การยกเลิกใช้พอร์ทหูฟังกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ฝั่งผู้ใช้งานก่นด่ากันมากที่สุด ขณะที่ฝั่งผู้ผลิตก็พยายามอธิบายข้อดีต่างๆ นานา โดยเฉพาะเรื่องของคุณภาพเสียง ซึ่ง Razer เป็นรายล่าสุดที่ออกมายืนยันข้อดีของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว หลังตัดพอร์ทหูฟังออกจาก Razer Phone
Min-Liang Tan ซีอีโอของ Razer พูดถึงประเด็นนี้ในเฟสบุ๊คส่วนตัว ระบุว่าการตัดพอร์ทหูฟังออก ทำให้ Razer Phone ได้แบตเตอรี่เพิ่มมาราวๆ 500 mAh และการจัดการความร้อนที่ดีขึ้น รวมไปถึงมีระบบเสียงที่ดีกว่าจาก DAC ที่ได้รับการรับรองจาก THX และรองรับการเล่นไฟล์ 24bit
ที่มา - Min-Liang Tan via Android Police
Comments
พูดเหมือนว่าช่อง 3.5 มม.ไม่รองรับ Hi-res
ดีขนาดนั้น ขอ Type-c 2 ช่องดีมะ
คือจะต้องใช้ bluetooth ในการ transmit สัญญาณเสียงอย่างเดียวใช่ไหมครับ
ถ้าใช่ไอ้ทำให้มันมีพื้นที่ว่างเพิ่มขึ้น และทำให้เสียงดีขึ้นตรงนั้นก็คงจริง
แต่การ transmit สัญญาณเสียงผ่าน bluetooth device นี่ผมยังไม่เคยเจอที่ทำได้ดีกว่าผ่านสาย analogue ที่ hardware เดียวกันซักทีนะ
ประเด็นคือในเครื่องคุณหนะมี DAC ซึ่งทำหน้าที่ convert สัญญาณ digital เป็น analogue แล้วเอา bluetooth มาเข้ารหัสเป็น digital เพื่อส่งไปหา device อีกรอบแล้วแปลงกลับเป็น analogue โดยที่ไม่มี ชิพเสียงเฉพาะทางเนี่ยนะ เป็น engineering ที่ไม่เข้าท่าที่สุดในยุคนี้เลย (สำหรับผมนะ)
ปล. ถ้าผมเข้าใจอะไรผิดไปรบกวนแก้ให้ผมด้วยจักเป็นพระคุณครับ
ไอ้ที่ว่าดีกว่าน่าจะหมายถึงเสียบหูฟังที่เป็นพอร์ต Type-C โดยตรงเลยมั้งครับ เพราะถ้าใช้หัวแปลงก็ต้องพึ่ง DAC ที่หัวแปลงอีก
ผมว่าถ้าปลายทางเป็นหูฟังที่ไม่มี dac ก็ต้องพึ่ง dac ในเครื่องส่งสัญญาณเป็นแอนะล๊อกไปวอยซ์คอยล์อยู่ดีครับ ดังนั้น มันไม่ต่างหรอกนะ ต่างแค่คอนเนคเตอร์เท่านั้นเอง ยกเว้นเอามาต่อ dac หรือ หูฟังที่มี dac ในตัวเพราะแบบนี้จะไม่ต้องแปลงสัญญาณซ้ำซ้อนครับ แต่ก็นั่นแหละไม่ใช่เหตุผลให้ตัดอยู่ดีถ้าเขาซื้ออุปกรณ์ขนาดนั้นเขาก็คงเลือกซื้อ dac ที่เป็น usb อยู่แล้ว ทำ3.5 ไว้เป็นทางเลือกให้คนที่ไม่อยากซื้อ dac usb มาเป็นออพชั่นให้เขาแล้วมันจะเสียหายตรงไหนผมก็ไม่เข้าใจ
ตามนั้นแหละครับ คือถ้าจาก Type-C ไปหูฟังเลย ก็คือต้องมี DAC ที่เครื่อง แปลงก่อนจะเข้าหูฟังอยู่ดี หรือถ้าจะใช้ขั้วแปลงมันก็ต้องมี DAC อยู่ดี ตัวพอร์ต 3.5 ข้างในมันก็ไม่ได้กินที่เยอะกว่ากันสักเท่าไหร่เลย ทำใจไม่ได้เหมือนกันที่อยู่ดีๆไอ้พอร์ตที่ใช้งานบ่อยที่สุดดันกลายเป็นของไม่จำเป็นของคนส่วนมากไปซะงั้น ไม่งั้นก็ทำ Type-C สองช่องไปเลยดีกว่า
ผมรับได้ในมุมของ iPhone นะ เพราะเป็นปกติที่สินค้าของ Apple จะยัดเยียดการเปลี่ยนแปลงให้ลูกค้า แต่กับ Android ที่พยายามทำตัวกว้างๆ ตอบสนองลูกค้าหลายประเภท ดันมาทำตามเค้าซะนี่
ผมว่ามันกินที่นะ และยิ่งแปลงเป็น analog ในตัวเครื่องต้องหาวิธีไม่ให้เกิด noiseแทรกด้วย มันเลยกินที่มากกว่าขนาดตัวมัน ถ้าเป็น digital มันก็ไม่ต้องห่วงเรื่อง noise
เคยดูข่าวที่ช่องว่างที่หายไปของไอโฟนหลังตัด 3.5 ไหมครับ นั่นแหละครับความเป็นห่วงเรื่องน้อยซ์ในมือถือละ คือไม่มีใครออกแบบกังวลเรื่องน้อยซ์จากช่อง3.5ในมือถือนักหรอกครับ เพราะมันไม่มีทางดีไปกว่า dac แยก หรือเครื่องเล่นระดับเทพของ audiophile ทั้งหลายได้ การนำอุปกรณ์มากมายมายัดในเครื่องเล็กๆนี่เป็นไปไม่ได้เลยที่จะจัดการมันได้หมดทำไปก็เหมือนขี่ช้างจับตั๊กแตน และจากที่ว่ามาทำให้มันกินที่เล็กมากด้วยนะครับ ปัญหาจริงๆเลยมีแค่อย่างเดียวคือดีไซน์และความสมมาตรของการออกแบบครับ ผมก็นึกไม่ออกเหมือนกันว่าถ้าไม่ตัดมันออกเราจะทำให้มันทั้งบางทั้งไร้ขอบและใส่ลูกเล่นเยอะๆในเคสเล็กๆที่มีสัดส่วนจอเกือบเต็มพื้นที่ได้ไง โดยที่การออกแบบยังดูสวยและมีความสมมาตร เรื่องแปลืองพื้นที่ไม่ใช่ปัญหาเลยครับปัญหามันคืออย่างที่ว่าตะหาก
คิดเหมือนกันว่าสาเหตุการตัดน่าจะประมาณนี้ อย่าง Moto Z ตัวแรก กับมือถือจีนยี่ห้ออะไรไม่แน่ใจ ที่เห็นชัดๆเลยว่าบางมากจนใส่ช่องหูฟังไม่ได้
โยนเรื่องแก้ Noise ไปที่ตัว Hardware หูฟังแทน ซึ่งคุณภาพมันก็ไม่ได้ดีไปกว่าหูฟังแบบเก่าแถมราคาสูงกว่าด้วยนะครับ
ขอบคุณครับ ผมนี่ พอไม่มี 3.5 นี่ผมก็ไม่ได้นึกถึงว่ามันมี type c เลย
แต่จะว่าไป type c มันส่งสัญญาณยังไงอะครับ ตัวมันไม่ใช่ analogue หนิ หรือว่าส่งได้ครับ ?
