ปัญหาคนว่างงานในกลุ่มที่จบปริญญาตรีใหม่ มีให้ได้ยินบ่อยครั้ง ที่น่ากังวลคือมีจำนวนคนว่างงานมากขึ้นทุกปี สำนักงานสถิติแห่งชาติเผยตัวเลขบัณฑิตจบใหม่ในปี 2017 มีอัตราว่างงานประมาณ 160,000 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2016 ที่มีประมาณ 103,000 คน
หลักสูตรการศึกษาที่ไม่สอดคล้องกับเนื้องานในตลาดแรงงานเป็นสาเหตุสำคัญ จุดอ่อนของการศึกษาไทยคือปรับตัวไม่ทันต่อความต้องการตลาดแรงงานที่ถูกกดดันให้เปลี่ยนแปลงตัวเองให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจดิจิทัล แต่การศึกษาแบบเดิมๆยังผลิตคนที่ตอบโจทย์ตลาดแรงงานยุคเก่า ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมเปลี่ยน เทคโนโลยีขับเคลื่อนให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่และสายงานใหม่ๆ มากมาย
ตัวอย่างอาชีพไอทีที่กำลังมาแรงและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานจากเว็บไซต์ Career Cast ของสหรัฐฯ คือ
ภาพจาก Pexels
การที่จะสามารถผลิตคนตอบโจทย์ตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลงได้ ภาคการศึกษาต้องปรับตัวครั้งใหญ่ เริ่มจากศึกษาตลาดงาน ทิศทางการเติบโต ลงทุนอุปกรณ์การเรียนที่ทันสมัยและทั่วถึง สื่อการสอนและอุปกรณ์ที่ทันสมัยคือพื้นฐานอันดับต้นๆ ของการศึกษา เพราะโลกอุตสาหกรรมพึ่งพาเทคโนโลยีในระดับสูงมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะเดียวกันการศึกษาไทยยังมีจุดอ่อนเรื่องสื่อการสอนมาตลอด
ภาคการศึกษายังต้องปรับหลักสูตรที่รองรับสายงานเกิดใหม่ให้ทัน โดยร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญ และผู้ประกอบการจากภาคเอกชนที่อยู่ในอุตสาหกรรมจริงในการปรับปรุงหลักสูตรให้เข้ากับยุคสมัย นอกจากนี้ยังสามารถส่งเสริมให้นักศึกษาทำกิจกรรมนอกหลักสูตรการศึกษา แข่งขันนวัตกรรมใหม่ด้วยการใช้สื่อดิจิทัล อันเป็นประโยชน์ต่อการฝึกฝนทักษะที่จำเป็นต่ออนาคต
ข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) พบว่าบัณฑิตที่จบมาได้งานทำน้อย เพราะนักศึกษาก่อนเป็นบัณฑิตยังไม่ค้นพบตนเองว่าอยากทำอาชีพอะไร และมีจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีเป้าหมายชัดเจน
นอกจากนี้ ความต้องการในตลาดแรงงานเน้นทักษะด้าน soft skill ไม่น้อยไปกว่าทักษะในสายงาน (hard skill) ตัวอย่างทักษะ soft skill ได้แก่ ภาษาอังกฤษ, การเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ, การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ, การทำงานเป็นทีม และที่สำคํญคือ มีความคิดสร้างสรรค์
ข้อมูลจาก World Economic Forum ระบุทักษะอื่นที่จำเป็นนอกเหนือจากทักษะในสายงาน ที่บุคลากรควรมีในปี 2020 คือ
ภาพจาก Stocksnap.io
ระบบการศึกษาไทยยังผลิตคนได้ไม่ตอบโจทย์ทักษะด้าน soft skill มากพอ เพราะการสอนของไทยยังเป็นลักษณะป้อนข้อมูลสู่นักเรียนนักศึกษา ครูอาจารย์ยังเป็นศูนย์กลางของการศึกษา ไม่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะ soft skill มากนัก
ภาคการศึกษาสามารถปรับนโยบายเพื่อให้เกิด soft skill ที่สอดคล้องต่อตลาดงานได้ เช่น เน้นการสอนใช้ภาษาอังกฤษให้ได้ 100%, ต้องทำให้ผู้เรียนกล้าใช้ภาษาต่างประเทศ, เปลี่ยนจากการ lecture method มาเป็น discussion method และมีระบบที่ทำให้นักศึกษาค้นพบเป้าหมายของตนเอง
