Boeing ประกาศเปิดตัวโดรนขนาดยักษ์ที่สามารถขนน้ำหนักได้ถึง 500 ปอนด์ หรือ 226.8 กิโลกรัม เรียกว่าเป็นโปรโตไทป์ของ “unmanned electric vertical-takeoff-and-landing (eVTOL) cargo air vehicle (CAV)”
Boeing บอกว่าโดรนลำนี้ วิศวกรของบริษัทใช้เวลาออกแบบและสร้างขึ้นมาภายในเวลาไม่ถึง 3 เดือนเท่านั้น และได้ผ่านการทดสอบการบินครั้งแรกที่ Collaborative Autonomous Systems Laboratory ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยของ Boeing ใน Missouri แล้ว
โดรนลำนี้ มีใบพัดทั้งหมด 8 ใบพัด สามารถบินขึ้นแบบตรงได้ มีขนาดกว้าง 18 ฟุต ยาว 15 ฟุต สูง 4 ฟุต น้ำหนัก 747 ปอนด์ ออกแบบมาให้บรรทุกน้ำหนักได้สูงสุดถึง 500 ปอนด์ ซึ่งจะเหมาะกับการใช้งานด้านการบรรทุกสินค้า ตัวโดรนขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ว่า Boeing ไม่ได้เผยข้อมูลอื่นอย่างเช่นระยะเวลาการบินทดสอบหรือความจุของแบตเตอรี่ของโดรน
ภาพโดย Boeing
Comments
คงต้องมีที่ขึ้นลงแบบเป็นทางการ เพราะเสียงและความแรงใบพัด น่าจะไม่เบา ปกติใบพัดโดรนจิ๋วๆ โดนทียังบาด นี่น่าจะอันตรายกว่ามาก
ถ้ามาไทย จะโดนจิ๊กโก๋เอาหนังกะติ๊กซุ่มยิง เพื่อหลอยของไปแน่นอนอ่ะครับ
ไปบินแถวงานวัดงานบวชงานแต่ง อาจจะโดนกระสุนปริศนาสอยลงมาได้...
เห็นใบพัดเป็นแบบคู่บนล่าง แบบนี้มันจะไม่เสียกำลังหรือครับ เพราะเหมือนกับใบบนผลักอากาศลงมาก็มาชนกับใบล่าง
อันนี้ผมแค่คิดเองโดยไม่มีความรู้เรื่องอากาศพลศาสตร์นะครับ
ทดลองติดตั้ง 3 OS | Windows Ubuntu Android
ผมว่าหลักการเหมือนคอปเตอรครับ
ตัวใบบนคือตัวทำให้ลอย ส่วนใบล่างคือตัวปรับสมดุล
ถ้าไปสังเกตุดี คอปเตอร์ตัวใบพัดหางเสือด้านหลังจะผลักทิศตรงกันข้าวกับ
ใบพัดหลักด้านบน
เช่น ใบหลักหมุนทวนเข็ม ใบที่หางเสือจะผลักเครื่องให้หมุนตามเข็มเพื่อไม่ให้เครื่องหมุนครับ
เหมือนเวลาที่เราดูในหนังแล้วเวลาคอปเตอร์โดนสอยหางแล้วเห็นไหมครับว่าเกิดอะไรขึ้น
ตัวเครื่องมุนตามใบหลักติ้วๆๆก่อนกระแทกพื้น
ปล.ผมดูสารคดีมากอีกที
เป็นการเพิ่มกำลังในการยกด้วยซ้ำครับ
รู้สึกใบพัดจะหมุนรอบไม่เท่ากันในคู่นั้น เป็นตัวเร่ง เป็นตัวพยุง
น่าจะตั้งให้เหลื่อมกันแบบตั้งฉากได้ครับ ให้ไม่มีจังหวะไหนเลยที่ใบพัดล่างอยู่ใต้ใบพัดบนพอดี (เดาล้วน ๆ เหมือนกันครับ)
จากที่ผมเคยทดลองนิดๆหน่อยๆ ในเรื่องพัดลม(แต่เป็นเรื่องพัดลมระบายความร้อน) กรณีต่อพัดลมสองตัวแล้วหันไปทางเดียวกัน ตัวที่ 2 จะกินแรงน้อยกว่าเยอะครับ เนื่องจากมีความเร็วลมจากตัวแรกส่งมาอยู่ประมาณนึงแล้ว ทำให้พัดลมตัวที่สองสามารถใช้รอบได้สูงกว่า แล้วเพิ่มแรงลมมากขึ้นได้ครับ อันนี้พูดถึงเฉพาะแง่กำลังนะ ประโยชน์อีกเรื่องน่าจะเป็นเรื่อง Fail safe system หรือง่ายๆป้องกันร่วงจากกรณีใบพัดหรือมอเตอร์เสียหายไปตัวนึง
ถ้าตาม Wikipedia ก็
ผมว่า 6-16% ที่เพิ่มขึ้นพอช่วยให้มองเห็นภาพแต่คงเอามาเทียบกันเป๊ะไม่ได้ เพราะดีไซน์ต่างกัน ใน Wiki ที่ยกมาอธิบายเรื่องของการใช้ 2 ใบพัด ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ตัวเดียว
แต่โดรนในข่าวน่าจะใช้มอเตอร์(เครื่องยนต์)แยก2ตัวบนล่าง ซึ่งมันขึ้นอยู่กับโปรแกรมการบินละครับ ว่าจะทำมอเตอร์ 2 ตัวให้ทำงานร่วมกันได้มีประสิทธิภาพแค่ไหน
นี่ยังสงสัยอยู่เลยว่าทำไมเทคโนโลยีปีหมุนมันพุ่งไปทางโดรนกันหมด ทั้งๆที่เรามีเทคโนโลยีที่คล้ายๆกันอยู่แล้วอย่างเฮลิคอปเตอร์ทั้งขนาดใหญ่และเล็กที่ใช้ยกของได้เช่นกัน
โดรนควบคุมทิศทางและการเคลื่อนที่ได้ง่ายกว่าครับ คิดว่าน่าจะเหมาะกับระบบอัตโนมัติมากกว่า
Form Factor ของเฮลิคอปเตอร์ปัจจุบันมันต้องเผื่อพื้นที่ไว้สำหรับให้นักบินนั่งครับ พอตัดข้อจำกัดออกไปให้ไร้คนขับ มันเลยปรับหน้าตาให้มีประสิทธิภาพขึ้น (เดาล้วนๆ)