ก่อนหน้านี้ผมได้สั่ง MacBook Pro ตัว 15 นิ้วมาเพื่อใช้แทน MacBook Air ตัวเก่าที่ใช้มา 5-6 ปีแล้ว พอได้มาใช้จริงๆแล้วกลับรู้สึกว่าคิดผิดจริงๆที่สั่งรุ่นที่มี SSD ความจุแค่ 256GB มาใช้ เพราะเอาเข้าจริงๆมันน้อยเกินไป แต่จะคืนแล้วสั่งใหม่ก็ไม่ทัน
ผมลองหาตัวเลือกในการซื้อหน่วยความจำเสริมมาใช้ โดยตั้งใจว่าอยากได้เป็นแบบ USB-C เลย จะได้สะดวกเวลาพกพา เท่าที่เห็นในท้องตลาดก็จะมี External Hard Disk ของ Lacie รุ่น Porsch Design ที่ถึงแม้จะรองรับ USB-C (USB 3.1 Gen 1) แต่ในการใช้งานก็จะมีคอขวดที่ความเร็วของ Hard Disk อยู่ดี ในส่วนของ External SSD เห็นว่ามีของ Samsung รุ่น T3 ที่ดูจะมีคนใช้ในบ้านเรามากที่สุด แต่ผมไม่สามารถหาซื้อจากร้านค้าไอทีที่มีอยู่ในจังหวัดที่ผมอยู่ได้เลย จะสั่งซื้อจาก Lazada ก็ไม่แน่ใจเรื่องการรับประกัน หลังจากลองหาอยู่สักพักและดูรีวิวของต่างประเทศ ก็มาถูกใจกับตัวนี้ ก็เลยสั่งมาลองดู
Angelbird SSD2GO PKT เป็น External SSD ที่ได้รับการออกแบบและผลิตในประเทศออสเตรีย มีดีกรีรางวัลจาก Reddot Award เมื่อปี 2016 มีจุดเด่นที่การรองรับความเร็วการเชื่อมต่อตามมาตรฐาน USB3.1 Gen 2 ที่รองรับความเข้ากันได้กับทั้งมาตรฐาน USB3.1 Gen 1, USB2.0 และ Thunderbolt 3 มีสเปคดังนี้
ตัว SSD2GO PKT มีความจุให้เลือก 3 ขนาดคือ 256GB, 512GB และ 1TB และมีหกสีให้เลือกตามด้านล่าง
จุด(ที่เรียกว่าเป็นจุด)เด่น(อีกอย่างดีไหม) คือเราสามารถที่จะสลักตัวอักษรลงด้านบนได้ 2 แถว แถวละ 10 ตัวอักษร ซึ่งจริงๆแล้วนี่เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ผมตัดสินใจเลือกซื้อตัวนี้มาเลย
เมื่อเปิดกล่องและนำตัว SSD2GO PKT ออกมา จะเจอข้อความที่เหมือนจะปลอบใจคนซื้อว่า "You made the right choice"
ในกล่องมีสายแถมมาให้สองเส้นเป็น USB-C to USB-C หนึ่งเส้น และ USB-C to USB-A อีกหนึ่งเส้นที่มีขนาดยาวกว่านิดหน่อย
ช่องต่อ USB-C ที่ตัว SSD2GO PKT ทำแบบเป็นช่องลึกลงไปและเมื่อเสียบสายลงไปแล้ว ตัวหัวเชื่อมต่อจะเข้าไปอยู่ข้างในหมดเลย
ตัว SSD2GO PKT ได้รับการ format มาในรูปแบบ exFAT ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้ง Windows และ macOS ตั้งแต่เริ่มต้น
ในการทดลอง ผมใช้โปรแกรม Blackmagic Disk Speed Test ที่ได้ผลลัพธ์ออกมาตามรูปด้านล่าง
ในส่วนของการใช้งานจริง ผมทดลอง ย้ายโฟลเดอร์ 2 แบบดังนี้
โฟลเดอร์แรกขนาด 4.9GB มีไฟล์วิดีโอที่ผมทำเสร็จแล้ว 6 ไฟล์ ขนาดตั้งแต่ 270MB จนถึง 1.3 GB
