The Telegraph ระบุ การโจมตีในปีนี้ได้รับการยืนยันอีกครั้งว่าผู้ก่อการร้ายใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เผยแพร่อุดมการณ์ของตัวเองและยังสร้างแรงบันดาลใจให้ก่อความรุนแรงด้วย
ถ้าเทียบสถิติจำนวนเหยื่อจากการก่อการร้าย พบว่า ภายใน 3 เดือน อังกฤษถูกโจมตีถึง 4 ครั้ง นับตั้งแต่ปี 1970 ถึงปัจจุบัน ถ้าเทียบจากจำนวนเหยื่อผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นชาวไอร์แลนด์เหนือ รองลงมาคือสกอตแลนด์และอังกฤษ หากเทียบทั้งยุโรปแล้ว อังกฤษถูกโจมตีถี่ที่สุด ประชาชนเสียชีวิตมากที่สุด รองลงมาคือสเปนและฝรั่งเศส
สถิติการก่อการร้ายข้างต้นอาจเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้รัฐมนตรีมหาดไทย Amber Rudd เกิดความกลัว ทั้งที่ก่อนหน้านี้เคยออกมาเรียกร้องให้บริษัทด้านเทคโนโลยีช่วยรัฐบาลต่อสู้กับการก่อการร้ายด้วยการทำให้การเข้ารหัสอ่อนแอลง จนครั้งนี้ออกมาแสดงความคิดเห็นอีกครั้งว่า “คนดีๆ” ไม่ต้องการฟีเจอร์ประเภทเข้ารหัสจากปลายทางถึงปลายทางแบบนี้หรอก เธอยังย้ำอีกว่าบริษัทเทคโนโลยีทั้งหลายควรจะให้ความช่วยเหลือเจ้าหน้าที่รัฐในการจัดการกับภัยคุกคามด้านความมั่นคง
Home Secretary @AmberRuddHR is today in #SiliconValley talking to tech companies about tackling online terrorist content pic.twitter.com/JxfNrmtnxT
— Home Office (@ukhomeoffice) August 1, 2017
อย่างไรก็ตาม การออกมาพูดประเด็นนี้อีกครั้งของเธอทำให้ถูกมองว่าเธอกำลังชี้นำแบบผิดๆอยู่ การเข้ารหัสจากปลายทางถึงปลายทาง ทำให้คนอื่นไม่สามารถอ่านข้อความหรือดักฟังข้อความได้ ไม่ว่าจะเป็น WhatsApp, Facebook Messenger หรือแอพแชท Allo ของ Google ต่างก็ใช้การเข้ารหัสจากปลายทางถึงปลายทางทั้งนั้น
Amber Rudd อ้างว่า พวกบริษัทเทคโนโลยีทั้งหลายสร้างความยุ่งยากให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐในการต่อสู้กับการก่อการร้าย เธอชี้ว่ารัฐบาลไม่ได้ตั้งใจจะแบนการเข้ารหัสจากปลายทางถึงปลายทาง แต่อยากให้บริษัทเหล่านี้ปลดมันออกด้วยความสมัครใจ เธอเห็นว่า คนใช้ WhatsApp ไม่ใช่เพราะมีการเข้ารหัสจากปลายทางถึงปลายทาง ไม่ใช่เพราะต้องการความมั่นคงปลอดภัย แต่เพราะเป็นช่องทางที่ราคาถูกที่จะทำให้ใกล้ชิดกับญาติพี่น้อง และยังใช้ง่ายอีกด้วย
ภาพจาก Home Office in the media
หลังจากที่ความคิดของ Amber Rudd เผยแพร่ออกมา ผู้คนต่างก็ออกมาโต้แย้ง เช่น Jim Killock ผู้อำนวยการบริหาร UK digital liberties group Open Rights Group แย้งว่า เธอกำลังชี้นำแบบผิดๆ เพราะความมั่นคงทางการสื่อสารนี้ บางคนก็อาจจะต้องการสิทธิส่วนบุคคลที่ไม่อยากให้ใครมาล่วงละเมิด ต้องการปิดข้อมูลให้เป็นความลับ นี่ไม่ใช่หน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยที่จะออกมาป่าวประกาศว่าไม่ต้องการการเข้ารหัสจากปลายทางถึงปลายทาง
ขณะที่ Paul Bernal อาจารย์ จาก UEA Law School ก็ชี้ว่า ความคิดเห็นของ Amber Rudd นั้นตั้งอยู่บนฐานของความเข้าใจผิดทั้งเรื่องเทคโนโลยีและความเป็นส่วนตัว
Good to meet @Youtube chief @SusanWojcicki earlier today to discuss progress on tackling online terrorist threats and further action needed. pic.twitter.com/KsxbOPPSbw
— Amber Rudd MP (@AmberRuddHR) July 28, 2017
Amber Rudd หารือกับ Susan WojcickiVerified, CEO YouTube กรณีก่อการร้ายบนโลกออนไลน์