ส่งเป็นดิจิตอล ถ้าบลูทูธก็น่าจะไปแปลงเป็น Analog ที่หูฟัง ถ้าใช้ Adapter ต่อก็แปลงที่ Adapter ครับ
USB-C มี audio analog ให้ครับถ้าต้องการใช้
มันถูกออกแบบให้รองรับการส่งสัญญาณแบบ Analog ได้ครับ กล่าวคือ โดยหลักการไม่ต่างจาก 3.5mm เลย ต่างจาก Lightning ที่ Digital ได้อย่างเดียว
แต่ปัจจุบันมือถือยี่ห้อไหนบ้างที่สามารถส่งสัญญาณ Analog ผ่าน USB-C ได้... อันนี้ไม่รู้เหมือนกัน เพราะแต่ละเจ้าไม่ได้บอกเลย คงต้องลองหาสายแปลง USB-C to 3.5mm แบบที่ไม่มี DAC อยู่ในตัวไปลองเสียบดู
bluetooth ตัว a2dp profile จะมีการทำ compression ครับ โดยตามมาตรฐานแล้วจะเป็น MP3 หรือ AAC แต่มีอุปกรณ์บางตัวที่เป็น lossless codec เหมือนกัน
ขอบคุณครับ ผมคิดว่าไม่ผ่านอะไรเลย
2 คือสัญญาณ digital มันจะต้องแปลงเป็น analogue เราถึงฟังได้ไงครับ มันตรงแปลงตรงไหนสักที่ ซึ่ง DAC มันควรจะอยู่ในจุดสุดท้าย เพื่อที่จะกลายเป็นเสียง และไม่ควรจะมีการทำอะไรเป็น digital จากตรงนั้นอีกแล้ว เพราะ DAC มันทำหน้าที่แปลง digital เป็นเสียงแล้วไงฮะ แล้วไปเข้ารหัสเสียงตรงนั้นอีกที เพื่อให้ตัวอื่น อย่าง bluetooth แปลงกลับมันก็ไปทำลายสิ่งที่ DAC ทำมาแล้วไงฮะ
DAC ยิ่งอยู่ใกล้หูที่สุดก็ยิ่งดีครับ
ประเด็นก็คือ DAC ดีๆขนาดก็ใหญ่ตาม(เดาเอา เพราะ Player รุ่นสูงๆขนาดใหญ่ทั้งนั้น)ทำให้ไม่สามารถใส่ในหูฟังได้ กลายเป็น trade-off ไป
แย้งนิดนึงที่ว่ายิ่งใกล้ยิ่งดี
จริงมันต้องมีที่ทางของมันซึ่งที่ทางของมันก็ตาม function ก็คือการแปลงสัญญาณ digital ให้เป็น analogue ฉะนั้นถ้าเป็นเครื่องเสียงแยกชิ้น set ใหญ่ DAC ต้องเป็นตัวแรกอยู่แล้ว ก่อนจะไปผ่าน pre-amp และ power amp
ทีนี้ผมว่า โดยหลักการคือ ที่ผมเข้าใจในตอนนี้ ก็คือเมื่อใช้งาน DAC ในการแปลงสัญญาณเป็น analogue แล้วมันจะต้องไม่โดนแปลงกลับเป็น digital อีกไม่ว่ากรณีใดๆ
ผมถึงได้แย้งมาตลอดว่า การใช้งานหูฟัง bluetooth ผ่าน DAC นี่มันเหมือนไปทำลาย DAC ทิ้งเพราะการแปลงสัญญาณกลับเป็น digital เพื่อส่งผ่านมันทำลายการทำงานของ DAC ไปละ
ที่ว่ายิ่งใกล้ยิ่งดีเพราะยิ่งไกลยิ่งมีโอกาสโดนรบกวนหรือเสียหาย เห็นด้วยครับว่ายิ่งแปลงไปแปลงกลับมันยิ่งแย่ลง อยู่ที่ว่าแย่กว่าเดิมมากน้อยแค่ไหน
แต่กรณี Bluetooth นี่.. เท่าที่ผมเข้าใจ มันก็ไม่ผ่าน DAC ในเครื่องนะครับ มันก็เอาไฟล์ดิจิตอลส่งผ่าน Bluetooth ไปตรงๆเลย เพราะงั้นมันไม่มีการแปลงไป-กลับหรอกครับ
ผมอาจจะผิดนะ แต่ผมว่าการพูดคุยมันต้องถกเถียงเพื่อจะขจัดความสับสน หรือว่าเสนอแนวคิดที่อาจจะผิดให้คนอื่นแก้ให้
ผมเข้าใจว่ามันต้องผ่าน DAC ครับ (ในกรณี bluetooth) คือ ถ้าจะเอาข้อมูล digital ยิงไปเลย ไม่คิดว่ามันจะมีความสามรถในการถอดรหัสนะครับ
คือ bluetooth เป็นมาตรฐานการรับส่งข้อมูลถูกไหมครับ ซึ่งการส่งข้อมูลไปมันจะต้องอ้างมาตรฐานบางอย่าง เช่น wave เป็นต้น (ไม่น่าใช่แหละแต่ ยกตัวอย่าง) คืองี้ถ้าเราเอา file audio ใหญ่โคตรๆ แบบ 24/192 งี้ มันจะเล่นได้อย่างไรหละครับ (ไม่มีทางถูกมะ) แต่ถ้าเราเล่น file พวกนี้บนคอม แล้วต่อ bluetooth มันก็เล่นได้ใช่ไหมครับ ฉะนัั้นการแปลงเป็น analogue มันทำบนคอม แล้วเข้ารหัสตามมาตรฐาน bluetooth ไปเพื่อส่งไปให้ หูฟัง หรือว่าลำโพงมันถอดรหัสอีกรอบ
Bluetooth มันส่งสัญญาณเป็น digital ครับ ยังไงตอนส่งออกมันต้องเป็น digital อยู่แล้ว มันไม่จำเป็นจะต้องแปลกไปเป็น analog แล้วแปลงเป็น digital อีกทีเพื่อส่งออกครับ มันก็ใช้สัญญาณ digital ตั้งแต่แรกในการส่งออกไปเลย แล้วค่อยไปแปลงเป็น analog ที่ตัวรับครับ
คือเข้าใจง่ายๆ Bluetooth มันส่งได้แต่สัญญาณ digital ครับ มันส่ง analog ไม่ได้ พวกเครื่องเสียงที่เป็น Bluetooth ทุกชนิดมันจะมีตัวแปลงอยู่ที่ตัวเองครับ ทั้งลำโพงและหูฟัง
ถ้าผมเข้าใจผิดตรงไหนฝากแก้ด้วยครับ แต่ Bluetooth ส่งสัญญาณเป็น Digital แน่ๆครับ
ใช่ฮะ bluetooth รับส่งสัญญาณ เป็น digital แน่ๆ ทีนี้ ประเด็นที่ผมเสนอด้านบน คือแย้งกลับไปที่ประเด็นว่า DAC ไม่ได้ทำหน้าที่อะไร คือส่งไฟล์ digital ไปให้ bluetooth device เล่นเลย
ผมว่าไม่ใช่ไงฮะ DAC มันจะต้องทำหน้าที่ แปลง file ใดๆ ที่คุณส่งให้มันเล่น ออกมาเป็น สัญญาณเสียง ซึ่งคือหน้าที่ของมัน และ ตัว bluetooth ตัวส่งมันจะต้องแปลงตรงนั้นกลับเป็น digital เพื่อที่จะส่งเป็นสัญญาณ digital ไปหา bluetooth device ถูกไหมฮะ
คือจริงๆ มันอาจจะไม่ได้แปลงเป็น analogue ก็ได้ แต่ว่า มันจะต้องมีการแปลง file บางอย่างเพื่อที่จะส่งไปหา bluetooth device ไม่ใช่ ให้ bluetooth device อ่านสัญญาณดิบจากตัว file ซึ่งตรงนี้เป็นขั้นตอนที่เพิ่มความผิดพลาด และไปทำลายหน้าที่ของ DAC
คงจะแปลงเป็นฟอร์แมตอะไรสักอย่างที่ทำให้มันส่ง Bluetooth ได้ แต่ไม่น่าจะแปลงกลับไปกลับมาระหว่าง Analog กับ Digital นะครับ ซึ่งไอ้ขั้นตอนการแปลงไฟล์เพื่อส่งออก Bluetooth ก็ไม่เกี่ยวกับ DAC แล้ว ตัว DAC มันมีหน้าที่เดียวคือแปลงจากไฟล์ Digital ให้เป็น Analog เพื่อให้มันส่งสัญญาณออกมาเป็นเสียงจริงๆที่คนเรารับฟังได้
ไอ้นี่แหละที่ผมมองว่ามันมีปัญหา เพราะ Source ไฟล์บางทีมันใหญ่ ยังไงก็น่าจะต้องแปลงก่อนไม่งั้นส่งไม่ไหว พอถึงตัวรับก็ไปแปลงเป็น Analog ทีเดียว ยังไงด้านคุณภาพก็ต้องลดทอนลง แต่ถ้าระดับ Streaming ผ่านแอพต่างๆน่าจะไม่มีปัญหาเท่าไหร่มั้ง จริงๆผมก็ฟังไม่ออกขนาดนั้นอ่ะ
2.
ถึงจะติด 3.5 แค่ไหน แต่มองว่าทางไปแบบไม่มี 3.5 ก็จำเป็น
ปัญหาคือหูฟังยังคงต้องใช้ energy source ดังนั้น แยกไปก็ไม่ได้สะดวกกว่า
จะถึงยุคไร้สายยังไง ถ้ามันยัง Generate พลังงานไม่ได้ หรือไม่ 1day usage ก็คงเหนื่อยๆหน่อย
3.
แต่เอาเข้าจริง Mass ก็ใช้ Streaming media ซะมาก ส่วนตัวคิดว่าคุณภาพไม่ได้ drop จาก source อยู่แล้วมั๊ง เค้าเลยมาทรงนี้กันหมด
4.
