บริษัท SeaMicro ผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์ความหนาแน่นสูง (high density) ที่ใส่ซีพียูจำนวนมากๆ เข้าไปในเคสขนาดสูงไม่กี่ U ได้ ออกเซิร์ฟเวอร์รุ่นล่าสุดคือ SM15000 ซึ่งเป็นรุ่นแรกหลังถูกเอเอ็มดีซื้อกิจการ
SM15000 เป็นตู้ขนาด 10U สามารถใส่การ์ดประมวลผลได้ 64 ใบ โดยการ์ดมีขายสองรุ่น
ตัวการ์ดอินเทลและกล่อง SM15000 มีขายแล้ว แต่สำหรับการ์ด Opteron จะต้องรอเดือนพฤศจิกายนนี้
ข่าวเอเอ็มดีเข้าซื้อ SeaMicro ที่ผลิตเซิร์ฟเวอร์แบบความหนาแน่นสูง (High Density) ทำให้นักข่าวสนใจกันว่าทำไมอินเทลจึงไม่ซื้อบริษัทนี้เสียก่อนที่เอเอ็มดีจะซื้อไป และอินเทลตอบว่าอินเทลไม่เคยสนใจในเทคโนโลยีของ SeaMicro ทั้งที่เคยได้รับข้อเสนอให้ซื้อไลเซนส์เทคโนโลยีหรือซื้อบริษัทมาก่อนแล้ว
เทคโนโลยีสำคัญของ SeaMicro คือชิปที่เรียกว่า Freedom Fabric ที่ใช้เชื่อมซีพียูจำนวนมากเข้าด้วยกันโดทำตัวเสมือนเป็นการ์ดเน็ตเวิร์ค และการออกแบบบอร์ดเฉพาะทำให้ชิ้นส่วนต่างๆ ถูกตัดออกไปแทบหมด เหลือชิ้นส่วนหลักคือซีพียูและแรมเท่านั้น
บริษัท SeaMicro เป็นบริษัทที่ขายเซิร์ฟเวอร์เฉพาะทาง คือบีบเครื่องให้เหลือขนาดเล็กๆ แล้วรวมเครื่องจำนวนมากๆ เข้าไว้ในตู้เดียวกัน เช่นที่เคยเป็นข่าวคือเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ชิป Atom 256 ตัวในกล่อง 10U แต่ในเร็วๆ นี้เราคงได้เห็นสินค้าในตระกูลเอเอ็มดีมากขึ้น เมื่อทางเอเอ็มดีประกาศเข้าซื้อ SeaMicro ด้วยมูลค่า 334 ล้านดอลลาร์แล้ว
การซื้อจะแบ่งเป็นเงินสดมูลค่า 281 ล้านดอลลาร์ ที่น่าสนใจคือในตอนนี้สินค้าทั้งหมดของ SeaMicro ใช้ชิปในตระกูลอินเทลทั้งสิ้น ส่วนเซิร์ฟเวอร์ที่จะใช้ชิป Opteron นั้นจะออกในครึ่งหลังของปีนี้
บริษัทเซิร์ฟเวอร์เล็กๆ อย่าง SeaMicro กำลังอาศัยความสามารถในการรับแรมที่เพิ่มขึ้นของ Atom N570 ตัวใหม่ที่รับแรมได้ถึง 4GB จากเดิมจำกัดอยู่เพียง 2GB ทำให้เหมาะกับการใช้งานสำหรับงานเซิร์ฟเวอร์กว่าเดิม
เครื่อง SM10000-64 รองรับ Atom N570 จำนวน 256 ตัวแต่ละตัวสามารถใส่แรมได้ 4GB โดยภายในแบ่งเป็นการ์ดจำนวน 64 ใบแต่ละใบใส่ Atom ไว้ 4 ตัว ตัวบอร์ดมี Atom, แรม, และชิปเฉพาะของ SeaMicro เอง
ทาง SeaMicro ระบุว่าเครื่อง SM10000-64 ใช้พลังงานรวมน้อยกว่าเซิร์ฟเวอร์ทั่วไปร้อยละ 75 ขณะที่สามารถติดตั้งได้ถึง 2048 คอร์ต่อตู้