บริการ Free Basics ของ Facebook นั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเข้าถึงแหล่งที่ค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสูง ในขณะที่มีผลการศึกษาล่าสุดจาก Global Voices รายงานปัญหาใหญ่ของ Free Basics ว่าบริการนี้ทำลาย net neutrality (หนึ่งในเหตุผลที่รัฐบาลอินเดียสั่งหยุดให้บริการ Free Basics)
net neutrality นั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่าทุก ๆ คอนเทนต์, เว็บไซต์ และแพลตฟอร์มควรจะถูกปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน จึงไม่ควรถูกจำกัดโดยปัจจัยบางอย่าง ในขณะที่ Free Basics ของ Facebook นั้น แม้ว่าจะให้บริการฟรีแต่ว่าไม่สามารถให้บริการฟรีกับเว็บอื่น ๆ นอกจาก Facebook และเว็บไซต์ที่ Facebook เลือกอย่าง Acu Weather, BBC News, Wikipedia
จากการรายงานของ Global Voices เผยว่า Free Basics นั้นเปิดให้บริการใน 63 ประเทศ และแม้ว่าจะเป็นพื้นที่ที่ใช้หลายภาษา แต่ก็ใช้ภาษาเพียงภาษาเดียว ในขณะที่การให้บริการอินเทอร์เน็ตฟรีมีให้บริการในหลายทวีป แต่คอนเทนต์เกือบทั้งหมดมาจากสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ไม่ใช่คอนเทนต์ท้องถิ่น
Global Voices กล่าวว่า การมอบอินเทอร์เน็ตให้ใช้ดีกว่าไม่มีให้เลย แต่เว็บไซต์และบริการที่มีให้ในปัจจุบันไม่ตอบโจทย์ความต้องการของคนในพื้นที่ นอกจากนี้ Facebook ยังมีการเก็บข้อมูลทุกครั้งที่ผู้ใช้ใช้บริการ Free Basics ไม่ใช่เฉพาะตอนคลิกบน Facebook เท่านั้น
ในขณะที่ฝั่ง Facebook ตอบโต้ว่า รายงานดังกล่าวมีปัญหาความผิดพลาดสูง และทำรายงานกับอาสาสมัครของ Global Voices เพียงจำนวนเล็กน้อยในประเทศเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้น จึงไม่สามารถสะท้อนประสบการณ์ของผู้ใช้นับล้านใน 65 ประเทศที่ได้รับประโยชน์จาก Free Basics ที่แท้จริงได้
ที่มา - Digital Trends
Comments
'จึงไม่สามารถสะท้อนประโยชน์ที่ facebook ได้จากผู้ใช้นับล้านใน 65 ประเทศที่ใช้ Free Basics ได้'
ต้องตอบคำถามเรื่อง การจำกัดคอนเทนต์, เว็บไซต์ ,แพลตฟอร์ม และภาษา ว่ามันจริง-หรือไม่จริง เสียก่อน
ถ้าไม่อยากให้โดนตำหนิเรื่อง net neutrality ก็ลากไฟเบอร์หรือตั้งเสาเครือข่าย หรือทำ MVNO ให้ผู้ใช้เลยสิจะได้ไม่โดน XD
ความคิดที่ว่า เข้าได้บางเว็บ ยังดีกว่าไม่มีเน็ตใช้เลย อันนี้เราว่าไม่ถูกอะ
มันอาจจะดีกว่าจริงในช่วงแรกๆ แต่จะทำลายพื้นฐานอินเตอร์เน็ตของประเทศในระยะยาว เช่น ถ้ามี isp/operator รายใหม่ที่จะเปิดธุรกิจ ก็อาจจะแข่งขันไม่ได้เพราะมีบริการฟรีอยู่แล้ว หรือเว็บไซต์/ธุรกิจออนไลน์ที่เปิดใหม่ โดยเฉพาะธุรกิจเล็กๆในท้องถิ่น ก็อาจจะเข้าตลาดไม่ได้เพราะอินเตอร์เน็ตฟรีที่ชาวบ้านใช้กันเข้าถึงได้แค่เว็บที่เฟสบุ๊คจำกัดเท่านั้น สุดท้ายแล้ว ประเทศพวกนี้จะยิ่งย่ำอยู่กับที่ ธุรกิจท้องถิ่นไม่ได้เกิด การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารก็ถูกควบคุมได้โดยคนไม่กี่คน
+999
ສະບາຍດີ :)
Facebook and Youtube คือเอกชน ความเป็นกลาง เป็นเรื่องรอง แต่เรื่องใหญ่ของเขาคือ จำนวนคนใช้และค่าโฆษณา ต้องเข้าใจว่า เขาคือเอกชน ที่หวังผลกำไรเป็นที่ตั้ง
อะไรที่ได้เปรียบคู่แข่ง และตอบโจยท์เรื่องการสร้างผลกำไรได้ พวกนี้ไม่สนอยู่แล้ว