เพื่อผลิตบุคลากรให้ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน ภาคการศึกษาไม่สามารถทำได้เพียงลำพัง และจำเป็นต้องร่วมมือภาคเอกชน ปรับหลักสูตรให้ทันสมัยตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม เช่น เปิดหลักสูตรใหม่โดยให้ผู้เชี่ยวชาญจากสายงานนั้นๆ มาร่วมเป็นผู้สอน ยกตัวอย่างเช่น โครงการ Cooperative and Work-Integrated Education: CWIE หรือที่เรียกในภาษาไทยว่า สหกิจศึกษา คือโครงการที่เปิดโอกาสให้สถานประกอบการทั้งภาคเอกชน และภาครัฐได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต ให้นักศึกษามาลองทำงานจริง ทำให้เกิดการจ้างงานง่ายขึ้น ลดปัญหาการปรับตัวในการทำงานเมื่อจบและได้ทำงานจริง
ภาพจาก Pexels
ในฝั่งของนักศึกษาก็สามารถสร้างแบรนด์ให้ตัวเองได้ คำว่า "สร้างแบรนด์" ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงทำธุรกิจของตัวเอง แต่เป็นการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์จากการเรียนในรั้วมหาวิทยาลัย เพื่อเพิ่มความโดดเด่นและความน่าสนใจในใบสมัคร เพิ่มโอกาสให้บริษัทที่ไปสมัครงานพิจารณาได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
วิธีการสร้างแบรนด์สำหรับนักศึกษาจบใหม่ เช่น
เมื่อภาคการศึกษามีหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการแรงงานในตลาด มีอุปกรณ์และระบบที่เอื้อต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ ให้นักศึกษาได้เรียนและได้ลงมือปฏิบัติงาน และฝึกงานในวงการวิชาชีพจริง สามารถนำไปต่อยอดวิชาชีพที่กำลังเป็นที่ต้องการในตลาดได้จริง ส่งผลให้นักศึกษามีความคล่องตัว สามารถปรับตัวได้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง จะช่วยลดปัญหาการว่างงาน และปัญหาขาดแรงงานในตลาดได้
วันนี้สถาบันการศึกษาโดยเฉพาะมหาวิทยาลัย จะนิ่งเฉยไม่ได้แล้ว มหาวิทยาลัยเป็นด่านสุดท้ายก่อนที่นักศึกษาจะเข้าสู่โลกการทำงาน ในขณะที่โลกเปลี่ยนแปลงรวดเร็วขึ้นทุกวัน บัณฑิตใหม่ตกงานมากขึ้นเพราะความรู้ที่ได้ไม่ตรงกับโลกที่เปลี่ยนไป มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวให้เร็ว เพื่อพัฒนาบุคลากรที่ตอบโจทย์โลกในปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างดีที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก
Comments
เอาจริงขนาดจุฬา(มหาลัยอื่นก็คงไม่ต่างกัน) หลักสูตรยังไม่ตอบโจทย์ตลาดแรงงานเลย
หลักสูตรเหมือนผลิตคนไปเป็นนักวิจัยซะมากกว่า
นิสิตต้องออกไปดิ้นรนหาความรู้จากข้างนอกเพื่อให้ตรงกับตลาดแรงงานแทน
บางทีก็แอบคิดว่า ไม่ต้องมาเสียเงินเรียนป.ตรีก็ได้มั้ง เรียนกับ google เอาก็ได้
แต่ก็ทำไม่ได้เพราะดันมีปัจจัยเรื่องสังคมเข้ามาเกี่ยวอีก 555
ถ้าจะสอนตามกระแสโลกคงต้องเปลี่ยนหลักสูตรกันทุกเดือน
การเปลี่ยนหลักสูตรในระบบการศึกษาไม่ใช่เรื่องง่าย
มหาลัยสอนให้มีปัญญา Wisdom ไม่ใช่จำแต่ความรู้ Knowledge
อีกอย่าง โลกไม่ได้หมุนรอบรั้วจุฬาขนาดนั้นมั้งครับ
พอที่จะเอาเป็นบรรทัดฐานว่า มหาลัยอื่นก็ไม่ต่างกัน...
