กระแส WannaCry เพิ่งจะซาลงไปไม่นาน ล่าสุดมีรายงานว่าพบ ransomware ตัวใหม่กำลังระบาดหนักในประเทศยูเครน ส่งผลกระทบต่อหน่วยงานรัฐ, ธนาคาร, สนามบิน และบริษัทพลังงานเป็นวงกว้าง
ไวรัสเรียกค่าไถ่ หรือ ransomware ตัวใหม่นี้มีชื่อว่า Petya หรือ Petrwrap ได้เริ่มแพร่กระจายในประเทศยูเครนเป็นวงกว้างเมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา ขณะนี้มีรายงานว่าหน่วยงานรัฐก็โดนโจมตีหลายหน่วยงาน รวมถึงธนาคารกลาง, บริษัทสื่อสาร, เครือข่ายรถไฟฟ้าใต้ดิน, สนามบิน Boryspil ในเมือง Kiev หรือแม้กระทั่งคอมพิวเตอร์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Chernobyl ก็ติดไวรัสนี้ และต้องเปลี่ยนมามอนิเตอร์ระดับรังสีแบบแมนนวลแทน
นอกจากนี้บริษัทขนส่งทางเรือ Maersk ของประเทศเดนมาร์กก็ยืนยันว่าระบบไอทีของบริษัทถูกโจมตีและต้องปิดระบบลง แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็น ransomware ตัวใหม่นี้หรือไม่ ในขณะที่บริษัทน้ำมันของรัสเซีย Rosneft ก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน
เมื่อคอมพิวเตอร์ของเหยื่อโดนไวรัสนี้ เครื่องจะแสดงข้อความเต็มจอว่าไฟล์ในเครื่องถูกเข้ารหัสแล้ว และให้จ่ายเงินเป็นสกุลบิตคอยน์มูลค่า 300 ดอลลาร์สหรัฐเพื่อรับกุญแจมาปลดล็อกไฟล์ ทั้งนี้ยังไม่มีรายงานว่าจ่ายแล้วปลดได้จริงหรือไม่ (ห้ามจ่ายเด็ดขาด หากโดนแล้วให้ทำใจและฟอร์แมตเครื่องทิ้งเลย การจ่ายเงินก็เหมือนเป็นการสนับสนุนการกระทำเหล่านี้ เราควรฝึกสำรองข้อมูลให้เป็นนิสัยครับ)
ส่วนรายละเอียดทางเทคนิคนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าไวรัสตัวใหม่นี้แพร่กระจายอย่างไร แต่บริษัทผลิตซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส Avira ได้ทวีตระบุว่าไวรัสเรียกค่าไถ่ตัวนี้ใช้ช่องโหว่ EternalBlue ที่หลุดออกมาจาก NSA แบบเดียวกับ WannaCry
Yes, this(https://t.co/LLpWkU2Ngr) is pretty much wanacry without the kill switch. A mayor reason things like this will start happening now: pic.twitter.com/SQZFpp2GOC
— Yonathan Klijnsma (@ydklijnsma) June 27, 2017
All computers in our office are down. Global #Ransomware attack. I've heard few other companies affected too. Backup and stay safe, guys. pic.twitter.com/YNctmvdW2I
— Mihir (@mihirmodi) June 27, 2017
Ukraine is under attack by new ransomware virus pic.twitter.com/YzJNOMSb7x
— Numbers-Stations.com (@Spy_Stations) June 27, 2017
UPDATE 15:00 CEST pic.twitter.com/L5pBYvNQd3
— Maersk (@Maersk) June 27, 2017
The #Petya #ransomware is back using the #EternalBlue exploit - and our #Antivirus customers are protected! #infosec pic.twitter.com/fWap1rRLeA
— Avira (@Avira) June 27, 2017
Comments
แล้วบริษัทพวกนี้รอดตอน WannaCry มาได้ยังไงฟะ? ไม่น่าจะรอดตั้งแต่ตอนนั้นละนะ ดันอยู๋มาจนโดนรอบนี้แทน
เป็นประเภทแก้ไข MBR แล้วเข้ารหัส MFT แต่ถ้าลงตัวป้องกันอย่าง MBRFilter
ก็เหมือนได้ภูมิคุ้มกันตลอดชีวิต
พา...
