Tags:
Node Thumbnail

การประมูลคลื่น 1800MHz ที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า 2561 มีประเด็นถกเถียงมากมาย

บริษัทที่ปรึกษาด้านโทรคมนาคมและการประมูลคลื่นความถี่ NERA Economic Consulting (เคยเป็นที่ปรึกษาของ กสทช. ในการประมูลคลื่นย่าน 2100MHz ในปี 2552) ก็ออกรายงาน whitepaper พูดถึงความเสี่ยงของการประมูลครั้งนี้ (Spectrum Auction Risks Leaving Thailand
Stranded in a Mobile Data Slow Lane)

Hans-Martin Ihle ที่ปรึกษาอาวุโสของ NERA มาให้ความเห็นต่อการประมูลครั้งนี้ที่ประเทศไทย (ภายใต้การจ้างศึกษาของ dtac ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญของการประมูล) ให้ความเห็นสำคัญ 2 ประการคือ เมืองไทยกำลังประสบปัญหาคลื่นไม่พอใช้จนทำให้เน็ตช้า และราคาตั้งต้นของการประมูลรอบใหม่นั้น "แพงเกินไป" และอาจส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค

No Description

หมายเหตุ: ตัวแทนจาก NERA แถลงข้อมูลจากงานวิจัยเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2560 โดยมี dtac ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญต่อการประมูล เป็นผู้เชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟัง

ปัญหาคลื่นของเมืองไทย เริ่มไม่เพียงพอกับการใช้งาน 4G/5G

NERA บอกว่าปัญหาสำคัญของประเทศไทยในภาพกว้างคือ คลื่นความถี่โทรคมนาคมเริ่มไม่เพียงพอต่อการใช้งาน mobile data ในยุค 4G ปัจจุบันหรือ 5G ในอนาคต เหตุเพราะคลื่นความถี่ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นคลื่นที่ใช้งานมาตั้งแต่ยุค 2G และถูกนำมาจัดสรรใหม่ผ่านการประมูล (แต่ยังเป็นคลื่นย่านเดิม)

ที่ผ่านมาหลายปี กสทช. กลับไม่สามารถนำคลื่นย่านอื่นๆ เช่น 2300MHz หรือ 2600MHz มาใช้งานด้านโทรคมนาคมได้เลย และถ้าสถานการณ์เป็นอย่างนี้ต่อไป ก็จะทำให้คลื่นความถี่ในไทยไม่เพียงพอต่อการใช้งาน 5G ในอนาคต

หากเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ประเทศไทยยังไม่มีมีคลื่นใหม่สำหรับ 4G เลย (ถ้านับคลื่น 2300MHz ที่ "ว่าจะ" ประมูล ก็จะมีคลื่นใหม่ปริมาณ 60MHz) สถานการณ์นี้ทำให้ไทยด้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน อย่างมาเลเซียที่มีคลื่นใหม่ถึง 280MHz หรือแม้แต่พม่าเองที่มีคลื่นใหม่แล้ว 20MHz ล้ำหน้าไทยไปอีก

No Description

ปัญหาคลื่นไม่พอใช้งาน ไม่ใช่เป็นเรื่องของอนาคต เพราะในปัจจุบันก็ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของเน็ต 4G ในบ้านเราแล้ว

NERA ศึกษาเปรียบเทียบบริการ 4G ในประเทศต่างๆ ที่ตัวเองมีข้อมูล โดยใช้สถิติจาก OpenSignal: The State of LTE พบว่าประเทศไทยมีพื้นที่ให้บริการ 4G (coverage) ค่อนข้างดี คือครอบคลุม 77% ของผู้ใช้บริการโครงข่าย

แต่พอเป็นเรื่องความเร็ว 4G ประเทศไทยกลับอยู่อันดับเกือบท้ายๆ คือมีความเร็วเฉลี่ยที่ 9.40 Mbps เท่านั้น (แชมป์โลกคือสิงคโปร์ 46.64 Mbps ข้อมูลทั้งหมดดูได้ตามลิงก์ข้างต้น) ข้อมูลนี้ยังสอดคล้องกับ สถิติจาก Ookla ที่เพิ่งออกมา

