คงเป็นเรื่องปกติืที่คำว่า "ซื้อเผื่อๆไว้ก่อนเพื่ออนาคต" ผุดขึ้นมาในสมองเมื่อหลายๆคนมองหาคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องที่ประกอบเองโดยการเลือกชิ้นส่วนตามต้องการ ผมไม่ได้ชี้ชัดว่าคำพูดนี้ผิดหรือถูก แต่อยากจะนำเสนอในมุมมองว่า "ซื้อเผื่อๆไว้ก่อนเพื่ออนาคต" นั้นคุ้มค่าจริงหรือไม่ การลงทุนไปกับคอมพิวเตอร์อย่างไรถึงจะคุ้ม อย่างไรก็ตามความคุ้มค่าของแต่ละคนย่อมไม่เท่ากัน
ปัจจุบันเทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จนทำให้รู้สึกว่าระยะเวลาที่เปิดให้ upgrade ระบบนั้นสั้นลงเรื่อยๆ เนื่องจาก interface ของอุปกรณ์ต่างๆเปลี่ยนไปและไม่สามารถร่วมกับของเก่าได้ ยกตัวอย่างเช่น ช่อง PCI-Express และ AGP ที่ไม่สามารถใช้ช่องต่อบนเมนบอร์ดด้วยกันได้ หรือการรองรับหน่วยความจำชนิดใหม่ ช่องต่อฮาร์ดดิสแบบใหม่
ถ้านายดินสอต้องการซื้อคอมพิวเตอร์ซักเครื่อง ขณะที่กำลังเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยี กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงไปใช้หน่วยความจำหลักแบบ DDR3 ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า แต่ด้วยความจำเป็นนายดินสอต้องใช้และรอไม่ได้จึงคิดว่าทำอย่างไรดี ระหว่าง
1.เลือกซื้อเมนบอร์ดที่รองรับทั้ง DDR2 และ DDR3 ที่ราคา 5,000 บาท
2.เลือกซื้อเมนบอร์ดที่รองรับ DDR2 เท่านั้น ที่ราคา 3,000 บาท
จะเห็นว่าส่วนต่างกันสองพันบาท เป็นเงินจำนวนไม่น้อยถ้านายดินสอตัดสินใจจ่ายไปล่วงหน้าเพื่อให้ได้เทคโนโลยีของวันพรุ่งนี้มาครอบครอง ขณะที่ราคาของหน่วยความจำแบบ DDR3 นั้นยังเกินเอื้ิอม ไม่สามารถจัดหามาได้ในวันที่ซื้อเครื่อง
กรณีที่หนึ่ง
ผ่านไปหกเดือน ราคาของหน่วยความจำแบบ DDR3 ลดลงมาจนจับต้องได้ สถาณการณ์ของนายดินสอจะเป็นอย่างไร
1.ถ้าเลือกซื้อเมนบอร์ดที่รองรับทั้ง DDR2 และ DDR3 แล้วนายดินสอสามารถเปลี่ยนมาใช้หน่วยความจำหลักชนิดใหม่ได้ถ้าต้องการ เท่ากับว่าได้ใช้ส่วนต่าง 2000 บาทที่จ่ายไปล่วงหน้าให้เกิดประโยชน์
2.ถ้าเลือกซื้อเมนบอร์ดที่รองรับ DDR2 เท่านั้น นายดินสอไม่สามารถเปลี่ยนมาใช้หน่วยความจำหลักชนิดใหม่ได้ถ้าต้องการ อาจจะต้องซื้อหน่วยความจำหลักรุ่นเก่าที่มีราคาสูง หรือเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น เท่ากับว่า "เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย"
กรณีที่สอง
ถ้านายดินสอพอใจกับเครื่องที่ซื้อมาเพราะเครื่องนี้สามารถรองรับงานที่ใช้ ได้เป็นอย่างดี ทำให้ไม่มีการ upgrade สถาณการณ์ของนายดินสอจะเป็นอย่างไร
1.ถ้าเลือกซื้อเมนบอร์ดที่รองรับทั้ง DDR2 และ DDR3 แล้วนายดินสอเสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์ 2000 บาท
2.ถ้าเลือกซื้อเมนบอร์ดที่รองรับ DDR2 เท่านั้น นายดินสอไม่เสียเงินไปโดยปล่าประโยชน์
