เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ASUS ประเทศไทยได้เปิดตัวแล็ปท็อปรุ่นใหม่หลายตัว หนึ่งในนั้นคือ ZenBook UX430UQ อัลตร้าบุ๊กรุ่นรองท็อป ซึ่ง ASUS ได้ส่งมาให้รีวิวด้วยครับ
ASUS ZenBook UX430UQ จัดเป็นอัลตร้าบุ๊กที่มีสเปกค่อนข้างดี ดังนี้
จุดเด่นข้อหนึ่งของ ZenBook UX430UQ คือเป็นแล็ปท็อปขนาด 14 นิ้วในร่าง 13 นิ้ว ทำให้ตัวเครื่องไม่ใหญ่เทอะทะ ขนาดกำลังน่าพก ส่วนฝาหลังเป็นพลาสติกแบบเงา เก็บรอยนิ้วมือและสะท้อนแสงได้ดีมาก (นี่ข้อเสียนะ) ไม่แน่ใจว่าใช้ไปนานๆ แล้วจะมีรอยขนแมวมากน้อยแค่ไหน
คีย์บอร์ดเป็นแบบ full-size มีไฟส่องด้านใต้ ปรับความสว่างได้ 4 ระดับ (ปิด และเปิด 3 ระดับ) วางปุ่มแบบ chiclet การจัดเรียงปุ่มไม่มีอะไรแปลกประหลาด ตามสเปกระบุว่าระยะ key travel อยู่ที่ 1.4 มม. ซึ่งส่วนตัวผมว่าตื้นไปหน่อย แต่อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ถ้าอยากใช้แล็ปท็อปแบบบางๆ ความรู้สึกตอนพิมพ์ไม่ค่อยหนักแน่น (firm) กดแล้วรู้สึกหลวมๆ ไปนิด เมื่อเทียบกับ Dell Latitude E7440 และ Lenovo ThinkPad X260 ที่ใช้อยู่
ส่วนปุ่ม Page Up, Page Down, Home, End ถูกย้ายไปรวมกับปุ่มลูกศร ซึ่งโปรแกรมเมอร์คงไม่ชอบใจนัก เพราะต้องกด Fn ก่อน
จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของ ZenBook UX430UQ คือใช้เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือแบบทาบนิ้วเหมือนในสมาร์ทโฟน ไม่ต้องรูดนิ้วลงแบบแล็ปท็อปรุ่นเก่าๆ ผมลองแล้วทำงานเร็วมาก เพียงแค่เสี้ยววินาทีก็ปลดล็อกเข้าสู่หน้า desktop เลย ถือว่าสะดวกมาก
ส่วนทัชแพดก็ใช้งานได้ดี การลากนิ้วไม่มีหน่วง เคอร์เซอร์ติดนิ้วดีมาก คิดว่าเนียนได้พอๆ กับ MacBook แล้ว แต่ความลื่นของพื้นผิวยังลื่นไม่เท่า หากนิ้วมีน้ำมันก็จะติดๆ หน่อย
ส่วนหน้าจอขอบบาง ความละเอียด Full HD ให้สีที่ดูนุ่มนวล มุมมองกว้าง สีไม่ผิดเพี้ยนเวลามองจากมุมเอียงๆ
ใต้คีย์บอร์ดของ ZenBook UX430UQ มีโลโก้ Harman/Kardon แปะอยู่ ผมลองทดสอบดูหนังฟังเพลง พบว่าเสียงดีพอตัวเลยทีเดียว เปิดดังสุดก็ค่อนข้างดังมาก มีอาการลำโพงแตกนิดๆ เบสน้อยไปหน่อย ถือว่าเสียงดีสำหรับลำโพงแล็ปท็อป
ด้านซ้ายของเครื่องมีรูเสียบสายชาร์จ, พอร์ต USB 3.1 ขนาดเต็ม, Micro HDMI, ช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. และพอร์ต USB 3.1 Type C
ผมไม่ทราบว่าพอร์ต USB Type C จ่ายไฟเท่าใด แต่ทดลองเสียบ Google Pixel เข้าไป พบว่าหน้าจอแสดงผลว่า Charging rapidly
ส่วนด้านขวาของเครื่องมีไฟ Power, ไฟแสดงสถานะการชาร์จ, ช่องเสียบการ์ด SD (เสียบแล้วท้ายการ์ดโผล่ออกมาเกินครึ่ง) และ USB 2.0 ขนาดเต็ม (ใช่ครับ ยังมี USB 2.0 อยู่อีก)
