Intel Atom Processor
อินเทลเปิดตัวซีพียูสำหรับงานสาย IoT โดยมาพร้อมหน้าทุกระดับแบรนด์ ตั้งแต่ Core 11th Gen (Tiger Lake), Atom, Pentium, Celeron โดยใช้รหัสรุ่นห้อยท้ายตัว E ให้เห็นความแตกต่างจากรุ่นปกติ
ซีพียูทั้งสามรุ่นคือ Atom x6000E, Pentium, Celeron มีฟีเจอร์ใหม่ Programmable Services Engine (Intel PSE) มันคือไมโครคอนโทรลเลอร์ ARM Cortex-M7 ที่ช่วยแบ่งโหลดงานบางอย่าง (โดยเฉพาะงานกินพลังงานต่ำ) ออกจากซีพียูเพื่อประหยัดพลังงาน การที่มีหน่วยประมวลผลแยกอีกตัวยังรองรับการรีโมทเข้ามาจัดการ โดยไม่ต้องยุ่งกับซีพียูหลักได้ด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์หาก OS ที่รันบนซีพียูหลักค้างหรือไม่ตอบสนอง
เราอาจคุ้นเคยกับสถาปัตยกรรมซีพียูฝั่ง ARM บนมือถือที่ใช้แกนแบบ big.LITTLE ใช้แกนซีพียูสองขนาดทำงานร่วมกัน ล่าสุดอินเทลก็มีอะไรคล้ายๆ กันออกมาในชื่อโค้ดเนมว่า "Lakefield"
Lakefield เป็นแพลตฟอร์มการประมวลผล (SoC) ที่จับซีพียู 2 ตระกูลได้แก่ Core และ Atom มาไฮบริดกันอยู่บนแพ็กเกจเดียวกัน ซีพียูที่ใช้คือ Core ตัวใหม่สถาปัตยกรรม Sunny Cove จำนวน 1 คอร์ และ Atom อีก 4 คอร์ บวกกับชิปอื่นๆ ทั้งจีพียู แรม และ I/O
ก่อนหน้านี้มีรายงานว่าพีซีที่ใช้ซีพียู Intel Atom รุ่น Clover Trail ไม่สามารถอัพเดต Windows 10 เป็น Creators Update ได้ ล่าสุดไมโครซอฟท์ยืนยันแล้วว่าเป็นความจริง
เหตุผลเป็นเรื่องของไดรเวอร์ เพราะ Clover Trail ออกในช่วงปี 2012-2013 (ในยุคของ Windows 8) และตอนนี้อินเทลไม่อัพเดตไดรเวอร์ให้อีกแล้ว อุปกรณ์เหล่านี้จึงสามารถอัพเดตได้ถึงแค่ Windows 10 Anniversary Update แต่ไมโครซอฟท์ก็สัญญาว่าจะอัพเดตแพตช์ความปลอดภัยให้ถึงเดือนมกราคม 2023
ตัวอย่างอุปกรณ์ที่เป็น Atom Clover Trail คือ Asus VivoTab, HP Envy x2, Dell Latitude 10, Lenovo ThinkPad Tablet 2, Acer Iconia W3 เป็นต้น ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ Atom รุ่นอื่นไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหานี้
ถึงแม้ช่วงหลังซีพียู Atom จะเงียบๆ ไป หลังอินเทลถอนตัวจากตลาดสมาร์ทโฟน-แท็บเล็ต แต่อินเทลก็ยังออก Atom อยู่เรื่อยๆ โดยเน้นที่ตลาด IoT และอุปกรณ์ฝังตัวแทน
