ความขัดแย้งระหว่าง Konami กับอดีตพนักงาน Hideo Kojima โด่งดังเป็นข่าวใหญ่ทั่วโลก แต่เอาเข้าจริงแล้ว Konami ไม่ได้เลือกปฏิบัติ เพราะทำแบบเดียวกันกับพนักงานทุกคน
Nikkei สัมภาษณ์อดีตพนักงานของ Konami หลายคน พบว่านโยบายของ Konami เข้มงวดกับพนักงานปัจจุบันและอดีตพนักงานมาก ส่วนหนึ่งมาจากนโยบายของ Kagemasa Kozuki ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัท ที่เป็นคนระมัดระวัง (very cautious) อย่างมาก
กรณีของพนักงานปัจจุบัน
กรณีของอดีตพนักงาน หรือที่เรียกกันว่า Ex-Kon (Ex-Konami)
กรณีที่น่าสนใจคือ Kojima Productions บริษัทใหม่ของ Kojima ยื่นเรื่องขอเข้ากลุ่ม ITS Kenpo ซึ่งเป็นกลุ่มประกันสุขภาพพนักงานสำหรับบริษัทเกมและบริษัทไอที แต่ใบสมัครถูกปฏิเสธ เพราะ Kimihiko Higashio ผู้บริหารของ Konami เป็นประธาน ITS Kenpo ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่กล้านำเสนอใบสมัครนี้ต่อประธาน
ผลลัพธ์ของนโยบายที่เข้มงวด ทำให้ Konami สูญเสียมือดีจำนวนไม่น้อย นอกจาก Kojima แล้วยังมี Naoki Maeda นักประพันธ์เพลงในเกม Dance Dance Revolution, Akari Uchida โปรดิวเซอร์ LovePlus, Minoboshi Taro นักวาดของ LovePlus และ Shinichi Hanamoto ผู้บริหารที่มีบทบาทในเกม Yu-Gi-Oh
อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการของ Konami ช่วงหลังกลับออกมาดีเยี่ยม เหตุผลสำคัญมาจากการปรับยุทธศาสตร์มาทำเกมลงสมาร์ทโฟน ซึ่งใช้ต้นทุนต่ำแต่ทำรายได้สูง โดยใช้คาแรกเตอร์ที่โด่งดังจากเกมคอนโซลมาช่วยทำตลาด
คนวงในของ Konami ระบุว่าจุดเปลี่ยนของบริษัทคือปี 2010 หลังเกมมือถือ Dragon Collection ทำรายได้สูงเกินคาด ส่งผลให้ท่านประธาน Kozuki หันมาทุ่มเทกับเกมสมาร์ทโฟน
ที่มา - Nikkei
Comments
You can check out anytime you like, but you can never leave!
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
Welcome to the Hotel California
Such a lovely place
เอ้ย
ทำอะไรไม่ได้ แช่งให้เจ๊งละกัน
คือกะให้คนออกแล้วไม่มีอนาคตเลยหรอเนี่ย
โห พออ่านรายละเอียดแล้ว เข้มงวดจริงๆ หนาวเลย แหะๆ เพิ่งรู้ว่ามีการจัดการกับพนักงานที่ลาออกจาก Konami โหดขนาดนี้ เหลือเชื่อ แสดงว่าทาง Konami ระมัดระวังเรื่องความลับของบริษัทแบบสุดๆจริงๆ พนักงานที่อาจจะแค่ไม่ชอบสไตล์การทำงาน เวลาอยากจะลาออกจะทำไงล่ะเนี่ย แค่คิดก็เหนื่อยแทน
แบบนี้เค้าเรียกว่าวัฒนธรรมองค์กรแบบญี่ปุ่นจ๋าเลยใช่มัั้ยครับ ที่เข้มงวดเรื่องเวลาพัก เวลาเข้าออกการทำงาน ผมก็เคยสัมผัสกับบริษัทญี่ปุ่นมาแค่แบบผิวเผิน
ปล. ส่วนตัวชอบ Winning Eleven แหะๆ
..: เรื่อยไป
เล่น FIFA ดีกว่า เพราะ EA สร้างเกมฟุตบอลได้ดีกว่า Konami มากครับ
ผมก็ชอบเกมส์เพลแบบวินนิ่งมากกว่าฟีฟ่าน่ะ เป็นเกมส์เดียวของโคนามิเลยมั้งที่เล่นอยู่
บ.ญี่ปุ่นเล็กๆที่เคยไปทำอยู่
มีออด (จริงๆคือเพลงสั้นๆนี่แหละ) เป็นสัญญาณเข้างาน, เริ่มพักเที่ยง, หมดพักเที่ยง, เลิกงานครับ
เข้มงวดเรื่องเวลามากสุดเท่าที่เคยสัมผัสมาในชีวิต
ตอนแรกก็ไม่คิดว่าแค่ออดจะทำอะไรได้
เอาเข้าจริงคือทุกคนในนั้นฟังเสียงออดกันหมด ถ้าเราลุกไปกินข้าวก่อนออด กลับมาหลังเสียงออด/นอนยังไม่ตื่น
มันจะกลายเป็นแปลกแยกและสังเกตเห็นได้ชัดมากทันที
ไม่รัก โคนามิ ก็ออกไปจากประเทศนี้ซะ!!!