yet
อีเมลแจ้งจ่ายเงินโดนบล็อคไปแล้ว จ่ายยังไงก็ไม่ได้คืนล่ะ
https://securelist.com/schroedingers-petya/78870
เผื่อใครสนใจจะอ่านเพิ่มทางเทคนิคครับ
เพิ่มเติมอีกอันของ Malwarebytes ที่ทำ analysis ชนิดลึกมากๆ ไว้ตั้งแต่เมษาปีที่แล้ว
https://blog.malwarebytes.com/threat-analysis/2016/04/petya-ransomware/
ข้อสังเกต - เมล์แวร์ตัวนี้เน้นเป้าหมายที่ยุโรป
ผมเชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ google ถูก EU ปรับ
เป็น nerd strike back
ในอนาคตโลกจะถูกเผด็จการโดย nerd
ถ้าปล่อยให้ทรัพยากรต่างๆอยู่ในมือคนกลุ่มนี้มากขึ้นๆ
ทั้งเงินเทียม - ทั้งภาหนะไร้คนขับ - ทั้งโดรนส่งของ (สอดแนม อย่างมีชั้นเชิง ต้องทำให้เป็นเรื่องปรกติ แอบแฝงภายหลัง) - ทั้งโลกเสมือน
ยุคแฟมิคอม โลกสงบสุขกว่านี้
ถ้าจะตีความแบบนั้นว่าใครบาดหมางกันอยู่เลยแกล้งปล่อยนี่เรื่อง Google เป็นเรื่องเล็กๆครับ ลองศึกษาสถานการณ์ยูเครนในช่วงวันสองวันนี้มีเรื่องหนักกว่าเยอะ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
แค่ยุคนั้นมันไม่มีข่าว เหมือนสมัยนี้ครับ ถ้าไปอยู่บนเขาแล้วเลิกใช้คอม/โทรศัพท์/ทีวี เดี๋ยวก็ได้บรรกาศนั้นกลับมา
ปล.ยุคนั้นก็พึ่งจบสงครามโลกได้ไม่กี่สืบปี สงครามเวียดนาม สงครามฯลฯ โลกเคยสงบสุขด้วยหรอครับ
จังหวะเวลาปล่อยออกมาตอนราคา BTC กำลังร่วงพอดีเลย เหมือนปั่นหุ้นเลย -_-"
อดผวนชื่อมัลแวร์ไม่ได้ >_>
เห็นชื่อโรงไฟฟ้าแล้วสะดุ้งเลย
ตอนนี้ที่เชอร์โนบิลยังมีคนทำงานอยู่ครับ แต่เป็นการทำงานแบบควบคุมรังสี รวมถึงสร้างโดมครอบเตาปฏิกรณ์
เตาอื่นๆ ยังทำงานอยู่ด้วยนะครับ ถ้าจำไม่ผิด
เป็นแผนทำให้อัพเดท windows 10 เร็วขึ้นอย่างแนบเนียนมาก
ไม่เห็นด้วยตรงที่บอกว่าไม่ต้องจ่าย 100% ครับเพราะความจำเป็นของแต่ละคนไม่เท่ากัน
ยกตัวอย่างเช่น โจรเรียกค่าไถ่จับตัวลูกคุณหรือแม่คุณไปเป็นตัวประกัน เรียกค่าไถ่ในวงเงินที่คุณจ่ายได้ พร้อมกำชับว่าห้ามแจ้งตำรวจ ถ้าแจ้งก็จะไม่รับประกันความปลอดภัยของตัวประกัน ในกรณีนี้ผู้ถูกเรียกค่าไถ่อาจตัดสินใจเลือกได้ 2 ทางระหว่างเรียกตำรวจแล้ววางแผนดัดหลังโจร หรือจ่ายค่าไถ่แต่โดยดีแล้วค่อยแจ้งตำรวจเพื่อป้องกันเหตุการณ์แบบนี้ไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต
ประเด็นคือคนจ่ายค่าไถ่ไม่มีอะไรรับประกันได้เลย ต่อให้จ่ายเงินโจรก็อาจจะฆ่าตัวประกันก็ได้ หรือต่อให้ไม่จ่ายแต่แจ้งตำรวจ (ด้วยตรรกะที่ว่าเพื่อไม่สนับสนุนโจรเรียกค่าไถ่ประเภทนี้อีก) ก็ไม่มีอะไรรับประกันว่าโจรจะไม่มีสายสืบอยู่ในวงการตำรวจ หรืออาจจะจับตาดูพฤติกรรมของผู้ถูกเรียกค่าไถ่ตลอดเวลาว่าติดต่อกับตำรวจหรือไม่ ดังนั้นสุดท้ายผู้ถูกเรียกค่าไถ่ต้องเป็นผู้ตัดสินใจเองว่าอะไรสำคัญ ณ เวลานั้น
สรุปว่าเรื่องนี้ไม่มีกฎตายตัวหรอกครับว่าควรจ่ายเงินค่าไถ่หรือไม่
That is the way things are.
แต่ผมว่าชีวิตคนกับข้อมูลมันก็เอามาเทียบกันไม่ค่อยได้นะครับ