กรมสรรพากรออกมาแจงรายละเอียดที่มีการแชร์ข่าวจะเรียกคืนภาษีย้อนหลังโดยคำนวณจากรายรับรายจ่ายผ่านบัญชีพร้อมเพย์ว่าที่แชร์กันผ่าน LINE มีข้อความว่า "หากท่านมียอดเงินเข้าออกในบัญชีต่อวันเกิน 10 ครั้ง มียอดเงินหมุนเวียนเกิน 3,000 บาท หรือมีธุรกรรมอื่นๆ ที่มีการเคลื่อนไหวทางบัญชีเดือนละมากกว่า 50,000 บาท ห้ามใช้พร้อมเพย์เด็ดขาดเนื่องจากจะถูกตรวจสอบการชำระภาษี และจะถูกเรียกคืนภาษีย้อนหลังจากการคำนวณรายรับจ่ายจากบัญชีทันที"
กรมสรรพากรแจงผ่าน Facebook ว่าไม่เป็นความจริง และชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้
- ข้อความข้างต้นดังกล่าวไม่เป็นความจริง การใช้พร้อมเพย์ไม่มีความสัมพันธ์กับการตรวจสอบภาษีหรือการเรียกคืนภาษีย้อนหลังของกรมสรรพากรแต่อย่างใด
- การใช้พร้อมเพย์เป็นช่องทางการโอนเงินช่องทางหนึ่งเช่นเดียวกับ การโอนเงินผ่านทาง e-Banking หรือผ่านทางเคาน์เตอร์ธนาคาร ซึ่งข้อมูลดังกล่าวไม่ได้มีการส่งให้แก่กรมสรรพากร
- กรมสรรพากรมีอำนาจออกหมายเรียกให้ธนาคารส่งข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงิน (ไม่ว่าจะทำผ่านช่องทางใดก็ตาม) ให้แก่กรมสรรพากรตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้เสียภาษีรายนั้นยื่นเสียภาษีไม่ถูกต้องเท่านั้น ซึ่งกฎหมายให้ อำนาจไว้อย่างจำกัด และไม่สามารถขอให้ส่งข้อมูลการโอนเงินทั่วไปได้
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
ที่มา - Facebook กรมสรรพากร
Comments
เรียกคืนภาษีย้อนหลัง => เรียกเก็บภาษีย้อนหลัง
มีแต่ข่าวลือโจมตีพร้อมเพย์ ทั้งทั้งที่ การทำงานของพร้อมเพย์แทบไม่ต่างอะไรกับ e-banking หรือ atm เลย แค่เปลี่ยนจากเลขบัญชีเป็นหมายเลขโทรศัพท์เท่านั้น
โดยเฉพาะเรื่องของภาษี ผมไม่เข้าใจจริงๆว่าจะกลัวอะไรกัน
กลัวโดนเก็บภาษีไงครับ ทุกวันนี้พวกหนีภาษีเยอะจนเคยตัว
ภาษีเป็นเรื่องเข้าใจยากมากครับ ผมเองยังงเลย เสียตังไม่ว่าแต่ยืนไปแล้วโดนปรับเพราะยืนไม่ครบนู้นี่นั้น จะกลายเป็นติดคุกอีก มันก็น่ากลัวนะครับอะไรที่ไม่เข้าใจแล้วจะพาเสียตังเข้าคุกได้ง่าย ๆ สำหรับคนที่แค่ทำงานก็หมดวันแล้ว อาจจะต้องเพื่อการเล่นรู้หรือทำให้ภาษีมันง่ายขึ้นข้อกฏหมายน้อยลง หรือตรวจตัวใช้ภาษาชาวบ้าน สรรพากรควรปรับปรุงข้อครับ
โดยเฉพาะคนเว็บนี้
เท่าที่ผมรู้ สรรพากรเองนี่ล่ะครับ เป็นคนตื่นเต้นกับมันมาก และออกมาพูดบ่อยๆ ว่าจะทำให้เก็บภาษีได้มากขึ้น พูดก่อนมันใช้งานได้ด้วยซ้ำ (1, 2) พอพูดก่อนมันออกมาแถมพูดในเชิงว่าอยากบังคับใช้ แล้วโครงการ National e-Payment มันเป็นโครงการร่มของ PromptPay คนก็งงกันไปหมด
ท่าทีตอนคืนภาษีก็เชียร์สุดลิ่มจนน่าเกลียด ราวกับไม่มีพร้อมเพย์แล้วจะไม่ได้คืนกันเลย