จริงๆแล้ว เสียงนี่มันคือ EQ Profile ของแต่ละดีไวซ์ซะมากกว่า (พอกับภาพ) ... คือสำหรับมือถือหรืออุปกรณ์ใดๆ เราก็ไม่รู้อยู่ที่ว่า Raw record หน้าตาเป็นไง ... ตัวหูฟังแต่ละตัวก็ขับเสียงออกมามิติต่างกันหมด ดังนั้นมันก็อาจจะไม่ใช่เรื่อง ส่งอะไรออกจากดีไวซ์ แต่เป็น output แปลงสัญญาณ D2A ยังไงมากกว่า
(นึกถึงยุคสาย HDMI ราคาถูก(ที่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน) กับแพง ภาพต่างกัน ... แต่ End-to-end เป็น Pure Digital พร้อม parity/correction ... ของแบบนี้ต้อง Blind Test)
ผมก็ไม่รู้นะว่า DAC มันใหญ่ขนาดไหน แต่ Player ตัวละหลายหมื่นเนี่ย ขนาดโดยรวมมันใหญ่มาก เพราะงั้นถ้าต้องการคุณภาพเสียงที่ดีจริงๆ DAC เล็กๆในหูฟังผมว่าไม่น่าพอหรอกครับ
เพราะงั้นระบบส่งเสียงแบบ Analog ผมว่ามันก็ยังอยู่นั่นแหละ แต่อาจจะหายไปจากมือถือ และอาจจะไม่ใช่พอร์ต 3.5mm ก็ได้
DAC มือถือเล็กมาก ยิ่งถ้ามือถือที่มีระบบแยกไปอย่าง Earpods นี่ DAC ไปอยู่สุดทางเลยที่ตัวหูฟัง
.....
สุดท้ายแล้วพาร์ทของ Data <--> DAC <--> Sound Wave มันก็ต้องกระจายๆไปล่ะครับ เพราะขนาดในแต่ละอุปกรณ์มันจำกัดจำเขี่ยมากเกินไป ให้เอามายัดไว้ในมือถือหมดก็ไม่ได้ของที่ดีอยู่ดี
ส่วนในมุมเทคโนโลยีตอนนี้ไม่ได้ตามนานแล้วแต่ละขั้นส่งไปจบตรงไหน แต่เท่าที่ไปลองหาๆดู ปัญหาคุณภาพนี่น่าจะเป็นที่ตัว Bluetooth ซึ่งรู้สึกว่าส่งแค่ 44KHz/16bit ... ซึ่งถ้ายังไม่ดีไปกว่านี้ (เช่นส่ง Loseless ได้) ยังไง 3.5(หรือ Wired อื่นๆ) คงใช้งานได้เสียงที่ดีกว่าไปอีกพักใหญ่ๆ
แต่การใช้ 3.5 ก็เป็น Move ที่ไม่ดีเท่าไรสำหรับอุปกรณ์ตัวเล็ก (พอร์ตจำกัดที่ 3 line มานานมากแล้ว) คืออุปกรณ์มันต้องเล็กลงเรื่อยๆ จำนวนพอร์ต ควรจะไปถึงขั้น "ไม่มี" หรือมีน้อยที่สุด ซึ่งผมมองว่า ในเมื่ออุปกรณ์ที่เป็นภาคบังคับของคนคือโทรศัพท์มือถือ .. USB-C ก็น่าจะเป็นพอร์ต universal เริ่มต้นที่ดี (ถึงจะบอกว่า apple ยังไม่ยอมใช้เต็มตัวก็เหอะ) แต่การปรับไปในเชิงบังคับก็น่าจะนำไปสู่การที่ device ขนาดใหญ่กว่าทยอยเลิกใช้ 3.5 ตามกันไปด้วย ถ้ามันทดแทนกันได้
แต่สุดท้ายพฤติกรรมคนก็จะเปลี่ยนไปนี่ล่ะ ยังไงสุดท้ายหูฟังน่าจะมี DAC เป็นของตัวเองซะมาก (ตามสภาพตลาด)
แต่ถ้าจะไม่มี DAC ระบบสื่อสารไร้สายก็ต้องมี B/W ในระดับ wifi เลยซึ่งกินพลังงานมากมาย เกินกว่าจะอยู่ในมือถือได้
ผมคิดว่าระบบ DAC ในหูฟังไม่สามารถครองตลาดแบบเบ็ดเสร็จได้ โดยเฉพาะตลาดบนนี่แหละครับ เพราะด้วยขนาดอันจำกัดภายในหูฟัง ถ้าต้องการคุณภาพเสียงระดับสูงก็อาจจะเป็นต้องใช้ DAC คุณภาพสูงที่ไม่สามารถใส่ไว้ในหูฟังได้ (แต่ผมก็ไม่รู้อยู่ดีว่า DAC ที่คุณภาพดีมากๆมันใหญ่แค่ไหน)
เพราะงั้นผมว่ายังไงระบบ DAC แยกออกมาจากหูฟัง ผมว่ามันคงยังอยู่ไปอีกนานเลยครับ ไม่น่าจะโดนกลืนง่ายๆหรอก ขนาด Apple ที่เห็นใจกล้าทำการตลาดเชิงบังคับแบบนั้นยังไม่เสี่ยงกับ Macbook Pro ของตัวเองเลย
แต่ก็อย่างที่บอกนั่นแหละครับว่ามันคือตลาดบน สำหรับตลาดล่างๆ เช่นมือถือที่ส่วนมากก็ไม่ได้ใช้ DAC ดีๆอยู่แล้ว ก็เป็นไปได้ที่จะโดนกลายเป็นระบบ DAC อยู่ที่หูฟังหมด แบบที่กำลังเป็นอยู่ตอนนี้
ทั้งนี้อย่างที่ผมบอก สิ่งที่ตายยากคือระบบ DAC แยกออกมาจากหูฟัง ไม่ได้แปล่วา 3.5mm จะไม่ตาย ซึ่ง USB-C เองก็สามารถทำให้ส่งสัญญาณ Analog เช่นเดียวกับ 3.5mm ได้เหมือนกัน (แต่ตอนนี้ไม่รู้ว่ารุ่นไหนทำบ้าง) เพราะงั้น 3.5mm ในมือถือค่อนข้างแน่นอนที่จะหายไปครับ
ยุคต่อไปคงเป็น Bluetooth DAC แล้วล่ะครับ เริ่มมีแล้วใน kickstarter แถมมี 2.5 balanced ด้วย
ไอ้เนี่ยควรจะ make sense ที่สุดโดยหลักการอะนะ
ส่วนตัวแล้วผมว่ามันดูเว่อร์เกินไปที่บอกว่าเอาช่องหูฟังออกแล้วเพิ่มพิ้นที่ได้ 500 mAh แล้วอีกอย่างคือ หลังจากประกาศวางขายมา ก็มีสินค้าหูฟัง USB-C ยี่ห้องูเขียวโผล่มาจากไหนไม่รู้มาวางขาย ความบังเอิญ??
ส่วน Dongle THX certified อันนี้ไม่ทราบว่าเชื่อมากน้อยได้แค่ไหนเพราะ Razer เป็นเจ้าของ THX แต่ก็ลองดูอีกทีละกัน สุดท้ายแล้ว คนที่เสียประโยชน์สุดคือ ผู้บริโภคนี่เอง
แบต 500 mah ขนาดประมาณ 2.53.50.5 cm อ่ะครับ ไม่รวมสาย
ถ้า 3.5mm แบบ 4 ขั้ว (L/R/Mic/N) ดูจากงาน teardown ขนาดค่อนข้างใกล้เคียงกันนะครับ (ขนาดรวมเบ้ารับและชิพ/ชิลด์/คอนเนคเตอร์ ที่เกี่ยวข้อง
ส่วน THX Certified มันอยู่ในพาร์ท DAC ซึ่งเอาจริงๆผมมองว่า to Analog นี่การ Certified ทุกระบบให้เสียง "ไม่เหมือนกัน" แต่ทุกเจ้าเคลมว่า ให่เสียงอย่างที่ Sound Engineer อยากให้ได้ยิน ก็เลยคิดว่า Engineer นี่ก็ดูอะไรก็ได้เหลือเกิน.. ถ้า engineer คนเดียวกันเอาของแบบเดียวกันไปเทสในแต่ละระบบ มันต้องผ่านแค่อันเดียว (เพราะถ้าเสียงที่ได้ยินมี 4 แบบ ผ่านทั้ง 4 แบบ ก็แปลว่า engineer ก็สายมโนสิ คือได้ยินอะไรก็ได้ ไม่ต้องเหมือนต้นฉบับ) (ตัวอย่างคลิป https://www.youtube.com/watch?v=04yEtZJVpyY) ... ดังนั้นอยู่ที่ฟังแล้วชอบเป็นหลักจริงๆมากกว่า
คือส่วนตัวไม่ได้คิดว่าเสียประโยชน์อะไรนะครับ อาจจะเพราะผมก็รอฝั่งไร้สายขยับซะที (ขยับคือ ไปซะที ถ้ากั๊กๆอยู่ก็จะไม่มี improvement กันเลย ... กั๊ก 3.5 10 ปี สมมติย้อนไปถ้าปล่อยไร้สายตั้งแต่ตอนนั้นก็แปลว่าไร้สายต้องพัฒนามา 10 ปีแล้ว นี่คือแทบอยู่ที่เดิม ไม่นับ bluetooth ขยับมาเรื่อยๆ) แต่ช่วงรอยต่อสองสามปีนี้มันก็น่าจะยังไม่เนียนเท่าที่ควร (แต่ก็รับได้แล้วนะ)
Sound Engineer ที่ว่าน่าจะใช้เครื่องมือวัดมากกว่าครับ ไม่น่าจะใช่หูฟังทั้งหมด วัดค่านู่นนี่ ขับเสียงย่านไหนออกมาได้ขนาดไหน แล้วก็คงมีมาตรฐานว่าผ่านหรือไม่ผ่าน คงไม่ใช่ฟังให้มันเหมือนกันหมดนะครับ