สุดท้ายในกล่องยังมีซองใส่โน้ตบุ๊กมาให้ด้วย แต่ในเว็บไซต์เขียนว่า Optional เลยไม่แน่ใจว่าตัววางขายจริงจะมีให้ด้วยหรือไม่
หลังสำรวจรอบๆ เครื่องไปแล้วก็มาดูด้านประสิทธิภาพกันบ้าง ผมได้ทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องด้วยโปรแกรม PCMark 8 Advanced Editon และ 3DMark
ในส่วนของ PCMark ได้ทดสอบมา 3 ชุดการทดสอบ แบบ Accelerated (เปิดใช้ OpenCL) ดังนี้
Creative Accelerated เป็นชุดการทดสอบที่โฟกัสด้านการทำงานแบบมืออาชีพ เช่นการตัดต่อรูปและวิดีโอ, วิดีโอแชท และมีการเล่นเกมนิดหน่อย ทำคะแนนได้ที่ 4,379 คะแนน
เข้าไปดูรายละเอียดคะแนนได้ที่ http://www.3dmark.com/pcm8/21386318
Storage ทดสอบความเร็วในการเขียน/อ่านข้อมูลของไดรฟ์ ได้ 4,897 คะแนน
เข้าไปดูรายละเอียดคะแนนได้ที่ http://www.3dmark.com/pcm8/21386357
Home Accelerated (Battery life) เป็นการทดสอบความอึดของแบตเตอรี่บนการใช้งานทั่วไป (หนักสุดน่าจะเป็นการเล่นเกมแบบไม่หนักมาก หรือ casual gaming) โดยผมเริ่มที่แบตเตอรี่ 100% แล้วชักปลั๊กออกตอนกดปุ่มเริ่มการทดสอบ รวมถึงตั้ง Power plan ของ Windows ไว้ที่ Balanced ความสว่างหน้าจอ 50% เปิดจอตลอดเวลา
การทดสอบหยุดเองเมื่อแบตเตอรี่ลดเหลือ 30% โดย ZenBook UX430UQ ทำเวลาออกมาได้ที่ 3 ชั่วโมง 53 นาที จึงอาจอนุมานได้ว่าหากไม่มีการเล่นเกมและการแต่งภาพ อาจใช้งานติดต่อกันได้ราว 5-6 ชั่วโมง (บนเว็บไซต์ของ ASUS เคลมว่าใช้ได้ 9 ชั่วโมง)
เข้าไปดูรายละเอียดคะแนนได้ที่ http://www.3dmark.com/pcm8/21386381
มาดูฝั่ง 3DMark กันบ้าง ผมทดสอบมาสองอันคือชุดทดสอบ Time Spy และ Sky Diver
อันแรก Time Spy ซึ่งซอฟต์แวร์บอกว่าเหมาะกับเครื่องนี้มากที่สุด ทำคะแนนได้ 517 คะแนน
เข้าไปดูรายละเอียดคะแนนได้ที่ http://www.3dmark.com/spy/2066811
ต่อมาได้ลองทดสอบชุด Sky Diver ได้ 5,330 คะแนน ความร้อนเฉลี่ยของ CPU อยูู่ที่ 60-70 องศาเซลเซียส ส่วนของการ์ดจออยู่ที่ 75-80 องศาเซลเซียส
เข้าไปดูรายละเอียดคะแนนได้ที่ http://www.3dmark.com/3dm/21386629
ผมยังได้ทดสอบความเร็วในการเขียน-อ่าน SSD ด้วยซอฟต์แวร์อีกสองตัว คือ AS SSD และ CrystalDiskMark ด้วย ซึ่งถือว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ตามนี้
จากนั้นก็ลองเล่นเกมจริงๆ กันบ้าง โดยผมได้ลองเล่น Battlefield 4 ในแผนที่ Golmud Railway ซึ่งเกมได้ตั้งค่ากราฟิกให้ที่ Medium ความละเอียด 1920 x 1080 พบว่ายังไม่ค่อยลื่นนัก ผมไม่ได้ใช้ซอฟต์แวร์แสดงผลเฟรมเรต แต่น่าจะอยู่ที่ราว 20-25 เฟรมต่อวินาทีครับ หากปรับ Low ถึงจะเล่นได้ลื่นเลย