กรณีแบบนี้คือการให้ข่าวโดยไม่รอจังหวะ ตัวข่าวเองก็ไม่ครบว่าอะไรเป็นอะไร ท่าทีแสดงความน่าสงสัยอย่างยิ่ง ผมว่าเป็นกรณีศึกษาของการ PR พาให้คนไม่เชื่อใจอย่างครบถ้วน
lewcpe.com, @wasonliw
+10
my blog
+100
ผมก็ไม่มี PrompPay และก็รู้ว่ารัฐฯจะขอดูข้อมูลเมื่อไหร่ก็ได้ (ให้ลำบากรวบรวมขอไปทีละแบงค์) แต่รู้สึกว่าถูกหลอกล่อให้สมัคร (ผมรู้สึกอย่างนั้น)
ไม่ชอบที่ทำให้เกิดความลักลั่นในระบบ คนใช้PP ได้ภาษีคืนทันทีแทบไม่ต้องตรวจสอบข้อมูล-เอกสาร
แต่ยื่นภาษีคืนปกติ ตรวจสอบทุกอย่าง คืนช้ามาก ยังแกมบังคับคืนผ่านPPอีก บอกกลัวเช็คหาย
ทั้งที่ทำก็ทำควบคู่กันไปได้ ทำให้ผู้เสียภาษีสบายใจขึ้น
ยังอยู่อย่างนี้จนทุกอย่างมันดีกว่านี้ค่อยทำ (ตอนนั้นคนทำPPก่อน อาจถูกตรวจสอบหนักกว่าเราก็เป็นได้ 555)
เลยเป็นข้ออ้างทำให้สามารถ spam กระแสให้คนต่อต้าน promptpay ได้เหรอครับ ผมว่ามันไม่ใช่นะ
แล้วที่เขาโฆษณา ออกมาพูดบ่อยๆ ก็เพื่อให้คนรู้หรือเปล่าครับ ว่ามันคืนภาษีง่ายกว่าแบบเดิมเยอะ จะว่าเขาตื่นเต้นก็ไม่แปลก เพราะมันเพิ่งเคยมีครั้งแรก
เขาไม่ได้ "โฆษณา" ครับ เขาบิดเบือนข้อความประชาสัมพันธ์ (ที่ควรจะให้ข้อมูลที่ครบถ้วน) ไม่บอกกระบวนการอย่างชัดเจนทั้งที่เป็นหน่วยงานรัฐ
คนเข้าใจผิดเป็นเรื่องแย่แน่ๆ แต่คนที่ทำตัวชวนให้เข้าใจอย่างนั้นก็มีหน้าที่แก้ไขสิ่งที่ตัวเองทำครับ
lewcpe.com, @wasonliw
งั้นน่าจะเพราะตื่นเต้นที่มีอะไรใหม่ แต่คนพูดยัง งง กับสิ่งที่กำลังพูด เลยน่าจะทำให้เป็นแบบนั้นไป
ตื่นเต้นมากก็ควรไปเต้นอยู่ข้างหลังครับ จะ "ประชาสัมพันธ์" ก็ไปหามืออาชีพมาทำ ผู้บริหารถ้ารู้ตัวว่าไม่มีความสามารถในการสื่อสารก็หาโฆษกมาพูดแทนเสีย ออกจดหมายข่าวให้ครบถ้วนไป
lewcpe.com, @wasonliw
กรมสรรพากรไม่รู้ไปทำท่าไหน ทำให้การเปิดตัวพร้อมเพย์นี่ค่อนข้างด่างพร้อยเอามากๆ
เสียดายของ ถ้าไม่มีเรื่องสรรพากรมาเกี่ยวกับพร้อมเพย์ตั้งแต่แรก ตอนนี้คนใช้คงเยอะไปละ เพราะมันโอนเงินข้ามธนาคารกันฟรี
คนรอบตัวผมยังแทบไม่มีใครใช้พร้อมเพย์กันเลย ไม่สมัครบอกกลัวกัน ซื้อของทางเน็ต ก็ดันไม่มีใครใช้พร้อมเพย์ ยังโอนเงินผ่านธนาคารเสียค่าธรรมเนียมกันเหมือนเดิม ผมว่ารัฐคงต้องมาพิจารณาอะไรบ้างแล้วแหละตรงนี้ ความไว้วางใจเป็นสิ่งที่สำคัญจริงๆ
คือไม่รู้เรื่องที่ว่าพร้อมเพย์มันจะเกี่ยวกับภาษีนั้นในทางปฏิบัตินั้นทำได้จริงหรือเปล่า แต่ที่แน่ๆ คือตอนพร้อมเพย์จะเปิดตัว มีข่าวปล่อยทั้งเป็นทางการและไม่เป๋นทางการเยอะมากว่าระบบนี้จะดึงเงินที่อยู่นอกระบบให้กล้บมาในระบบได้ (โดยเฉพาะพวกแม่ค้า IG) กลายเป็นว่าสุดท้ายประชาชนแทบไม่ใช่กันเลย แม้ธนาคารจะจูงใจให้เข้ามาใช้กันก็ตาม
ก็รัฐคิดให้ แต่ประชาชนไม่ไว้ใจครับ ง่ายๆเลย