ออกไปบายซูชิ จะโดนจดหมายเตือนมั้ย
คนที่ซื้อเกมไม่ได้ซื้อเพราะชื่อ Konami สักหน่อย อยากให้มือดีมารวมตัวกันแล้วสร้าง บ ขึ้นมาทำ kickstarter ถ้า konami มาทำไม่ดี แฟนบอยทั่วโลกคงบอยคอต konami แน่
ที่ kick ไปแล้วก็ Bloodstained ของ Igarashi ไงครับ ขายปีหน้า
อ่านแล้วเครียดแทน ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมเสียมือดีไปเยอะ คนทำเกมส์ไม่มีความสุข แล้วจะทำเกมให้ออกมาสนุกได้ยังไง
ผมขอเหตุผลดีๆข้อนึงที่ห้ามพนักงาน "ลาออกไปแล้วห้ามใส่ประวัติว่าเคยทำงานกับ Konami เวลาไปสมัครงานที่ใหม่"
ผมพิจารณาคิดแล้วคิดอีกหาถึงข้อดีต่อบริษัทไม่เจอจริงๆ นอกจากว่าแค่เป็นการกดดันไม่ให้พนักงานลาออกเท่านั้นเอง
อาจจะเป็นการป้องกันความลับรั่วก็ได้ครับ ถ้ารู้ว่ามาจากโคนามิ ก็อาจจะถาม แต่ถ้าไม่รู้ ก็คือไม่ถามครับ
แต่ผมก็ไม่เห็นด้วยให้ทำแบบนี้
สงสัยว่าห้ามได้อย่างไร ต่อให้อยู่มนสัญญาจ้าง แต่สัญญาจ้างละเมิดสิทธิ์ขั้นพื่นฐาน กฎหมายรัฐธรรมนูญน่าจะคุ้มครองสิทธิ์นี้ สีญญาจ้างละเมิดกฎหมายสัญญาตกไปนะ อันนี้อยากรู้รายละเอียดมากเลจว่าห้ามยังไง
ประมาณนี้มั้งครับ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
รู้สึกว่าบริษัทใหญ่หน่อยหลายที่จับเซนต์สัญญาไว้แบบนี้เหมือนกัน
เพียงแต่อะลุ่มอล่วยให้ใส่ชื่อบริษัท agency ลงไปแทนเวลาสมัครงานใหม่ได้
คงเหมือนหน่วย Seal อเมริกาก็ไม่บอกว่าเคยทำหน่วย Seal มาก่อน นะครับ ฮ่าๆ
แต่อันนี้เกมไม่เห็นเกี่ยวไรความมั่นคงสักเท่าไร แต่จริง ลูกจ้างก็ต้องมีจรรยาบรรณของตัวเองไม่เผยแพร่ความลับบริษัทเก่า
ฉะนั้น profile ก็ควรให้เขียนได้ไม่งั้น ทำงานมาแทบตายสิบๆ ปี ออกมาหางานใหม่ ห้ามบอก ใครเขาจะรับเข้า
Seal เห็นไอ้คนที่ทำรายการ Future Weapon ก็โม้ว่าเคยอยู่หน่วยซีลทุกตอนนะ
เวลาไปทดลองของเล่นก็ต้องโม้ว่านึกถึงสมัยเป็นซีลตลอด
ไอ้กลัวหนะเข้าใจ มันก็เป็นเรื่องที่จะกลัวของบริษัท
แต่ พนักงานทำงานมา 10 ปี ส่งใบสมัครไปที่ใหม่ ต้องใส่ว่าวางงานมา 10 ปีใครจะรับ
แล้วถ้าตรวจสอบกลับไปหาที่ทำงานเก่าไม่ได้ มันก็ต้องมีปัญหาแน่ๆ คือไอ้หมอนี่ คงหางานยากมากกกกกกก อะครับ ถ้าไม่ใช่ คนที่มีชื่อเสียงจริงจัง