อีกหนึ่งประเด็นที่เป็นปัญหาเรื้อรังกับผู้ใช้มายาวนาน คือซอฟต์แวร์ที่ผู้ผลิตใส่มากับเครื่องจากโรงงาน หรือ Bloatware นั่นเอง ซึ่ง bloatware ในเครื่องรุ่นนี้มีไม่มากนัก เท่าที่เห็นหลักๆ มี 2 ตัว คือ
ผมพบว่า McAfee ทำตัวเรียกร้องความสนใจมากถึงมากที่สุด ระหว่างการใช้งานจะเด้งข้อความขึ้นมาให้เราซื้อไลเซนส์บ่อยครั้ง รวมถึงพยายามแจ้งเตือนสแกนไฟล์ที่ดาวน์โหลดมา เพื่อบอกว่าฉันทำงานอยู่นะ ซึ่งปกติพวกนี้แอนตี้ไวรัสเจ้าอื่นก็ทำงานเงียบๆ อยู่เบื้องหลังอยู่แล้ว
ASUS ควรพิจารณาการบันเดิล McAfee มาในเครื่อง เนื่องจากสร้างความรำคาญมากครับ
อย่างไรก็ตาม ใน Windows 10 Creators Update ได้มีฟีเจอร์ Fresh Start ที่จะติดตั้ง Windows ให้เราใหม่อัตโนมัติ พร้อมเคลียร์ซอฟต์แวร์ที่ติดมากับเครื่องทิ้งทั้งหมด แต่ยังเก็บไฟล์ส่วนตัวบางอย่างให้อยู่ ผมลองแล้วได้ผลเป็นที่น่าพอใจมาก bloatware หายเรียบ แถมเราก็ไม่ต้องยุ่งยากเสียเวลาติดตั้ง Windows ใหม่เองเหมือนในอดีต
ASUS ZenBook UX430UQ เป็นอัลตร้าบุ๊กที่ใช้งานได้ดีมากตัวหนึ่ง ไม่พบอาการอะไรแปลกๆ หรือปัญหาอะไร คีย์บอร์ดน่าจะทำได้ดีกว่านี้ (อันนี้แล้วแต่คน) หน้าจอแสดงผลสวยตามคำโฆษณา จะมีสิ่งที่สร้างความรำคาญอย่าง McAfee เท่านั้น ตัวเครื่องไม่กรอบแกรบ น้ำหนักเบาพกพาสะดวก ลำโพงเสียงดีมาก จำหน่ายที่ราคา 41,990 บาท
ข้อดี
ข้อเสีย
Comments
ราคา
มีadaptor อะไรให้มาบ้าง
ส่วนusb2 น่าจะใส่มาเอาไว้เสียบเมาส์
ราคา 41,990 บาทครับ เพิ่มในบทความให้แล้ว
บนเว็บไซต์เขียนว่ามี Micro HDMI to HDMI dongle กับ USB to LAN port dongle แต่วงเล็บว่า Optional เลยไม่แน่ใจว่าตัวขายจริงจะมีมาให้ด้วยหรือไม่ แต่ในกล่องที่ผมได้รับมีเฉพาะ USB to LAN มาให้ครับ
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
เอาจริง ๆ นะ ถ้าพรีโหลด McAfee มา ก็ควรให้ license ยาว ๆ แบบที่ Dell ทำนะ ไม่ใช่แบบนี้
Coder | Designer | Thinker | Blogger
Asus Series นี้ จากที่จับตัว UA มา ดีทุกอย่าง จอ ips 100% srgb เสียงดี touch pad ลื่น spec ดี usb-c เบา adaptor เล็ก
เว้นแต่ พัดลมน่ารำคาญมาก-มากที่สุด เสียงแหลม และดังๆหยุดๆ เปิด tab browser ที เลื่อนจอทีก็ดังที ทำงานเบาๆ หรือ idle ก็ยังดัง (ดูแล้วไม่มี process หนัก) ใช้ในห้องเงียบๆไม่ได้เลย ที่รำคาญมากคือมันดังๆหยุดๆนี่แหละ
ไม่รู้ว่าตัวนี้ยังเป็นอยู่หรือเปล่า คาดว่าจะเป็นหนักกว่าด้วย เพราะใช้ i7 และโครงสร้างภายในน่าจะเหมือนกัน ถ้ายังไงลองทดสอบและเขียนเรื่องนี้ในรีวิวดูด้วยก็ดี เพราะเปิดโชว์ที่ร้าน มันไม่รู้เรื่อง
