Together.AI ผู้ให้บริการคลาวด์ปัญญาประดิษฐ์เปิดบริการปรับแต่งโมเดล (finetune) แบบ LoRA เต็มรูปแบบ โดยทั้งการฝึกโมเดลและการรันโมเดลที่ปรับแต่งมาแล้ว
บริการ Severless LoRA สามารถใช้ adapter ที่ปรับแต่งมาแล้วจากที่อื่นได้ โดยคิดค่ารันตามโทเค็นเท่ากับโมเดลหลักเท่านั้น และสามารถใช้งานได้กับทุกโมเดลที่ทาง Together.AI ให้บริการแบบ serverless อยู่ เช่น Llama และ Qwen
ส่วนการทำ finetune บน Together.AI ก็สามารถอัพโหลดชุดข้อมูลขึ้นไปฝึกแบบ LoRA ได้ โดยคิดค่าบริการตามขนาดข้อมูลและจำนวนรอบการฝึก หลักฝึกฝึกเสร็จแล้ว โมเดลจะนำไปรันได้ทันทีหรือจะดาวน์โหลด adapter ไปใช้งานที่อื่นก็ได้เช่นกัน
Prisma บริษัทสร้างเครื่องมือ PostgreSQL ที่มีตัวสำคัญคือ Prisma ORM ประกาศเปิดบริการคลาวด์ PostgreSQL ของตัวเองในชื่อ Prisma Postgres ที่มีฟีเจอร์สำคัญคือคิดราคาตามจำนวนครั้งที่คิวรี และปริมาณข้อมูลที่เก็บอยู่บนดิสก์เท่านั้น แถมระยะเวลารอคิวรีหากเป็นงานที่การใช้งานต่ำๆ ยังคงทำงานได้เร็วไม่ต้องรอ cold start
David Heinemeier Hansson (@dhh) รายงานผลการย้ายบริการทั้งหมดของบริษัท 37signals ออกจากคลาวด์ พบว่าตอนนี้ค่าใช้จ่ายคลาวด์ลดลงจาก 3.2 ล้านดอลลาร์ต่อปีเหลือ 1.3 ล้านดอลลาร์ต่อปีเท่านั้น เพราะเหลือสตอเรจ 10PB ที่อยู่ใน AWS S3
สาเหตุที่บริษัทตัดสินใจย้ายสตอเรจออกทีหลังเพราะติดสัญญา 4 ปีกับ AWS และจะหมดสัญญาในปีหน้า หลังจากนั้นเตรียมจะใช้ Pure Storage แบบ dual-DC ขนาด 18PB มาแทน โดยค่าอุปกรณ์น่าจะพอๆ กับค่าคลาวด์ทั้งปี คาดว่าอายุการใช้งาน 5 ปีจะประหยัดไป 4 ล้านดอลลาร์ โดยปีนี้ AWS ประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียมขนข้อมูลออกในกรณีที่ลูกค้าจะย้ายออก ทำให้ไม่เสียค่าขนถ่ายข้อมูลอีกด้วย
Cerebras บริษัทชิปปัญญาประดิษฐ์ เปิดบริการ Cerebras Inference รันโมเดล Llama 3.1 ที่ความเร็วสูง โดยสามารถรัน Llama 3.1 70B ที่ 450 token/s ขณะที่ Llama 3.1 8B ได้ถึง 1,800 token ต่อวินาที นับว่าเป็นบริการที่ความเร็วสูงที่สุดในโลกในตอนนี้ จากเดิมที่ Groq ทำได้ที่ 750 token/s
จุดขายของ Cerebras คือชิป Wafer Scale Engine ที่ใส่ SRAM ความเร็วสูง 44GB อยู่บนตัวชิป เชื่อมต่อกับหน่วยประมวลผลที่แบนวิดท์รวมสูงถึง 21 Petabytes/s เทียบกับชิป NVIDIA H100 ที่แม้แบนวิดท์จะสูงแล้วแต่ก็ได้เพียง 3.3 Terabytes/s แนวทางนี้มีความจำเป็นสำหรับการรันโมเดลให้มีความเร็วเนื่องจากข้อมูลแต่ละ token จะต้องผ่านโมเดลทั้งหมด เช่นโมเดล 70B การรันโมเดลให้ได้ 1000 token/s จะต้องการแบนวิดท์ถึง 140 Terabytes/s
นักวิจัยจาก Loughborough University พบว่า ข้อมูลส่วนมากบนคลาวด์จัดเป็น Dark data คือถูกใช้ครั้งเดียว แล้วถูกลืมไว้ใน Data center กินพลังงานไปเรื่อย ๆ โดย The Guardian บอกว่าอีเมลและมีมที่เราส่งให้คนอื่นอาจจัดอยู่ในข้อมูลแบบนั้นเช่นกัน
งานวิจัยพบว่า ข้อมูลที่ใช้กันในบริษัทกว่า 2 ใน 3 (68%) จะไม่ถูกนำกลับมาใช้อีก และการใช้งานข้อมูลก็มีทิศทางคล้ายกันในการใช้งานส่วนบุคคล
G-Able นำเสนอ HPE GreenLake Data Protection Services โซลูชันปกป้องข้อมูลครบวงจร ตอบโจทย์ยุค Hybrid Cloud ปกป้องข้อมูลของคุณอย่างไร้ขีดจำกัด ยืดหยุ่น สะดวก ใช้งานง่าย กู้คืนข้อมูลรวดเร็ว ป้องกันแรนซัมแวร์ ปรับใช้และควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จะเลือกใช้ระบบคลาวด์อย่างไรให้คุ้มค่าที่สุดสำหรับองค์กรธุรกิจยุคดิจิทัล?
