จากเดิมการแสดงผลสีบนหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือทีวี จะมีเพียงแม่สีอยู่ 3 สีคือ RGB (แดง เขียว น้ำเงิน)เป็นหลัก แต่เมื่อเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้น ผู้พัฒนาทีวีก็เพิ่มเข้าสีใหม่ๆ เข้ามานอกเหนือจากแม่สีมาตรฐาน เช่น LG ที่นำเสนอหน้าจอแบบ M+ นำสีขาวเข้ามาผสมกับสีมาตรฐาน เพื่อเพิ่มลูกเล่นเรื่องการแสดงผลและประหยัดพลังงานเข้ามา
อย่างไรก็ตามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เกิดความเข้าใจผิดกันประปรายว่าทีวี 4K ที่มาพร้อมเทคโนโลยีที่เพิ่มสีเข้ามานอกเหนือจากแม่สี 3 สี ไม่ได้มีความละเอียดถึง 4K ที่แท้จริง เพราะมีเม็ดพิกเซลสีขาวเพิ่มเข้ามา และหากนับเฉพาะเม็ดพิกเซลที่เป็นแม่สีสามสี ความละเอียดของทีวีจะไม่ถึง 4K
บทความนี้จะมาไขความกระจ่างตรงนี้ครับ
เป็นความเข้าใจผิดของหลายๆ คนที่คิดว่าเม็ดสีหรือพิกเซล 1 พิกเซล เท่ากับการแสดงผลแม่สี 1 สี การแสดงผลครบ 3 สีแบบ RGB ต้องใช้ 3 พิกเซล ซึ่งอันที่จริงแล้วแต่ละสีเป็นเพียงซับพิกเซล (sub-pixel) หรือ พิกเซลย่อยเท่านั้น ดังนั้นการแสดงผลแบบ RGB ใน 1 พิกเซลจะประกอบไปด้วย 3 ซับพิกเซลย่อยคือสีแดง (R) สีเขียว (G) และสีน้ำเงิน (B)
ขณะที่โครงสร้างการแสดงผลแบบ RGB ประกอบไปด้วย 3 สีหลัก เทคโนโลยีการแสดงผลแบบ M+ ของ LG จึงเป็นโครงสร้างพิกเซลแบบใหม่ที่เพิ่มซับพิกเซลสีขาวเข้ามา ทำให้ใน 1 พิกเซล ประกอบไปด้วยซับพิกเซล 4 สีได้แก่ สีแดง (R) สีเขียว (G) สีน้ำเงิน (B) และสีขาว (W) หรือเรียกสั้นๆ ว่า RGBW
RGBW มีความแตกต่างจาก RGB ตรงที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกระจายแสง ปรับค่าคอนทราสต์ ทีวีจึงสามารถแสดงผลภาพได้สว่าง แม่นยำและสมจริงมากยิ่งขึ้น
โครงสร้างพิกเซลแบบ RGBW ยังช่วยประหยัดพลังงานมากกว่า RGB ถึง 35% เนื่องจากซับพิกเซลสีขาว จะเข้ามาช่วยเรื่องความส่ว่าง ทำให้พิกเซลเปล่งแสงน้อยลง แต่สามารถให้ความสว่างได้เท่าเดิม ไปจนถึงแสดงคอนทราสต์ระหว่างสีขาวและสีอื่นๆ ได้ดีกว่า และที่สำคัญรองรับการแสดงผลแบบ HDR ด้วย
เทคโนโลยีการแสดงผลแบบ M+ ยังมาพร้อมกับพาแนล In-Plane Switching หรือ IPS ที่จัดเรียงซับพิกเซลในแนวนอน ช่วยได้มุมมองที่กว้างกว่าจอที่จัดเรียงแบบแนวตั้งหรือ Vertical Alignment (VA) และรับชมได้คมชัดไม่ว่าจะมองจากมุมไหนของห้อง
ทีวีความละเอียด 4K และ UHD มีความละเอียดที่ 8.29 ล้านพิกเซล (3,840 x 2,160 พิกเซล) ในขณะที่แต่ละพิกเซลประกอบไปด้วยซับพิกเซลย่อย ดังนั้นไม่ว่าการจัดเรียงโครงสร้างพิกเซลจะเป็นแบบ RGB หรือ RGBW ทีวีความละเอียด 4K ก็ยังคงมีความละเอียด 4K ที่ 8.29 ล้านพิกเซลเช่นเดิม ด้วยเหตุผลที่ว่ามา ทีวี LG UHD TV จึงเป็นทีวีความละเอียด 4K จริงแท้แน่นอน