คงรู้กันเองว่า ถ้าว่างมานาน น่าจะมาจากพระโค
คงต้องดูรายละเอียดอื่นประกอบด้วย ว่าห้ามเฉพาะบริษัทในอุตสาหกรรมเกมส์หรือเปล่า มีระยะเวลาเท่าไหร่ในแต่ละเงื่อนไข เพราะเท่าที่อ่านดูถ้ามีเงื่อนไขตามนี้ฝั่งตะวันตกก็มีในบางที่ แต่ถ้าเป็นแบบกว้างๆ ไม่ระบุรายละเอียด ก็น่าโดนด่า
พนักงานเก่านี่ใช้คำว่าอดีตพนักงานดีกว่ามั๊ยครับ
ผมอ่านแล้วนึกว่าเป็นพนักงานที่อยู่มาก่อนก่อนที่จะมีการรับพนักงานใหม่เข้ามา
เป็นเหมือนกันครับนึกว่าเป็นพนักงานที่อยู่มาก่อน
แก้ตามนั้นครับ
บางเรื่อง เช่นการพยายามทำลายอนาคตพนักงานที่ลาออกนี่ เอาผิดทางกฎหมายไม่ได้เลยเหรอครับ
ถ้าวิธีที่ใช้มันไม่ผิดกฏหมาย ก็ไม่น่าจะเอาผิดได้นะครับ
คือบางอย่างเป็นการข่มขู่ ซึ่งคิดว่าตรงนี้อาจต้องมีการฟ้องก่อน ให้มีการตีความ เพราะความผิดอาจไม่ชัดเจน แต่อาจจะด้วยวัฒนธรรม เลยไม่มีคนทำอะไรหรือเปล่า
ทำไมรู้สึกเหมือนว่ามีกลิ่นอายความยากูซ่าอยู่
ไม่น่าเข้าไปทำสุดๆเลยแฮะ ในแง่ที่เปลีย่นที่ทำงานแล้วโดนทั้งแฉทั้ง บีบให้เจ๊ง อะไรแบบนี้มันไม่มีมนุษยธรรมเลย
The Last Wizard Of Century.
เสียแรงที่ชื่นชอบเกมค่าย KONAMI
กฏหมายแรงงานเขาคงไม่แรงมั้ง ถึงอนุญาติให้บริษัทเอาเปรียบพนังงานได้ขนาดนี้
นี่ไม่ใช่เข้มงวดครับ เรียกว่า เอาเปรียบ ขอให้เจ้งไวๆ เลิกอุดหนุนครับเกมส์ค่ายนี้
เคยเล่นเกมค่ายนี้ตอน love plus แต่หลังจากทีมสร้างย้ายออกกันหมด ผมคงไม่ได้แตะเกมค่ายนี้อีกล่ะ
จากประสบการณ์ การทำงานอันยาวนาน อยากบอกว่า
•ไม่อนุญาตให้มีอีเมลแอดเดรสถาวรของตัวเอง เวลาติดต่อกับคนนอกจะได้อีเมลที่มีอักษรสุ่ม และใช้งานได้เพียงไม่กี่เดือน
•จำกัดเวลาพักเที่ยง ต้องแตะบัตรเข้าออกเพื่อดูว่าพักเที่ยงนานแค่ไหน
•คนที่พักนานเกินกำหนด จะถูกประกาศชื่อไปทั้งบริษัท
•โซเชียลของพนักงานจะถูกมอนิเตอร์ เคยมีพนักงานไปกดไลค์โพสต์ของอดีตพนักงาน ผลคือถูกย้ายตำแหน่ง
กรณีของอดีตพนักงาน หรือที่เรียกกันว่า Ex-Kon (Ex-Konami)
•ลาออกไปแล้วห้ามใส่ประวัติว่าเคยทำงานกับ Konami เวลาไปสมัครงานที่ใหม่
•บริษัทอื่นที่รับอดีตพนักงาน Konami ไป จะได้รับจดหมายแจ้งเตือนจาก Konami