เฟสบุ้ค ดูเหมือนคนดี แต่รู้มั้ย เขาจ่ายภาษีรายได้ให้ประเทศไทยปีหนึ่งกี่บาทเหรอ ในปี 2015 จ่ายแค่ แสนกว่าบาท เงิบไปเลยมั้ย
บริษัทในไทย จดทะเบียนในไทย ทำธุรกิจในไทย เก็บรายได้จากคนที่ทำธุรกิจในไทย เสียภาษีนิติบุคคลในไทย ต้องเสียเปรียบ เฟสบุ้ค ยูทิวป์ ที่ไปเสียภาษีนิติบุคคลในสิงคโปร์ ที่เขาไปจดทะเบียนไว้ เพราะภาษีถูกกว่า รายละเอียดตามลิงค์ข่างล่าง
ขำไปเลยมั้ยละ
http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?newsid=9600000062547
ภาษีเป็นต้นทุนทางธุรกิจไม่ว่าคุณจะเรียกเก็บได้มากหรือได้น้อยมันก็จะได้มาจากจากกระเป๋าคนใช้อยู่ดีนั้นก็คือคนไทยครับ เพราะต่อให้คุณบอกให้เก็บภาษีแพงๆเลยจะได้เท่าเทียมกับธุรกิจคนไทย สุดท้ายแล้วมันจะใช่วิธีช่วยผลักดันธุรกิจไทยได้จริงหรอในเมื่อเทคโนโลยีเรายังสู้เขาไม่ได้เลย ดูของจากจีนตอนนี้เป็นตัวอย่างก็ได้ครับ ว่าภาษีไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ดีนักหรอกครับ ภาษีมันเป็นเครื่องที่รัฐหารายำด้เพื่อมาสร้างบริการให้ประชาชน หรือสร้างอะไรใหม่ๆไว้ขับเคลื่อนประเทศครับ หมดยุคภาษีเพื่อกีดกันทางการค้าแล้ว
ปล.ไม่ได้บอกว่าไม่ควรเก็บนะแค่บอกว่าไม่ควรใช้เป็นเครื่องมือในการกีดกันของต่างชาติ เพราะสุดท้ายภาษีที่จ่ายก็คือเงินคนไทยที่เขาได้กำไรอยู่แล้ว
เชยมากเลยนะครับ ถ้าจะมองแค่นั้นตามที่สื่อหรือคนแค่บางกลุ่มตั้งใจปั้นกระแสออก (เพราะตัวเองอาจเสียผลประโยชน์จากการขยายตัวของ FB) ลองดูกว้างๆ ธุรกิจขนาดเล็ก และขนาดกลางกี่หมื่นกี่แสนเจ้า กำลังใช้ประโยชน์จากแพลทฟอร์มเฟซบุ๊คเพื่อทำมาหากิน รายได้ตรงนั้น หลายส่วนก็เข้าระบบเพื่อจัดเก็บเป็นภาษีอยู่แล้ว แม้จะไม่ได้จ่ายโดย FB แต่ธุรกิจพวกนั้น อาจเพิ่งพารัฐไม่ได้เลย หากไม่มีโซเชียลพวกนี้มาช่วยทำตลาด
เห็นรัฐชวนเชื่ออยู่ปาวๆ ว่าเศรษฐกิจขยาย นั่นในระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ แต่ระดับรากหญ้า รู้ๆ กันอยู่ครับ สายป่านไม่ยาว โซเชียลไม่เป็นก็พับเก็บกันไปหมด
ผลประโยชน์ประเทศมันมาได้หลายทาง ใจกว้างๆ นิดนึง
my blog
อันนี้สงสัยว่าในเมื่อ บริษัทในไทยจ่ายค่าลงโฆษณาเยอะ แต่ทำไมเก็บภาษีได้น้อยจัง
(-o-)
ต้องถามกสทช ครับว่าเอาตัวเลขมาจากไหน
ถ้าตัวเลขเป็นดังนั้นจริงก็เป็นหน้าที่ของสรรพากรครับที่จะตามเก็บภาษี'ที่เกิดในประเทศไทย'ให้ได้พร้อมค่าปรับ
ส่วนภาษีที่เกิดนอกประเทศ หลักการเก็บภาษีคิดตามหลักทรัพยากรของรัฐ(ที่ตั้ง)ไม่ใช่หลักต้นกำเนิดรายได้ครับ ถ้าอยากจะคิดจากต้นกำเนิดรายได้ ก็คงต้องไปเซ็น MLI แล้วเปลี่ยนวิธีคิดภาษีเอา โดยตอนนี้ก็ยังไม่มีชื่อของไทยครับ
แต่หลังจากเซ็นแล้วจะได้เปรียบหรือเสียเปรียบก็ไม่รู้นะครับ ไม่รู้ว่า MLI ตัวนี้มีผลถึงระดับไหน เพราะมันหมายความว่างาน outsource service ที่อยู่ในไทย'อาจจะต้อง'ไปแยกจ่ายภาษีให้แต่ละประเทศหรือเปล่า
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
เชยตรงไหน มีอีกหลายประเทศพยายามเล่นเรื่องภาษีแบบนี้
โดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรป เยอรมัน ฝรั่งเศส ก็เคยเล่นเรื่องนี้
ถ้าแบบนั้นบริษัทใหญ่ๆที่มีพนักงานหลายร้อยหลายพันคน ก็เหมือนกันรึเปล่า เพราะพนักงานก็หารายได้จากบริษัทและเงินเดือนพนักงานก็จ่ายภาษีเหมือนกัน ผมคิดว่าเงินที่เฟสบุคได้จากคนไทยปีละหลายพันล้าน ประเทศควรจะได้รับประโยชมากกว่านี้ครับ