องค์การ NASA เคยพูดถึงการเดินทางไปดาวอังคาร พูดถึงการส่งคนไปสู่ระบบมาร์เชียนในทศวรรษ 2030 สิ่งหนึ่งที่องค์การอวกาศไม่เคยทำสำเร็จเลยคือการสรุปว่าต้นทุนในการเดินทางนั้นเท่าไร?
มีรายงานชิ้นใหม่เพิ่งออกมาเพื่อช่วยให้ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับภารกิจนี้ทั้งในสภาคองเกรส องค์กรธุรกิจ ฝ่ายวิจัย ฯลฯ ได้ประเมินว่า จะทำให้โครงการสำรวจดาวอังคารนี้ยั่งยืนได้อย่างไร โดยคาดว่าน่าจะเดินทางไปได้ในช่วงปลายทศวรรษ 2030 ถึงต้นทศวรรษ 2040
ห้องปฏิบัติการจรวดขับดันหรือ เจพีแอล (Jet Propulsion Laboratory: JPL) พยายามวิเคราะห์ว่างบประมาณ 4.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ นี้จะทำให้
ปัญหาสำหรับแผนการนี้คือความจำกัดทั้งด้านข้อมูล ทั้งเทคโนโลยี ทั้งศักยภาพของระบบอีก เพราะงบประมาณ 4.5 แสนล้านเหรียญสามารถทำได้แค่เพียงภารกิจขั้นต้นเท่าที่กล่าวมา ยังไม่รวมการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศอย่างยั่งยืนในระยะยาวด้วย อีกทั้งตัวเลข 4.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ยังประเมินบนสมมติฐานที่ว่าองค์การ NASA จะยุติการอุดหนุนสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station: ISS) ในปี 2024 นี้ เพื่อนำเงินมาอุดหนุนโครงการดาวอังคารแทน
ที่มา - Ars Technica
Comments
น่าจะไปตั้งสถานีที่ดวงจันทร์ก่อนดีมั้ย มันไม่ไกลมาก
ดาวอังคารมันไม่มีชั้นบรรยากาศน่ะสิครับ ไม่รู้จะตั้งสถานีไปทำไม
ไปจากดวงจันทร์ ผมว่าค่อยๆๆส่งที่ละส่วนแล้ว ประกอบกลางอวกาศ แบบสถานีอวกาศ เรียบร้อยแล้วค่อยเดินทางน่าจะง่ายกว่านะครับ
เวลาขึ้นลงจากดวงจันทร์ก็ต้องใช้เชื้อเพลิงเพิ่มไปอีกครับ ถ้าจะหาที่พักสร้างฐานเป็นสถานี ไปสร้างที่จุด L2 ก็ได้ครับ
หัวข้อข่าวเขียนเป็นประโยคปกติดีกว่าครับ "นาซ่าประเมินราคาไปดาวอังคารที่ .... ดอลลาร์"
lewcpe.com, @wasonliw
มาร์เทียน -> มาร์เชียน มั้ยครับ
ลองให้มีสงครามเย็นสิ 5ปีก็ทำได้
จะรีบตาหูเหลือกเหมือนในhidden figure
ผมล่ะอยากให้ไปโฟกัสที่การสำรวจมหาสมุทรในดวงจันทร์อย่าง Enceladus มากกว่า
แล้วต้องแบบในหนังไหมที่ส่งสัมภาระไปล่วงหน้า?
The Last Wizard Of Century.