ไอ้ THX, Dolby อะไรที่ติดมานี่ ผมว่ามันก็แค่เอามาโฆษณาแหละ หรือไม่ก็แค่ขับเสียงในมาตรฐานนี้ออกมาได้ แต่ไม่ได้บอกว่าดีขนาดไหน เพราะตัวเจ้าของก็ไม่เห็นเคยบอกว่ามันจะต้องเป็นแบบไหนกันแน่ (มีแต่คลิปโชว์ ซึ่งก็ไม่ชัดเจน)
ถ้ามันฟังเพลงไป ชาร์จแบตไปได้ ก็โอเคครับ
แน่นอนว่า Razor ก็ออกหูฟัง USB-C ออกมาเพื่อขายของเช่นกัน 55+
เอาจริงๆแล้ว ประโยชน์หลักๆของหูฟังแบบ USB-C/Lightning ก็คือเรื่อง Noise ที่ไม่ต้องผ่านสายหูฟังเท่านั้นแหละครับ ในเรื่องคุณภาพเสียง DAC ตัวเล็กๆในหูฟัง หรือ ในสายแปลงเป็น 3.5mm คงไม่น่าจะสู้ DAC ที่อยู่ใน Player หรือมือถือรุ่นที่เน้นเสียงได้หรอกครับ
สรุปก็คือ มันดีกว่าถ้าเทียบกับพวกมือถือ DAC ห่วยๆ แต่ถ้าต้องการเสียงคุณภาพสูงจริงๆ ก็ต้องแยก DAC ออกมานอกหูฟังอยู่ดี เพราะงั้นหูฟังแบบ Analog ไม่ตายง่ายๆหรอกครับ อย่างน้อยก็ไม่ใช่ในวงการมือถือ ขนาด Apple ที่ผลักดันเอา 3.5mm ออก จนสุดท้ายก็ยังใส่ 3.5mm ใน Macbook Pro เลย
เพียงแต่รู 3.5mm อาจจะหายไปเป็นพอร์ตอื่นๆที่สามารถส่งสัญญาณ Analog มาได้แทนก็เป็นได้ (USB-C ก็รองรับการส่ง Analog เหมือนกัน แต่ไม่มีข้อมูลเลยว่าค่ายไหนทำบ้าง)
ผมไม่เชื่อว่า 3.5 จะหายไปครับ ตราบเท่าที่ สัญญาณเสียงจากพอร์ตพวกนี้ยังเป็นแอนะล๊อกและเสียงที่มนุษย์ได้ยินไม่ได้ต้องการเลนสัญญาณมากกว่านี้ และusb c กับไลท์นิ่งก็ไม่ได้พิสูจน์ตัวเองว่าเหนือว่าตรงไหนด้านเสียงสเตอริโอ
การให้เสียงหลายแชนเนลในหูฟังก็ไม่ได้รับความนิยม จุดสำคัญที่สุดคือช่องคอนเนคเตอร์พวกนี้ไม่มีความเป็นมาตรฐานเดียวกันและอายุไม่ยืน usb c ยังไงอีกซัก 10ปี ก็เป็นไปได้ว่าจะเปลี่ยน ข้อจำกัดของไลท์นิ่งก็เหมือนกันซักวันก็ต้องเปลี่ยน ตราบเท่าที่เทคโนโลยีไร้สายยังไม่นิยมแพร่หลายและมีจุดแข็งเรื่องแหล่งพลังงานได้เหมือนแบบมีสาย ก็ยากที่ 3.5 จะตาย สิ่งน่ารำคาญคือเราต้องพกอะแดปเตอร์เพิ่มตามอุปกรณ์ที่ใช้เท่านั้นเอง เพราะต้นเหตุของการผลักดันไล่3.5 ออกไปไม่ใช่เพิ่อต้องการรังสรรค์เทคโนโลยีแต่เพื่อการดีไซน์และการขายของเท่านั้น เห็นได้จากของที่ทำมาขายไม่ได้เป็นนวัตกรรมอะไรแค่ของเดิมๆไม่มีเทคนิคพิเศษอะไรที่ดีกว่าของที่ใช้คอนเนคเตอร์เก่าๆ แบบ 3.5 ในตลาด
ผมว่ามันอาจจะหายไป ในแง่ของ uniformity นะครับ
โจทย์หลักคือ ลดรูปแบบ connector ให้เหลือแค่ แบบเดียวสำหรับทุกอย่าง (มันก็จะเป็น modular)
ถ้าที่สุดแล้วพอร์ต USB-C (สมมติ) เป็นพอร์ตหลักของทุก mobile device และไม่มีใครให้ 3.5 เลย + ไม่มี portable media player ตัวไหนให้ 3.5 เลย
มันก็จะเกิด USB-C for Audio ขึ้นมาเอง ..
ผมว่า
1. พอร์ต 3.5 มี Limitation สูงเกินไปมานานแล้ว
2. ผมยังเชื่อว่า DAC/Decoder ไม่ควรอยู่ที่ Source ... แต่ควรอยู่ที่ Sink (เหตุผลเรื่องการรบกวนในตัวนำสัญญาณ)
แต่การพัฒนา DAC ขนาดเล็กให้ได้ใกล้เคียงกับ DAC ขนาดใหญ่ๆ จะทำไปทางไหนก็ต้องลองดูกัน ... คือตัว Media ในยุคนี้พัฒนาบน Digital เกือบหมดแล้ว มันไม่ได้เหมือนยุคแผ่นเสียงหรือเทป ที่หลายขั้นตอนยังเป็น Analog อยู่ ... แล้ว Distribution Media ก็เป็นไฟล์กันถ้วนหน้า ผมว่า DAC มันมี upper-limit อยู่ว่าเท่านี้ได้ "exact copy" ก็เลยคิดว่ายังน่าจะทำได้
มองว่าใน 10 ปี หูฟังจะไปทางคล้ายๆ sport-band เยอะขึ้น และถ้าเป็นระดับ high-end จ๋าๆเลย ก็จะเป็นครอบหัวเยอะขึ้น
ส่วนนวัตกรรม ผมว่าที่มันยังไม่เกิด เพราะพอร์ตมันยังไม่ไป
นวัตกรรมจะเกิดได้ไงถ้า push คนออกจาก 3.5 ไม่ได้
สมมติเทียบแค่ หูฟังเดี๋ยวนี้มี 3-5-7 drivers ในหู
ในระบบ 3.5 สัญญาณมาแค่ 2 เส้น (L กับ R ... ไม่นับไมค)
ถ้าสมมติมา USB-C .. มี 24 ช่องสัญญาณ
แล้วหูฟังที่มี 3 driver/5 driver แล้ว driver แต่ละตัวมีสัญญาณเป็นของตัวเองแยกกัน
เอาแค่แยกขับ Driver แต่ละตัวในหูฟัง มิติ/soundstage ก็จะกว้างกว่าสมจริงได้มากกว่าเยอะแล้วครับ
acoustic design ปัจจุบันมันอยู่ที่ยี่ห้อไหนดีไซน์การขับ driver ยังไงจาก analog 2 channel.. (ได้ 7.1 ปลอม) แต่ถ้าพอร์ตมันสนับสนุนมากกว่านี้มันก็จะเปิดกว้าง
ตอนนี้ใครจะพัฒนาอะไร ติดที่ เห้ย พอร์ตเรามีแค่ 2 สัญญาณนะ ตลอดอ่ะครับ มันก็ไม่ไปไกลกว่านี้แล้วล่ะ
DAC จะไปอยู่ปลายทางได้ หลักๆก็มีข้อจำกัดเรื่องขนาดนั่นแหละครับ ซึ่งเท่าที่เห็นเนี่ย... ผมคิดว่าเป็นไปได้ยากครับที่มันจะแทนที่ได้
สมมติว่ามีการพัฒนาสามารถทำ DAC คุณภาพดีให้ตัวเล็กๆใส่ในหูฟังได้ แต่ผมเชื่อว่า DAC ใหญ่ๆเองก็คงไม่หยุดพัฒนาให้ DAC เล็กๆตามทันหรอกครับ ผมเชื่อว่า DAC ใหญ่ๆก็จะดียิ่งขึ้นไปอีก จนกลายเป็นว่าทั้งคู่ถูกพัฒนาไปพร้อมๆกัน และอยู่ได้ทั้งคู่ แต่ส่วนแบ่งตลาดอาจมีการเปลี่ยนแปลงก็ได้
แต่ต่อให้ DAC ใหญ่พัฒนาไป ตัวพอร์ตก็ยังเป็นข้อจำกัดอยู่ดีล่ะครับ ผมยังเชื่อว่า 3.5 มันหมดยุคไปแล้วนะ เพียงแต่ใน Consumer Grade จะมีอะไรมาแทนยังตอบได้ไม่ชัดแค่นั้นเอง
คือ DAC ตัวใหญ่ขนาดไหน ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาสัญญาณรบกวนที่เกิดจากตัวนำสัญญาณ ที่นำสัญญาณ analog จาก DAC สู่หูได้นะครับ (ต้องไปแก้ที่สาย->ซึ่งก็ต้องไปแก้ที่พอร์ตอยู่ดี->และสายก็มีข้อจำกัดเรื่องขนาดและน้ำหนักอยู่ดี)
คือผมมองว่า DAC มาดีขนาดไหน สุดท้ายตายที่สายหมด ก็จะดูสะเทือนใจเกินไปนิดนึง ... ส่วน DAC ขนาดใหญ่จริงจังไปลำโพง ผมว่าโดยมากก็ไม่ได้เสียบพอร์ต 3.5 อยู่แล้วหรือเปล่าครับ มันก็ไปออก TRS สองเส้นอยู่แล้ว (นี่ minimum 6pin สำหรับสองข้าง ข้างละ 3 pin... คือ 3.5 มันไม่ตอบมานานแล้วสำหรับ high-grade audio) ... ยังไม่นับงานที่ใช้ XLR อีก
