Tags:
Node Thumbnail

เมื่อวันพุธที่ผ่านมาในการประชุม Huawei Connect 2017 วันที่ 2 มีการพูดถึงกรณีตัวอย่างในการใช้งานจริงที่ใช้โซลูชั่นของบริษัท รวมถึงบริการและสินค้าใหม่ๆ ที่บริษัทได้เปิดตัวในงานนี้ด้วย

หมายเหตุ ผมเดินทางมาเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว โดยคำเชิญของทาง Huawei ครับ

เวทีเริ่มต้นด้วย David Wang ประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นของ Huawei กล่าวถึงผลการใช้งาน (implementation) โซลูชั่นและบริการของ Huawei ใน 4 ตลาดสำคัญ เริ่มต้นจากอุตสาหกรรมจำหน่ายสินค้า (retail) ที่ Huawei มองว่ายังคงมีความจำเป็น โดยจะมีทั้งโซลูชั่นการซื้อขายของผ่าน AR/VR, การใช้ IoT เข้ามาช่วยในเรื่องของการดำเนินการ, การแนะนำสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการซื้อผ่านการใช้ Analytics โดยยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของเทคโนโลยี Wi-Fi

No Description

No Description

โอกาสนี้บริษัทแถลงเปิดตัว X-Gen Wi-Fi ซึ่งเป็นโซลูชั่นใหม่ บริษัทระบุว่าได้ความเร็วเพิ่มขึ้น 3 เท่า (สูงสุด 9.6 Gbps), รองรับผู้ใช้ได้มากขึ้น 4 เท่า (เป็น 400 คน ต่อ 1 AP), และลดค่าใช้จ่ายลง 50% ทำให้รองรับประสบการณ์ใหม่ๆ อย่างเช่น VR/AR ในอนาคต

No Description

จากนั้นจึงข้ามมายังตลาดภาคการศึกษา ด้วยโซลูชั่น CloudCampus ที่นำเอาเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะ Agile Controller ที่มาควบคุมระบบ SDN ขององค์กรเข้ามาใช้งานเป็นแกนหลัก

No Description

กรณีศึกษามาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังในการเปลี่ยนระบบเครือข่ายภายในมหาวิทยาลัยโดยใช้เทคโนโลยีจากทางบริษัท ซึ่งมี ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีของสถาบันขึ้นกล่าว

No Description

ดร.สุชัชวีร์ เริ่มต้นจากการชี้ให้เห็นถึงนโยบายหลักของรัฐบาลว่าด้วยเรื่อง Thailand 4.0 จากนั้นจึงเริ่มพูดถึงความสำคัญของมหาวิทยาลัยในฐานะฐานของเศรษฐกิจสมัยใหม่ และพูดถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานของมหาวิทยาลัยในอนาคต โดยทาง สจล. ใช้เทคโนโลยีของ Huawei เพราะไม่ได้เปลี่ยนแปลงมานาน ทำให้เปลี่ยนผ่านระบบเครือข่ายทั้งหมดได้ กลายเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่ระบบเครือข่ายแกนหลัก (core network) ทำความเร็วได้สูงสุด 100 Gbps, SDN ทั้งเครือข่ายและศูนย์ข้อมูลที่แรกของไทย, ระบบศูนย์ข้อมูลใน container, สร้าง Wi-Fi ครอบคลุมมหาวิทยาลัย และร่วมมือกับทาง Huawei ในการสร้างศูนย์การเรียนรู้ ทั้งหมดทำให้การเรียนการสอนดีขึ้น และเป็นการวางรากฐานในอนาคตให้กับมหาวิทยาลัย

No Description

No Description

No Description

No Description

จากนั้นจึงเป็นกลุ่มของ EC-IoT (Edge Computing IoT) ที่ Huawei เป็นหนึ่งในสมาชิกของ Edge Computing Consortium และร่วมมือกับ Schindler Group ในการสร้างแพลตฟอร์มที่เรียกว่า Schindler Ahead อันเป็นแพลตฟอร์มสำหรับจัดการอุปกรณ์สาย IoT ไม่ว่าจะเป็นลิฟท์หรือบันไดเลื่อนต่างๆ

No Description

No Description

No Description

No Description

ปิดท้ายในช่วงแรกด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบ eLTE ภายในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่ง Huawei ร่วมมือกับ ABB ในการเป็นพันธมิตรและพัฒนาโซลูชั่นร่วมกัน ก่อนจะเปิดตัว SD-WAN (Software Defined WAN) สำหรับใช้งานในองค์กร

No Description

No Description

No Description

No Description

No Description

จากนั้นเป็นคิวของ Joy Huang รองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์ไอทีของบริษัท โดยกล่าวถึงบริการและคุณสมบัติใหม่ๆ ของ Huawei Cloud ในปัจจุบัน จากนั้นจึงแถลงเปิดตัว Atlas แพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์สำหรับคลาวด์โดยเฉพาะ ซึ่งบริษัททำงานร่วมกับ Nvidia ในการปรับแต่งให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

No Description

No Description

No Description

ของใหม่อีกอันคือ App Builder บริการสร้างแอพบน Huawei Cloud ที่ใช้งานได้ง่าย เพียงแค่ลากแล้วปรับแต่งให้เชื่อมกันก็สามารถรันได้ทันที

No Description

ในช่วงถามตอบ ผมมีโอกาสสอบถามว่าความร่วมมือระหว่าง Huawei กับทาง สจล. จะเป็นอย่างไรบ้าง ดร.สุชัชวีร์ อธิบายว่านี่เป็นแค่เริ่มต้น ตนนี้กำลังจะสร้างสถาบัน (academy) ร่วมกัน เพื่อผลิตและสร้างเทคโนโลยีร่วมกันในอนาคตครับ

No Description

Get latest news from Blognone