นี่คือคำถามสำคัญในช่วงที่องค์กรแข่งขันกันเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถสู้กับคู่แข่งได้ ยิ่งมีผู้ให้บริการคลาวด์ (Cloud Provider) ทั้งในไทยและต่างประเทศให้เลือกแบบนี้ การตัดสินใจเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด จึงไม่ใช่เรื่องง่าย
InfluxDB ผู้พัฒนาฐานข้อมูลแบบ time-series และให้บริการฐานข้อมูลบนคลาวด์ประกาศปิดบริการบนศูนย์ข้อมูล AWS europe-west1 และ GCP ap-southeast-2 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และเมื่อคืนที่ผ่านมาก็ปิดบริการไปจริงๆ แต่ลูกค้าบางส่วนไม่ได้อ่านอีเมล และพบว่าไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้แล้ว
Paul Dix CTO ของ InfluxDB ออกมาระบุว่าบริษัทได้ติดต่อลูกค้าผ่านอีเมลเพื่อแจ้งการปิดศูนย์ข้อมูลล่วงหน้าแล้วสามรอบ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และหากลูกค้ายังไม่ได้ย้ายออกจากศูนย์ข้อมูลที่ถูกปิดไปก็ขอให้อีเมลหาเขาโดยตรง
Vercel ผู้พัฒนาเฟรมเวิร์ค NextJS แต่ก็มีบริการคลาวด์ของตัวเองด้วย ประกาศให้บริการสตอเรจด้วยตัวเอง แม้เบื้องหลังจะเป็นการใช้บริการของบริษัทอื่นอีกที โดยให้บริการ 3 รูปแบบสำคัญ ได้แก่ ฐานข้อมูล SQL, key-value, และสตอเรจเก็บไฟล์
Ofcom หรือกสทช. สหราชอาณาจักรประกาศผลการศึกษาตลาดคลาวด์ในประเทศ ที่ครองตลาดโดย AWS และ Azure โดยมี Google Cloud ตามมาห่าง และพบว่ามีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้ตลาดไม่สามารถแข่งขันกันได้เต็มที่ โดยระบุถึงพฤติกรรมของผู้ให้บริการคลาวด์ 3 ประการ ได้แก่
Farah Schüller จาก Basecamp เขียนรายงานถึงการย้ายแอปพลิเคชั่น 3 ตัวในบริษัทออกจากคลาวด์ ตามแนวทางที่ David Heinemeier Hansson (@dhh) ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทประกาศไว้ก่อนหน้านี้ โดยนอกจากการเลิกใช้คลาวด์แล้ว Basecamp ยังเลิกใช้ Kubernetes ไปด้วยพร้อมกัน
Schüller ระบุว่าแม้โครงสร้างแอปพลิเคชั่นที่รันใน Kubernetes จะไม่ได้ซับซ้อนมากแต่ในความเป็นจริงแล้ว Kubernetes มีส่วนประกอบที่มาพร้อมกันหลายชิ้น เช่น DNS, Ingress, ระบบสตอเรจ, ระบบเน็ตเวิร์คของตัวเอง และอื่นๆ อีกจำนวนมาก ตอนแรกในการย้ายก็มีแผนที่จะติดตั้ง Kubernetes ในองค์กรเองแต่สุดท้ายก็ตัดสินใจตัด Kubernetes ออกไปด้วยเลยพร้อมๆ กัน
ไมโครซอฟท์ออกรายงานฉบับเต็มถึงเหตุการณ์ศูนย์ข้อมูลในสิงคโปร์ล่ม จนทำให้บริการจำนวนหนึ่งใช้งานไม่ได้เป็นเวลานานประมาณหนึ่งวันเต็ม โดยต้นตอของปัญหาเกิดจากเหตุไฟตก (power dip) จนทำให้ระบบทำความเย็นทำงานไม่เต็มที่ สร้างปัญญาต่อๆ มาอย่างต่อเนื่อง
Akamai เปิดตัว Akamai Connected Cloud บริการคลาวด์เต็มรูปแบบที่ได้มาจากการซื้อ Linode เมื่อปีที่แล้ว โดยฝั่ง Akamai ที่มีลูกค้าองค์กรเยอะกว่าก็หันไปเปิดศูนย์ข้อมูลใหม่ที่ให้บริการระดับองค์กรมากขึ้น และศูนย์ข้อมูลก็ได้รับการรับรองมาตรฐานสำคัญ ทั้ง ISO, SOC II, และ HIPAA