ทั้งนี้ทั้งนั้นตอบโดยอนุมานว่า ถ้าหูคนฟัง sensitive กับ DAC ขนาดนั้น ก็รับ magnetic/electric interference ที่สายแล้วรู้สึกเหมือนกัน
*** ตอบในสโคปของกระทู้นี้นะครับ คือ 3.5 กับความจำเป็นบนพอร์ตมือถือ --> ขยายเกินสโคปไปตรงที่ว่า มือถือเป็นปัจจัยหลัก -> หูฟังหลักของ Mass น่าจะใช้บนมือถือ -> ความ Mass ของมือถือ จะบีบให้อันอื่นต้องหันมาใช้พอร์ตร่วม -> การทำ line ผลิตพอร์ตหลายประเภทมีต้นทุนสูงกว่า (และสูงพอที่จะลดลงเหลือประเภทที่ขายได้มากกว่า แล้วบังคับเปลี่ยนตามมา)
แต่ตลาด phile มันก็เป็นตลาดมีตังอ่ะนะ เอาจริงๆอาจจะยังไม่มาก็ได้เพราะฝั่งนู้นตั้งราคาขายได้สะใจกว่าเยอะ หูละ 10k 20k custom 100k++
ดูเหมือนจะเข้าใจผิดนิดหน่อยนะครับ คือผมเห็นด้วยเรื่อง 3.5mm นะครับ ที่ว่าตอนนี้มันมีข้อจำกัด แต่ที่ผมเห็นต่างคืออนาคต DAC จะไปอยู่ที่ปลายทางหมดครับ อย่างที่บอกว่ามันมีปัจจัยเรื่องขนาดเรื่องคุณภาพอะไรพวกนั้น เพราะงั้นผมคิดว่ามันก็ยังมีการส่งสัญญาณ Analog อยู่ครับ แต่อาจไม่ใช่ในรูปแบบของ 3.5mm
จริงๆพาร์ท DAC เองไม่ได้ใหญ่เท่าไรอ่ะครับ ชิปตัวที่แพงมากๆก็ยังอยู่ที่ขนาด 2x2 mm - 3x3 mm (ไม่รวม pin) แค่นั้นเอง (แต่ DAC ที่ละเอียดมากไม่ได้แปลว่าดีนะ เพราะถ้า source ห่วย DAC จะฟ้อง และ DAC ที่ไม่ได้ดีเกินไปจะช่วยกลบความห่วยของ source ได้ .... ตามที่บอกว่าเป็นเรื่องรสนิยม)
ส่วนที่ทำให้ขนาดมันใหญ่ของ External DAC คือการใส่สารพัดสิ่งเข้าไปทำให้กระแสเรียบเนียนเท่าที่จะเนียนได้ ...
++++
ส่วนปัจจัยอื่นๆ เช่นการขับลำโพง impedance สูงๆ อะไรทั้งหลายทั้งปวง ผมว่ามันจำเป็นเพราะมันต้องผ่านตัวกลางอ่ะครับ จะใช้คำว่าเพราะกระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวนำที่เป็น analog และต้องรักษาสภาพนั้นไปจนถึงการสั่นของ driver นั่นแหล่ะ ทำให้สารพัดสิ่งรอบๆต้องดีไปซะหมด ...
ถ้า DAC ไปอยู่ที่ต้นทาง การจะปรับทุกอย่างให้สอดคล้องมันทำยากครับ (เพราะเอาจริงๆเราไม่ได้ระบุประเภทหูฟังเจาะจงขนาดนั้น) ... เปลี่ยนหูฟัง เปลี่ยน driver อะไรๆก็เปลี่ยนแล้ว แถมการจะทำ สัญญาณ อนาล็อคให้ดีตลอดเส้นทางเลยต้องใช้องค์ประกอบหลายอย่าง (กระแสตั้งต้น คุณภาพเสียงตั้งตัน สายสัญญาณ ขั้นตอนการแปลงสัญญาณจากใครไม่รู้ ให้เข้ากับตัว Driver ที่เราออกแบบ...)
แต่ถ้าย้าย DAC ไปอยู่ที่หูจริงๆ คราวนี้มันกลายเป็นว่าทุกสิ่งคุมได้หมด impedance ของ driver / สัญญาณจาก DAC / Filter+Amp ที่กรองกระแสที่ได้จาก usb-c (ซึ่งมี shield) อีกที -> หูฟัง ... ผมมองว่าถ้าเช่นนี้ การจะทำให้คุณภาพดีขึ้นก็ควรจะง่ายกว่า ตามไปด้วย
https://electronics.stackexchange.com/questions/21787/why-is-high-input-impedance-good
หรือจะบอกในมุมว่า DAC ทุกวันนี้ที่ใช้อยู่มันคือการทำแบบ One size .. fit all Headphone เทียบกับการยก DAC ไปไว้ในหูแต่ละตัวเลย มันคือ Custom fit สำหรับ headphone แต่ละแบบ ผมยังรู้สึกว่าแบบหลังมันจะให้ผลงานที่ดีกว่านะ (แต่ข้อเสียใหญ่สุดที่จะตามมาก็คือหูฟังก็พึงจะแพงขึ้นตามเพราะมีค่า DAC Chip + อุปกรณ์อื่นๆงอกมาด้วย ... แลกกับการไม่ต้องพก headphone amp)
ประกอบอิงแอปเปิ้ลเลยแล้วกัน http://www.makeuseof.com/tag/no-stereo-jack-no-problem-iphone-7-sounds-great/ .. เป็นหนึ่งในเคสผู้นำเทรนด์ (เสียงมันอาจจะยังไม่ดี แต่แนวทางนี้ถ้าถูกนำไปใช้โดยค่ายหูฟังใหญ๋ๆ นำๆ มันควรจะออกมาดี)
--- จริงๆที่สุดแล้วในงาน sound ระดับลำโพงขนาดใหญ่เราพึ่งพาสายสัญญาณอนาล็อคดีๆเยอะแยะมากมายเต็มไปหมด (แพงสาย) ... แต่ถ้าเอาค่าสายทั้งหมดหายไป เหลือสายแลนเส้นเดียว แล้วที่เหลือจบในลำโพง ผมว่าโดยรวมงานก็ควรจะออกมาดีกว่าง่ายกว่าอ่ะนะครับ เพียงแต่ก่อนหน้านี้ไม่มีใครทำการส่งสัญญาณแบบ digital ทั้งระบบแค่นั้นเอง (อีกมุมก็คือ คนที่ทำตัว DAC / Controller จะขายของไม่ออกไง .. อีกด้านก็คือระหว่างลำโพงด้วยการ การ sync ให้เสียงสอดคล้องกันมันยากกว่าไง)
ปล. ณ วันนี้อย่างน้อยๆมี 2 เจ้าแล้วที่ DAC อยู่ที่หูฟังไซส์เล็ก คือ Airpods กับ Pixel Bud ... พวกใหญ่อย่าง mdr-1adac ของโซนี่ก็ออกมาพักนึง https://www.sony.com/electronics/headband-headphones/mdr-1adac
ปล.2. แต่ก็อาจจะจริงที่ว่า analog ระหว่างทางยังอาจจะมีอยู่ (แต่มันจำเป็นจริงหรือเปล่า ผมทิ้ง ? ไว้แล้วกันนะครับ :D)
ปล.3. รู้สึกว่าพิมพ์ในกระทู้นี้มากเกินไปละ 555 พอดีกว่า
+1 เป็นเหตุผลที่ฟังดูเข้าท่าดีครับ ซึ่งดูแล้วก็น่าจะได้ประโยชน์ในทุกกลุ่ม ยกเว้นคนที่ขาย system เดิม
ถกกันดีแล้วครับ ต่างคนต่างเห็นต่างอย่างมีเหตุผล 55+
เรื่องขนาดของ DAC อย่างที่บอกว่าผมก็ไม่รู้ว่า DAC ดีๆมันขนาดเท่าไหร่ (DAC เล็กๆมีแน่ๆ อย่างในพวกสายแปลงเป็น 3.5mm หรือหูฟังไร้สายเล็กๆ แต่คุณภาพไม่รู้ว่าดีแค่ไหน) แค่อ้างอิงว่า DAP ตัวดีๆขนาดจะใหญ่ตามแค่นั้น แถมไม่รู้ว่ามีปัจจัยอะไรอย่างอื่นอีกบ้าง (เช่น Amp หรืออะไรพวกนี้) ถ้าที่ DAP มันใหญ่เพราะเรื่องการควบคุม Noise เป็นหลักก็เป็นไปได้ว่าเราจะได้คุณภาพเสียงระดับเดียวกันระหว่าง DAP ตัวใหญ่ๆกับหูฟังตัวเล็กๆ
เรื่องการที่ DAC กับ Driver ที่ขับเสียงแยกกัน จริงอยู่ว่าถ้ารวมกันกันมันปรับให้สอดคล้องกันง่าย แต่โดยส่วนตัวผมมองว่าการที่สามารถ Custom ได้ก็เป็นข้อดีอย่างหนึ่งเหมือนกัน (อันนี้ย้ำว่าความเห็นส่วนตัวนะครับ)
เรื่อง Apple เนี่ย จริงๆผมก็อยากเชื่อว่า Apple พยายามผลักดันนะถ้า Macbook Pro ไม่ใส่ 3.5mm มา แต่สุดท้ายก็ใส่มาจนได้ ทำให้ผมมองว่า Apple เองยังไม่แน่ใจว่ามันดีกว่าจริงรึเปล่าด้วยซ้ำ
