คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ภายใต้กระทรวงพาณิชย์มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ 44 พ.ศ.2560 เกี่ยวข้องกับการขายสินค้าออนไลน์ว่า ผู้ขายจะต้องแสดงราคาจำหน่าย ค่าบริการ รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ อาทิ ค่าส่ง ให้ชัดเจน ครบถ้วนและเปิดเผย หากไม่ทำตามมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
ผมได้โทรไปสอบถามกับกรมการค้าภายในเพื่อยืนยันว่า การประกาศขายสินค้าโดยไม่บอกราคาชัดเจน แต่กลับให้ inbox เพื่อสอบถามราคานั้นผิดกฎหมาย ซึ่งผู้ขายต้องบอกให้ชัดเจนด้วย หากมีส่วนลดหรือโปรโมชันกับสมาชิกหรือบัตรเครดิต และผู้ที่พบเห็นการกระทำผิดสามารถแจ้งได้กับสายด่วนกระทรวงพาณิชย์ (1569) พร้อมสินบนนำจับในอัตรา 25% ของค่าปรับหรือมูลค่าสุทธิของสินค้าที่ศาลมีคำสั่งยึด
ขณะที่การแสดงโฆษณาบนโลกออนไลน์ และมีร้านค้า จะต้องบอกว่าเป็นภาพตัวอย่าง พร้อมแสดงราคาโดยประมาณไว้ก่อน และชี้แจงว่าราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามขนาด น้ำหนักและวัตถุดิบ ส่วนการโฆษณาสินค้าโดยไม่มีหน้าร้านออนไลน์ ไม่เข้าข่ายกรณีนี้
ที่มา - ราชกิจจานุเบกษา, Drama Lawyer, เฟซบุ๊ก Nuttaporn Voonklinhom
Comments
เห็นด้วยอย่างยิ่ง เวลาจะซื้อของเจอบอกinboxมาคุยกัน ผมไม่เคยซื้อเลย จะขายสินค้ายังไม่กล้าบอกราคา ก็ไม่ต้องขาย
พอถามไปดันบอกว่า ว่าราคามาเลย !?
คนขายยังไม่มีราคาขาย อย่าขายเลยแล้วกัน
พอบอกราคาถูกไปก็ด่ามาอีก ไอพวกนี้กะเนียนเจอคนบอกแพงกว่าราคาที่ตั้ง
พ่อค้าบอกว่าคุณไม่ซื้อ คนอื่นก็ยังซื้อครับ ไม่เดือดร้อนอะไร 555
ต่อไปนี้เดือดร้อนแน่
ใส่ราคาตั้งไว้ *** ตัวใหญ่ๆ ราคาสินค้าอาจเปลี่ยนแปลงได้ กรุณา inbox มาถามราคาก่อนตัดสินใจ (เหมือนเดิม)
การตัดราคาขายเป็นกลไกตลาด แต่รัฐนี้ชอบแทรกแซงกลไกธรรมชาติ อยากเป็นรัฐในอุดมคติหรือยังไง
รัฐไม่ได้ห้ามตัดราคานี่ครับ กำหนดให้แค่แสดงราคาให้เห็นชัดเจน จะเปลี่ยนราคาก็ไม่มีใครว่าอะไร
การแสดงราคาสินค้าให้ชัดเจน เพื่อที่ลูกค้าจะได้ทราบก่อนน่าจะคนละเรื่องกับตัดราคานะครับ
ถ้าจะตัดราคาก็ไปดูเวบอื่นที่เค้าแสดงราคาไว้ แล้วก็ลงราคาที่ถูกกว่ามันก็ทำได้นะครับ
อีกอย่างโดยส่วนตัวแล้วการปกปิดราคาไม่น่าจะทำเพื่อตัดราคาครับ น่าจะตรงข้ามกันมากกว่า
บอกราคาสินค้าสินค้าเกี่ยวอะไรกับตัดราคา ผมละงงจริงๆ ไอ้ที่ไม่ชอบบอกราคาก็เพื่อฟันลูกค้ามากกว่า แล้วที่บอกรัฐแทรกแซงราคา ใช่พวกสินค้าเกษตรไหมครับ ถ้าใช่มันก็เป็นทุกรัฐบาล หวังผลทางการเมือง
น่าแปลกที่ประเทศอื่นๆ ที่มีกฎหมายนี้บังคับใข้กลับไม่มีปัญหาที่คุณว่ามานะครับ
พูดเหมือนไทย เป็นประเทศเป็นประเทศเดียวในโลก ที่มีกฎหมายนี้เลยครับ
ที่สำคัญคือทำไมมองแต่ฝั่งผู้ขาย ไม่มองฝั่งผู้บริโภคบ้าง กรณีของผู้ขายที่ไม่ยอมประกาศราคาก็มีกรณีเดียวคือไม่อยากแข่งขันทางราคา กลัวตัวเองจะได้กำไรน้อย
แสดงราคาสินค้าให้ชัดเจน กับ การตัดราคามันไปเกี่ยวข้องกันตรงไหน
ตรรกะไหนครับเนี่ย ?