ไม่เพียงเท่านั้น LG UHD TV ที่ใช้เทคโนโลยี M+ ยังได้รับการรับรองจากสถาบันระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น VDE, Intertek, International Committee for Display Metrology (ICM) และ CSI เป็นต้น
ทีวีความละเอียด 4K ไม่ว่าจะใช้รูปแบบการจัดเรียงพิกเซลแบบไหน ก็ยังคงมีความละเอียดจริงๆ ที่ 4K หรือ 4 เท่าของ Full HD อยู่นั่นเอง ขณะที่การจัดเรียงพิกเซลแบบ M+ ของ LG ไม่เพียงแต่ช่วยเรื่องการแสดงผลให้สว่างมากขึ้น คอนทราสต์ที่คมชัดและมีสีสันมากขึ้น และที่สำคัญคือประหยัดพลังงานมากขึ้นราว 35% ช่วยอนุรักษ์ลดการปล่อยความร้อนให้กับสิ่งแวดล้อมไปในตัว
Comments
ถ้าคิดตามความเป็นจริง ถ้าขนาดจอเท่าเดิมแสดงว่าขนาด PIXEL RGB จะเล็กลงเพื่อแบ่งให้ W ทำให้ได้ช่วงของสีที่แสดงต่ำลงถ้ามีค่าแสง R=10 G=10 B=10 ก็จะกลายเป็น R=7.5 G=7.5 B=7.5 W=7.5 เหมือนกับว่า โดนแบ่งไปสร้างสีขาว ซึ่งจริงๆ จำเป็นใหมในเมื่อ RGB ก็สามารถเอามารวมเป็นสีขาวได้ แถมยังสร้างสีอื่นได้อีกด้วย ถ้ามองจุดนี้แสดงว่าสีแดงสว่างสุดจริงๆคือ สีแดงบวกสีขาวซึ่งสีจะเพี้ยนใหม
ปัญหาคือสีฟ้าจะมีอายุการใช้งานสั้นที่สุดครับ ทำให้พอนานๆไปจอจะอมสีเหลืองเพราะขาดสีฟ้า เขาพยายามแก้ปัญหาตรงนี้โดยการนำหลอดสีขาวมาเพื่อเซฟการใช้งานหลอดสีฟ้าเพื่อให้มีอายุการใช้งานเท่าๆกันทุกหลอด นานๆไปสีจะไม่ผิดเพี้ยนไปมากเหมือนจอแสดงผลที่ใช้อยู่ทั่วไปทุกวันนี้ ซึ่งการเพิ่มความหนาของหลอดสีฟ้าก็ทำมาแล้วมันไม่ได้ผลครับ เพราะนานๆไปบางคัร้งมันอาจจะไม่อมเหลืองแต่อมฟ้าแทน เพราะหลอดฟ้าอายุการใช้งานมันนานเกินไปอีก เบื้องหลังผมไม่ขอพูดนะครับว่าเป็นการตลาดเพื่อการลดต้นทุนการผลิตหรือไม่ แต่ผมว่าเขาพยายามหยิบยื่นสิ่งที่ดีที่สุดให้กับทั้ง 2 ฝ่ายครับ เขาเขาลดต้นทุนได้และเราได้จอที่มีการแสดงผลไม่ผิดเพี้ยนได้อายุยืนยาวขึ้น ไม่ถือว่า win-win หรอครับ หลายคนแสดงอาการเหมือนมองเห็น pixel เป็นเม็ดๆเวลาดูจอแสดงผล ผมไปดูมากับตาผมว่าการแสดงแสงสีมันดีกว่าเดิมเยอะเลยนะ โดยที่ไม่รู้ตัวเลยว่ามีการสอดแทรก pixel ขาวเพิ่มขึ้นมา contrast ก็ดีขึ้นมากๆ สร้างจุดมืดและจุดสว่างได้ดีสุดๆ