เรื่อง DAC ในหูฟัง ไม่ใช่ว่ามีมานานตั้งแต่พวกหูฟังบลูทูธบ้านๆแล้วเหรอครับ? ผมเข้าใจว่าอุปกรณ์ที่เล่นอิเล็กทรอนิคที่ส่งเสียงได้ ต้องมี DAC อยู่แล้วไม่ว่าทางใดทางหนึ่งก็ตาม ซึ่งหูฟังไร้สายนั้น ยังไงก็ต้องมี DAC อยู่ที่ตัวหูฟังเอง
ข้อจำกัดของ 3.5 กับที่คุณว่ามาสุดท้ายมันก็อยู่แค่เรื่องเส้นทางสัญญาณ เรื่องที่ผมว่ามันไม่ต่างกันผมหมายถึง คุณภาพเสียงต่างหาก
ผมว่าเรื่องข้อจำกัดในอุปกรณืพกพาที่ทำให้มัลติแชนเนลไม่ได้รับความนิยมมันมาจาก
1.Content ครับ คุณคงทราบว่า content มัลติแชนแนล นอกจากเกมกับหนังแล้ว มันไม่ได้รับความนิยมเลย ไม่ใช่ระบบไม่รองรับนะครับมันรับมานานแล้วแต่ไม่มี Content ให้เล่นต่อให้เป็นเครื่องเล่นในบ้านก็เหอะ ซึ่งมันก็ส่งผลมาถึง Content บนอุกรณ์พกพาด้วย อาจด้วยข้อจำกัดหลายประการ เช่นประสบการ์ณที่ไม่แตกต่างนัก ค่าใช้จ่ายการสร้าง หรือจะอะไรก็เหอะ แต่ถ้าถามผม ผมคิดว่าเพราะเสียงจาก Content พวกนี้มันไม่จำเป็นต้องเป็นเซอราวมากกว่า ทำไปก็ไม่แตกต่าง
2.ไซส์ของหูฟังเองครับ คือตัวมันแค่นั้นแถมติดอยู่ที่หู จะทำเสียงหลายแชนเนลจริงกับซิมูเลท ไอ้ของเก๊นั่นน่ะอาจฟังดูมีมีติกว่าซะอีก มากกว่าหูฟังที่มีไดรเวอร์ขับ 7 ตัวแยกอิสระ เพราะตำแหน่งในหูฟังและหูนั่นแหละ เว้นแต่พวกครอบหูนะ ไอ้นั่นอาจทำได้ ซึ่งก็มีคนทำมาแล้วครับหูฟังครอบหูเซอราวแท้ มีหลายยี่ห้อด้วยแต่ไม่นิยมซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าจะเกี่ยวเนื่องจากข้อแรกไหมนะ
อีกอย่างคุณกำลังสับสนกับเซอราวกับซาวด์สเตจนะครับ คนละเรื่อง ซาวสเตจอยู่ที่การจูนคลื่นเสียง การแยกแชนแนลไม่ได้ทำให้เกิดซาวด์สเตจนะ
เช่นเดียวกับหูฟังหลายไดรเวอร์ระดับไฮเอนด์ที่มีในตลาดนะครับ อันนั้นเขาใส่มาเพื่อการขับเสียงให้แยกย่านความถี่กันเป็นการจูนเสียงเกิดเป็นเสียงที่มีคุณภาพไม่ได้ต้องการทำเซอราวปลอม
อีกสิ่งนึงที่ทำให้ไม่ได้เกิดคือผู้บริโภคที่ยินดีจ่ายแพง (กลุ่ม HighEnd) ไม่ได้ต้องการแชนแนล แต่ต้องการคุณภาพเสียงครับ (ซึ่งเหตุจริงๆอาจมาจากข้อแรกด้วยการบันทึกเสียงคุณภาพสูงไม่ค่อยมีมัลติแชนแนล) เขาต้องการเสียงที่ดี เป็นธรรมชาติ มีโทนตรงรสนิยม ความเพี้ยนต่ำ(แต่บางคนก็ชอบแบบเพี้ยนๆเช่นพวกชอบเล่นระบบหลอด) เสียงดนตรีมาครบและถูกจูนย่านความถี่เหมาะสม ฯลฯ การพัฒนา System สำหรับ Audiophile ที่มีราคาสูงมากๆเราจะไม่เห็นใครไปเอาดีกับมัลติแชนแนลเขาเอาแค่สเตอริโอนี่ล่ะครับ ส่วนตอนดูหนังก็จะใช้ system เซอราวแยกไปที่ราคาถูกกว่าแทน
ส่วนวงจร DAC ยังไงเราก็หนีการแปลงสัญญาณซ้ำไปมาไม่ได้ เพราะเสียงเป็นคลื่นแอนะล๊อก แต่สื่อเราเก็บเป็นดิจิตัล และขนาดของมันจะเล็กใหญ่ไม่สำคัญครับกรณีถ้าจะเอาสินค้าไปลงตลาด audiophile (ถ้าไม่ใช่กลุ่มนี้ยิ่งไม่สำคัญใหญ่เลยได้ยินเสียงก็พอแล้ว)สิ่งสำคัญคือ ความบริสุทธิของสัญญาณ ตั้งแต่ต้นไปจนถึงวอยซ์คอยล์ ไม่มีทางเลยที่อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณไฟฟ้าหลายอย่างแถมโดนยัดในกล่องเล็กๆแบบมือถือจะออกแบบวงจรลดสัญญาณรบกวนพวกนี้ได้ดีพอ มีสัญญาณไฟฟ้าอื่นอยู่ติดกันมันก็โดนกวนแล้ว ขนาดของ DAC จึงไม่ใช่สิ่งสำคัญ การออกแบบวงจรลดการรบกวนและป้องกันสัญญาณต้นฉบับต่างหากที่สำคัญซึ่งไอ้พวกนี้แหละคือที่มาของขนาดในอุปกรณ์ระดับแพงๆ
สุดท้ายเรื่องความคงอยู่ที่ผมคิด ผมว่ามันมาจากความไม่จำเป็นนั่นแหละ ผมไม่คิดว่าผู้บริโภคต้องการอะไรมากกว่า สเตอริโอ นับจาก content ยิ่งโดยเฉพาะกับบนอุปกรณ์พกพา และ connector ที่เป็นมาตรฐานที่สุด Universal ที่สุดแบบ 3.5 น่าจะยังเป็นทางเลือกหลักของผู้ผลิตอุปกรณ์ audio พวกนี้เต็มที่คือแถมหัวแปลงมาให้ เพราะถ้าเลือกทำ ไลท์นิ่ง ก็ขายพวก type c ไม่ได้ เลือกอีกฝั่งก็ไม่ได้อีกฝั่ง ทำมันตรงกลางนี่แหละจบ ขายได้ทุกฝ่าย ถ้า 3.5 มันจะสูญสิ้นไปจริงๆ ก็ต้องเป็นตอนที่ยักษ์ทั้ง2ตัวนี่มันตกลงจะใช้มาตรฐานเดียวกันนั่นแหละมันถึงจะเกิด ซึ่งผมว่ายาก ถ้าเกิดจริง อาจจะไม่ใช่ทั้งไลท์นิ่งหรือ type c ก็ได้ แล้วฝั่งผู้ผลิตจะไปเสี่ยงทำไม
ประเด็นแรก Sound stage
ไม่ได้สับสนหรอกครับ
ผมมองว่า Surround กับ Sound stage ไม่ได้ต่างกันมากนะครับ มันผูกติดกันอย่างแนบแน่น
Surround คือมี source มาก็แยกไปตาม source / Sound stage คือมี Source มาแค่นี้ จะแบ่งเนื้อหาใน source ไปวางตรงไหน
ต้นฉบับอัดจากห้องสี่เหลี่ยม ... แต่รับมาเหลือ 2.0 มิติเหลือ L/R (บวกกับดีเลย์ของเสียงเดียวกันที่สอง channel ที่แต่ละค่ายไปอนุมานเอาเองว่า เสียงย่านนี้เครื่องดนตรีนี้ชิ้นนี้ควรไปวางตรงไหน ไกลแค่ไหน) เทียบวงออเคสตร้าก็ได้ ... แสดงว่าหูฟังที่ซาวน์สเตจกว้าง คนสองคนคุยกันในห้องสอบสวน แต่มิติจากหูดันกลายเป็นคุยกันกลางสนามหญ้า ... มันไม่จริงตั้งแต่แรกแล้วถ้าอยู่บน 3.5 .. แต่หูฟังแบบนั้นมันก็เหมาะกับฟังดนตรีมากกว่า ... คือ ผมมองว่า Sound stage คือ pre-defined equalizer ประเภทนึง (แต่ไม่ได้ทำกับคลื่นเสียง แต่ทำกับมิติ) (ดังนั้น Dolby/DTS หรือค่ายอื่นๆ จึงสามารถออก Software เพื่อปรับ EQ ให้เกิดมิติที่แปลกได้ และหูฟังระดับกลางๆ เลยสามารถโดนจูนด้วย EQ ได้) ..... และถึงจะมี 7 driver แต่ถ้ายังมี source แค่ 2 ทิศทาง ... แสดงว่า 7 driver นั้น สมมติทิศทางขึ้นมาเอง/แยกเอง (จาก math model อะไรก็ช่างที่คิดขึ้นมาเอง -- ไม่ใช่แบบที่ผู้ผลิตเนื้อหาอยากให้แยก)
มันไม่เหมือนกับหู Full-size บางตัว พวกเสียงดีๆ ส่วนมากรับ source 3 สาย++ หรือผ่าน USB กันทั้งนั้น ... แสดงว่าตรงนี้ข้อจำกัดคือ "สาย" เลยนะครับ