ล่าสุดอินเทลเปิดตัว Atom C3000 โค้ดเนม Denverton ซีพียูตัวใหม่ที่ออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์เครือข่าย สตอเรจจำพวก SAN และอุปกรณ์ IoT โดย Atom ซีรีส์นี้มีจำนวนคอร์สูงสุด 16 คอร์ และมีฟีเจอร์ระดับสูงที่มีในซีพียูสายเซิร์ฟเวอร์ เช่น virtualization (VT-x/VT-d) และ error correction มาให้ด้วย
อินเทลออก Atom E3900 Series รุ่นสำหรับอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) โดยเฉพาะ ถือเป็นการปรับปรุงจาก Atom E3800 ที่ออกมาก่อนหน้านี้
จุดเด่นของ Atom E3900 คือประสิทธิภาพที่ดีขึ้นทั้งฝั่งซีพียู จีพียู การประมวลผลภาพ และการเชื่อมต่อเครือข่าย
นอกจากนี้ อินเทลยังออก Atom A3900 รุ่นพิเศษสำหรับตลาดรถยนต์ ใช้ได้กับทั้งระบบแสดงผลข้อมูลภายในรถ และระบบช่วยขับรถ ชิปรุ่นนี้จะเริ่มวางขายในไตรมาส 1 ปี 2017
โฆษกอินเทลเผยว่า บริษัทได้ยกเลิกการพัฒนาชิป Atom รหัส Sofia กับ Broxton โดยจะโยกทรัพยากรไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนสูงกว่าและสอดคล้องกับกลยุทธ์ของบริษัท
จากการยกเลิกดังกล่าวทำให้ยังไม่มีชิปมาแทนชิปรุ่นเดิมในแผนชิปสำหรับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต (เข้าใจว่าไม่รวมอุปกรณ์ 2-in-1 เพราะข่าวระบุว่า tablet-only) ทั้งนี้บริษัทได้เริ่มส่งมอบชิปรหัส Sofia แล้ว ส่วน Broxton ถูกเลื่อนส่งมอบไปจากแผนเดิมในปีนี้
บริษัทยังยกเลิก Atom X5 ซึ่งถูกใช้ในอุปกรณ์หลากรุ่น โดยชิปดังกล่าวอยู่ในแผนถูกเปลี่ยนผ่านเป็นชิปรหัส Apollo Lake ทั้งนี้ โฆษกยืนยันว่าบริษัทจะให้การสนับสนุนชิปดังกล่าวต่อไป และผู้ผลิตหลายรายหันไปใช้ Core M สำหรับอุปกรณ์ไฮบริดและแท็บเล็ตที่เน้นประสิทธิภาพแบบพีซีแล้ว
อินเทลเตรียมออก Celeron/Pentium ตัวใหม่ "Apollo Lake" ชิปสำหรับใช้ในโน้ตบุ๊กราคาถูก (entry level) มาแทนที่ "Braswell" มีรายละเอียดดังนี้
อินเทลเปิดตัวชิป Atom ซีรีส์ x5 เพิ่มอีกสามรุ่น และนับเป็นการอัพเดต Atom ครั้งแรกในปี 2016 ด้วย โดยสเปคของทั้งสามรุ่นที่เปิดตัวมามีดังนี้
สำหรับสามชิปรุ่นใหม่ใหม่ที่เปิดตัวมาแบ่งเป็นสองรุ่นสำหรับอุปกรณ์พกพาอย่าง x5-Z8330 และ x5-Z8350 ทั้งคู่ยังเป็น Cherry Trail ที่ผลิตบนขนาด 14 นาโนเมตร ที่สเปคตามหน้ากระดาษใกล้เคียงกันมาก ด้วยซีพียูควอดคอร์ความถี่ 1.44GHz (เร่งได้เป็น 1.92GHz) พร้อมจีพียู HD 400 ความถี่ 200-500MHz รองรับแรม DDR3L-RS ซึ่งนอกจากสัญญาณนาฬิกาที่เพิ่มขึ้นแล้ว ส่วนอื่นๆ ใกล้เคียงกับรุ่นก่อนหน้าอย่าง x5-Z8300 อย่างมาก
