การรับฟังความเห็นประชาชน เป็นแนวทางหลักของระบอบประชาธิปไตย ความเห็นประชาชนบนโซเชียลมีเดียคือเสียงสะท้อนชั้นดี แต่ข้อมูลความเห็นมีปริมาณมหาศาล และยังซับซ้อนมากกว่า"เห็นด้วย" และ "ไม่เห็นด้วย" รัฐบาลไต้หวันจึงใช้เครื่องมือชื่อว่า Pol.is ปลดล็อกบังคับใช้กฎหมายที่ติดค้างมานานหลายปี
Pol.is เป็นสตาร์ทอัพจากสหรัฐฯ ทำเครื่องมือสำรวจความเห็นสาธารณะบนโลกออนไลน์ที่ใช้ AI ประมวลข้อมูลออกมาเป็นแผนที่และกราฟแผนภูมิให้เข้าใจง่าย Pol.is ช่วยให้รัฐบาลไต้หวันแก้ปัญหาทางตันเรื่องกฎหมายควบคุมแอลกอฮอล์มาแล้ว หลังจากต้องชะงักอยู่ตรงนั้นมานานถึงหกปี เพราะอยู่ระหว่างรับฟังความเห็นประชาชนว่าควรบังคับใช้รูปแบบใด
Pol.is ใช้วิธี Crowdsourcing เป็นหลัก ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการสำรวจออนไลน์เชิงโต้ตอบในประเด็นต่างๆ เช่น คนขับอูเบอร์ควรมีใบอนุญาตขับขี่เหมือนคนขับแทกซี่หรือไม่ ผู้ใช้นอกจากคลิกข้อความเห็นด้วยกับไม่เห็นด้วยได้แล้ว ยังระบุเหตุผลข้อโต้แย้งของตนได้ด้วย ระบบจะสร้างชุดข้อมูลจากเหตุผลสนับสนุนซึ่งมีความซับซ้อนกว่า Yes/No
Colin Megill ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอ Pol.is บอกว่าวิธีนี้ช่วยให้รัฐบาลทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้คนสนใจจริงๆ มากกว่าวิธีรับฟังความเห็นประชาชนผ่านโซเชียล หรือตอบแบบสอบถามทั่วไป ช่วยให้รัฐบาลเข้าใจว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งรู้สึกอย่างไร
You need to read about vTaiwan, it's the future of #democracy, today. Seriously. Read. It. Now. https://t.co/4BheYqw9vx
— United Diversity (@uniteddiversity) 22 สิงหาคม 2559
ที่มา - MIT Technology Review
Comments
ถึงแม้โพลแบบนี้จะดูมีประโยชน์ในอุดมคติ แต่ในทางปฎิบัติแล้วก็มีปัญหาเรื่องการ reverse propaganda ทำให้เกิดลักษณะของ circular reference ขึ้นในระบบ. และปัญหาเรื่องการระบุตัวตนของผู้คน การซื้อ id การแทรงแซงด้วยการซื้อโพลกลับสามารถทำได้ง่ายขึ้น .
สุดท้ายโลกในปัจจุบันก็ไม่ได้เป็นเหมือนโลกในอุดมคติเมื่อ 2500 ปีก่อน . ซึ่งการสื่อสารในท้องถิ่นยากจะเกิดการแทรกแซง ผู้คนมีกรอบของเทพเจ้าเรื่องการถือสัตย์ และที่สำคัญมีทาสทำงานแทนตัวเอง ทำให้มีเวลาเหลือเฟือในชีวิตประจำวัน. ประชาธิปไตยไม่ได้อยู่ในรูปที่มันควรจะอยู่อีกต่อไปแล้ว แต่เป็นเพียงอุปกรณ์แทรกแซง ควบคุม ของชาติมหาอำนาจเพียงเท่านั้น . พวกเราเป็นแค่ทาสในระบบปีรามิด เพื่อให้ประเทศเหล่านั้นอวดอ้างประชาธิปไตยของตนได้ . แฉกเช่นที่ทาส ซึ่งเป็นประชากร 90% ของกรีก ไม่มีสิทธ์ในการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยอันแสนศักดิ์สิทธ์นั่นเอง . เพราะประชาธิปไตยดำรงอยู่ได้ด้วยระบบทาสอาณานิคม . เรื่องนี้คนส่วนมากไม่รู้ และชาติมหาอำนาจก็ไม่บอก เพราะไม่มีใครต้องการให้ ทาสที่หลับใหล ตื่นจากภวังค์ฝันนั้นเอง .