ดังนั้นประเด็นกลับไปที่ "ได้ยินอย่างที่ engineer อยากให้ได้ยิน" แต่ปรากฎว่า ด้วยคำว่า Sound stage ... หูฟัง 100 หู 100 ยี่ห้อ ไม่มีหูฟังไหนให้มิติแบบเดียวกันเลย ทุกเจ้าต่างวางในแบบที่อยากวาง (และคนก็ชอบในแบบที่อยากชอบ ซื้อหู Bose 20000 นึงกับซื้อ UE 20000 โทนเสียงต่างกันลิบลับ) แต่ไม่มีการวางไหนเลยที่บอกได้ว่าเป็นของที่ตรงกับ Original Content เพราะบนพอร์ตที่มีอยู่มัน "ทำไม่ได้"
คือผมมองว่าความต้องการมันเปลี่ยนตามความสามารถในการ "ทำได้" นะครับ ซึ่งคนก็จะซื้อ "ดีที่สุด" หรือ "ถูกใจที่สุด" .. เท่าที่เทคโนโลยีจะทำได้ และตอนนี้ตัวพอร์ต ถ้ามี 1 พอร์ต ก็จำกัดที่ 2.0 ไงครับ ดีที่สุดของ 2.0 ก็แค่นี้ป่าว ... คนเราส่วนมากยังไม่รู้หรอกว่าต้องการอะไร จนกว่าจะเจอสิ่งที่ดีกว่าจริงๆ
คราวนี้ใครจะ drive ตลาด ผมว่า mobile phone ก็เป็นจุดเริ่มต้นในการ drive ตลาดที่ดี ถ้าดูทรง อีกไม่กี่ปีเราจะได้เห็นหู 7 driver ที่มีมิติแท้ๆ (ไม่ใช่จำลองจาก 2.0 ด้วยคณิตศาสตร์) ซึ่งมันจะคนละเรื่องกันเลยนะครับ หูกลางๆไม่ต้องแพงมาก ไม่ต้องผ่าน math model อันซับซ้อนเพื่อวางตำแหน่งเสียง ก็สามารถให้มิติที่ "สมจริงมากขึ้น" ได้ แล้ว lifestyle experience จะเปลี่ยนไป
ยุค Pre-iphone ไม่มีใครทำจอสัมผัสได้ ทำงานวิจัยไม่เคยมีใครต้องการ .. มือถือจะทัชไปทำไม ... แต่ออกมาปุ๊บโลกเปลี่ยน ..... สินค้าอื่นๆในโลกก็เช่นกัน ถ้าถามตอนนี้ ดูพฤติกรรมตอนนี้ มันไม่มีใครต้องการหรอกครับ แต่ถ้ามันทำได้ ผลก็จะเป็นอีกเรื่องนึง ... และการมาของมันแทบทำให้ Music player หายไปจากโลกเลย (จบยุค Tape/CD/DVD ลงไปด้วยโปรดักส์หลักตัวเดียว ยังไม่นับพฤติกรรมเปลี่ยนจากดูจอมาเป็นดูมือถืออีก)
อีกอย่าง งาน 2.0 ที่ดีมิติดีสเตจเป๊ะก็คงมีแต่ Binaural audio (ซึ่งแม้จะเป็น Binaural เอง กับหูฟังแต่ละแบบก็ยังไม่ถึงกับเหมือนกันเป๊ะ แต่มันก็ดีสุดเท่าที่จะดีในแง่มิติล่ะ) ... แต่ content ส่วนมากในตลาดมันไม่ใช่อ่ะครับ ดังนั้น content ที่ถูกวางมาอีกแบบ (วางเสียงมาแบบ 5.1 7.1 DTS) เมื่อถูก downmix ลงมาเป็น 2.0 โดยมากมันจะสูญเสียความเป็น binaural ไปหมดเลย บน signal ที่มีจำกัดแค่ 2.0 โอกาสได้รับฟังงานดีๆ บนงานที่ผลิตมาในแบบอื่น มันยากมากเลย (พูดอีกมุมนึงก็คือ ผมมองว่าเราพึ่งพาการ downmix ที่ต้นทางไม่ได้ เพราะมันไม่มีทาง fit-in กับหูฟังแต่ละแบบได้ สู้ส่ง Raw data มาให้คนทำหูฟังดีไซน์การ mix เสียงเองให้ได้แบบที่เหมาะกับการวางจะดีกว่า)
+++++++++++++++++++++++++++++
ประเด็นถัดมา เรื่อง Content กับความต้องการ
ผมว่า Content มันมีความต้องการนะครับ ไม่งั้นก็ไม่ต้องไปดูหนังในโรงกันแล้วถูกไหม
แต่ด้วยข้อจำกัดของสายสัญญาณ 2 เส้น คุณจะพัฒนายังไงให้ออกมาสมจริงอ่ะครับ คุณวางมิติแบบเดียวกับที่มันอยู่ในระบบ 5.1 7.1 9.1 ไม่ได้ (เพราะคุณมี source จริงๆ = 2.0)
หู Surround แท้มันไม่นิยมเพราะมันยังไม่ "สะดวก" ไงครับ ปัจจุบันตัวที่เสียงฟังดูจริง+เสียงดีง มันต้องใช้ 3.5 3-5 สาย หรือไปวิ่ง USB อยู่แล้ว ซึ่งของเดิมใช้กับมือถือไม่ได้ ดังนั้นตลาด Portable ก็เลยยังไม่มีใครซื้อมาใช้ (ซื้อมาก็ใช้ไม่ได้ โดนจำกัดด้วยพอร์ต 3.5) ส่วนอีกกลุ่มที่ฟัง Home Theatre ตัว 5.1/7.1/9.1 ก็ขายดีนะครับ แต่มันวุ่นวาย ต้องมีที่ ต้องทำห้อง ต้องสารพัดสิ่ง แต่คนก็ Prefer ที่จะฟังเสียงดีๆ ดูหนังดีๆ อยู่ที่ "งบถึง" หรือเปล่า ที่มันดูไม่นิยมเพราะมัน High-end เกินไปสำหรับการทำแบบนั้น (จะทำห้อง มีต่ำๆ 6 แสนอยู่แล้ว) ... แม้จะบอกว่าคงต้องแยกหนังกับเพลง แต่หลังๆผมก็เห็นคนนั่งรถตู้ดูหนังกันเยอะแยะไปหมด แสดงว่ามันก็มีคนดูหนังขณะเคลื่อนที่ด้วยเช่นกัน มันเป็นตลาดที่ยังพอทำได้
ในฝั่งคนทำหูฟัง ทำหูฟังแพงแต่ทำบน 2.0 มันก็ไม่มีประโยชน์ที่จะไปเน้นมัลติแชนเนิล เพราะคนซื้อทุกคน "รู้" ว่า channel ที่ 3-4-5-6-7 ปลอมหมด ข้อเท็จจริงก็คือ Source+Output port มันได้แค่นั้น ดังนั้นคนทำหูฟังจึงเน้นไปที่การขับเสียงแต่ละย่าน และการวางตำแหน่ง sound stage ที่ผู้ใช้น่าจะชอบ (เน้นอีกที ชอบกับจริง คนละอย่างกัน)
ในอีกมุม เมื่อคุณบอกว่าเค้าต้องการคุณภาพเสียง สมมติเราข้ามข้อจำกัด (3.5/Analog/2channel) ไปล่ะ ...... ถ้าเราสามารถส่ง Source Data มาเป็นชนิดเครื่องดนตรีได้เลย (เครื่องสาย ไปออก Driver นี้ / percussion ไปออก driver นี้ / voice ไปออก Driver นั้น) แม้มิติอาจจะยังเป็น 2.0 อยู่ แต่การเลือก Driver ที่เหมาะสมสำหรับแต่ละเครื่อง สามารถทำได้(ตามผู้ผลิตเนื้อหาต้องการด้วย) นี่ก็เป็นอีกช่องทางที่สามารถทำได้ (ของเดิมก็พึ่งแต่ Math model เช่นกัน) ...... หรืออีกมุม เสียงแบบ 2.0 เหมือนเดิม แต่สามารถแยกคลื่นเสียงต้นฉบับเป็น 5-100Hz 1 ไลน์ แบบละเอียดยิบ ไปยัง Bass driver, 100-10kHz เพื่อไปย่านกลาง, 10kHz-28kHz เพื่อไปลำโพง tweeter) ก็เป็นทางเลือก
ที่จะบอกคือ พอร์ตที่ส่งข้อมูลได้มากขึ้น มันเพิ่มทางเลือกให้พัฒนาได้เยอะครับ แต่ทั้งหมดที่ว่ามานั้นทำบนสายที่มี source แค่ analog 2 คลื่น ไม่ได้เลย (ทำได้เท่าที่ปัจจุบันทำอยู่นี่ล่ะ) เพราะมันคือการตีความจากข้อมูลที่ถูก summarize มาแล้ว ดังนั้นที่ผมว่า ที่เรายังไม่เห็นการพัฒนาใดๆในแง่คุณภาพเสียงบน Device 2.0 เลย มันควรจะเพราะ Source มันไม่มีอะไรให้ทำได้อีกแล้ว มันก็เลยหยุดแค่นั้น คือผมมองว่าเราควรมองแบบนั้น มากกว่าจะมองว่า ผู้บริโภคไม่ได้ต้องการมิติหรือลูกเล่นมากกว่านั้น
เป็นปัญหางูกินหางแนวประมาณว่า ...... ในฝั่งผู้ผลิตสื่อก็มองว่า ไม่รู้จะทำไปมากกว่าทำไม ออกได้แค่ 2 อยู่ดี ... ส่วนฝั่งพอร์ตก็บอกว่า ก็ไม่รู้จะขยายไปทำไม ผู้ผลิตก็ทำ 2 อยู่ดี ....