เทคโนโลยี่นี้ไม่ไช่ OLED รึเปล่าครับตอนต้นเขาก็ยกจอ LCD ธรรมดา สิ่งที่ผมอธิบายคือ พื้นที่การผ่านของแสงสีข่าวเป็นแสงสีRGBมันลดลงเพื่อแบ่งให้พื้นที่แสงสี W ยกตัวอย่างง่ายๆคือ แสงสีแดง 100% แบบเดิมคือ Black Light ผ่านpixelสีแดง100% แต่แบบนี้จะกลายเป็น pixel สีแดง+สีขาว 100% กลายเป็นว่าแสงสีที่เข้าตาจริงๆคือ สีแดง 50% + สีขาว50% กลายเป็นสีแดงที่ดูสว่างเกินจริงกลายเป็นสีซีดดังรูปข้างบนรึเปล่า ส่วน OLED ถ้าใช้วิธีนี้ก็คงไม่เหมาะมั้งครับเพราะการเพิ่มสีขาวเหมือนเป้นการลดความได้เปลียวของ OLED ที่ทุก pixel เปิดปิดได้อิสระอยู่แล้ว ถ้าอยากแก้อาการสีฟ้าก็อาจทำเหมือน SS คือวัดอัตราการเสื่อมของ Pixel โดยการบันทึกการใช้งานในแต่ละจุดและชดเชิญหลอดอื่นๆเพื่อยังคงสีเดิม เพราะความเป็นจริงคงไม่มีใครใช้ 100% ตลอดเวลา ถึงใช้ก็ปรับลดการใช้ 100%ลงมาตามอัตราความเสื่อมก็เท่านั้นเอง
น่าจะประมาณนี้แหละครับ
ที่มา : ResearchGate
สุดท้ายแสงกับสีก็เท่าเดิม หรือดีกว่าในบางช่วงสี
แสดงว่า
ถ้าเป็นสีระดับ peak โดยไม่มีสีอื่นปน
มันก็ทำงานที่ peak ตามปกติ
แต่ถ้ามีผสม
สีขาวช่วยลดการ peak ของสี
ทำให้ช่วยยืดอายุการใช้งานโดยรวมได้
ถ้าแบบเข้าใจได้ง่ายคงเป็นแบบนั้นแหละครับ แต่ความเป็นจริงมันมีประเด็นเรื่องอัตราส่วนการให้สีและความเข้มแสงของแต่ละหลอดสีที่ไม่เท่ากันอีกครับ รายละเอียดตามนี้เลยครับ
จริงๆคำถามกับดราม่ามันจะเกิดในเคสที่สีเป็น
100 0 0 (แดงสด)
0 100 0 (เขียวสด)
0 0 100 (น้ำเงินสด)
เพราะว่ามันเอา W ไปช่วยไม่ได้เลยนี่ล่ะครับ
ปัญหาคือ LG เคลียร์ได้หรือเปล่าว่า subpixel ที่ เล็กลงใน RGBW จะขับสีที่เป็น Full contrast ยังไงและสดเท่ากับแบบ RGB ปกติหรือเปล่า
อันนั้นน่าจะเป็นดราม่าเกี่ยวกับสี
แต่กระทู้นี้มาเพื่อแก้ดราม่าจำนวนpixel
จริงๆ ก็สภาพไม่ต่างจากรอบที่แล้ว (ที่บินไปแล้ว ผมเลยมี unread replies ค้างอยู่ความเห็นนึงที่กดเข้าไปอ่านไม่ได้ แล้วมันก็คาอยู่ตรงนั้น ?) สักเท่าไหร่ครับ ยังมองไม่ออกว่าจะแก้ดราม่าได้ยังไง
คือโอเค pixel มันก็ครบ 4k นั่นแหละ แต่เราจะนับว่า GBW ที่เล่นกลยังไงมันก็เป็นสีแดงไม่ได้มาเป็นหนึ่งพิกเซลจริงๆ เหรอ? (สมมติว่าเค้านับแบบนั้นนะครับ เพราะตั้งแต่ครั้งที่แล้วก็ไม่เห็นเคลียร์สักทีว่าตกลง pixel นึงมีกี่ sub-pixel และเป็นสีอะไรบ้าง ผมก็ทึกทักเอาเองก่อนแล้วกัน)
คือถ้าเค้าตอบโป้งมาว่ามี R, G, B และ W อย่างละ 3,840x2,160 จุดนี่ก็จบแล้ว (ถ้ามันเป็นแบบนั้น)
ผมเข้าใจว่าสามเคสนั้นก็ใช้ R/G/B ล้วนๆ นั่นแหละครับ แล้วพอไปกรณีที่มีสีผสมๆ กันถึงจะเอา W มาช่วยแล้วไปลดแสงที่ R/G/B แทนเพื่อถนอมไม่ให้มันเสื่อมไว
จุดที่เป็นคำถามและข้อคาใจส่วนมาก (ซึ่งเอาจริงๆผมก็ไม่ได้คาใจนะ ดูด้วยตาผมก็พอใจระดับนึง) คือ
1. ใน 1 pixel มันแบ่ง Subpixel เป็นกี่อัน
ในข้อนี้เหมือน LG จะพยายามบอกว่าแบ่งเป็น 4 มี White ช่วย (อีกฝ่ายก็จะบอกว่าเป็น 2 Subpixel) ซึ่งเอาล่ะสมมติผมมองอย่างใจกว้างเชื่อ LG ว่าเป็น 4 Subpixel ก็จะนำมาซึ่งข้อสอง
