ถึงแม้เทคโนโลยีการขนส่งและเดินทางไปยังอวกาศจะประสบความสำเร็จจากประเทศฝั่งตะวันตกมาหลายทศวรรษแล้วก็ตาม แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราเห็นข่าวการพัฒนาเทคโนโลยีด้านนี้ของจีนมากขึ้นเรื่อยๆ และหลังประสบความสำเร็จในการส่งทั้งคนและยานอวกาศไร้คนขับไปยังอวกาศแล้ว ล่าสุดเตรียมปล่อยยานขนส่ง (Cargo Spacecraft) ออกสู่อวกาศครั้งแรก
ยานขนส่งมีชื่อว่า Tianzhou-1 จะถูกปล่อยระหว่างวันที่ 20-24 เมษายนนี้ ภารกิจของ Tianzhou-1 คือเติมชื้อเพลิงให้กับ Tiangong-2 ยานปฏิบัติการทางอวกาศ (Space Lab) ที่โคจรอยู่รอบโลก พร้อมเป็นเครื่องมือการทดลองบนอวกาศ ก่อนจะตกลงสู่พื้นโลก โดยคาดว่า Tianzhou-1 จะใช้เวลาเดินทางไปยังยานปฏิบัติการราว 2 ชั่วโมงครึ่ง
ที่มา - The State Council
Comments
เข้าใจว่า 2.5 ชม. คือระยะเวลาที่ใช้เคลื่อนจาก โรงประกอบ (หลักๆ คือใช้ประกอบตัวยานเข้ากับจรวด) ไปยัง
ฐานปล่อย
แล้วจะว่าไป.. อันนี้ก้อไม่น่าใช่การปล่อยยานขนส่งครั้งแรกของจีนด้วย เข้าใจว่าก่อนนี้จีนใช้เวอรชั่นดัดแปลงของ Shenzhou ในการขนส่ง, ส่วนอันนี้เปนยานที่ออกแบบมาเพื่อใช้ขนส่งโดยเฉพาะ โดยจะเปนการเดินทางขาเดียวเพราะออกแบบมาให้ถุกทำลายตอน re-entry (แบบนี้ค่าใช้จ่ายภารกิจน่าจะต่ำลง แต่ก้อใช้ขนของกลับสุ่ผิวโลกอย่างตอนที่ใช้เวอรชั่นดัดแปลงของ Shenzhou ไม่ได้)
ชื้อเพลิง => เชื้อเพลิง