No Description

NERA มองว่าถ้า กสทช. ยังไม่สามารถปลดล็อคนำคลื่นย่านใหม่ๆ มาใช้งานได้ ปัญหาอินเทอร์เน็ตมือถือไทยก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้น เพราะคลื่นมีเท่าเดิม สวนทางกับความต้องการใช้งานที่มีมากขึ้น แม้ขยายสถานีฐานเพิ่มมากขึ้นเท่าไร ก็ไม่สามารถแก้ไขได้ทั้งหมด ยังไงก็ต้องใช้คลื่นเพิ่มขึ้นอยู่ดี

การประมูลรอบใหม่ ราคาตั้งต้นแพงเกินไป

ประเด็นถัดมาคือ NERA วิจารณ์แนวทางการประมูลคลื่นรอบใหม่ (1800MHz และ 900MHz) ของ กสทช. ที่ยึดแนวทางใช้ราคาของการประมูลครั้งก่อนเป็นตัวตั้ง ว่าจะส่งผลเสียต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยในระยะยาว

คลื่นชุด 900MHz: ราคาไทยเป็นสถิติโลก

คลื่น 900MHz ก้อนนี้เป็น 2x5MHz โดยยึดเอาราคาการประมูลเมื่อปี 2558 คราวที่ JAS ชนะ AIS มาเป็นตัวตั้ง ราคาเฉลี่ยต่อ 2x5MHz เดิมอยู่ที่ประมาณ 3 หมื่นกว่าล้านบาท ส่วนราคาตั้งต้น (reserve price) ของการประมูลรอบใหม่อยู่ที่ 37,988 ล้านบาท

ถ้าเทียบราคาคลื่น 850/900MHz ของการประมูลในประเทศต่างๆ จำนวน 39 ประเทศ ที่ NERA รวบรวมมาในช่วงปี 2007-2017 จะพบว่าราคาของประเทศไทย แพงกว่าราคาที่อยู่ตรงกลาง (median price) ของผู้ชนะการประมูลในประเทศต่างๆ ถึง 6 เท่าตัว (ราคา median ของประเทศต่างๆ อยู่ที่ราว 5,000 ล้านบาทต่อ 2x5MHz)

คลื่นชุด 1800MHz: ราคาไทยอยู่ในกลุ่มแพงกระโดด

ส่วนคลื่นย่าน 1800MHz ที่แบ่งสล็อตเป็น 2x15MHz จำนวน 3 สล็อต ถือเป็นจุดหลักของการประมูลครั้งนี้ ราคาสุดท้ายของการประมูลในปี 2558 (ที่ True และ AIS ชนะ) จบที่ประมาณ 35,000 ล้านบาท (นับต่อ 2x15MHz) และราคาตั้งต้นของการประมูลรอบใหม่คือ 37,457 ล้านบาท

ราคานี้ไม่ใช่สถิติโลกเหมือนกับคลื่น 900MHz (แชมป์คือแอลจีเรีย ที่ราคาสูงถึง 7 หมื่นล้านบาท!!!) แต่จากแผนภาพก็จะเห็นว่าอยู่ในกลุ่มราคาแพงกระโดด (mild outliers) โดยราคาที่อยู่ตรงกลาง (median price) ของตลาดโลก 57 ประเทศ อยู่ที่ประมาณ 8,000 ล้านบาท

No Description

ข้อเสนอของ NERA คือลดราคาตั้งต้นคลื่น เพื่อประโยชน์ต่อผู้บริโภค

ข้อเสนอของ NERA ในเรื่องราคาตั้งต้นการประมูลคลื่นแพงเกินไป คือ กสทช. ควรปรับลดราคาตั้งต้นของคลื่นลงมา ตามโมเดลการคำนวณของ NERA ระบุว่ารายได้จากการประมูลย่อมลดลง (กราฟแท่งสีแดง) แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อผู้บริโภค (กราฟแท่งสีเขียว) จะเพิ่มขึ้น