เมื่อช่วงต้นปีในงาน CES 2015 อินเทลได้เปิดตัวเจ้า Compute Stick พีซีจิ๋วขนาดเท่าแฟลชไดรฟ์อย่างเป็นทางการในราคา 149 เหรียญ ล่าสุดอินเทลได้เพิ่มโมเดลของพีซีจิ๋วตัวนี้ ด้วยการเพิ่มรุ่นที่รัน Ubuntu ตามมาแล้ว
Compute Stick รุ่นรัน Ubuntu จะใช้รหัสว่า STCK1A8LFC สเปคจะด้อยกว่ารุ่น Windows เล็กน้อย โดยจะใช้ซีพียู Atom Z3735F รุ่นเดียวกัน แต่ลดหน่วยความจำเหลือ 8GB และลดแรมเป็น 1GB รวมถึงรัน Ubuntu 14.04 LTS
ด้วยสเปคที่ลดลง และระบบปฏิบัติการที่ไม่มีค่าธรรมเนียม ราคาของ Compute Stick โมเดลใหม่จึงถูกลงเหลือราว 110 เหรียญ โดยทาง Canonical ระบุว่าจะเริ่มวางขายภายในสัปดาห์ที่จะถึงนี้
ในงาน Computex บนเวทีของ ASUS วันนี้ได้เปิดตัวโน้ตบุ๊กแยกร่างเป็นแท็บเล็ตได้ในซีรีส์ Transformer Book รุ่นใหม่ที่มาพร้อมกับพอร์ต USB Type-C เป็นตัวแรกของ ASUS
Transformer Book รุ่นใหม่มาในรหัส T100HA ใช้หน้าจอขนาด 10.1" ความละเอียด 1280x800 พิกเซล พร้อมชิป Atom ตัวใหม่ซีรีส์ X5 รหัส Cherry Trail ควอดคอร์ รัน Windows 10 แรมเริ่มต้นที่ 4GB ตัวเครื่องหนาเพียง 8.45 มม. หนัก 580 กรัม (เฉพาะแท็บเล็ต) ใช้งานได้ยาวนาน 14 ชั่วโมง
แม้ตัวเครื่องจะยังเป็นพลาสติกดังเดิม แต่ ASUS เคลมว่าทั้งคีย์บอร์ด และทัชแพดของ T100HA ปรับปรุงไว้ดีกว่ารุ่นเดิมมาก ยังไม่เปิดราคา (คาดว่าเท่าเดิมที่ 349 เหรียญ) วางขายไตรมาสสามปีนี้ครับ
อินเทลเปิดตัวพีซีขนาดจิ๋ว Intel Compute Stick เมื่อต้นปี ใช้ Atom Baytrail ควอดคอร์, แรม 2GB, หน่วยความจำ 32GB, USB, micro USB, HDMI
เว็บไซต์ PC Pro เว็บไซต์รีวิวสินค้าไอทีเน้นผู้ใช้องค์กร เผยว่าไมโครซอฟท์จะเปิดตัว Surface Pro 4 ราวกรกฎาคม
Surface Pro 4 จะมีรุ่นจอ 14 นิ้ว, 12 นิ้ว และรุ่น "mini" โดยรุ่น 12 กับ 14 นิ้ว มีหน้าจอที่ความละเอียด 2K (2160x1440 พิกเซล) ใช้ชิป Core M (Broadwell) มีแรม 16 กิกะไบต์ และมีหน่วยความจำแบบแฟลชความจุสูงสุด 1 เทระไบต์ ส่วนรุ่น mini จะมีหน้าจอ 8 หรือ 10 นิ้ว และใช้ชิป Atom (Cherry Trail)
