FBI เผยตัวเลขอุปกรณ์ที่ไม่สามารถเจาะเข้าไปดูข้อมูลเพื่อการสืบสวนคดี มีจำนวน 6,900 อุปกรณ์ในช่วง 1 ปี ซึ่งมากกว่าครึ่งของอุปกรณ์ทั้งหมดที่ FBI ต้องเข้าไปสืบสวน ถือเป็นการจุดประเด็นระหว่างหน่วยงานสืบสวน กับความเป็นส่วนตัวขึ้นมาอีกครั้งหลังจากคดีก่อการร้ายที่ San Bernardino ในปี 2016
Christopher Wray ผู้อำนวยการ FBI กล่าวในงาน International Association of Chiefs of Police ว่านี่เป็นปัญหาใหญ่ต่อการสืบสวนคดีร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็น ก่อการร้าย ยาเสพติด ค้ามนุษย์ การแสวงหาผลประโยชน์จากเด็ก เราเข้าใจว่ามันต้องมีจุดสมดุลระหว่างการเข้ารหัสเพื่อความเป็นส่วนตัว กับความต้องการรักษาสังคมให้ปลอดภัย
Wray ยังระบุว่าหากสภาคองเกรสไม่อนุญาตให้มีการจัดตั้งกฎหมายเฝ้าระวัง สืบราชการลับขึ้น จุดบอดนี้ก็จะยังคงอยู่ต่อไป กฎหมายเฝ้าระวังฯจะช่วยให้รัฐบาลรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ก่อการร้ายและบุคคลต้องสงสัยได้ซึ่งมีความสำคัญต่อความมั่นคงของชาติ
ภาพจาก Pixabay
ที่มา - AP
Comments
intelligence surveillance >> เฝ้าระวังอัจฉริยะ
intelligence ในที่นี้น่าจะแปลว่าข่าวกรองรึเปล่าครับ ?
ก็น่าจะแปลว่าการสืบราชการลับนั่นแหละครับ
ถ้าจำไม่ผิดกฎหมายเขาให้ดักฟังโทรศัพท์ได้ แต่ดูเหมือนยังไม่มีกฏหมายให้ให้ดักข้อมูล internet กับโทรศัพท์มือถือนะครับ ที่ทำกันอยู่ตอนนี้เป็นการขยายอำนาจกันเอาเอง
ใช่ครับ ผมว่าintelligence surveillanceน่าจะแปลแนวๆ การตรวจตรา/เฝ้าระวังทางด้านข่าวกรอง มากกว่าเฝ้าระวังอัจฉริยะนะครับ
ขอบคุณค่ะ
Who watches the watchers?