หาก กสทช. ลดราคาคลื่นลงมา 80% จากเดิม ให้เท่ากับราคา median price ของประเทศอื่นๆ NERA ประเมินว่าผลประโยชน์ต่อประเทศในระยะยาวจะมีถึง 3 เท่าของรายได้ที่สูญเสียไป หากลดราคาในสัดส่วนที่น้อยลง เช่น ลด 50% หรือ 25% ผลประโยชน์ต่อประเทศก็จะมีสัดส่วนลดลง แต่ก็ยังได้มากกว่าเสีย

No Description

ข้อเสนอทั้งหมดของ NERA มีด้วยกัน 4 ข้อ ดังนี้

  1. ยกเลิกกฎ N-1 เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาผู้เข้าประมูลน้อย และคลื่นบางสล็อตขายไม่ออก ไม่ถูกใช้งานโดยเปล่าประโยชน์ กสทช. ควรให้ความสำคัญกับการขายคลื่นออกมากกว่า
  2. ปรับราคาตั้งต้นให้สมเหตุสมผล ตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น แล้วให้ตลาดเป็นผู้ตัดสินราคาที่เหมาะสมจากการประมูลเอง
  3. เปลี่ยนวิธีการประมูลสล็อตใหญ่ครั้งละ 2x15MHz เป็นสล็อตขนาดเล็กๆ 2x5MHz หรือ 1x5MHz แทน แล้วอนุญาตให้ผู้เข้าร่วมประมูลสามารถประมูลได้หลายบล็อคติดต่อกัน
  4. ในระยะยาว กสทช. ควรประกาศแผนล่วงหน้าว่าจะประมูลคลื่นชุดใหม่ๆ สำหรับ 4G/5G ล่วงหน้าเมื่อไร เพื่อไล่ตามประเทศอื่นๆ ให้ทันในเรื่องนี้

No Description

หมายเหตุ: สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดในการประเมินของ NERA สามารถอ่านเอกสารฉบับเต็มได้ด้านล่าง หรือบน Scribd

Get latest news from Blognone

Comments

By: Hadakung
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 17 December 2017 - 00:36 #1024076

เดี๋ยวประมูลถูกไปสตง ปปช เล่นงานอีกไม่เชื่อว่ากสทช. จะกล้าทำ...

By: deargerous
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 17 December 2017 - 09:56 #1024104 Reply to:1024076
deargerous's picture

ผมว่า ประมูลคลื่น 1800 รอบนั้น กสทช. ควรโดน ปปช. เล่นจริงๆ

  • ราคาเริ่มต้น กสทช. ตั้งไว้ต่ำกว่าราคาประเมิน 30% โดยอ้างว่าประมูลแล้วราคาจะเพิ่มมาเอง เพราะแต่ละคลื่นความต้องก่รไม่เท่ากัน
  • คลื่นมี 3 คลื่น ผู้ประมูลมี 3 ราย แต่ไม่ม่เกณฑ์ ​n-1
  • สรุปทั้ง 3 รายได้คลื่นไปราคาถูก​มากโดยไม่ต้องประมูล

ประมูลครั้งนี้ผมคิดว่า

  • ราคาตั้งต้นควรลดลงไม่ควรเอาราคาการประมูลคราวที่แล้วเป๋นเกณฑ์​ โดยเฉพาะคลื่น 900 มันสูงเกินจริง ส่วนคลื่น 1800 ผมเห็นว่าน่าจะเหมาะสมแล้ว
  • ประเด็น n-1 ควรมี แต่ต้องกำหนดเวลาที่จะมูลครั้งถัดไปให้ชัดเช่นภายใน 60 วัน
  • ประเด็นการแบ่งคลื่นย่อยมากขึ้น จาก 3x15 MHz เป็น 9x5MHz ผมคิดว่า แย่งย่อยมากไป อาจจะไม่จำเป็นต้องแบ่งให้เท่ากัน เช่น 15+10+10+5+5
By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 17 December 2017 - 01:43 #1024080
TeamKiller's picture

