วันนี้ AIS จัดงานเผยวิสัยทัศน์ประจำปี 2017 (AIS Vision 2017) เตรียมก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง โดยคุณสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ซีอีโอ AIS ระบุว่าปี 2016 ที่ผ่านมาเป็นปีของการก้าวกระโดดของอุตสาหกรรมสื่อสารคมนาคมไทย สำหรับการเข้าสู่ยุคดิจิทัล และเป็นปีแรกที่ AIS มีรายได้จากการใช้งานดาต้าสูงกว่า voice (ลูกค้า 41 ล้านราย ใช้ดาต้ากันไปแล้วกว่า 24 ล้านราย)
ส่วนในปีนี้ AIS เน้นการก้าวเข้าสู่เครือข่าย Next Generation (Next G Network) การเป็นผู้ให้บริการเครือข่าย IoT และ Digital Service
Next G Network
AIS ตั้งเป้าจะเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายดิจิทัล ที่รองรับความเร็วระดับกิกะบิท ทั้ง Mobile Broadband จากเทคโนโลยี Tri Band LTE-A, Super Wifi ด้วยมาตรฐาน 802.11ac Wave 2 และ Fix Broadband โดยในปีนี้ AIS มองว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะเติบโตราว 300% และตลาดที่จะเติบโตมากทีสุดคือ Fix Broadband และการใช้งานอุปกรณ์ IoT
ผู้ให้บริการ NB-IoT ในภูมิภาค
AIS ประกาศตัวเป็นผู้ให้บริการ Narrow Band - Internet of Things เป็นเจ้าแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยภายในงานมีการเดโม่รูปแบบการใช้งานอาทิ
- Smart City ด้วยการทำ Smart Parking ที่ใช้อุปกรณ์ส่งสัญญาณที่พัฒนาร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ Huawei ในการจองและระบุที่ว่างของช่องจอดรถในสถานที่ต่างๆ
- Smart Life ที่ทาง AIS ยกตัวอย่างคือการใช้อุปกรณ์ติดตามสำหรับผู้สูงอายุหรือสัตว์เลี้ยง
- Smart Business อย่างการทำเทคโนโลยี IoT ในประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมหรือกระบวนการต่างๆ ในธุรกิจ อาทิ Smart Factory, Smart Agriculture, Smart Health
Digital Service
ไฮไลท์สำคัญของงานนี้ที่เรียกเสียงว้าวได้มากที่สุด อยู่ที่การประกาศเป็นพาร์ทเนอร์กับ HBO, FOX และ NBA ในการนำคอนเทนท์มาให้บริการบน AIS Play และ Playbox รวมถึงการประกาศวางขาย Chromecast
อีกหนึ่งความพยายามในการเป็นผู้ให้บริการดิจิทัลในภาคธุรกิจ คือการจับมือกับไมโครซอฟท์ ในการให้บริการ Business CLOUD ที่พร้อมตอบสนองต่อองค์กรทุกขนาด ทุกอุตสาหกรรม
Digital for Thais
อีกหนึ่งวิสัยทัศน์ของ AIS คือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมายกระดับคุณภาพชีวิตและรากฐานของประเทศ ผ่านการร่วมมือกับภาครัฐ แบ่งเป็น 4 ด้านหลักๆ
- ด้านเกษตรกรรมและผู้ประกอบการ OTOP นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ในเชิงพาณิชย์สำหรับวิสาหกิจชุมชน, OTOP และ SME อย่างช่องทางการซื้อสินค้าผ่าน E-Marketplae ของ AIS และรวมถึงกลุ่มเกษตรกรด้วยผ่านแอพ "ฟาร์มสุข" ซึ่งเป็นทั้งช่องทางในการซื้อขาย และแหล่งข้อมูลความรู้ในการทำการเกษตรต่างที่มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือ
- ด้านสาธารณสุข AIS ได้จัดทำแอพ "อสม. ออนไลน์" เพื่อเป็นเครื่องมือการสื่อสารด้านสาธารณสุขของทั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และเพื่อให้ผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกล ได้เข้าถึงแพทย์ง่ายมากขึ้น
- การศึกษา AIS ยังคงเดินหน้าโครงการ "สานรัก คนเก่งหัวใจแกร่ง" ที่ให้ทุนการศึกษาแก่เด็กต่อไป รวมถึงเพิ่มการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและความรู้พิเศษและคอนเทนท์ด้านการศึกษา อาทิ สารคดีต่างๆ ผ่าน AIS Playbox
- Startup และผู้ประกอบการ AIS ได้ประกาศจับมือกับ TCDC จัดทำ Working Space ในชื่อ AIS D.C. ที่มีบริการด้านดิจิทัลต่างๆ ให้ Startup ได้มาทดสอบและทดลอง อาทิ การเชื่อมต่อ API บนผลิตภัณฑ์ของตนเองเข้ากับ AIS Digital Platform หรือการทำ Digital Business จากผู้เชี่ยวชาญของ AIS
Comments
แก้ Bullet โดนตีตกเป็นบรรทัดว่างด้วยครับ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P