•บริษัทหาคนทำงาน ต้องแจ้งเตือนลูกค้าบริษัทเกม ให้ระวังการรับอดีตพนักงาน Konami เพราะอาจมีปัญหาทางกฎหมาย
•Konami เคยบีบให้อดีตพนักงานที่ออกไปเปิดบริษัทเองต้องปิดกิจการ และกดดันองค์กรอื่นไม่ให้รับอดีตพนักงานเข้าทำงาน
แต่เท่าที่อ่าน Konami คงความเป็น บ. ก่อนยุค ทศวรรษ ที่หายไป เป็นอย่างมาก
ถ้าเข้าไปดูตอนเช้า คาดหวังได้สูงมาก ว่าจะเห็นการออกกำลังกายทางวิทยุ ที่โต๊ะทำงาน ตอนเช้า
นั่งทำงาน ห้องเปิดโล่งทั้งชั้น เอา พาทิชั่นกั้นๆ เอาโต๊ะหันหน้าชนกัน มีหัวหน้างานนั่งแปะที่หัวโต๊ะ
ท่านประธาน และ ท่านรอง จะเอาโต๊ะหันหัวเข้าตัวตึก ด้านหลังเป็นกระจกหน้าต่าง ที่ช่วง 2 ทุ่ม
จะสะท้อนแสง เหมือนกระจกเงา แล้วเราจะพบว่า ท่านรองแอบเล่นเกมส์ Ys บน DOS
ท่านประธานเล่น Solitaire ฆ่าเวลา รอดื่มเบียรุ ตอนสองทุ่ม จนเมากลิ้ง
แล้ววันคืน ห็หมุนผ่านไปเรื่อยๆ ดีบ้าง แย่บ้าง ตามชะตากรรม ที่พระเจ้ากำหนด
IBM เคยอยู่ตึกหุ่นยนต์ด้วยเหรอครับ
ผมรู้แต่ว่ามันเคยอยู่ที่ตึกซืิลลิคตรงสีลม แล้วก็ย้ายไปอยู่ตึกตรงพหลโยธิน ไม่น่าจะมีช่วงไหนอยู่ตึกหุ่นยนต์นะครับ หรือว่าหมายถึงบริษัทอื่น
ที่เหลืออ่านแล้วฮานึกภาพออก 5555
ขออภัย ผมจำตึกผิดครับ อยู่สะพายควาย ตรงอารีครับ ข้างๆ k.bank
บริษัทแบบนี้สมควรเจ๊ง พวกญี่ปุ่นน่าจะเป็นแบบนี้กันหลายบริษัท มักจะได้ยินข่าวพนักงานเครียดจนต้องฆ่าตัวตายหรือทำงานหนักจนหัวใจวายบ่อยๆ
สัญญาจ้างงานบีบให้พนักงานทำฮาราคีรีถ้าเกิดลาออกชัดๆ เผด็จการเลยนะนั่น
ตกลงประธานเป็นหน่วยทหารอักษะหรือมาเฟียยากูซ่ารึเปล่าเนี่ย
อันนี้ไม่เรียกเข้มงวดแล้วครับ เรียกเห็นแก่ตัวขั้นรุนแรง
บริษัทญี่ปุ่น (ในไทย) ที่เคยทำงานอยู่ก็คล้ายๆแบบนี้นะ
ท่านประธานนี่ขี้กังวลมากขนาดนี้ ถ้าไม่ใช่เคยโดนเค้าขโมยงานไปก็ต้องเป็นคนที่ขโมยงานเค้ามาเยอะแหละถึงได้ขี้ระแวงเข้าเส้นแบบนี้
บ.ญี่ปุ่นที่เคยทำด้วยก็แนวนี้
ด้านเวลาทำงาน
ตอนเช้า : เปิดเพลงสัญญาณเริ่มงาน
เที่ยง : เปิดเพลงเริ่มพัก เปิดเพลงหมดเวลาพัก
เย็น : เปิดเพลงเลิกงาน
ไม่โหดเท่าโคนามิคือไม่ต้อง stamp เวลาพัก
แต่เพลงสัญญาณนี่มันส่งผลทางจิตใจเกินกว่าที่คาดมากๆ