-1
คิดว่าอะไรก็ซื้อได้หมด คิดว่าสมัยก่อนคนซื่อสัตย์แต่สมัยนี้คนคดโกง ไม่มีงานวิจัยอะไรรองรับมโนเองอย่างเดียวล้วน ๆ
ดูท่าทางยังไม่เข้าใจพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยด้วยซ้ำ บอกว่าประชาธิปไตยไม่ดีแย่เป็นทาสชาติมหาอำนาจ แต่ก็ไม่เห็นบอกว่าระบอบอะไรที่ดีกว่า และที่สำคัญดีกว่าอย่างไร
ปากบอกว่าคนอื่นหลับใหลไม่รู้เรื่อง ผมว่าคุณนั่นแหละที่ดักดาน เชื่อแต่ conspiracy theory แบบไม่ลืมหูลืมตาแล้วก็หลงนึกเอาเองว่าตัวเองผู้ขวางกระแสโลกเหนือกว่าคนอื่น ทั้ง ๆ ที่ความจริงมันไม่ใช่อย่างนั้นเลยแม้แต่น้อย
That is the way things are.
ผมคิดว่าผมเข้าใจพื้นฐาณของระบอบประชาธิปไตยดีพอ อย่างน้อยก็ย้อนไปได้ 2500 ปี :V
http://imgur.com/a/U0kRD
ส่วนคุณนั้น กฎหมายฉบับปัจจุบัน คุณยังไม่สามารถแยกแยะได้เลย
ระหว่าง
การแสดงความเห็น - กับการหมิ่นประมาทในที่สาธารณะ .
การพูดคุย - กับการพิมพ์ข้อความในอินเตอร์เนต
การพูดคุยเกิดขึ้นด้วยลมที่ออกมาจากปาก และมีสถานะเป็น ephemeral และเกิดในสถานที่ๆหนึ่ง เท่านั้น
A ปรกติกฎหมายทุกข้อ จะมีการระบุสถานที่เกิดเหตุ ไม่ว่าคดีฆาตกรรม คดีปล้นทรัพย์
B กฎหมายเกี่ยวกับการหมิ่นประมาท หรือเผยแพร่ข่าวสารเท็จบนคอมพิวเตอร์
ระบุสถานที่เกิดเหตุ ถือว่า "เกิดทั่วประเทศ"
ดังนั้นอินเตอร์เนต จึงไม่ได้สถานะเทียบเท่ากับ การคิด การพูด เฉกเช่นปรกติ
เพราะสามารถเกิดผลลัพท์ทางอ้อมได้
ความเท็จสามารถดำรงชีวิต และมีชีวิตหมุนเวียน ผ่าน pointer จำนวนมหาศาล ที่เรียกว่ามนุษย์
ซึ่ง pointer เหล่านี้ ต่างก็อ้างอิงไปยัง pointer อีกตัวหนึ่งด้วยกันเอง วนเวียนทบไปมาอย่างไม่จบสิ้น
เมื่อเป็นเช่นนี้ dangling pointer หรือ NULL . ก็จะปรากฎอยู่ในระบบไปตลอดกาล
ลองตอบผม - จะเกิดอะไรขึ้นกับ "ระบบ " ที่เต็มไปด้วย "NULL" ผ่านไปยังตัวแปรจำนวนมหาศาล ?
ผมคิดว่าบุคคลที่ควรทบทวน "ความเข้าใจพื้นฐาณเกี่ยวกับโลก" อาจไม่ใช่ผม ก็เป็นได้
นั่งอ่านจนจบก็ไม่เห็นเข้าเรื่องที่เค้าค้านมา แสดงว่าความเห็นนี้ NULL จริง ๆ