เอางี้ถ้าให้ผมเดานะ ถ้าอยู่วงการขายของออนไลน์ มีตัดราคากันได้นะ
คือถ้าคู่แข่งทราบราคาขายของเราแต่แรกเลย มันก็จะตั้งตัดราคาแข่งกับเราได้ไง
ผมเห็นร้านที่คิดแบบนี้ เจ๊งมาเยอะแล้ว พลังปากของลูกค้ามีผลนะครับต่อร้านค้า
พวกพ่อค้าแม่ค้าปากสุนัขแบบนี้ อย่าคิดว่าตัวเองไม่สีปัญหานะครับ
ผมในฐานะผู้นำเข้ากึ่งๆพรี ราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงตามค่าเงินตามราคาตลาดแทบทุกวัน ของ fix ราคาไม่ได้ จึงชอบให้ลูกค้า inbox มาถามราคา แล้วเช็คชิ้นนั้นๆเอามากกว่า ราคาเมื่อวานกับวันนี้ต่างกันได้หลักพัน
ไม่ใช่ข้ออ้าง เพราะบางเวบก็ update ราคา ทุกวันได้
+1
โดนใจวลี "ไม่ใช่ข้ออ้าง" ขอหัวเราะดังๆ ที ฮ่าๆ
อุ้ยตลกจังเลย 5555 ขำให้พอใจ แค่มาแสดงความเห็น
ถ้าให้ผมคิดแบบเข้าข้างนะคับ..
ของพรีอาจจะต้องแยกแยะค่าดำเนินการออกมา เหมือนลูกค้าซื้อ "บริการฝากซื้อสินค้า" มากกว่า.. ซึ่งถ้าแจกแจงให้ลูกค้ารู้ได้ว่า ค่าบริการคือเท่าไหร่ (ไม่รวมค่าของจริงๆ ที่วิ่งตามอัตราแลกเปลี่ยนและค่าต่างๆ) ถ้าแจกแจงครบ ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
แต่ผมเข้าใจว่า ร้านที่รับพรีหลายๆ ร้าน ก็แข่งกันตรง "ค่าบริการ" เนี่ยแหละ ถ้าเอามาแบหมด ว่าส่วนไหนเท่าไหร่ น่าจะยุ่งเหมือนกัน (ในแง่การแข่งขัน) แต่มีผลดีต่อผู้บริโภคมากกว่า
เอาเป็น ราคาต้นทาง + ค่าบริการ ก็ได้มั้งครับ
ปัญหานี้แก้ได้ด้วยการสต๊อกของกับบวกกำไรเข้าไปเยอะๆครับ 55
นโยบายเข้าท่าดีครับ
ดีครับ ชอบมาก จะได้ มี ตัวเลือกเยอะ และดูบริการหลังการขาย แทน
ไม่เคยซื้อเลยครับ พวกร้านออนไลน์ที่ไม่แปะราคาเนี่ย รู้สึกว่ามันเป็นการเพิ่มขั้นตอนให้ยุ่งยากโดยไม่จำเป็น ไม่เข้าใจเลยว่าจะทำอย่างงั้นไปทำไม
25% ผมทำงานเสริมเป็นโทรแจ้งได้ปะเนี่ย
case นี้รวมถึงพวก webboard ที่มีหมวด market ขายทั้งของใหม่และของมือสอง ด้วยมั้ยหว่า
จะได้เงินไว ต้องใช้พร้อมเพย์
ผมก็ชอบนะ บอกราคาหน้าเว็บไปเลยเบื่อ inbox
(ถ้าราคาจะตามค่าเงินก็บอกเป็นสกุลเงินอื่นมา ราคาจริงต่างนิดหน่อยจากค่าเงิน คนสั่งก็น่าจะเข้าใจได้ ดีกว่าไม่รู้เลย)
ถ้าราคาตามค่าเงินก็บอกไว้สิครับ ว่าราคาใช้อ้างอิงได้ถึงวัน เวลา เท่าไร
ในโลกความเป็นจริงถ้าคนขายจะทำเหมือนเดิม ก็ใส่ราคาเป็นช่วงไว้แล้วให้ถามได้อยู่ดี?