ถ้าเป็นคนไม่สนเสียงพัดลม หรือแก้แล้ว มันเป็นรุ่นที่คุ้ม น่าซื้อใช้อยู่
ปล.ที่มี usb2 เพราะบอร์ดหลักมันอยู่ฝั่งนึง พอร์ต usb อีกฝั่งมันต้องลากสายแพไม่มีชิล์ดไป เลยทำ usb3 ไม่ได้
ปล.2 ชอบโต๊ะ ซื้อจากที่ไหนครับ
ผมใช้ในห้องเงียบ ใช้งานเล่นเว็บทั่วไป มีเสียงพัดลม แต่ไม่มาๆตัดๆนะครับ และเสียงก็ไม่ได้แหลมจนน่ารำคาญอะไร
เรื่องโต๊ะ ซื้อจากร้านขายเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่ CDC ครับ จำชื่อร้านไม่ได้ ราคา 15,000 ฮะ ทรงมันคือโต๊ะโรงอาหารตามโรงเรียนเลยครับ (โต๊ะ + bench)
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
+ปล.2 โต๊ะสวยดีครับ :)
ตัวเครื่องมาพร้อม Windows 10 Pro หรือเปล่าครับ
oxygen2.me, panithi's blog
Device: HP Zbook, iPad Pro, iPhone 15PM, iPhone 16+, Nothing Phone 1
ขออภัย ลืมใส่ในบทความครับ มาพร้อม Windows 10 Single Language ครับ
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
ขอบคุณครับ สงสัยอยู่ว่า Notebook ระดับราคานี้ เขาหวังผู้ใช้ตามบ้านจำนวนมากๆ หรือถึงให้แค่ Windows 10 SL หรือ Windows 10 Home อย่างของ Dell XPS ก็เป็น Windows 10 Home, HP Spectre ก็ Windows 10 Home
ถ้าจะใช้ Windows 10 Pro เอาแบบหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด ตอนนี้เห็นจะมีแต่ ThinkPad
oxygen2.me, panithi's blog
Device: HP Zbook, iPad Pro, iPhone 15PM, iPhone 16+, Nothing Phone 1
ใช้ UX320L อยู่ ดีอย่างเดียวคือบาง ราคานั้นไปซื้อ Thinkpad ดีกว่า H/W ไม่เสถียรเลย ซื้อมา 2 เครื่องผลัดกันเข้า0 ทั้งปี ตึกชำนาญ อะไรสักอย่างตรงพระราม9 อะไหล่รอนาน การจัดการงานบริการห่วยมาก ระบบงานกาก บางทีรอ 4 เดือน โทรติดตามบ่อยๆ จะโดน พนง.แกล้ง
แจ้งว่าเสร็จแล้ว มารับได้
ไปถึง พนง.ที่0จะงง แจ้งตอนไหน?
เอาเบอร์ที่โทรมาแจ้ง ให้ดู พนง.บอกว่า มีคนโดนแบบนี้หลายคน WTF
ลองเอาเบอร์ไปหาในพันทิพ ก็มีคนโดนแกล้งเหมือนผมจริงๆ
+1 เรื่อง ThinkPad เท่าที่จำความได้ ใช้มาไม่เคยเจอเสียคามือสักเครื่อง จะเปลี่ยนก็เพราะ Hardware มันตกรุ่นไปมากซะมากกว่า ทนไม่ต่างจาก Macbook
ส่วนตัวอื่น Dell XPS ที่ใช้อยู่ซ่อมไป 4 ครั้ง จนตอนนี้หมดประกันแล้ว แต่ใช้ได้ปกติ, Sony VAIO Pro ซ่อมไป 2 ครั้ง ตอนนี้พัดลมเสีย แบตเสื่อม, Lenovo IdeaPad 710s ซ่อม 3 ครั้ง ซ่อมแต่ละทีนานมาก จนยกให้ลูกน้องไปใช้แล้ว
oxygen2.me, panithi's blog
Device: HP Zbook, iPad Pro, iPhone 15PM, iPhone 16+, Nothing Phone 1
พนักงานศุนย์ ASUS แกล้งเองเลยหรอครับ โหดมาก ทำกับลูกค้าแบบนี้ไงเนี่ย