อินเทลประกาศแนวทางการตั้งชื่อ Atom ใหม่ไปเมื่อวันก่อน วันนี้ก็เปิดตัวชิปรุ่นใหม่ทั้งหมดออกมาแล้ว โดยชิป SoFIA ที่รวมเอาโมเด็มไว้ในตัว มุ่งสำหรับโทรศัพท์ราคาต่ำกว่า 100 ดอลลาร์จะได้ชื่อเป็น Atom x3
ส่วนชิปรุ่นต่อไปคือ Cherry Trail จะได้ชื่อเป็น Atom x5 และ Atom x7 เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการประสิทธิภาพสูงขึ้น
อินเทลระบุว่าตอนนี้ผู้ผลิตที่สัญญาว่าจะออกสินค้าจากชิปตระกูลใหม่แล้วได้แก่ Acer, ASUS, Dell, HP, Lenovo, และ Toshiba โดยสินค้าชุดแรกน่าจะเปิดตัวภายในครึ่งปีแรกของปีนี้
ทางฝั่งชิปเครือข่ายอินเทลเปิดตัวโมเด็ม Intel XMM 7360 LTE-Advanced รองรับแบนด์วิดท์สูงสุด 450Mbps จากการใช้งานสามช่องสัญญาณ และรองรับการทำงานสองซิม
หลังจากกลับมาได้รับความสนใจอีกครั้งด้วยการเปิดโครงการระดมทุนทำแท็บเล็ตตัวใหม่ Jolla ก็เดินเครื่องพัฒนาระบบปฏิบัติการ Sailfish OS ต่อเนื่อง ล่าสุดเปิดตัวรุ่น 2.0 อย่างเป็นทางการแล้ว
ใน Sailfish 2.0 มาพร้อมกับการรองรับแอพ Android ที่มากขึ้น รวมถึงรองรับซีพียูซีรีส์ Atom ของอินเทล รวมถึงปรับปรุงอินเทอร์เฟซบางส่วน เช่นหน้ารวมงาน ระบบแจ้งเตือนแบบขยายได้ และการเข้าถึงฟังก์ชันหลักได้รวดเร็วขึ้นด้วย gesture
อินเทลปรับระบบรุ่นของ Atom จากเดิมที่เป็นตัวเลข ปรับเป็นตระกูลสามตระกูล ได้แก่ x3, x5, และ x7 แบบเดียวกับ Core i3, i5, i7 โดยแนวทางนี้น่าจะทำให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ว่ากำลังซื้อโทรศัพท์หรือแท็บเล็ตรุ่นไหนอยู่
ปัญหาชื่อซีพียูที่ซับซ้อนเคยเป็นปัญหาของอินเทลในยุคก่อน Core i ที่ลูกค้าต้องการฟีเจอร์บางอย่าง เช่น virtualization จำเป็นต้องค้นหาจากเว็บอินเทลทีละรุ่นว่ารุ่นใดรองรับบ้าง การจัดระเบียบที่ผ่านมาทำให้ลูกค้าเดาได้ง่ายขึ้นว่ารุ่นใหญ่มักจะมีฟีเจอร์มากกว่ารุ่นเล็กเสมอ
อินเทลจะเริ่มใช้แนวทางตั้งชื่อรุ่นนี้ในชิปรุ่นต่อไป
ที่มา - Intel
เว็บไซต์ PCWorld อ้างแหล่งข่าวของตนว่า HoloLens อุปกรณ์ลักษณะแว่นตาที่สามารถแสดงผลภาพโฮโลแกรมได้ จะใช้ชิป Atom รหัส Cherry Trail ซึ่งถูกเลื่อนการเปิดตัวไปกลางปี 2015 เป็น CPU และ GPU
Cherry Trail ถูกผลิตภายใต้เทคโนโลยีการผลิต 14 นาโนเมตร และถูกวางให้เป็นรุ่นถัดไปต่อจากชิป Atom รหัส Bay Trail โดย Cherry Trail มีขนาดเล็กพอที่จะฝังกับโครงร่างที่โค้งมนของ HoloLens รวมถึงมากับความสามารถในการประมวลผลรู้จำ gesture ซึ่งจำเป็นต่ออุปกรณ์ลักษณะแว่นตาจากไมโครซอฟท์ในการรู้จำท่าทางและการเคลื่อนไหวของมือ การสนับสนุนการชาร์จไฟไร้สาย และการสตรีมวิดีโอไร้สาย WiDi