lewcpe.com, @wasonliw
ปกติ ผมเคยสั่ง pre-order โมเดล ร้านแต่ละร้านจะบอกราคาต่างกันคับ
บางร้าน บอกราคาประเมิณสุดท้ายมาเลย เช่น 5000
แต่บางร้าน บอกราคาเป็นช่วง 4500 - 5500 ซึ่งเค้าจะแจกแจงว่า ราคาจะเหวี่ยงตามอะไร
ส่วนตัวผมชอบแบบหลังมากกว่า เพราะมันดูตรงไปตรงมาสำหรับสินค้า pre order
ยังดีกว่าให้ inbox ไปถาม ไม่บอกราคาเลยนะครับ อย่างน้อยก็ช่วยตัดสินใจได้ระดับนึง
ก็ยังดีกว่าไม่ใส่เลย
และพวกสินค้า pre-order จริงๆใส่ราคาเป็นสกุลเงินของประเทศนั้นๆไปเลยก็ได้นะ จะบวกไปอีกเท่าไหร่ก็ค่อยว่ากัน เพราะสุดท้ายมันก็ต้องคุยกันอยู่ดี
ถ้ามองว่าดีกว่าก็เข้าใจได้นะครับ ส่วนตัวผมเองเฉยๆ เพราะถ้ารู้ราคาผมก็อยากรู้ราคาสุดท้ายเลย (ประกาศเดียวกันมีเรื่องค่าใช้จ่ายอื่นด้วย ซึ่งดี) สินค้าถ้าเป็นสินค้าทั่วไปที่ต้องเทียบราคาก่อนซื้อส่วนมากผมก็รู้ราคาประมาณอยู่แล้ว อย่างผมเพิ่งซื้อจักรยานยี่ห้อหนึ่ง ก็ราคา 5800-7500 แยกตามร้าน ถ้าร้านบอกว่า "7,500 พร้อมส่วนลด (โปรดสอบถาม)" ก็จะกลายเป็นข้อมูลที่เพิ่มมาไม่มีอะไรเพิ่มขึ้นเลย
lewcpe.com, @wasonliw
งงว่าจะบังคับใช้กฎหมายโดยยึดจากอะไร?
ยึดจากสัญชาติของผู้ขาย?
ยึดจากภูมิลำเนาของผู้ขาย?
ยึดจากภาษาของเวบที่ขาย?
ยึดจากสกุลเงินที่ขาย?
ยึดจากบัญชีปลายทางของบัญชีที่ขาย?
สมมติผมอยู่เมกา เปิดร้านในfacebook(ที่บ.แม่อยู่เมกา) แต่ทำเวบเป็นภาษาไทย มีบัญชีให้รับโอนที่เมืองไทย(หรือสุดโต่งเลยคือรับโอนผ่านpaypal) เวลาสั่งของ จะฝากให้ญาติเป็นคนนำของไปส่ง(อาจจะเป็นการรับช่วงส่งของต่อจากเมกาไปอีกที) แบบนี้ก.พาณิชย์มีอำนาจตามกฎหมายใดบังคับใช้กฎหมายเหล่านี้บ้าง?