2. ถ้าใน 1 pixel = 4 สี แปลว่า subpixel นึงทำงานได้น้อยลงเทียบกับคู่แข่ง
คำถามตามมาก็เลยเป็นว่า ในขณะที่ 3 สีของคู่แข่งวิ่ง 100%/0%/0% ตัว pixel ที่เล็กลง(เพราะจาก 3->4) มันสามารถแสดงได้ถึง 100% จริงหรือเปล่า ... คือดูเหมือนเค้าตั้งธงกันว่า 100% ของ LG มันจะ ซีดกว่า (เพราะเม็ดสีโดดๆเล็กกว่า แสดงผลได้ความเข้มน้อยกว่า) เพราะไม่สามารถเอา W มาช่วยอะไรได้ ... ถ้าสมมติขนาด pixel ลดลง 33% (จาก พท100%/3->พท100%/4) ... แสดงว่าสีที่ Max 100% ของ LG อาจจะได้แค่เท่าๆ ยี่ห้ออื่น 80% ก็ได้ ... และถ้าอยากได้ 100% จริงๆ ก็ต้องเอา W20% มาเสริมทัพ (ซึ่งมันก็อนุมานไปว่า จะกลายเป็น 100%/20%/20% เพราะขาวเท่ากับสามสีรวมกัน)
ไอ Gap ช่วงสี 100/0/0 นี่ล่ะครับที่เค้าเอามาโจมตีว่า จอแสดงผลได้สีไม่เต็มที่
ซึ่งบทความนี้ก็ดูยังไม่ได้ตอบคำถามในข้อนั้นนะ
Advertorial ของ LG จริงๆน่าจะได้ Feedback ในการชี้แจงกลับไปหลายด้านแล้ว(ตั้งแต่โพสต์ในอดีตหลายโพสต์) ซึ่งส่วนตัวมองว่าแปลกนะ คือ ถ้าออกมาตอบในประเด็นเหล่าได้ครบ ก็จะเคลียร์จบไม่ดราม่าไปนานแล้ว
1. จำนวน Subpixel เท่ากันหรือน้อยกว่า
2. ความสว่าง (Contrast/Saturation) ของแต่ละเม็ดสีเท่ากันหรือเปล่า
3. เมื่อจัดเรียงภาพแบบ Vertical Stripe (1px Color/1px Black/1px Color/1px Black สลับกัน) การแสดงผลของภาพออกมาถูกต้องอย่างที่ควรเป็นได้หรือไม่
นี่ก็จะเคลียร์จบไปหมดแล้วไม่ต้องมาดราม่ากันต่อแท้ๆ
4. ถ้า Subpixel น้อยกว่า .. ยังสามารถรักษาระดับความสว่างของภาพโดยรวมได้ในระดับที่ควรจะเป็นหรือเปล่า (วัด cd/m^2 สำหรับ Pure R/G/B ให้ดูเทียบกัน)
พอตอบเฉไฉเหมือนดูเบี่ยงประเด็นมันให้อีกฟีลนึงเลย
ก็นั่นแหละครับ รอบนี้ผมก็พยายามใช้คำให้เบาลงกว่ารอบที่แล้วนะเผื่อมันจะไม่บินอีก
รูปนี้คือกรณีมี 3 สีครับ แต่ถ้ามีแค่บางสีแบบที่อธิบายข้างบน หรือ 2 สีละ ความสว่างก็ลดลงสิครับ
ถ้าให้ผมเดานะครับคิดว่าเคสที่ใช้แม่สีสีใดสีหนึ่งล้วน ๆ คงมีโอกาสน้อยกว่าการผสมสีทั่วไปมั้งครับ คงอาศัยเพิ่มกำลังของหลอดสีในเคสแบบนั้นชดเชยแทน เพื่อให้ความสว่างเฉลี่ยในทุกค่าทีคงที่มั้งครับ อายุหลอดก็คิดเฉลี่ย ๆ ตามความเห็นอื่น ๆ
ปล.ในรูปนั้นแสดงการผสมสีตามรหัส RGB (255) ครับไม่เกี่ยวกับความสว่าง
ผมว่าโอกาศที่ว่าน้อยนี้ทำให้รีวิวที่ออกมาค่อนข้างแย่นะครับเรื่องของภาพและวิดีโอ ถ้าจะอ้างเรื่องอายุการใช้งานก็ใช้วิธีชดเชิยดีกว่า เพราะเครื่องที่บ้านใช้มา4ปีกว่าๆแล้วยังไม่สังเกตุว่าเหลืองเลย
นิยามของคำว่า HDR (high dynamic range)
ที่ใช้กันตอนนี้ มันรวมถึงการแสงสีที่เป็นธรรมชาติมั้ยนะ?