สำหรับลูกค้า Linode เดิม ทาง Linode ประกาศว่าจะเริ่มเห็นสินค้าเปลี่ยนแบรนด์กลายเป็น Akamai ไปเรื่อยๆ และการใช้งานบริการ Akamai จะง่ายขึ้นกว่าเดิม แต่ทาง Linode ยังคงคงช่องทางการสื่อสารกับชุมชนผู้ใช้ไว้เหมือนเดิม และยังไม่มีการปรับราคาค่าบริการสินค้าเดิม
AWS เปิดตัว AWS Modular Data Center (AWS MDC) ศูนย์ข้อมูลสำเร็จรูปสำหรับรันระบบงานขนาดใหญ่ในพื้นที่ที่การเชื่อมต่อมีจำกัดหรือไม่มีการเชื่อมต่อกับโลกภายนอกเลย (Disconnected, Disrupted, Intermittent, or Limited - DDIL) แต่ยังต้องการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ระดับเพตาไบต์ เช่นการตั้งศูนย์บัญชาการรบ
AWS MDC เป็นตู้ที่ออกแบบเป็นศูนย์ข้อมูลแบบ high-availability มีทั้งระบบเน็ตเวิร์ค, ระบบทำความเย็น, และระบบจ่ายพลังงานในตัว ต้องการพลังงานจากภายนอกเท่านั้น ตัวตู้เป็นคอนเทนเนอร์มาตรฐาน ทำให้ขนย้ายด้วยเรือ, รถไฟ, หรือแม้แต่เครื่องบินทางการทหารก็ได้
ช่วงเหตุการณ์แพร่ระบาดโรค COVID-19 ตั้งแต่ต้นปี 2020 เป็นต้นมา นับเป็นจุดเปลี่ยนที่เกือบทุกอุตสาหกรรมต้องปรับตัว ในการนำเทคโนโลยีเข้ามาเสริมการให้บริการอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน การให้บริการรูปแบบออนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติของแทบทุกอุตสาหกรรม บริการใหม่ๆ จำนวนมากก็สร้างบนพื้นฐานของบริการคลาวด์กันเป็นมาตรฐาน แต่ทุกวันนี้การใช้งานคลาวด์ของไทยในมุมมองของ มร.ชาง ฟู ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จํากัด ผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ที่มีศูนย์ข้อมูลในไทยถึงสองแห่ง เป็นอย่างไร และอุตสาหกรรมไทยมีโอกาสใช้ศักยภาพของคลาวด์เพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ เพิ่มเติมอีกหรือไม่ วันนี้ Blognone ก็ได้มาพูดคุยกับ มร.ชาง ฟู อีกครั้ง
ทีมวิจัยความปลอดภัยของ Wiz ผู้ให้บริการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ทดสอบความปลอดภัยของบริการฐานข้อมูลแบบ SQL บนคลาวด์โดยเจาะเฉพาะบริการ PostgreSQL ที่ได้รับความนิยมสูง โดยการออกแบบของ PostgreSQL นั้นไม่ได้คำนึงถึงการใช้งานพร้อมกันหลายองค์กร (multi-tenant) ผู้ให้บริการคลาวด์ต้องหาทางจัดการแยกข้อมูลออกจากกัน พร้อมกับจำกัดสิทธิ์ของลูกค้าไม่ให้เข้ามายุ่งกับระบบเกินความจำเป็น แม้บัญชีของลูกค้าจะมีสิทธิ์ผู้ดูแลฐานข้อมูลเต็มรูปแบบก็ตาม
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา AWS มีปัญหาโดยเริ่มต้นจากโซน Northern Virginia หรือ US-EAST-1 ในวันที่ 7 ธันวาคม (เป็นช่วงรอยต่อระหว่างคืนวันที่ 7-8 ธันวาคมตามเวลาประเทศไทย) และวันนี้ Amazon ก็ได้ออกแถลงการณ์อย่างละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว
AWS เล่าแบคกราวน์ว่า เซอร์วิสส่วนใหญ่ของ AWS และเวิร์คโหลดของลูกค้าทั้งหมดจะรันบนเครือข่ายหลักของ AWS (main AWS network) แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ AWS ใช้เครือข่ายภายใน (internal network) เช่น ระบบ DNS ภายใน, ระบบมอนิเตอร์, ระบบควบคุมสิทธิ์ และ control plane บางส่วนของ EC2 ซึ่ง AWS ก็มีการสเกลเครือข่ายเหล่านี้ไปทั่วโลกเพื่อทำให้เซอร์วิสเหล่านี้มี HA มากพอ
ออราเคิลเปิดศูนย์ข้อมูลคลาวด์ในสิงคโปร์เป็นทางการ หลังจากก่อนหน้านี้ขาดศูนย์ข้อมูลในภูมิภาคอาเซียนมาโดยตลอด โดยรายการบริการนั้นยังไม่ครบนักเทียบกับศูนย์ข้อมูลอื่นๆ แต่บริการหลักๆ เช่น บริการฐานข้อมูล (Oracle Autonomous Database), บริการเซิร์ฟเวอร์, สตอเรจ (ยกเว้นแบบเก็บข้อมูลระยะยาว), และ Kubernetes ก็มาครบถ้วน
ช่วงเปิดตัวนี้ออราเคิลทำแคมเปญในสิงคโปร์แยกเครดิต 1 ล้านบาท (30,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ให้กับบริษัทสตาร์ตอัพใช้งานได้ในช่วงเวลา 2 ปี จำนวน 100 บริษัท
ที่มา - Strait Times
ช่วงนี้วงการอีมูเลเตอร์แอนดรอยด์บน PC กำลังรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ขาใหญ่ของตลาดอย่าง BlueStacks ที่เพิ่งปล่อยเวอร์ชัน 5.3 ที่ใช้แอนดรอยด์ 7 (Nougat) เป็นพื้นฐาน และเวอร์ชัน 64 บิตที่ใช้แอนดรอยด์ 9 (Pie) วันนี้ออกมาประกาศเปิดตัว BlueStacks X อีมูเลเตอร์รุ่นใหม่ที่ยกแอนดรอยด์ขึ้นไปรันบนคลาวด์เป็นครั้งแรก
BlueStacks บอกว่า BlueStacks X ตั้งเป้าจะให้ทุกอุปกรณ์สามารถเข้าถึงการเล่นเกมแอนดรอยด์ผ่านคลาวด์ได้ในอนาคต โดยในขณะนี้ยังเปิดให้ใช้งานผ่านเว็บแอปฯ และแอปฯ บนวินโดวส์ 10/11 ในเวอร์ชันเบต้าไปก่อน ในช่วงแรกจะมีเกมให้เลือกเล่นประมาณ 200 กว่ารายการ และจะทยอยเพิ่มขึ้นในภายหลัง
ในปัจจุบันบริการคลาวด์มีการแข่งขันที่สูงขึ้น เนื่องจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลกต่างปรับตัวเพื่อทรานส์ฟอร์มองค์กรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยหยุดนิ่งในยุคดิจิทัล เฟิร์ส เราจึงเห็นผู้ให้บริการคลาวด์ระดับยักษ์ใหญ่หลายรายเริ่มขยายพื้นที่ให้บริการครอบคลุมทุกภาคพื้นเศรษฐกิจ รวมถึงนำเสนอโซลูชันที่ตอบความต้องการเฉพาะของแต่ละท้องถิ่นได้อย่างครบวงจร
โปรโมชัน Flash Sale: ประหยัดถึง 98% สำหรับผลิตภัณฑ์คลาวด์ที่เลือกในราคาเพียง 0.9 USD ต่อรายการ
สำหรับลูกค้าใหม่ของ HUAWEI CLOUD มีโปรโมชัน Thrive with Cloud แบบจำกัดจำนวนที่มีข้อเสนอที่ยอดเยี่ยม 4 ข้อ
เลือกจาก:
หัวเว่ยจัดงานแถลงข่าวประจำปี ยืนยันถึงแนวทางลงทุนในประเทศไทยต่อเนื่องไปพร้อมๆ กับความช่วยเหลือทั้งด้านการศึกษาและการสนับสนุนเทคโนโลยีสำหรับการใช้งานทางการแพทย์ในช่วง COVID-19 โดยการลงทุนในไทยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ เทคโนโลยี 5G, ศูนย์ข้อมูลและคลาวด์, พลังงานดิจิทัล, และการพัฒนาทักษะดิจิทัล