ผมไม่ชอบพ่อค้าที่ไม่ประกาศราคาชัดเจนเช่นกัน แต่ก็นึกสงสัยอยู่ว่า แล้วจะเอาอำนาจตามกฎหมายใดไปบังคับใช้?
อันนั้นเป็นเรื่องการดำเนินคดีระหว่างประเทศครับ เรื่องความผิด กับเรื่องการดำเนินคดีเป็นคนละเรื่องกัน อย่างตัวอย่างที่คุณยกมา ก็คือผิดกฎหมายไทย แต่รัฐจะไปดำเนินการกับตัวคุณซึ่งอยู่ต่างประเทศได้หรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องนึง
ง่ายๆครับ ..... ตามที่อยู่ภาษีครับ ซึ่งก็คือทะเบียนบ้านของคนๆนั้น หรือที่อยู่ของนิติบุคคลนั้นๆ
ในกรณี Vat ก็ตาม ภ.พ. 20 ครับ (ซึงมันก็ตามขั้นต้นนั่นแหละ)
สรุปคือ เดาว่า เค้าแค่ต้องการวิธีการในการประเมินรายได้ และเพื่อใช้ประมาณภาษีครับ ไม่ใช่อะไรเรื่องเทคโนโลยี แต่เป็นเรื่อง เทคนิคทางพานิชย์กรรมและการเก็บรายได้ของรัฐล้วนๆ
ภาษีเก็บจากผู้รับเงินครับ ก็ตามชื่อเจ้าของบัญชีครับ
ส่วนกรณี Paypal พวกนั้นเค้าไม่ห่วงครับ เพราะท้ายที่สุดก็ติดเรื่องนำเข้าอยู่ดี หรือไม่งั้นถ้าผลิตในนี้ก็ต้องเป็นสินค้าที่ต้นทุนต่ำมากๆ ซึ่งเค้าก็มีวิธีอีกที
ญาติถ้านำของเข้ามาต้องเสียภาษีนำเข้าและบวกภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ดีครับ ไม่ว่าทางใหนมันก็ต้องเสีย
ส่วน ก.พานิชย์ ใช้อำนาจทางกฏหมาย พานิชย์ครับ
มันมีช่องตามที่ผมยกตัวอย่างคือ ถ้ารับเงินผ่าน paypal แต่สินค้าอยู่ในประเทศอยู่แล้ว แค่จ้างช่วงจัดส่งอีกที เงินไหลไปสู่ผู้รับเงินที่จดทะเบียนในตปท.
ประเด็นเรื่องอำนาจของก.พาณิชย์ฯ นี่แหละ ว่าสามารถบังคับใช้ด้วยขอบเขตอำนาจอะไรได้บ้าง ไม่งั้นก็บังคับamazon,yahoo auction, ของตปท.ได้หมด ถ้าไม่ระบุเขตอำนาจ
ส่วนจะว่าเรื่องของภาษี ถ้าผู้ขาย(ผู้รับรายได้ที่แท้จริง)ไม่ได้อยู่ในประเทศเกิน 180 วัน ก็ไม่ต้องยื่นเสียภาษีอยู่แล้ว ไม่งั้นต้องออกกฎหมายใหม่ เพื่อรองรับธุรกรรมบนinternet โดยเฉพาะ แบบการเก็บ vat ตามผู้รับปลายทางในบางประเทศ
แต่รวมๆอาจจะดีมั๊ง ไม่รู้สิ
แล้วเว็บอย่าง lazada ที่บวกเวลาจริงให้โอเวอร์แล้วมาลดราคาหล่ะ
อันนี้เห็นด้วยนะครับผู้บริโภคได้ประโยชน์ชัดเจน จะได้หาขงงถูกๆได้ไม่ต้องทักถามทีละร้าน
รู้สึกขำแปลกๆ กับเว็บที่เขียนราคาไว้ชัดเจน สถานที่ชัดเจน แต่ชาวทุยหลายๆคนก็ยังมาคอมเมนต์ถามว่าราคาเท่าไหร่ ซื้อได้ที่ไหน โดยเฉพาะบน FB เนี่ย เห็นบ่อยเหลือเกิน T_T