ผมไม่รู้ว่าที่จุฬาหลักสูตรเป็นยังไงนะครับ แต่ที่วิศวกรรมซอฟท์แวร์และความรู้ ม.เกษตร เรียนจบออกมาเป็น developer พร้อมใช้งานได้ทันทีครับ เปรียบเทียบได้กับโรงงานผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป การเรียนการสอนที่นี่จะปลายเปิดครับ ทุกเทอมมีโปรเจคทำและไม่ได้บังคับว่าจะต้องใช้ภาษาไหนในการเขียนโปรแกรม
อันนั้นดูจากเป็นฮาร์ดสกิลนะครับ แต่ตามข่าวแล้วมหา'ลัยได้ขาดซอฟท์สกิล มจธ.ดูแล้วก็พยามปรับตัวแต่นศ.ก็มาจากม.ปลาย ม. ต้นที่สอนกันแต่ฮาร์ดสกิลมาอาจจะต้องแก้ที่ต้นน้ำ
ปล. ประถม มัธยม วิชาประวัติศาสตร์หนังสือประวัติศาสตร์มั่วๆ สอนกันมึนๆแล้วสั่งให้เด็กจำอยู่เลย....
วิชาซอร์ฟสกิลนี่ทั้งสอนและเรียนยากครับ
มันไม่พร้อมมานานแล้ว
ส่วนนึงผมว่า ตลาดมันเปลี่ยนเร็วด้วยแหละ
โจทย์ตลาดคือ
เด็กจบออกไปต้องรู้ทั้งทฤษฎี+ปฏิบัติ
พร้อมทำงานทันที
ซึ่งส่วนทฤษฎีไม่มีปัญหาเท่าไหร่ เพราะหลักๆก็พื้นฐาน+ที่ advanceก็เปลี่ยนแปลงน้อย
แต่ส่วนปฏิบัติ จะต้องรู้ ทฤษฎีพื้นฐาน/advance+apply ในงานนั้นๆ
ซึ่งตลาดมันเปลี่ยนเร็วไป
มหาลัยจะเปิดหลักสูตรก็ต้องรอตลาดบูมก่อน
คนถึงอยากเรียน ถึงค่อยเปิด
แต่กว่าจะเรียนจบ ตลาดก็วายแล้ว... วนไป
ตัวอย่างเช่น 4 ปีก่อน ใครจะรู้ว่าสายAI,BigData จะมา?
ถ้าเปิด สายAI,BigData ตอนนี้ แล้วอีก 4 ปีข้างหน้าจะยังบูมอยู่มั๊ย?
สาย it มันก็ต้องเรียนรู้ตลอดเวลาอยู่แล้วนิครับ
จบมาก็ต้องดิ้นเพื่อให้ตัวเองเก่งกันทุกคนแหล่ะ
ส่วน คนไหนจบมาเขียนโปรแกรมไม่เป็น อันนี้มหาวิทยาลัยปล่อยให้จบได้ยังไง ตอนนี้เยอะมาก
ถ้าคิดแข็งๆเลยคือ ใครเขียนโปรแกรมไม่เป็นไม่ให้จบ ผมว่าแก้ปัญหาได้เยอะเลยนะ (เขียนเป็นนี้ไม่ใช่เป็นนกแก้วนกขุนทองเขียนเป็นครับ ต้องเข้าใจจริงๆ)
อัลกอริทึม - ตรรกะ - ทักษะการแก้ปัญหา
ในคลาสๆนึง ที่จบมา จะมีที่พอใช้ได้น้อยนะครับ
ส่วนใหญ่ขาดตรงนี้ ก็จะอยู่ในวงการลำบากทั้งตัวเองละผู้จ้าง
ผมคิดว่า มหาวิทยาลัยไม่ควรเน้นเรื่องภาคปฎิบัติมากนักแฮะ ควรจะอัดทฤษฎีเยอะ ๆ เป็นพื้นฐานให้ นศ. เอาไปศึกษาด้านปฎิบัติเอง
หรือไม่ก็ สอนภาคปฎิบัติกันในระดับวิทยาลัยวิชาชีพ (ปวช-ปวส) แล้วค่อยมาต่อยอดภาคทฤษฎีในมหาลัยอีกที
ผมเชื่อว่างาน IT เอาคนที่จบ ปวช. มาก็ทำได้ ถ้าสอนมาดีนะ