ถึงจุดนี้จะเห็นว่าการตัดสินใจเลือกซื้ออะไรนั้นมีความสำคัญมากทีเดียว แน่นอนว่าถ้าเงินไม่ใช่ปัญหา สถาณการณ์ต่างๆเหล่านี้ก็ไม่ใช่ปัญหา แต่กาีรใช้เงินให้คุ้มค่าเงินนั้นเป็นเรื่องที่ต้องคิด การเลือกซื้ออะไรต้องมองถึงการใช้ประโยชน์ที่แท้จริง และมีแผนการต่อไปในอนาคตที่แน่นอนจะช่วยให้การเลือกซื้อในวันนี้ ไม่เป็นความสูญเปล่าในอนาคตครับ
Comments
ใช่ คอมเครื่องเก่าเราใช้บอร์ดที่สนับสนุน RDRAMเจ๋งปะล่ะครับ อิอิ
สำหรับผมเวลาแนะนำใคร เรื่องเก่าใหม่ผมไม่สน
ผมจะถามว่าเอาไว้ใช้ทำอะไร
ทำงาน, เล่นเกมส์, Graphic, 3D ฯลฯ
ถ้าทำงานทั่วๆไปเล่นเน็ท ผมไม่สนเลยว่าเทคโนโลยี่เก่าหรือใหม่
แต่ถ้าพวกเกมส์ฮาร์ดคอ ถึงจะเอาใหม่สุดแรงสุดให้
ถ้าพวกทำ Graphic, 3D ผมก็ใส่รุ่นกึ่งใหม่กึ่งเก่า แต่อัดแรมอัดฮาร์ดดิสไปเยอะๆ
ปล.ผมไม่ได้เปิดร้านนะครับ แค่พอแนะนำคนรู้จักมาเยอะ
ผมจัดคอมตามงบที่มี แล้วค่อยดูงานที่ใช้
CMDEVHUB
เขียนเอามันส์ ลองเข้าไปดูความมันส์ได้ครับ
ดีใจจังที่ไม่เคยซื้อเผื่อ เพราะงบไม่เคยพอ ฮ่าๆ
บลอกของ natty
บลอกของ natty
ผมคิดว่าเราต้องมองภาพรวมให้เป็นครับ
จากตัวอย่างก็เห็นได้ชัดเจนทีเดียว
ถ้าเราประเมินว่าเครื่องคอมพ์ที่กำลังจะซื้อนี้
เราจะใช้งานมันได้จนหมดอายุขัยของมัน
โดยที่ไม่ต้อง Upgrade การซื้อเผื่อก็ไม่จำเป็น
แต่ถ้าในทางกลับกัน เราคิดว่าเราตั้งใจจะ Upgrade แน่ ๆ
เพราะแนวโน้มราคาของ Option กำลังจะดิ่งลง
ตรงนี้ก็น่าคิดว่าจะซื้อเผื่อไว้ได้
ผมเคยได้ยินศัพท์ภาษาอังกฤษคำหนึ่งว่า "Total Cost of Ownership" (TCO)
คือต้องมองภาพรวมให้ชัดเจน รู้จักวางแผนไว้ก่อน
ว่าโดยสรุปแล้วเราจะต้องจ่ายเงินให้โครงการนี้เท่าไหร่
บางโครงการจ่ายเงินต้นน้อย แต่ต้องจ่ายภายหลังมาก
ตรงนี้ TCO ก็อาจจะสู้โครงการที่เราจ่ายเงินต้นมาก
แต่ภายหลังเราแทบไม่ต้องจ่ายเลยก็ได้
ถ้าเรารู้จักการประเมิน TCO
ผมคิดว่าการตัดสินใจของเราจะแม่นยำขึ้นครับผม
blog.semicolon.in.th
ส่วนตัวคอมผมไม่ได้ซื้อเอง แต่อัพเกรดเอง นี่แหละที่มันเป็นปัญหา -*-
ผมไม่สามารถกะซื้อฮาร์ดแวร์เพื่อรองรับอุปกรณ์ในอนาคตได้ (บอร์ด AGP+DDR Ram) ทำให้ผมต้่องควานหา HW เก่าในท้องตลาดมาเพื่ออัพเกรด
ครั้งต่อไปตอนซื้อคอม ผมต้องเลือกเองแล้วแหละ...
ดูงบ + ดูแนวโน้มเทคโนโลยี + การใช้งาน ประกอบกัน
อุปกรณ์บางอย่าง เช่น การ์ดจอ ก็ซื้อเผื่อไว้เหมือนกันนะ แต่ไม่เอาพวก cutting edge มันแพงไป รุ่นถูกๆ ก็ห่วยไป ใช้งานเกมส์ไม่ไหว ก็เลือกเอากลางๆ งบก็ไม่เปลืองมาก เผื่อใช้งานได้นานสักสองปีกำลังดี
บางครั้งเลือกยากนักก็เอาดีสุดเท่าที่งบประมาณมันจะพอซื้อนั่นแหละ ถือว่าได้เลือกของดีที่สุดแล้ว จะดีจริงหรือไม่ก็อีกเรื่อง :P
ประเด็นเรื่องนี้ คงอยู่ที่ งบประมาณ ลักษณะการใช้งาน และ การกำหนดอายุการใช้งาน
ถ้ากำหนดพวกนี้ได้หมดผมว่า ก็คงไม่มีปัญหาสักเท่าไหร่
เวลาผมประกอบคอมให้พี่ป้าน้าอา (โดนใช้ประจำ) ผมจะถามเสมอว่าเขามีงบเท่าไหร่ เอาไปใช้อะไร
แล้วค่อยมาจัดชุดให้โดยกำหนดกรอบเวลาไว้ประมาณสองปี (ถ้างบพอ ถ้าไม่ได้ก็ดีที่สุดตามงบ)
เพราะถ้าเกินสองปีนี่ผมไม่เคยเดาถูกเลยว่าจะมีไม่มีอะไรใหม่ออกมา
เทคโนโลยีมันเปลียนเร็วจะตาย