คือเพลงเริ่มแล้วใครยังไม่อยู่ที่โต๊ะนี่จะเห็นชัดเจนมาก หมดพักเที่ยงก็เช่นกัน
กลายเป็นโดนกดดันไปในตัวว่าห้ามมาประจำโต๊ะช้ากว่าเพลง ต่อให้เราพักเที่ยงช้ากว่าสัญญาณก็เถอะ
รูปแบบการนั่งเหมือนที่คุณ waroonh ว่ามา
แต่ละทีมเป็นโต๊ะชนกันตามแถวยาว ลูกทีมนั่งหันหน้าชนกัน หัวหน้าทีมโต๊ะขวางนั่งหัวโต๊ะ
เรื่อง อีเมล์
เรื่อง เวลาพัก
เรื่อง โซเชี่ยล
ผมถือว่าเป็นปกตินะ รับได้
แต่ติดตรงที่
ออกไปแล้ว ห้ามบอกว่าทำงานที่เก่า
บริษัทใหม่ถ้ารับ อาจมีปัญหาด้านข้อกฎหมาย
ถูกส่งหนังสือแจ้งเตือน
บีบให้อดีตพนักงานปิดร้าน
ถามว่า วันเข้าทำงาน ตอนเซ็นต์สัญญา มันมีระบุตรงนี้ด้วยไหม?
ถ้ามี ผมว่าผมคงไม่ทำแล้วหล่ะครับ
แล้วถ้าไม่มีหล่ะ
เขามีอำนาจขนาดนั้นเลยเหรอครับ
แล้วบริษัทใหม่ที่รับไป อาจมีปัญหาด้านข้อกฎหมาย ถามว่าคดีอะไรเหรอครับ
คืออยากรู้จริงๆนะครับ
มีปัญญา ให้เขารับเข้าไปทำก่อนรึปล่าวเถอะครับ ??
พวกบ่นนโยบาย เฉพาะองกรณ์ 100% เป็นพวกองุ่นเปรี้ยว
ตอบคอมเมนต์ได้อินเทรนด์มากครับ แนวเดียวกันกับนิสิตท่านหนึ่งที่ตอบคำถามในที่ประชุมอารมณ์คล้ายๆ กันนี้ อ่อ องค์กร สะกดแบบนี้ครับ
555
แหม่...
ต้องขออภัยด้วยครับ ผมก็แค่คนไม่รู้คนหนึ่งครับ
คงไม่มีปัญาพอที่จะให้เขารับเข้าทำงานหรอก
คนที่ไม่รู้อย่างผม ก็แค่อยากรู้เฉยๆ
ถ้าคิดว่ามีความรู้ ก็แค่บอกผมให้รู้
แต่ถ้าไม่มีความรู้พอที่จะบอกผมให้รู้ ก็ไม่ต้องโพสก็ได้
อ้อ... ฝากบอกไว้เป็นความรู้ นะ เผื่อจะได้มีความรู้เพิ่ม
คำว่า เปล่า เขาเขียนแบบนี้นะ
คำว่า องค์กร ก็เขียนแบบนี้นะ
ปล่อยๆเค้าไปครับคนนี้ ดูจากคอมเมนต์เก่าๆ น่าจะดูการ์ตูนมากไป
ตอบได้สมกับเป็นปัญญาชนมากครับ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
"คุณก็ได้ตอบคำถามอย่างผู้มีปัญญาระดับสูงแล้วครับ"
555 ถึงว่า ทำไมข่าวนี้ถึงยาว
ตรรกะเดียวกันนี้ ผมก็ไม่มีสิทธิ์ถามว่าทำไม ส.ส. กับ รมต. จึงมีเงินเดือนและค่าตอบแทนอื่น ๆ สูงจัง งั้นสินะ
อ้อ ไม่สิ เดี๋ยวจะว่าเงินเดือนมาจากภาษีเราโดยตรง มีสิทธิ์ถามอีก งั้นสงสัยของประเทศเพื่อนบ้านแทนละกัน
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ลาก่อย...
The Last Wizard Of Century.