จริงๆแล้ว ต่อให้ไม่มี promptpay
ถ้าสรรพากรเอาจริง ก็น่าขอความร่วมมือ/หมายศาล ไปที่ธนาคารได้อยู่ดี
อุปสรรคสำคัญของ cashless society บ้านเราน่าจะเป็นค่าธรรมเนียมรายปีของธนาคารนั่นแหละ ทำให้คนตจว./รายได้น้อยที่เป็นลูกค้าไม่เปิดบัญชีกัน
เวลาซื้อเลยกำเงินสดไปจ่ายร้าน/ที่ธนาคาร ไม่จ่ายผ่าน promptpay
บางที รัฐอาจจะต้องสร้าง/สนับสนุน e-wallet free ให้ ปชช ด้วย?
หรือ ไม่ก็รอ wallet จากค่ายมือถือ พวก true money, mpay แพร่หลาย
แบบเติมเงินมือถืออย่างเดียว เวลาจ่าย promptpay ก็หักจากเงินในมือถือเอา
+1 คือข้อมูลมันถึงมือรัฐอยู่แล้วจะผูกหรือไม่ผูกก็เถอะ - -"
ผมเคยเจอข้าราชการท่านนึงเล่นหุ้นจนได้กำไรเยอะ หลังยื่นแบบไปสี่ห้าเดือนโดนสรรพากรเรียก พอเรียกไปปุ๊บโดนด้นสดพร้อมกับจ่ายเงินเพิ่มอีกหกพัน
คือ..... ผมว่าควรบรรจุหลักวิชาการภาษีเข้าเป็นวิชาพื้นฐานดีกว่า แม้แต่ตัวผมเองก็ไม่รู้ว่าจะโดนรีดอีกไหม
เห็นด้วยมากครับ วิชาหน้าที่พลเมืองอะไรนั่นน่าจะบรรจุเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกๆ เลยนะ
จริงๆ แล้วทำให้เป็น Cashless โดยสมบูรณ์ มันไม่มีค่าธรรมเนียมด้วยซ้ำนะครับ ผมใช้บัตรเครดิตรูดซื้อของ + ใช้ e-wallet จ่ายค่าจิปาถะ + ใช้ promptpay โอนเงินหากัน ถ้าทำได้ตามนี้ไม่เสียค่าธรรมเนียมเลยครับ ที่เสียอยู่ทุกวันนี้คือค่าบัตร ATM ซึ่งเป็นการถอน Cash ออกมาต่างหาก
ถ้าใช้ scb cardless ATM ก็ไม่เสียค่าธรรมเนียมบัตรนะครับ กดเงินได้
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ก็เหมือนคำสัญญาของลุงบางคนอ่ะครับ สักพักพอคนใช้เยอะก็เพื่อประเทศเราจะเปลี่ยนมาเช็คภาษีย้อนหลัง ไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร (กลัวจะถูกหาว่ามีรายได้ไม่สำแดง ซึ่งบางทีก็เป็นเพื่อนใช้หนี้ให้เรา) เช็คย้อนหลังได้ดีซะอีกจะได้จับพวกโกง (แต่ผมว่าย้อนหลังได้นี้โกงกว่าครับ)
กรมสรรพากรมีอำนาจออกหมายเรียกให้ธนาคารส่งข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงิน (ไม่ว่าจะทำผ่านช่องทางใดก็ตาม)
ปกตินะ ถ้าจะดูก็ได้ป่ะ เพราะถือว่าทำหน้าที่ ไแแ้พวกไม่จ่ายนี่ดิผิด
ยกตัวอย่าง E-wallet ที่สำเร็จในจีน อย่าง Wchat หรือ AliPay เขาเปิดตัวด้วยภาพลักษณ์ว่า สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ระบบไหนในโลกถ้าอยากให้คนมาใช้งานก็เน้นไปทางนี้
มีPromtpay นี่แหละ โผล่มาก็มี ลุงนั่นลุงนี่ ดาหน้าออกมาพูดเรื่องเก็บภาษีก่อนเลย ดีใจกันยกใหญ่
กองเชียร์ก็เชียร์เข้าไปสิ โดยไม่ดูสภาพธรรมชาติมนุษย์ว่าไม่มีใครอยากให้รัฐหรือใครก็ตามมาเปิดกระเป๋าเราดูง่ายๆหรอก เวลาไปธนาคาร แค่เวลาพนักงานถามตัวเลขรายได้เฉลี่ยต่อเดือน คุณๆก็เขินแล้วจริงไหม?