DTAC จ้างมารู้สึกแปลกๆ เลย ฮ่าๆ ตัวเองประมูลไม่ได้คลืื่นด้วยเลยเน็ทเลยช้าด้วยเปล่าฮ่าๆ

อีกนิด พม่า มีใหม่ 20 ไทย 60 ยังไงไทยก็เยอะหว่าหรือเปล่า ก็ไม่น่าล้ำหน้าไทย

หากเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ประเทศไทยยังไม่มีมีคลื่นใหม่สำหรับ 4G เลย (ถ้านับคลื่น 2300MHz ที่ "ว่าจะ" ประมูล ก็จะมีคลื่นใหม่ปริมาณ 60MHz) สถานการณ์นี้ทำให้ไทยด้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน อย่างมาเลเซียที่มีคลื่นใหม่ถึง 280MHz หรือแม้แต่พม่าเองที่มีคลื่นใหม่แล้ว 20MHz ล้ำหน้าไทยไปอีก

By: put4558350
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 17 December 2017 - 03:56 #1024089 Reply to:1024080
put4558350's picture

บริเวณที่คนหนาแน่น คนไทยหนาแน่นกว่าผม่าเยอะนะ

... เรื่องควรจะเอามาประมูลนั้นถูก ส่วนเรื่องจะปรับกติกาการประมูลจริงๆ ที่อยากจะให้ทำ (และเป็นผลดีต่อผู้บริโภค/ประชาชน) น่าจะเป็น ค่าคลื่นที่ต้องจ่ายเท่ากัน + ใครตั้งค่าบริการ(ไปที่ลูกค้า)ต่ำที่สุดได้คลื่นไปไช้


samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo

By: alonerii
AndroidUbuntuWindows
on 17 December 2017 - 08:29 #1024097 Reply to:1024089

ถึงจะมีการให้กำหนดราคาค่าบริการลงไปในการประมูล แต่ผมว่า กสทช ไม่น่ามีศักยภาพพอจะไปบังคับใช้ ขนาดแค่เบอร์ Call Center ฟรีที่บังให้คับทุกค่ายมี แต่สุดท้ายก็เจอทุกค่ายเลี่ยงหมดเอาเบอร์เสียเงินไปโฆษณา ส่วนเบอร์ฟรีใครจะใช้ต้องไปขุดและขวนขวายหากันเอาเอง

ถ้าเป็นเรื่องค่าบริการที่มีความซับซ้อนกว่านั้น ผมว่าสุดท้ายไม่แคล้วเจอเลี่ยงบาลีต่าง ๆ นาที ๆ กลับไปเป็นค่าบริการตามใจที่แต่ละค่ายตั้งเอาเองเหมือนเดิม

By: put4558350
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 17 December 2017 - 23:57 #1024152 Reply to:1024097
put4558350's picture

กตหมายที่ีว่ากำหนดเรื่องศูยน์รับเรื่องร้องเรียนนะครับ ไม่ไช่ Call Center (คนละอย่าง)
ส่วนการเลี่ยงบาลีมีแน่ๆ แต่ก็น่าจะ update ตามได้

ปล. เสนอไปสิ ค่ายใหนต้องการจะเข้าร่วมประมูลคลื่น ... แม้จะแพ้การประมูลจะต้องทำตามข้อกำหนดดังนี้ ...