เวลาในการย้ายจาก Mac ลงไปที่ PKT อยู่ที่ 12 วินาที หรือประมาณ 408 MB ต่อวินาที
เวลาในการย้ายกลับมาที่ Mac อยู่ที่ 9 วินาทีครึ่ง หรือประมาณ 515MB ต่อวินาที
โฟลเดอร์ที่สองขนาด 6.6GB มีไฟล์อยู่ทั้งหมด 1500 กว่าไฟล์ ขนาดตั้งแต่ไม่ถึง KB จนถึงไฟล์ที่ใหญ่ที่สุดประมาณ 600 กว่า MB
เวลาในการย้ายจาก Mac ลงไปที่ PKT อยู่ที่ 23 วินาที หรือประมาณ 286 MB ต่อวินาที
เวลาในการย้ายกลับมาที่ Mac อยู่ที่ 18 วินาที หรือประมาณ 367MB ต่อวินาที
ปัญหาที่ผมเจอในระหว่างลองใช้งาน คือผมลองใช้สาย USB-C to USB-A เชื่อมต่อกับ mac ผ่าน dongle Juiced System Bizhub แลัวพบว่าอัตราการเขียนและอ่านข้อมูลติดอยู่ที่ประมาณ 30 megabytes ต่อวินาที ในขณะที่เมื่อเชื่อมต่อผ่าน dongle USB Digital AV Multiport ของ Apple แล้วไม่สามารถใช้งานได้เลย (ผมส่งอีเมลไปถามทาง Juiced System และได้รับแจ้งมาว่าผมน่าจะได้รับอุปกรณ์ที่มีปัญหาและจะส่งชิ้นใหม่มาให้)
รูปในมุมต่างๆ (สรุปอยู่ด้านล่าง)
สรุป ข้อดีข้อเสียของ Angelbird SSD2GO PKT ในความรู้สึกของผมดังนี้
ข้อดี
ข้อเสีย
ผมคิดว่า นี่อาจจะเป็นตัวเลือกอีกตัวนึง สำหรับคนที่กำลังมองหา external SSD อยู่ ถ้าสนใจเข้าไปดูได้ที่ www.angelbird.com ผมใช้เวลาในการรอของประมาณ 5 วันนับจากวันที่สั่ง ของถูกส่งโดย UPS และมีภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% + ค่าดำเนินการอีก 200 บาท
นอกจากนี้แล้ว ได้ทำเป็นวิดีโอรีวิวไว้ด้วย ถ้าสนใจ ลองเข้าไปดูได้เลยครับ
Comments
หน่วยความจะเสริม?
พลังจาก -> หลังจาก
สเป็ค -> สเปค
Mekokung's Story บล็อกส่วนตัวที่ย้ายไป Blogger แล้วนะ
ใช่ => ใช้
วิดิโอ => วิดีโอ
กลับมาที => กลับมาที่
แก้หมดแล้วครับ ขอบคุณทั้งสองท่านครับ
ช่อง Youtube ของผมครับ รีวิวและชวนคุยนู่นนี่
อยากสอบถามเกี่ยวกับ exFAT ครับ มีข้อจำกัดอะไรมั้ยครับ ไฟล์ใหญ่กว่า 3-4 GB. เขียน-อ่าน ได้หรือไม่ ทั้ง windows และ mac ครับ แล้ว linux ล่ะ
ปัจจุบัน ext hdd ใช้ NTFS อยู่ อยากรู้ว่ามันแทนกันได้สมบูรณ์เลยหรือไม่ครับ
ในอนาคต คงมีทั้ง 3 OS ครับ เลยสนใจ exFAT
exFAT ต้องเรียกว่าไม่มีข้อจำกัดเรื่องขนาดไฟล์ในการใช้งานจริงนะครับ Linux ไม่แน่ใจครับ แต่เห็นว่าต้องใช้ FUSE
ช่อง Youtube ของผมครับ รีวิวและชวนคุยนู่นนี่
เรื่องเคลมเป็นไงบ้าง
คงต้องส่งกลับไปเคลมครับ ถ้ามีปัญหา
ช่อง Youtube ของผมครับ รีวิวและชวนคุยนู่นนี่