ถึงเวลาจริงๆแม้แต่กองเชียร์ก็ไม่เอาด้วย ได้แต่เชียร์
เรื่องนี้แสงดให้เห็นว่า ความรู้เรื่องการประชาสัมพนธ์ การตลาด มีผลกับการบริหารบ้านเมืองในโลกยุคใหม่ แค่จะเที่ยวมาบังคับนู่นบังคับนี่ ใช้วิธีบีบแทนที่จะใช้วิธีจูงใจ ก็เป็นแบบนี้แหละ
อ่ะ ปีภาษีที่แล้ว ผมไม่ใช้เว้ย พร้อมเพย์
แล้วเป็นไง ? สรรพากร ส่งเช็คช้าไม่พอนะ
ไม่ลงทะเบียนด้วย แล้วไปรษณีไทย ส่งแบบนี้
มันการันตีว่าหายแน่ๆ ไง ด่าสิ ด่าจนยับอ่ะ
มีหน้ามาด่าผมอีก ว่าไม่ใช้พร้อมเพย์เอง
งานของฉันคือออกเช็ค ถึงไม่ถึง ไม่ใช่หน้าที่ฉันแล้ว
ไปตามหาที่ไปรษณีเองสิ
โมโหมาก อยากเอาโพเดียมทุ่มหัวรายตัวเลย
ความจริงวันนี้
คนไทยไม่พร้อมจ่ายภาษี มองว่าเป็นเรื่องเสียเปรียบหากต้องจ่ายเงินในส่วนที่หาได้มาเข้ารัฐ
คนไทยมองว่ามันคือสิ่งที่โง่หากไม่ยอมหลบเลี่ยงภาษี และมองว่ามันคือเรื่องธรรมดา และมองว่าโดน
ทำร้ายหากเค้าเก็บย้อนหลัง
รัฐไม่สามารถเปลี่ยนตรรกะความคิดนี้แก่คนได้ในเวลาสั้นๆเพราะมันคือจิตสำนึกสาธารณะ เพราะงั้นรัฐทำได้โดยการ
ตะล่อมทางอ้อม พลาดตรงที่สรรพากรณ์ที่คนเลี่ยงภาษีกลัวอยู่ดันออกตัวแรงไป ทำให้พร้อมเพย์ที่มันจะได้ประโยชน์
มากกว่าเรื่องการจัดเก็บภาษี เป็นสิ่งที่ประชาชนกลัวไป
ภาษีเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวยุ่งยากและเสียเวลาโดยธรรมชาติของมันครับ
ถ้าเราขายข้าวมันไก่ 35 บาท ได้ 100 จาน โดยซื้อข้าวกับไก่มา 1000 แสดงว่าเราได้กำไร 3500 - 1000 = 2500
จ่ายค่าจ้างน้ำไฟ 500 เหลือเงิน 2000 อันนี้ง่าย
พอต้องรวมภาษีปุ๊บ ต้องอัพเกรดเลขจากประถมเป็นมัธยมทันที แค่ถามว่าคิดยังไงคนก็เบื่อแล้วครับ นี่เมนูเดียวร้านเดียวนะ
แล้วหักต้นทุน ได้ไม่หมดนี่สิ ค่าจ้าง 500 แต่ให้หักได้ 250 เห้ย!
พร้อมเพย์ คือสิ่งที่ดีที่สุด
เพราะมันฟรีค่าธรรมเนียมไงละ !!! ...
ตอนนั้นทำไมกรมสรรพากรไม่ชี้แจงให้ชัดเจนแบบนี้นะ?!