริ่มเข้าใจว่าสตาร์ทอัพเป็นธุรกิจใหม่ที่มีข้อจำกัด ขณะที่ตัวเองก็สามารถร่วมมือกับสตาร์ทอัพ ในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้มากยิ่งขึ้น

นอกจากความร่วมมือระหว่างธุรกิจเดิมและสตาร์ทอัพแล้ว ภาครัฐเองก็น่าจะมีบทบาทในด้านนี้มากยิ่งขึ้น อย่างการ Open API ที่จะมีมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ความร่วมมือจากภาคธุรกิจต่างๆ มากยิ่งขึ้น ซึ่งคุณพรทิพย์ระบุว่าสิ่งที่อยากเห็นในเมืองไทยคือบริการประเภท "as a service" ต่างๆ อย่างเช่น Bank as a service แต่ธนาคารมีบริการบางอย่างสำหรับการทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพ

สุดท้ายคุณยุทธนาฝากให้กับคนที่คิดจะทำสตาร์ทอัพด้วยว่า หากคิดจะทำตามกระแส ทำแล้วดูดีดูเท่ แนะนำว่าอย่าทำ เพราะสตาร์ทอัพคืองานรายได้ไม่ดีและเหนื่อย ถ้าทำเพราะหวังอยากรวย อย่าทำ และหากคุณไม่มีเป้าหมายที่ไกลพอ ไม่มีแรงบันดาลใจ จะไม่สามารถก้าวข้ามผ่านอุปสรรคและปัญหาต่างๆ ไปได้เลย ทำไปซักพักก็เลิก

alt="Image 1-24-2560 BE at 13.01"

ภาพจาก - Creative Talk Live

Get latest news from Blognone

Comments

By: tontpong
Contributor
on 24 January 2017 - 16:52 #966382

งานจัดเดือนมกรา, ไม่ใช่มีนา.. รึป่าว?