1 ...
2 ...
?? กำหนดให้ Call Center ทุกช่องทางฟรี โดยเจ้าของเรื่อข่ายต้องเป็นผู้จ่ายค่าบริการอื่นๆทั้งหมด

จากนั้นประมูลแต่ละครั้งให้เวลาลดลง (ประมูลบ่อยขึ้น) ถ้าต้องประมูลบ่อยๆ ถึงจะเลี่ยงเก่งยังไงสุดท้ายก็จนมุม


samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo

By: Gored on 18 December 2017 - 10:19 #1024187 Reply to:1024152
Gored's picture

จริงๆน่าจะฟรีนะเพราะเป็นปัญหาของตัวเอง บางทีลูกค้าไม่ได้ก่อเหมือนดีแทคเร็วไนี้ถามว่าใครผิดดีแทคผิด ยังจะให้ลูกค้าเสียเงินโทรไปหาอีก

By: paween_a
Android
on 17 December 2017 - 06:42 #1024091 Reply to:1024080
paween_a's picture

เห็นด้วยว่าดีแทคจ้างมาเลยฟังขึ้นไม่เต็มร้อย แต่หลายข้อก็น่าฟังอยู่ จริงๆ กสทช.ก็น่าจะมาแก้ต่างเพื่อดูเหตุผลอีกฝั่งบ้าง

By: mk
FounderAndroid
on 17 December 2017 - 10:43 #1024110 Reply to:1024080
mk's picture

2300MHZ "ยัง" ไม่มีไงครับ ในกราฟเลยมีไทยสองอันคือ scenario มี 2300 กับไม่มี 2300

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 18 December 2017 - 08:20 #1024169 Reply to:1024110
TeamKiller's picture

โอเค เข้าใจละครับ

By: negithousand
iPhone
on 17 December 2017 - 02:06 #1024086

ผมว่ากฏ n-1 มันก็มีศักย์ภาพพอจะดันราคาขึ้นไปอยู่แล้ว เลยคิดอยากให้ยกเลิก
ราคาขั้นพื้นฐานออก หรือไม่ก็เริ่มที่ราคา 80% ของครั้งก่อนก็น่าจะพอไหว
ไม่งั้นราคานี้ ผมว่าคงเคาะกันคนละครั้งแล้วก็จบ
ถ้าราคาถูกจะได้มีหน้าใหม่พอมาลุยได้บ้าง เพราะไม่งั้นแค่ค่าใบอนุญาติ
ก็กระอักแล้ว ค่าเครื่องมือโครงข่ายอีก คงไม่มีโอกาสเจ้าใหม่แน่ๆ
แถมเจ้าเก่าก็กระอัก

By: zerocool
ContributoriPhoneAndroid
on 17 December 2017 - 02:13 #1024087
zerocool's picture

ตั้งราคารีดผู้ประกอบการหนักเกินไป ดูจากค่า median แล้วแบบ ...


That is the way things are.

By: MrThursday
ContributorRed HatUbuntuWindows
on 17 December 2017 - 19:20 #1024142 Reply to:1024087

จริงครับ เพลีย

By: psemanssc
Blackberry
on 17 December 2017 - 02:20 #1024088

ไม่ได้เข้าข้างดีแทคนะ แต่ผมว่าแพงไปจริงๆ

By: Gored on 17 December 2017 - 08:10 #1024096
Gored's picture

แน่ใจอย่างไรว่าค่าคลื่นถูกแล้วค่าใช้บริการจะถูกลง

By: Hadakung
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 17 December 2017 - 09:40 #1024105 Reply to:1024096

แน่ใจได้แน่ๆครับว่าประมูลแพงไม่มีทางที่ค่าบริการถูกลง...