อาจคิดว่าราคาจริงอาจลดอีกนิดถ้าถาม ตามนิสัยพ่อค้าแม่ค้าชาวทุย เวลาบอกราคามันมีลดให้นิดหน่อยด้วยเช่น 500 ครับ แต่กับพี่ผมลดให้เลยเหลือ 490
📸
ผมขายรถ อัตราการพิมพ์แชตเข้ามาและโทร 99% ถามราคา ผมจึงตอบราคาเต็มไป แล้วทุกคนก็จะตอบกลับมา เอ๊าวไม่ใช่ราคานี้เหรอ? ...เอิ๊บ ก็เห็นนิ ก็อ่านนิ ยังจะถามอีก
อันนี้ผมก็อึ้งไปหลายวิเหมือนกันแหละครับ แล้วส่วนใหญ่ก็ชอบอ้างว่าลูกค้าคือพระเจ้า ซึ่งผมก็รู้สึกอึ้งหนักเข้าไปอีกว่าไม่นะ ไม่ไม่ไม่ พระเจ้าบ้านผมน่าจะมีอวัยวะครบ 32 หรือมากกว่านั้น โดยเฉพาะสมองเนี่ย ไม่น่าจะขาดซักพระองค์
ชาวเยอรมันเป็นคนซื่อครับ แต่ซื่อแบบทำชาวทุยเจ็บปวดได้เหมือนกัน
รถยนต์นี่ผมว่าเขาถามก็ถูกต้องแล้วนะครับ มันเป็นสินค้าที่ต้องอาศัยระดับในการตัดสินใจสูง คิดเองเออเองไม่ได้หรอกครับ
เขากะว่าเผื่อได้ถูกกว่าน่ะครับ แต่จริงๆบ้านเราติดนิสัยชอบต่อนะครับ
หลายเว็บไม่ปรับราคาหน้าเว็บ
ราคาบางทีก็ไม่ตรงตามหน้าเว็บ
ถ้าไม่ถามราคาอีกทีมันไม่มั่นใจ
นี่เป็นสิ่งที่คนค้าขายยังไงก็ต้องเจอ จริงอยู่ที่บางรายอาจไม่แคร์ลูกค้าและมีสิทธิเลือกลูกค้าที่ถูกใจ แต่ถ้าหากสามารถตัดอีโก้ตรงนี้ทิ้งไปได้ก็อาจได้ลูกค้าเพิ่ม การยืนกรานราคาไม่ได้มีวิธีเดียวคือไล่ลูกค้า แต่ยังมีอีกหลายวิธีในการเปลี่ยนใจลูกค้า
ซื้อของบางทีมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกนะครับและราคาที่เห็นก็เป็นราคาของสินค้าอย่างเดียว หลายเจ้าที่เคยซื้อมาก็จะมีค่าจัดส่งแบบด่วนแบบช้า ราคารวมสุดท้ายก็จะต่างกัน บางทีการสอบถามเพิ่มเติมมันก็ไม่แปลก
สมมติ
ขายไอแพดสีแดง Gen 3 หมดประกันสิงหา 2017 เครื่องไม่มีปัญหา แถมซองหนังให้ ราคา xx,xxx บาท
อินบ็อกแรกที่ได้รับคือ พี่คะ สีอะไร
One2car แหล่งใหญ่เลย เปิดดูมีแต่ให้ติดต่อผู้ขาย
รถหรู 70% ไม่เคยบอกราคา
แต่ยังไงผมก็จะ inbox ถามนะ ไม่เคยตัดสินใจซื้อของที่ราคาอย่างเดียว เพราะเคยมาแล้ว เจ็บมาแล้ว ทิ้งไปแล้ว
ก่อนซื้อของได้คุย ได้รู้จักนิสัยคนขายก่อน ค่อนข้างโอเค มืออาชีพจริงมั๊ย รับประกันของเราได้มั๊ย
เหมือนเจอของที่ถูกกว่าปกติมากๆ มันต้องมีอะไรแน่ๆ