ถ้าดูจากรูปด้านบน(ฉากทะเล)
ก็ดูเหมือนสีจะผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติมากอยู่
หรือผมเข้าใจผิดเกี่ยวกับรูปข้างบน?
ปล.ผมก็ยังไม่มี media หรือ device อะไรที่เป็น Full HDR เลย ยกเว้นทีวีตัวเดียว
ใช้รูปพวกนั้นอ้างอิงไม่ได้ครับ รูปทำมาเพื่อให้เห็นว่ามันแตกต่างกันเฉยๆ แต่บนจอทั่วไปมันแสดงถึงสีของจอไม่ทั่วไปไม่ได้อยู่แล้ว
อันนี้พอเข้าใจครับ
แต่ที่ผมอยากทราบจริงๆ คือ HDR มันคือต้องสีสดหรือ?
อย่างที่บอกครับ ยังไม่เคยได้ดู HDR แท้ๆ ก็เลยสงสัยครับ
มันไม่ได้ต้องสดครับ แต่มันต้องกว้าง
ความลึกของสี แสดงความต่างของเฉดสีได้มาก
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
น่าจะเกี่ยวกับ "ช่วงของแสง" มากกว่านะครับ
HDR น่าจะหมายถึง การขยายช่วงตรงนี้ให้กว้าง ทำให้ในภาพเดียวกันแสดงความต่างระหว่างความมืดกับความสว่างได้มาก
ถ้ายกตัวอย่างเทียบกับกล้องถ่ายรูป ก็เหมือนเวลาเรา ถ่ายรูปคนตอนพระอาทิตย์ตก ถ้าเอาคน-วิวพระอาทิตย์ก็มืด ถ้าเอาวิวพระอาทิตย์-คนก็มืด เพราะช่วงในการเก็บแสง"แคบ" แต่ถ้า HDR ที่ช่วงการเก็บแสงกว้างคือถ่ายภาพนั้นออกมาเห็นทั้งคนชัดเจนและเห็นพระอาทิตย์ตกด้วยในรูปเดียวกัน ถ้าในกล้องมือถือก็คืออาจจะถ่ายครั้งเดียว หลายๆรูปโดยแต่ละรูปวัดแสงหลายๆจุดแตกต่างกัน แล้วเอารูปมารวมกันให้สว่างทั่วถึงทั้งรูป
ส่วนความจัดของสีน่าจะมีส่วนกับ Contrast Ratio มากกว่า
คือความต่างระหว่าง "ความดำและความขาว" หรือสำหรับสีก็คือความต่างระหว่าง "สีเข้มกับสีอ่อน"
งั้นดวงตาของคน (ทั้งดวงตาและเซลรับแสง/สี)
ก็ไม่เป็น HDR
เข้าใจแบบนี้ถูกมั้ยครับ
ปล.ผมเลยคิดว่า สิ่งที่ HDR เป็น
มันผิดไปจากธรรมชาติที่สายตาคนมองเห็น
(นั้นคือคำถามที่ผมถามด้านบนน่ะครับ)
ถ้าดวงตายังแยกความแตกต่างได้ก็แสดงว่ามันรองรับได้ครับ
ถ้าไปดูภาพบนโทรทัศน์ HDR แล้วเห็นว่ามันต่าง ก็แสดงว่า DR ของดวงตาเรามากกว่าภาพที่โทรทัศน์แสดงครับ
ผมว่าตาคนนี่ ยิ่งกว่า HDR อีกนะ
ถ้าเอาเฉพาะความสว่าง ดวงตาของคนสามารถ(ทน)มองเห็นความสว่างสูงสุดได้ราวๆ 50,000 nit และน้อยที่สุดประมาณ 0.03 nit แต่อย่างไรก็ดี ตาคนเราสามารถปรับสภาพช่วง range ในการรับแสงได้ด้วยม่านตาและกลไกของสมอง บางครั้งในที่มืดอาจจะได้ต่ำสุดถึง 0.00001 nit (10^-5)