ผมใช้ UX303LN (ตัว Gen5) น่าจะสองปีละ
- ในกล่องแถมซอง (แบบในรูป) USB3.0 LAN + MiniDP to VGA
- USB Type-A 3ช่อง แต่ 3.0 ทุกพอร์ตนะ ทั้งซ้ายและขวา แปลกใจเหมือนกันที่ตัวนี้มี 2.0 โผล่มาด้วย
- แถม Win8 License มาด้วย (แต่ใช้ ArchLinux อย่างเดียวตั้งแต่ซื้อมา)
- Adpater อันธตพาลมาก กินที่สุดๆ เป็นจุดที่ควรปรับปรุงแต่ก็ไม่เปลี่ยนซักที
- ไม่เคยเข้าศูนย์ เครื่องไม่มีปัญหาตลอดที่ใช้มา
ตัวนี้ไม่มี DP Port มาด้วย ไม่รู้ Mini HDMI เป็น 2.0 รึเปล่า อาจจะต่อจอ4Kได้แค่30Hz
ทำไม power input ยังไม่ปรับเป็น USB-C ซักที
ลงแอพ AccuBattery ในแอนดรอยด์แล้วน่าจะดูอัตราการปล่อยไฟชาร์จของ USB-C ได้นะครับ อยากรู้เหมือนกัน
โน้ตบุ๊กปลายปี 2017 ยังมากับ 940MX อีกเหรอเนี่ย
โดนสเปก แพ้ Acer Swief 3 อยู่พอสมควรเลย เพราะเจ้านั้นได้ SSD เป็น PCI EX (read 1000 ++ Write 600++)
และ ได้ GPU เป็น MX150 แล้ว .... จริงๆๆราคาแพงกว่าเขา 34900 VS 41900 ห่างกันตั่ง 7000 ก็น่าจะให้สเปกไม่แพ้เขานะ
ใจผมยังเทไปทาง UX410UQ นะ หนักกว่านิดนึง ประมาณ 1.5 kg. แต่มันเติม Ram กับเติม SSD ได้
มันอัด Ram ได้ 20-24GB แล้วก็มีทั้ง SATA กับ NVMe ใส่พร้อมกันได้
USB 2.0 ยังมีประโยชน์บางอย่างอยู่มั้งครับ เคยเจอปัญหาเรื่อง Compatibility กับ USB 3.0 ตอนลง OS เล่นเอาหัวเสียพอสมควรเลย เสียเวลากับการลองเปลี่ยนตัวทำ USB installer อยู่ตั้งนาน ที่ไหนได้ ปัญหาเกิดจากดันไปเสียบช่อง USB 3.0 ปั๊ดโท่! เสียบ USB 2.0 แล้วบูทเข้า USB installer ลง OS ได้ปกติ มันใช่เรื่องมั้ยนี่ ถ้าไม่มี ช่อง USB 2.0 ก็คงยังเสียเวลางมหาสาเหตุต่อไป โชคยังดีนึกขึ้นได้เคยอ่านเจอเกี่ยวกับเรื่อง Compatibility ใน USB 3.0 เลยลองเปลี่ยนมาเสียบช่อง 2.0 ดู ขนาดนี้ยังเสียเวลาไปเป็นชั่วโมงกว่าจะนึกได้
ปล. Flash drive คือ Sandisk Ultra Fit USB 3.0 ส่วนเมนบอร์ด คือ 1151 DDR4 (ASUS H110 ถ้าจำไม่ผิด)
ยังไม่พูดถึงการใช้งานในระบบปฏิบัติการด้านความปลอดภัยขั้นสูง ซึ่งไม่รู้ว่า USB 3.0 จะสร้างปัญหาอะไรหรือเปล่า เพราะส่วนตัวเคยใช้แต่กับคอมรุ่นเก่าๆ สมัยยังไม่มี USB 3.0 - ที่คิดว่ามันอาจจะสร้างปัญหาเพราะ OS แบบ Compartmentalization พวกนี้มันต้องมีการเข้าไปยุ่งกับการกำหนดและควบคุมการใช้งาน USB เอง
เคยเป็นกับบอร์ดเก่าๆเหมือนกันครับ แต่บอร์ดใหม่ๆที่เป็น USB3.0 ล้วน ไม่เป็นละครับ
ปล.เทสบน Flash Drive รุ่นเดียวกันทั้งสองบอร์ด
เคยเป็นกับ H87 Z97 เหมือนกันครับ แต่ผมเข้าใจว่า Laptop รุ่นหลังๆไม่น่าเจอแล้วนะครับ
เจอเหมือนกันครับ หาทางจนหัวแทบแตก เล่นไป4-5ช.ม. พอรู้แล้วก็เสร็จใน 30นาที