ปล.ไอที่บอกประมูลแพงรัฐจะได้มีรายได้มาอุดหนุนประชาชน ตั้งแต่ทีวีดิจิตอลแล้วครับที่ย้ำว่ามันเป็นความคิดที่โลกสวยเกินไป

By: PriteHome
ContributorAndroidWindows
on 17 December 2017 - 10:07 #1024106 Reply to:1024105
PriteHome's picture

แน่ใจครับว่าประมูลถูก ค่าบริการก็ไม่ถูกลง
รอบ 3G ได้ไปโครตถูก แต่ค่าบริการรายเดือนสุดท้ายแพงเหมือนเดิม

ไว้รอบไหนไม่มีคนประมูลเลย ค่อยลดราคากลางลงมาก็ได้ ผู้บริโภคไม่รีบ

By: Hoo
AndroidWindows
on 18 December 2017 - 19:50 #1024279 Reply to:1024106

ใช่เลย นึกถึงสมัยท่านผู้(เคย)มีอำนาจ สั่งลดค่าสัมปทานลง อ้างว่าผู้บริโภคจะได้ประโยชน์/ค่าบริการถูกลง
แต่ที่เกิดขึ้นจริงคือ ลดค่าบริการลงให้ผู้บริโภคในสัดส่วนที่น้อยกว่า บ.มือถือได้ส่วนต่าง กำไรพุงปลิ้น

By: Gored on 17 December 2017 - 10:09 #1024107 Reply to:1024105
Gored's picture

สมัยก่อนไม่มีประมูลนะค่าโทรโคตรแพงเลย แถมโทรเข้ายังโดนคิดเงินอีก ยังมีค่าบริการรายเดือนอีก 500 บาทอีก

By: deargerous
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 17 December 2017 - 15:55 #1024125 Reply to:1024107
deargerous's picture

สมัยก่อนค่าสัมปทานแพงกว่า ประมูลเยอะครับ

By: put4558350
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 17 December 2017 - 23:52 #1024155 Reply to:1024125
put4558350's picture

ประมูลเราเคยเป็นสถิติโลกเลยนะครับ ...


samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo

By: jokerxsi on 17 December 2017 - 17:11 #1024131 Reply to:1024096

ผมเชื่อว่าคลื่นถูกราคาอาจไม่ลง แต่คุณภาพน่าจะดีขึ้นได้

ผมเชื่อว่าคลื่นแพงคุณภาพไม่มีทางดีขึ้นแน่นอน รวมถึงคุณภาพชีวิตและเงินในกระเป๋าคุณกับผมก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นเหมือนกัน

By: GodPapa
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 17 December 2017 - 08:56 #1024098
GodPapa's picture

ค่าคลื่นถูก
จะได้สร้างกำไรเยอะๆ

By: ash_to_ash
AndroidWindows
on 17 December 2017 - 09:22 #1024102

มองว่าดไม่ได้แล้วเพราะสองงวดก่อนมันประมูลแพงไปแล้ว
จะเห็นว่าแพ็คเก็จแพงขึ้นเรื่อยๆถ้าไม่มีการใช้สิทธิ์โปรโมชั่น

ถ้างั้นรัฐต้องคืนเงินประมูลงวดก่อนพร้อมกับบีบบังคับ
ให้ผู้ให้บริการให้บริการถูกลง
รวมถึงผู้ใช้รายเดือนที่ติดสัญญา
อีกทั้งรัฐต้องบังคับผู้ให้บริการของ
รัฐเองไ่ม่ให้เอาราคาตลาดปัจจุบันเป็นเกณฑ์
CAT & TOT เพราะไม่เช่นนั้นจะไม่มีตัวคอยดึงราคาเอกชน

By: itpcc
ContributoriPhoneRed HatUbuntu
on 17 December 2017 - 11:32 #1024112
itpcc's picture

เหมือนคุ้นๆ ว่าคลื่น 2300 อสมท. ถือทำ MMDS รึเปล่าครับเลยเอามาใช้ไม่ได้

ส่วนตัวผมเห็นด้วยว่าราคาตั้งต้นแพงไปจริงๆ (อาจจะเพราะการปั่นสู้ราคาตอนนั้น)​ แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับการเอากฎ n-1 ออก ไม่งั้นก็ไม่ได้ราคาแบบตอน 3G อีก


บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P

By: iPlugz
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 17 December 2017 - 15:34 #1024124 Reply to:1024112
iPlugz's picture

2300 MHz ตอนนี้อยู่กับ TOT ครับ และ กำลังจับมือกับ dtac เหมือนดีล CAT - True , TOT - AIS ครับ แต่ยังติดที่ กสทช. อยู่ครับ
ส่วน MMDS ใช้คลื่น 2600 MHz ครับ

By: itpcc
ContributoriPhoneRed HatUbuntu
on 17 December 2017 - 15:58 #1024127 Reply to:1024124
itpcc's picture

ขอบคุณ​ครับ​ สับสนเอง ?