ส่วน ข้อกำหนดของ the Ultra HD Alliance สำหรับ HDR กำหนดไว้ว่า Dynamic range ของ HDR ต้องอยู่ในช่วง "ความสว่างสูงสุดมากกว่า 1000 nits และน้อยกว่า 0.05 nits" หรือ "ความสว่างสูงสุดมากกว่า 540 nits และน้อยกว่า 0.0005 nits" ซึ่งจะเห็นได้ว่าดวงตาของมนุษย์ยังครอบคลุมได้อยู่ดี แสดงว่าดวงตาของมนุษย์ก็เรียกได้ว่ายิ่งกว่า HDR
แถม
อย่างไรก็ดี การจะบอกว่า "ในสภาพการใช้งานปกติมนุษย์สามารถมองเห็นภาพช่วง HDR ได้ทั้งหมดหรือเปล่า" ก็อาจจะตัดสินแบบลอยๆเฉยๆไม่ได้ เพราะต้องอ้างอิงสภาพแสงของ Ambient ด้วย หมายความว่าเอาจอไปเปิดในที่แดดจ้า กับเอาไปเปิดในห้องมืด ช่วงของการรับแสงของดวงตาเราจะไม่เท่ากันและอาจใช้โหมดรับแสงแตกต่างกัน(ศึกษาเพิ่มเติมได้จากเรื่อง Adaptation,Scotopic Vision,Photopic Vision) ซึ่งช่วงและโหมดการทำงานของดวงตานี้ทำให้เห็นสีที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละช่วงแสงด้วย ดังนั้นก็อาจจะพูดว่าครอบคลุมหรือไม่ครอบคลุมก็ได้
ปล. 1 nit= 1 cd/m²
ขอบคุณทุกความเห็นครับ
wiki บอกไว้อย่างนี้ครับ
On January 4, 2016, the Ultra HD Alliance announced their certification requirements for a HDR display. The HDR display must have either a peak brightness of over 1000 cd/m2 and a black level less than 0.05 cd/m2 (a contrast ratio of at least 20,000:1) or a peak brightness of over 540 cd/m2 and a black level less than 0.0005 cd/m2 (a contrast ratio of at least 1,080,000:1). The two options allow for different types of HDR displays such as LCD and OLED.
https://en.wikipedia.org/wiki/High_dynamic_range
จะว่า รวมไหม นี่พูดยากนะครับ นิยามมันไม่เกี่ยวกันมากเท่าไร
คือแสงสีในธรรมชาติเนี่ย สมมติให้มันมีค่าสี ค่าสีนึง สิ่งที่เราเห็นมันขึ้นกับว่า สภาวะแวดล้อมเราขณะนั้นเป็นยังไง (ตาเราอยู่ที่ตรงไหน) ...
HDR มันเหมือนแกน ภาพแบบ Raw แสดงผลได้ระดับไหน (มืดสุด=สีดำ ไปจนถึง เข้มสุดของแต่ละสีผสมกัน) / ส่วนภาพที่เราเห็นต้องมองเป็นมุมว่า ถ่ายภาพแล้วไล่ exposure compensation เปลี่ยนไปมามากกว่า
+++++++++
สมมติ
ในแง่ของการแสดงผล
HDR ในทีวีออกแนวว่า
ของเดิม SDR จาก ดำสุด ไปสูงสุด อาจจะมี 256 ระดับ (x=16ระดับ)
|xxxxxxxxxxxxxxxx|
ส่วนใน HDR จากต่ำสุด ไปสูงสุด อาจจะมี 1024 ระดับ (y=32ระดับ)
|yyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyy|
คือ X เนี่ยจากช่วงต่ำสุดไปหาสูงสุดมันอาจจะเป็น
ขึ้นกับปริมาณแสง (สมมติว่า backlight) ละกัน ...