Home Secretary @AmberRuddHR visits @Twitter HQ to hear progress made to tackle terrorist content online and discuss further action needed pic.twitter.com/yUeIWKvTiN
— Home Office (@ukhomeoffice) August 1, 2017
Amber Rudd ร่วมหารือที่สำนักงานใหญ่ Twitter กรณีก่อการร้ายบนโลกออนไลน์
Home Secretary @AmberRuddHR meets @SherylSandberg as part of visit to @Facebook HQ to discuss threat from terrorist use of the internet pic.twitter.com/OQU6Wi2Lyy
— Home Office (@ukhomeoffice) August 1, 2017
Amber Rudd หารือร่วมกับ Sheryl Sandberg, COO Facebook กรณีก่อการร้ายบนโลกออนไลน์
Home Secretary @AmberRudd HR visits @Google HQ to discuss what can be done to reduce the availability of online terrorist content pic.twitter.com/U6ghoxzcY3
— Home Office (@ukhomeoffice) August 1, 2017
Amber Rudd หารือเรื่องปัญหาก่อการร้ายที่สำนักงานใหญ่ Google
ที่มา - Business Insider
Comments
จริงๆ ผมว่า UK ทำได้นะครับ คือ ขอ Vote ว่า ให้ลองยกเลิก encryption message ทุกระบบ 6 เดือน ยกเว้นเรื่องการจ่ายเงิน
แต่ถ้ายังก่อการร้ายได้เหมือนเดิม ขอให้รับผิดชอบ โดนการลาออกทันทีแบบไม่ได้ pension fund แล้วห้าม ยกประเด็นนี้มาพูดอีก
ถ้าการเข้ารหัสเหมือนกับปืน
ต่อให้ปืนเป็นสิ่งผิดกฎหมาย โจรทุกที่ก็มีปืน
ดังนั้นเลิกคาดหวังเรื่องการดักฟังแล้วไปหาวิธีอื่นดีกว่า
ผมว่าช่องทางการสื่อสารที่กลุ่มผู้ก่อการร้ายใช้ในทุกวันนี้คงไม่ได้ใช้อะไรที่ดูซับซ้อนแบบต้องใช้แอพนั่นนี่ที่มี security สุดยอดอะไรหรอก อาจจะมาจากช่องทางที่เปิดเผยกันทั่วไปชัดเจนเช่นทวิตเตอร์ที่เปิด public ให้คนทั่วไปสามารถเข้าไปอ่านได้ตรงๆ นั่นแหละ แต่ว่ามีโค้ดหรือข้อความแฝงที่เข้าใจกันเฉพาะกลุ่มอยู่ในนั้น
อัพรูป instagram/twitter มั่วๆพร้อมข้อความลับ + ตั้ง private
แค่นี้เจ้าหน้าที่ก็งงเป็นไก่ตาแตกละ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
บางครั้งความเป็นส่วนตัวมากเกินไปก็ทำลายความมั่นคงของชาติรึเปล่า ในขณะที่ชาติตกอยู่ในอันตรายแต่บริษัทเทคโนโลยีกลับได้ความเชื่อมั่นว่าขนาดผู้ก่อการร้ายยังไม่สามารถโดนขโมยข้อมูลได้เลย ส่วนตัวผมคิดว่าน่าจะมีกฏหมายเอื้ออำนวยให้ถอดรหัสข้อมูลหากสามารถพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนี้มีความผิดจริง
end to end เอื้อยังไงก็ถอดไม่ได้(หรือถอดได้แต่ลำบาก)ครับ
ให้นึกถึงข้อความเข้ารหัสที่รู้กันแค่คนสองคนหน่ะครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
การเข้ารหัส end-to-end ที่แอปแชทมีมาให้มันก็แค่ตัวช่วยให้คนทั่วไปเปิดมาใช้ได้ง่ายขึ้นครับ ระบบไม่รองรับก็ไม่มีปัญหาหรอกครับ เอาข้อความไปผ่านโปรแกรมเข้ารหัสตัวเองก็ได้ PGP ผ่านอีเมลก็ทำกันเป็นปกติมานานมากแล้ว
Home Office นี่มันประมาณกระทรวงมหาไทยนะครับ ไม่ใช่กลาโหม เค้ามี Department of Defence แยกต่างหากนะ
UK ไม่ใช่อังกฤษด้วย
เธอหมายถึงว่า จะเข้ารหัสก็เข้าไป แต่ถ้ามีเรื่องอะไรเป็นคดีความต้องถอดรหัสให้ด้วย
จริงๆก่อนจะมีแอ้พแชทเข้ารหัส มันก็เป็นแบบนี้มาก่อนรึเปล่าครับ ที่ยึดคอมยึดอะไรเป็นของกลางกัน ขอหมายศาลเพื่อเข้าไปดูก็ได้แล้ว
แต่คนดีจะถูกคนไม่ดีดักข้อมูลนะสิ
"ถ้าไม่ผิด ก็ไม่ต้องกลัวสิ"
อีกแล้วเหรอ