ในที่สุดขาใหญ่วงการพีซีอย่างอินเทลก็ลงมาเล่นในตลาดพีซีขนาดจิ๋วอย่างเต็มตัวแล้ว หลังจากบนเวที CES 2015 ได้เปิดตัว Intel Compute Stick หรือพีซีขนาดราวกับแฟลชไดรฟ์ที่ใช้ Atom เป็นแกนหลัก
สเปคของ Intel Compute Stick มาพร้อมกับ Atom ควอดคอร์รหัส Baytrail, หน่วยความจำภายใน 32GB, แรม 2GB มีพอร์ต micro USB และ USB ขนาดเต็มอย่างละหนึ่งพอร์ต ต่อกับหน้าจอได้ผ่านพอร์ต HDMI ตัวพีซีจิ๋วนี้สามารถรันได้ทั้ง Windows 8.1, Linux และ Android
อินเทลระบุว่าจะเริ่มขายปลายไตรมาสแรกของปีนี้ เปิดราคามาที่ 149 เหรียญ หรือประมาณ 4,900 บาท
ที่มา - Intel
Cherry Trail เป็นรหัสของ Atom รุ่นถัดไปที่ใช้แกน Airmont และเทคโนโลยีการผลิต 14 นาโนเมตร (Atom Moorefield รุ่นที่ขายอยู่ในปัจจุบันผลิตที่ 22 นาโนเมตร และใช้แกน Silvermont) เดิมทีอินเทลมีแผนจะออก Cherry Trail ช่วงปลายปีนี้ แต่ล่าสุดมันถูกเลื่อนเป็น "กลางปี 2015" แล้ว
ปัญหาหลักๆ ของอินเทลคงอยู่ที่การย้ายเทคโนโลยีการผลิตจาก 22 นาโนเมตรไปเป็น 14 นาโนเมตร แต่ก็ยังถือว่าเหนือกว่าค่าย ARM ที่เพิ่งเริ่มต้นผลิตระดับ 20 นาโนเมตรอยู่
WinBeta เว็บไซต์ข่าวไอทีสายไมโครซอฟท์ รายงานข่าวว่า พบการวางจำหน่าย USB dongle ซึ่งระบุว่าเป็นการวางจำหน่ายโดยทาง Intel บนหน้าเว็บของ Aliexpress ซึ่งตัวของ USB dongle ภายในคือเครื่องพีซีที่สามารถทำงานได้เต็มรูปแบบ โดยใช้หน่วยประมวลผลกลางเป็น Intel Atom ตระกูล Bay Trail (ภาพท้ายข่าว)
Lenovo เริ่มต้นงาน IFA ก่อนใครด้วยการเปิดตัวแท็บเล็ตตัวใหม่อย่าง Tab S8 ที่กลับมาซบอกอินเทลอีกครั้งด้วย พร้อมกับราคาเบาๆ เมื่อเทียบกับสเปค
สเปคของ Tab S8 จัดอยู่ในระดับกลางๆ ของตลาดแต่พอใช้ ดังนี้
การออกแบบของ Tab S8 จะคล้ายกับสมาร์ทโฟนซีรีย์ Vibe แต่ขยับลำโพงมาอยู่ด้านหน้า โดยวางอยู่ด้านบน-ล่าง ข้อเสียเท่าที่ดูจากสเปคคือใส่ micro SD เพิ่มความจุไม่ได้
Dell อัพเกรดสเปกให้กับแท็บเล็ต Venue 7 และ Venue 8 ที่เริ่มขายช่วงปลายปีที่แล้ว โดยเปลี่ยนซีพียู Atom เป็นรุ่นใหม่ล่าสุดรหัส Merrifield และใช้ระบบปฏิบัติการ Android 4.4 KitKat