ในซีนแต่ละซีน จากจุดมืดสุดไปสว่างสุด ก็จะมีขอบไม่เหมือนกัน และกระจายไม่เหมือนกัน
และการไล่เฉดก็มีจำกัดกว่า (เช่น สี 210-230 ใน Y อาจจะกลายเป็น 215 สีเดียวใน X)
หรือจุดที่ดำกว่า 100 ทั้งหมดในจอแบบ SDR คือดำเดียวกัน ... แต่ใน HDR อาจจะมีไล่เฉดได้อยู่
ตัวอย่างเช่น ถ้าฉากมันเป็นซีนที่มีความต่างระหว่างสว่างกับมืดไม่มากนัก มันก็จะยังไม่เห็นอะไรเท่าไร แต่พอเป็นฉากที่มืดกับสว่างต่างกันเยอะๆ คราวนี้มันจะเริ่มเห็นว่า ในส่วนที่มืดมันไม่ได้มืดสนิท มันมีเงาของบางสิ่งซ่อนอยู่ ในส่วนที่สว่างมันก็ไม่ได้สว่างเท่ากัน มันมีจุดที่สว่างกว่า เป็นแหล่งกำเนิดแสดงเอง อะไรทำนองนี้
ยังไม่นับว่าใน HDR โดยมาก มืดที่สุดจะมืดกว่า SDR และสว่างที่สุดจะสว่างกว่า SDR ด้วยอีกนะครับ (เช่น >700 = 700 .. ในขณะที่ HDR อาจจะแสดงผลได้ 700-1000 ได้ด้วย(อาจจะได้แค่ 8 step แต่ก็ได้อยู่700/750/800/850/900/950/1000)
++++++++++++++++++++++++++++++++++
------ มาที่ตา บ้าง ในแง่ของการรับภาพ
ตาเรารับภาพได้ contrast ไม่สูงเท่าไร แต่มันฉลาด
เวลาเราเห็นภาพรวมๆ ดีเทลบางอย่างเราอาจจะมองไม่เห็นเลย
(ดูรวมๆ เห็นสี 215 สีเดียวนั่นแหล่ะ แต่เห็นอย่างอื่นตั้งแต่ 0--2000 ครบเลย)
แต่พอเราโฟกัสปุ๊บ แทนที่ range 0-2000 จะอ่านได้เยอะขนาดนั้น
ตาเราจะสโคปลงมาที่ 100-1000 แทน (แต่ยังรับดีเทลได้ 2000 จุดเหมือนเดิม)
คราวนี้จากที่เห็นแค่ 210-230 เป็นสี 215 สีเดียว ... เราสามารถเห็น 210 220 230
และแยกดีเทลได้แล้ว
พอเราไปมองจอที่เป็น HDR เราเลยจะเห็นว่ามันมีมิตี มีเนื้อหาซ่อนอยู่เยอะกว่า (ถ้า Content มันมา)
แต่รูปตัวอย่างมันนำเสนออะไรแบบนี้ไม่ได้ครับ และให้รูปนำเสนอได้ จอก็นำเสนอไม่ได้อยู่ดี แต่ก็ทดสอบได้ด้วยการเอารูปเดียวกันไปดูบนหลายๆ device แหล่ะ บางทีมันอาจจะมีรายละเอียดบางอย่างที่มองไม่เห็นบนจอบางจออยู่ ตรงนั้นล่ะครับที่ HDR มันออกมา เพื่อให้เห็นครบทุกอย่าง
ขอบคุณครับ
เอาแบบ Real-Life พอดีผมเล่นเกมส์ BF1 บน PS4 อยู่
เกมส์นี้เดิมทีเป็นแบบ SD พอมี Patch HDR10 มา ลายละเอียดต่างกันเยอะมากครับ สามารถมองเห็น Object มองเห็นศัตรูได้ชัดจากระยะไกล แสงสลัว แสงมืด แสงแดดมีความสมจริงมากขึ้น มี Effect ตาพร่าที่ชัดมากขึ้นเมื่อมองไปที่ดวงอาทิตย์ (อันนี้ไม่รู้จะดีหรือไม่ดี) แสงอาทิตย์ที่กระทบหิมะทำให้หิมะขาวสว่างมากๆ ใกล้เคียงของจริง ความรู้สึกครั้งแรกตอนนั้น ยังกับเกมส์คนละเกมส์