//อ้อยจะเข้าปากช้างแล้ว ไม่รู้พรานจะเอาออกมาทันมั้ย


บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P

By: Jonathan_Job
WriteriPhoneUbuntuWindows
on 17 December 2017 - 11:59 #1024113
Jonathan_Job's picture

ผมสงสัยว่า 1700 MHz (LTE#3 uplink, LTE#4 uplink) ตอนนี้ใครถือครองและถูกใช้งานทำอะไรอยู่?
ผมเห็นมี band 1710-1930 MHz อยู่ทั้งช่วง ไม่ถูกแบ่ง และครอบคลุมทุกเขตเลย

อ้างอิง: กสทช - ตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ

By: pexza
AndroidUbuntuWindows
on 17 December 2017 - 12:29 #1024115
pexza's picture

ไม่พอใช้จริงเหรอ ทำไมทุกค่ายมี Unlimited ไม่ลดความเร็วล่ะ ย้อนแย้งจัง

By: hanel
AndroidSymbianWindows
on 17 December 2017 - 13:36 #1024119 Reply to:1024115
hanel's picture

โปรพวกนี้น่าจะถูกออกแบบมาเพื่อ ไม่ให้ ส่วนแบ่งทางการตลาดลดลงนะครับ โดยไม่ได้ผูกมัดกับพื้นฐานทางโทรคมนาคมของเรานะครับ เป็นเรื่องของการตลาดล้วนๆ

By: 7elven
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 17 December 2017 - 13:54 #1024121 Reply to:1024115

ตอนนี้ผมใช้ทรูโปร 1090 Unlimited อยู่ แต่ก่อนแถวพร้อมพงษ์ได้ 90-100Mbps เดี๋ยวนี้ 20Mbps ยังยากเลย

By: bankbook555
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 17 December 2017 - 14:52 #1024123 Reply to:1024115

ศักยถาพของระบบไม่ดีพอ แต่จำเป็นต้องออกโปรเพื่อแย่งลูกค้า ผลคือตามเม้นบน

ข่าวก่อนหน้านี้เรื่องสปีดเน็ตเฉลี่ยของไทยตกก็เป็นเหตุมาจากส่วนนี้

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 17 December 2017 - 16:52 #1024130 Reply to:1024115
lew's picture

สมัยก่อน 6xx เคย unlimited กันเลยครับ ไม่มีทั้งบีบทั้งจำกัดปริมาณ

เละกันอยู่ช่วงหนึ่งเลย


lewcpe.com, @wasonliw

By: magnamonkun
WriterAndroidWindows
on 18 December 2017 - 18:01 #1024267 Reply to:1024115
magnamonkun's picture

ตามที่คุณ lew บอกเลยครับ สมัยขึ้น 3G 850 โปรพวกนี้เลยมีคำว่า Fair Usage Policy เข้ามาเพื่อลดภาระเครือข่าย

By: tanapon000 on 17 December 2017 - 18:47 #1024140
tanapon000's picture

900mhz แพงไปเยอะมาก แต่1800ผมว่าเริ่มต้นที่ราคา90%ก็ยังดีจะได้มีการเคาะราคากันบ้าง

By: langisser
In Love
on 17 December 2017 - 21:03 #1024144

เปิดด้วยประเด็นคลื่นไม่พอใช้
แต่ข้อเรียกร้องกลับเป็นเรื่องการประมูล

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 17 December 2017 - 22:02 #1024148