ดังนั้นพอตอนนี้ ฝั่งพอร์ตบอกว่า เห้ยจะลองขยายดู ผมว่ามันก็เป็นทิศทางน่าสนใจดี
++++++++++++++++++++++
ส่วนประเด็นเรื่องขนาด DAC
จริงๆประเด็นที่ผมเน้นคือเอา DAC มาไว้ให้ใกล้หูที่สุด และทำให้ตัวที่เล็กยังทำงานได้เท่าตัวใหญ่ๆ นะครับ เพราะวัตถุประสงค์หลักคือ ต้องการลด จำนวนครั้งที่ต้อง convert สัญญาณลง และลดระยะทางที่เป็น Analog ให้สั้นที่สุด(เพราะanalog เพี้ยนและถูกรบกวนง่าย) ... ตราบเท่าที่มันเป็น Digital มาจนถึงปลายสาย (พร้อม Error correction) สัญญาณไปสุดที่ตรงไหน ตรงนั้นคือ Perfect signal อยู่แล้ว (สำหรับ Digital Data หลัง Correct แล้วมันคือสัญญาณที่ถูกต้อง 100% แบบ bitwise)
เพียงแต่ DAC ตัวเล็กๆ กำลังขับมันน้อย .. และเสียงบางสไตล์มันต้องการหูฟังที่ impedance สูง ก็เลยตั้งประเด็นไว้ตรงนั้น
อนาคตมันอาจจะไม่ใช่ USBC ก็ได้ ... ข้อมูลอาจจะส่งผ่าน fiber-optic single core ไปจนถึงหูฟังเลยก็เป็นได้ แต่เริ่มต้น มันควรต้องมีมากกว่าแค่ 2 analog signal ก่อนครับ
++++++++++++++++++++++
สรุป
แต่สุดท้ายก็ตามนั้นครับ คือช่วงแรกๆ มันต้องมีคนแบก .... รายแรกที่แบกคือ Iphone ตัดสินใจตัดพอร์ตทิ้ง แต่รายอื่นก็ทยอยตัดพอร์ตทิ้งกันหมด ... ขนาด Notebook ยังใช้ USB-C ชาร์จกันแล้ว (ทั้งที่ก็ไม่ได้มีความจำเป็นไม่ได้อยากได้กันนะ แต่ชีวิตก็สะดวกขึ้นมากหลังจากนั้น charger ตัวเดียวชาร์จได้ตั้งแต่ มือถือ บลูธุธ ลำโพง โน็ตบุ๊ค พาวเวอร์แบงก์)
ผมก็ยังชื่อชม Razer ที่ "ลงทุนเสี่ยง" (รวมถึงเจ้าอื่นๆด้วย) ...
เมื่อมีการขยับจากผู้ผลิต Player ทั้งโลก (มือถือน่าจะกินจำนวนผู้ใช้ 80% ของคนฟังเพลง ดูหนังแล้วนะ) เป็นไปไม่ได้เลยที่ฝั่งผู้ผลิตหูฟัง/ลำโพง จะไม่ขยับตาม ...... ตลาดมันใหญ่พอให้ลงมาเล่นแล้ว จะอยู่หากินกับ niche เหรอ ทั้งๆที่ใน 80% มีคนที่อาจจะยอมจ่ายแพงกว่า niche เยอะแยะด้วยซ้ำไป
*ทั้งหมดที่กำลังคุยอยู่คือเรื่องของ Source of audio นะครับ
ส่วนเสียงดี (ดี=ถูกจริตคนฟัง) เป็นเรื่องของการ interpretation บน source...
ซึ่งผมยังยืนยันว่า พอร์ตที่ดีขึ้น ทันสมัยขึ้นจะทำให้การ interpretation ทำได้ลึกซึ้ง
และดีขึ้น // และ 3.5 มันขวางศักยภาพในการ interpret อยู่เยอะ
ทั้งหมดนี้ผมยังเชื่อว่า ด้วยเทคโนโลยี เราสามารถสร้างหูฟังที่ให้เสียงได้
เกือบเทียบเท่า/หรือดีกว่า 7.1 และถ้าทำได้มันก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจนะครับ*
ผมไม่กล้าฟันธงหรอกครับว่าจะมีอะไรที่อยู่ยงคงกระพันได้
การส่งเสียงแบบ Analog ผมค่อนข้างเชื่อว่ามันยังอยู่ได้อีกยาว ต่อให้การส่งสัญญาณแบบ Digital จะนิยมขึ้นมา แต่การส่งแบบ Analog ไม่น่าจะตายง่ายๆหรอกครับ เพียงแต่ว่าอาจจะแยกตลาดออกจากกัน เช่น การส่งแบบ Analog จะไปอยู่ในกลุ่ม Hi End เกือบหมด
จริงว่าผมเชื่อว่า Analog ยังอยู่ แต่พอร์ตที่ใช้อาจจะไม่ใช่ 3.5mm ก็ได้ ผมเองก็ไม่ค่อยรู้เรื่องพวกนี้เหมือนกัน แต่พวกอุปกรณ์ระดับสูงๆเอง ก็มีใช้พวก 2.5mm Balance เหมือนกัน (ย้ำอีกที ผมไม่ค่อยรู้เรื่องพวกนี้) ก็มีความเป็นไปได้ที่ในตลาดระดับล่างอาจจะโดน Digital กิน ส่วนระดับบนๆก็จะเปลี่ยนไปใช้ 2.5mm หรืออย่างอื่นแทน และ 3.5mm ก็มีโอกาสที่จะหายไป
แน่นอนว่า Lightning ที่ไม่สามารถส่งสัญญาณ Digital ได้คงไม่สามารถแทนที่ 3.5mm ได้ ส่วน USB-C นี่ยังพอมีความเป็นไปได้ เพราะมันสามารถส่งสัญญาณแบบ Analog ได้ (แต่ไม่รู้ว่ามีมือถือรุ่นไหนทำบ้าง) และพอร์ตนี้ก็ค่อยๆนิยมขึ้นมาด้วย
DAC ได้ THX cent ก็จริง แต่เอาประกอบใส่หูฟังห่วย ๆ ก็เสียงไม่ดีได้นะ
File เสียง แบบ เกิน 24 Bit มีแต่ Formst DSD แต่เครื่องรองรับหรือเปล่า ก็ไม่บอก
รอ bose sony b&w อะไรทำนองนี้ ออก spec ก่อนค่อยว่ากัน
มันจะมาขายไทยไหมครับ