เช่นเดียวกับเกมส์ GT Sport ที่เวลาแสงอาทิตย์ปะทะหน้าโดยตรง ให้ความรู้สึกถึงแสงอาทิตย์จริงๆ แสบตาจริงๆ (่น่าจะเอาม่านบังแดดลงได้นะ)
แต่โดยรวม ชอบมากกว่า SD ครับ
อยู่ที่ไฟล์ภาพด้วยหรือเปล่าคะ ไฟล์สี 8 bit เอาไปเปิดบนจอ 10 bit ก็สดงผลได้แค่ 8 bit
จริงๆ w มันใช้แทน “ความสว่าง” ได้ครับ เช่นจุดสีแดง แต่อยู่ในความสว่างสูงๆ ที่ปกติเราจะใช้ R +GB ก็เพิ่ม W เข้าไปให้มันสว่างขึ้น
ปัญหามีข้อเดียว ที่ถ้า LG ตอบมาก็ไม่ต้องเสียเวลาเขียนบทความยาวๆ
คือมี R กี่จุด G กี่จุด B กี่จุด W กี่จุด
แค่นี้เอง
+GB เข้าไปก็ไม่ใช่แดงเพิ่มความสว่างแล้วครับ ต้องเร่งแดงเท่านั้น
หมายถึงแดงจืดๆ ที่มีแสงภายนอกน่ะครับ แบบพวกแดงใกล้ขาวอะไรแบบเนี่ย
อันนั้นเรียกแทนโทนสีอื่นครับไม่ใช่แทนความสว่าง แต่ใช่ครับมันเกิดมาเพื่อการนั้น
ก็ 4K นั่นแหละ มองที่ pixel
เรื่อง sub-pixel มันเป็นเรื่องของสี ไม่เกี่ยวกับความละเอียด แล้วตั้งแง่กันว่า RGB 100x0x0 มันต้องดีกว่า 4 sub-pixel (มันจะมีกรณีไหนกันที่จะแสดงสีแค่ 1 สีจริงๆ ในการดู TV)
ประเด็นคือ นิยามของ pixel ที่ว่านี่คือยังไงครับ?
pixel ของรูปภาพ คือรูป 4 เหลี่ยมจตุรัสแสดงสี 1 สี 1 pixel ในจอภาพใช้ sub pixel แม่สี 3 สีในการผสมสี ส่วน sub pixel สีขาวไว้เพิ่มความสว่างของจอ เราเข้าใจถูกไหม
ผมไม่รู้ครับ ทาง LG ลงมากี่ครั้งก็ไม่เห็นตอบสักทีว่าที่บอกจอ 4K นี่ตกลงพิกเซลนึงมีกี่จุด
ข้อมูลบางอย่างลึกนะครับ lg น่าจะชี้แจงว่าบอกได้หรือว่าไม่ได้ เพราะว่าบางทีอาจจะเป็นข้อมูลทางด้านค้าก็ได้ครับ
เรื่องทีวีก็มันไม่แพ้ สายโทรศัพท์มือถือเช่นกัน
เป็น Advertorial ที่คนตอบล้นหลาม
ผมใช้อยู่ครับ ตั้งแต่วันแรกๆก็รู้สึกเลยครับ ว่าภาพมันแปลกๆ
เวลาฉากในหนังมืดๆมันดูลำบากมากๆ เลยไปลองเปิดดูในจอโน้ตบุค ผลคือมองเห็นชัดกว่ากันมากๆเลยครับ
ผมก็เลยสงสัยและออกหาข้อมูล
ทีวี lg 4k รุ่นประหยัด จะมีการแชร์ sub pixel กัน(มีผลกับภาพในทางลบ)
ลองอ่านเพิ่มได้ที่เว็บนี้ หรือเว็บอื่นๆของต่างประเทศครับ
http://4k.com/news/lthree-of-lgs-4k-tvs-offer-pseudo-uhd-and-a-raw-deal-for-consumers-uh6400-uh6100-uf6800-16649/
ไม่ต้องไปอ่านบทความต่างประเทศก็ได้ เอาแค่ว่าถ้ามันดีจริงตามที่บทความว่าไว้แล้วนั้น ทำไมรุ่นบนๆ ถึงไม่ใช้ด้วยละครับ RGBW อะ ทำไมถึงยังใช้ RGB อยู่อีก
มันกลับมาอีกแล้วเหรอ RGBW PenTile

แสดงว่ารุ่นราคาถูกกว่า ที่ใช้จอแบบนี้ ยอดขายสะดุดใช่ไหม ถึงลงทุน ลงโฆษณาชวนเชื่อ ในเว็ปไอทีดังๆ เพียบเลย
เพึ่งทีวีถอยมาดู มีเทคโนโลยีเกิดขึ้นใหม่อีกแล้วเศร้าแป๊ป