ช่วงนี้คนไทยจะได้ยินวลี "ไทยแลนด์ 4.0" และ "ดิจิทัลไทยแลนด์" (Digital Thailand) กันบ่อยๆ หลายคนอาจจะสงสัยว่าคืออะไร ทำงานอย่างไร ส่งผลอะไรต่อชีวิตเราบ้าง
คนไทยมีชีวิตผูกติดกับดิจิทัลมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้อินเทอร์เน็ต ซื้อขายออนไลน์ อีคอมเมิร์ซ ทำธุรกรรมการเงินผ่านแอพพลิเคชั่น การสื่อสารพูดคุย แต่เพียงเท่านี้ยังไม่พอที่จะพาสังคมไทยเข้าสู่ดิจิทัลไทยแลนด์ได้
นิยามของ ดิจิทัลไทยแลนด์ คือ ประเทศไทยที่สามารถสร้างสรรค์ และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่างเต็มศักยภาพในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม ข้อมูล ทุนมนุษย์ และทรัพยากรอื่นๆ เพื่อขับเคลื่อน พัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
จะเข้าสู่สังคมดิจิทัลไทยแลนด์ได้ต้องมีแผนการก่อน เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2558 คณะรัฐมนตรีจึงมอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดทำแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นกรอบแนวทางการดำเนินการตามนโยบายเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล โดยมีเป้าหมายสำคัญ 4 ข้อ คือ
แต่การเข้าสู่ "ดิจิทัลไทยแลนด์" อย่างเต็มตัว คงไม่สามารถทำได้ในปีสองปี ในแผนการจึงกำหนดระยะการทำงานเป็น 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (ภายใน 1 ปี 6 เดือนแรก) มุ่งลงทุนฐานรากในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลเพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในภายหลัง
ระยะที่ 2 เน้นการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม (5 ปี) เมื่อประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ดิจิทัลไทยแลนด์แล้ว ทุกภาคส่วนจะมีส่วนร่วมในการพัฒนามากขึ้น
ระยะที่ 3 ก้าวสู่ดิจิทัลไทยแลนด์ (10 ปี) ระยะนี้คือประเทศไทยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลขับเคลื่อนประเทศในทุกด้าน
ระยะที่ 4 สู่ความเป็นผู้นำดิจิทัลของโลก (20 ปี) สามารถใช้เทคโนโลยีสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ช่วยให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
การจะไปสู่จุดหมายได้ต้องมียุทธศาสตร์ 6 ข้อ เผื่อผลักดันให้ประเทศไทยเข้าสู่ดิจิทัลไทยแลนด์ได้สำเร็จ
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
กำหนดให้มีเทคโนโลยีมีความเร็วและราคาเพียงพอกับความต้องการและการใช้งานของประชาชน ไม่เกินร้อยละ 2 ของรายได้มวลรวมประชาชาติต่อหัว อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจะกลายเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
การใช้เทคโนโลยีช่วยลดต้นทุนและขั้นตอนการผลิต ช่วยเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจได้ จึงต้องเร่งสร้างธุรกิจดิจิทัลขึ้นมาเพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน
สร้างสังคมที่เท่าเทียมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
กลุ่มเกษตรกร ผู้ที่อยู่ในชุมชนห่างไกล ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และคนพิการ สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการต่างๆ ของรัฐผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลได้ เพิ่มโอกาสทางการแพทย์ การเข้าถึงเทคโนโลยี และการศึกษาในพื้นที่ห่างไกล
ปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่รัฐบาลดิจิทัล
ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลปฏิรูปการทำงานและการบริการภาครัฐ พัฒนาแพลตฟอร์มให้ใช้งานง่าย สนับสนุนให้เปิดเผยข้อมูลเพื่อความรวดเร็วในการให้บริการหรือ open data
พัฒนาคนให้พร้อมสู่ยุคสังคมเศรษฐกิจดิจิทัล
พัฒนากำลังคนทุกสาขาอาชีพ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการประกอบอาชีพ รวมถึงพัฒนาคนสาขาเทคโนโลยีโดยตรงให้อยู่ในมาตรฐานสากล
สร้างความเชื่อมั่นในระบบดิจิทัล
จัดให้มีกฎหมาย ระเบียบกติกาที่มีประสิทธิภาพ ลดอุปสรรคในการทำกิจกรรมบนโลกออนไลน์ คุ้มครองสิทธิ์ผู้ใช้งาน สร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนเรื่องความปลอดภัย
แน่นอนว่าในทางปฏิบัติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ต้องเจอความท้าทายหลายอย่าง แต่เราก็ควรเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีสามารถแก้ปัญหาและอุดรอยรั่วได้
ทิศทางของประเทศชัดเจนว่ามุ่งไปสู่การเป็น "ดิจิทัลไทยแลนด์" ประชาชนและภาคธุรกิจก็ควรเตรียมพร้อม ปรับตัวเพื่อสอดรับกับความเปลี่ยนแปลงนี้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ Digital Thailand
Comments
ไปทำให้หน่วยงานราชการใช้อีเมลล์โต้ตอบให้ได้ก่อนดีกว่ามั้ย
หลังจากนั้นค่อยไปเริ่มกับบัตรประชาชน ยกเลิกการสำเนาซะที
...คิดอีกที อัพเกรดหลักสูตรเขียนจดหมาย ไปเป็นเขียนอีเมลล์ก็ได้ เริ่มกันตั้งแต่เด็กไปเลย
อืม... ตื่นๆ
เอา เบสิก ของ เบสิกก่อนเลยนะ...
เรื่องสำเนา...ขอไหว้ละ...เลิกซะทีที่ต้อง ถ่ายไป...ทั่ว
อ่านแล้ว ทำได้แค่ถอนหายใจ
มั่งคั่ง มั่นคง และเบ็ดเสร็จ
ตื่นเถิดรัฐบาลไทย อย่าหลับไหลลุ่มหลง
เป้าหมายระยะยาว 20 ปี... แปลว่าจะอยู่ให้ได้ถึง 20 ปีเลยหรือเปล่า คุณพระ...
oxygen2.me, panithi's blog
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
ปรับปรุงกฏหมายให้ทันสมัยนี้ ตามที่ พรบ คอมใหม่ออกมาใช่ไหมนะครับ...