ชอบข้อมูลที่เอามานำเสนอนะ มีที่มาที่ไป เข้าใจง่าย แต่คำแนะนำนี่ไม่เห็นด้วยทุกข้อนะ เหมือนจงใจเข้าข้าง DTAC เกิ๊น


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: ravipon
iPhoneWindows
on 18 December 2017 - 00:17 #1024157 Reply to:1024148
ravipon's picture

ก็ดีแทคจ้างมานี่ครับ… ส่วนตัวไม่เห็นด้วยแค่ข้อยกเลิก n-1 ครับ

By: OXYGEN2
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 18 December 2017 - 03:46 #1024160
OXYGEN2's picture

ปัญหา Dtac 4G อยู่นอกบ้านในกรุงเทพ (ตลาดโชคชัย 4) แล้วสัญญาณเหลือ 1 ขีด แบบนี้คือปัญหาช่องสัญญาณเต็มหรือเปล่าครับ


oxygen2.me, panithi's blog

Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6

By: loptar on 18 December 2017 - 10:13 #1024186 Reply to:1024160
loptar's picture

ผมหนีออกจากดีแทคเพราะปัญหาแบบนี้แหละครับ

By: Gored on 18 December 2017 - 13:39 #1024220 Reply to:1024160
Gored's picture

ดินแดงนี่ยังไม่ค่อยมีเลยขนาดในตัวเมืองนะนี่

By: koalaz
ContributorAndroid
on 18 December 2017 - 09:56 #1024185
koalaz's picture

ปัญหาคือ ไม่จำกัดบล๊อค สันดานนักธุรกิจยังไงก็ฮั้วกัน แต่พอ n-1 ปุ๊บบล๊อคที่ไม่ได้ปล่อยไปก็เหลือไม่ใช้ประโยชน์อีก

โดยส่วนตัวคิดว่าปล่อยให้หมดแต่ใช้การ leverage เรื่องขนาด Block กับ leverage ราคากลางดีกว่า (บล๊อคใหญ่สุดเริ่มราคาถูกสุด บล๊อคถัดไปเล็กลงแต่ราคาเริ่มสูงขึ้น อะไรทำนองนี้)


Shut up and ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ raise your dongers ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ

By: z2
Windows PhoneAndroidUbuntuWindows
on 18 December 2017 - 10:28 #1024189

dtac ต้องดิ้นละ รอบนี้ไม่ได้คลื่น มีสิทธิ์ ออกจากตลาดได้เลย

By: foizy
AndroidUbuntuWindows
on 18 December 2017 - 11:33 #1024200

ผมว่ามันควรเป็น (N-1) + 1

แล้วใส่ Condition เรื่องราคาทั้งหลายทั้งปวง + ข้อกำหนดทั้งหลายทั้งปวงของ 1 ให้มันเยอะๆ

คือถ้าประมูลก็คือประมูลหนีข้อกำหนด (ที่โหดเอาเรื่อง)
ส่วนคลื่นแจก ให้สำหรับเจ้าที่ประมูลไม่ได้ (หรือถ้าสละสิทธิ์ ก็เจ้าที่คลื่นน้อยกว่า + พร้อมทำตามข้อกำหนด)

ข้อกำหนดก็ไล่มาเลย
ราคาแพคเกจ บริการ แพคเกจ ความครอบคลุม หรืออะไรก็ว่าไป

By: ravipon
iPhoneWindows
on 18 December 2017 - 16:51 #1024248
ravipon's picture

ทรูเส้นใหญ่จริง ร้องบอกคลื่นตัวเองไม่ติดบล็อกที่จะประมูล กสทช.ก็วิ่งให้บอกหลังประมูลแล้วอาจจัดคลื่นใหม่จะได้คลื่นติดกัน ~ //แถม 900 ให้ผ่อนเพิ่มอีก 5 งวด งวดละ 13,000ล้านบาท(เป็น 60,000ล้านของงวด 4 แบ่งจ่าย 5 ครั้งบวกดอกเบี้ย)