Matthew Prince ซีอีโอ Cloudflare และ Nitin Rao รองประธานอาวุโส เขียนบล็อกวิจารณ์ถึงนโยบายราคาแบนด์วิดท์แบบ egress ของ AWS ว่าเป็นช่องทางทำกำไรใหญ่ และ AWS บวกกำไรนับสิบเท่าตัวจากต้นทุนโดยไม่ยอมลดราคาตามต้นทุนที่ลดไปเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป
บทความระบุว่าต้นทุนของผู้ให้บริการรายใหญ่นั้นมักซื้อแบนด์วิดท์กันเป็นความเร็ว ไม่ใช่ปริมาณข้อมูล แต่ AWS คิดค่าบริการจากลูกค้าตามปริมาณข้อมูลที่ส่งไปตามโซนต่างๆ โดยทั่วไปแล้วผู้ให้บริการรายใหญ่นั้นใช้แบนด์วิดท์ประมาณ 20-40% โดยเฉลี่ย และหากคำนวณราคาที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ๆ ซื้อแบนด์วิดท์และคิดอัตราการใช้งานที่ 20% ราคาที่ AWS คิดลูกค้าก็ยังแพงกว่าต้นทุน 3.5 เท่า ไปจนถึง 80 เท่าตัว โดยโซนที่ AWS เพิ่งเปิดไม่นานก็มักจะบวกราคาน้อยกว่า
ในงานประชุมออนไลน์ AWS Summit Online ASEAN Media Briefing: Next Generation Technologies เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา Dean Samuels, Chief Technologist ประจำ ASEAN และ Shweta Jain หัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจฝั่งมีเดียและสื่อบันเทิงประจำ APAC ของ AWS ให้ข้อมูลถึงเทคโนโลยีสตรีมมิ่งในปัจจุบัน และอนาคตของวิดีโอสตรีมมิ่ง
AWS พูดถึงการที่ทั้ง Netflix และ Disney+ รวมถึง Disney+ Hotstar ที่เตรียมเปิดตัวในบ้านเรา ใช้ระบบ AWS เป็นระบบหลังบ้าน เพื่อจัดการข้อมูลไฟล์วิดีโอสตรีมมิ่ง ลดการดีเลย์ของการถ่ายทอดกีฬาสด วิเคราะห์คอนเทนต์ ระบบฐานข้อมูล รวมไปถึงการใช้ระบบ AI / machine learning ชื่อ Amazon Rekognition ของ AWS เพื่อช่วยในการตรวจสอบจัดการคอนเทนต์
AIS Business ผู้นำโซลูชัน ICT แก่กลุ่มองค์กร จัดงาน AIS Business Digital Future 2021 สัมมนาใหญ่ออนไลน์ประจำปี ภายใต้คอนเซปต์ Your Trusted Smart Digital Partner อัพเดตเทรนด์เทคโนโลยีสำคัญ เพื่อการปรับตัวสู่ดิจิทัลเต็มรูปแบบ
ภายในงานสัมมนา มีพาร์ทเนอร์สำคัญหลายรายมาร่วมแบ่งปันกรณีศึกษา ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, National Digital ID (NDID), Microsoft Thailand, SC Asset Corporation, Toyota Motor Thailand, Palo Alto, VMware, BOSCH, ธนาคารเกียรตินาคินภัทร, SCN, datafarm, Gorilla และ Opsta อัดแน่นด้วยองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางดิจิทัลแห่งปี 2021 สำหรับทุกภาคอุตสาหกรรม ครอบคลุมทุกหัวข้อที่ธุรกิจและองค์กรควรรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี พร้อมด้วยลูกค้าจากองค์กรชั้นนำในประเทศเข้าร่วมงานกว่า 2,000 คน