นอกจากดาวเด่นของงานอย่าง Transformer Book V อุปกรณ์ไฮบริดที่ใช้งานได้ห้าแบบแล้ว ในเวที Computex ปีนี้ ASUS ยังขนอุปกรณ์รุ่นใหม่อื่นๆ มาเปิดตัวอีกหลายรุ่น เน้นไปที่แท็บเล็ตดังนี้ครับ
เริ่มต้นกันที่ Fonepad 8 แท็บเล็ตโทรได้รุ่นใหม่ที่ขยับไปใช้หน้าจอขนาด 8" ความละเอียดเท่าเดิมที่ 1280x800 พิกเซล ซึ่ง ASUS เคลมว่าเป็นแท็บเล็ต 8" ที่มีสัดส่วนหน้าจอต่อตัวเครื่องถึง 72% มากที่สุดในตลาด (ขอบจอน้อยนั่นเอง) ตัว Fonepad 8 อัพเกรดซีพียูเป็น Atom Z3560 ควอดคอร์ความถี่ 1.8GHz ซึ่งรองรับการประมวลผลแบบ 64 บิตแล้ว พร้อมกับตัวเครื่องที่บางเพียง 5.06 มม. เท่านั้น รองรับสองซิม แต่ไม่รองรับ LTE
อินเทลประกาศบุกรถยนต์อย่างเป็นทางการด้วย Intel In-Vehicle Solutions ซึ่งเป็นโซลูชันครบวงจรที่ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และแอพพลิเคชัน สำหรับให้ค่ายรถยนต์นำไปพัฒนาต่อบนระบบความบันเทิงและระบบนำทางภายในรถ
Intel In-Vehicle Solutions มีองค์ประกอบ 3 อย่างได้แก่
เมื่อไม่กี่วันก่อน HP เพิ่งลงมาเล่นตลาดแท็บเล็ตราคาถูกมากด้วยการเปิดตัว HP 7 Plus แท็บเล็ต 7" ราคาต่ำเพียง 99 เหรียญ มาวันนี้เป็น Toshiba ที่ลงมาบุกตลาดนี้ด้วย Excite Go แท็บเล็ต 7" ที่เปิดราคามาใกล้เคียงกันเพียง 109.99 เหรียญเท่านั้น
สเปคโดยรวมของทั้งสองรุ่นนี้ใกล้เคียงกัน จุดต่างกันหนักๆ อยู่ที่ Excite Go เลือกใช้ซีพียู Atom จากอินเทล ส่วนของ HP 7 Plus เป็นซีพียู Allwinner ของจีน ส่วนสเปคคร่าวๆ มีดังนี้ครับ
อินเทลและ Rockchip ประกาศพันธมิตรร่วมกัน โดย Rockchip จะผลิตชิป SoC ในตระกูล SoFIA ที่รวมเอาทั้ง Atom และ 3G ไว้ในชิปเดียวกัน โดยชิปตัวแรกจะเป็นชิปสี่คอร์พร้อม 3G ในตัว เริ่มวางตลาดครึ่งแรกของปี 2015
ก่อนหน้านี้อินเทลพยายามใช้พิมพ์เขียวของชิปของตัวให้ได้ประโยชน์มากขึ้น เช่นความร่วมมือกับ TSMC เพื่อผลิต Atom แต่สุดท้ายก็ไม่ได้มีการผลิตจริง หากรอบนี้ Rockchip เอาจริงกับการผลิต Atom เราน่าจะได้เห็น Atom แบบ SoC ในราคาถูกมาก
แพลตฟอร์ม SoFIA ในตอนนี้เองก็มีข่าวว่าอินเทลจะไม่ได้ผลิตเอง แต่จ้าง TSMC ผลิตให้ ทำให้ปีหน้าเมื่อ SoFIA เริ่มวางจำหน่าย สินค้าทั้งหมดจะมาจากโรงงานนอกอินเทล ส่วนโรงงานของอินเทลเองมีแผนจะเริ่มผลิต SoFIA เองในปี 2016