ข้อจำกัดประการสำคัญของ JavaScript คือการไม่กำหนดชนิดของตัวแปร (type) แบบตายตัว (static typing) เมื่อ JavaScript ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงมีคนพยายามแก้ปัญหานี้ด้วยการประดิษฐ์ภาษาหรือเครื่องมือใหม่ๆ ที่เป็น JavaScript แบบมี type เข้ามา (เช่น TypeScript, Closure Compiler หรือ Flow) เพื่อจัดระเบียบการเขียนโค้ดให้มีโครงสร้างมากขึ้น
แนวทางของภาษาแบบ TypeScript คือให้มนุษย์เขียนโค้ดด้วยภาษาใหม่ที่มีระเบียบขึ้น จากนั้นใช้เครื่องมือ "แปลง" (ในที่นี้คือ transpiler) ภาษาใหม่กลับมาเป็น JavaScript อีกทีหนึ่ง
ทีมพัฒนา Chrome ออกมาประกาศว่า Chrome 52 (ตอนนี้สถานะยังเป็นรุ่นทดสอบ) จะรองรับมาตรฐาน ECMAScript (ชื่ออย่างเป็นทางการของ JavaScript) เวอร์ชัน 6 และ 7 แล้ว
สเปก ECMAScript 6 ผ่านเป็นมาตรฐานเมื่อกลางปีที่แล้ว สถานะของ Chrome 52 สามารถผ่านชุดทดสอบมาตรฐานได้ 98% แล้ว เบราว์เซอร์อีกตัวที่ได้คะแนนระดับเดียวกันคือ Safari Technology Preview ทำคะแนนได้ 99% ส่วน Edge และ Firefox อยู่ที่ 90% ใครสนใจตามไปดูตารางคะแนนกันได้
จาวาสคริปต์รุ่นต่อไป หรือชือเป็นทางการว่า ECMAScript 6 ผ่านการพิจารณาจาก ECMA เรียบร้อยแล้วและประกาศออกมาเป็นมาตรฐาน ECMA-262
ECMAScript 6 เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ทำให้เราเขียนจาวาสคริปต์ได้เหมือนภาษาทั่วๆ ไปมากขึ้น ฟีเจอร์สำคัญคงเป็นการเขียนคลาสที่เขียนเหมือนภาษาอืนๆ ได้แล้ว
ที่มา - SD Times
ECMA International และไมโครซอฟท์ สองผู้ผลักดัน OpenXML ได้ออกมายืนยันแล้วว่าร่างมาตรฐาน OpenXML ผ่านการโหวตตามกระบวนการของ ISO และ IEC ด้วยคะแนน 75% ซึ่งเกินจากเกณฑ์มาตรฐานที่ต้องการให้ P-member อย่างต่ำ 66.7% สนับสนุนร่างมาตรฐาน
ผลอย่างเป็นทางการต้องรออีกวันหนึ่ง
ที่มา:
- ECMA
- ไมโครซอฟท์
เรื่องนี้ลึกลับเกินกว่าจะแปลครับ!!! มีอะไรมากกว่าในข่าวอีกมาก
ถ้าผิดกติกาที่ไม่แปลข่าว ขอให้ admin ลบได้เลยนะครับ
ที่มา: zdnet
ISO/IEC JTC1 ได้ปิดรับผลโหวต DIS 29500 (OOXML) เมื่อวันที่ 2 กันยายนที่ผ่านมา
ตามเกณฑ์ของ JTC1 จะต้องมีสำนักงานมาตรฐานของประเทศต่างๆโหวตรับไม่น้อยกว่า 2/3 (66.67%) และโหวตปฏิเสธไม่เกิน 1/4 (25%) ปรากฏว่าเงื่อนไขทั้งสอง ไม่ผ่านเกณฑ์ทั้งคู่ โดยคะแนนโหวตรับมี 53% และโหวตไม่รับมี 26%
ที่มา: ข่าว ISO
มาตรฐานด้านเอกสาร เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ได้เห็นผลอยู่เฉพาะหน้า
เมื่อวันที่ 1 พ.ค.2548 OASIS ได้เสนอร่างเอกสาร ODF (OpenDocument Format) ซึ่งเป็นฟอร์แมตที่ใช้ใน OpenOffice software suite ให้ ISO/IEC Joint Technical Committee 1 (JTC1) พิจารณาตามกระบวนการ ซึ่ง JTC1 ได้อนุมัติเป็นมาตรฐาน ISO/IEC 26300:2006 ในปลายปี 2549
ระหว่างการแข่งขันระหว่างมาตรฐาน OOXML จากฝั่งไมโครซอฟท์ และ ODF จากฝั่งซัน ประเด็นหนึ่งที่ทางไมโครซอฟท์ยกมาข่มได้นั่นคือมาตรฐานด้าน Spreadsheet ที่นับได้ว่าเป็นจุดอ่อนของ ODF เนื่องจากมีการอธิบายวิธีการคำนวณเอาไว้เพียง ประมาณ 10 หน้ากระดาษเท่านั้น นับว่าน้อยจนไม่สามารถอิมพลีเมนต์ได้จริง เรื่องนี้ทำให้ไมโครซอฟท์แสดงตัวเรื่อยมาว่ามาตรฐาน OOXML นั้นชัดเจนกว่า เนื่องจากมีการอธิบายขั้นตอนการคำนวณสูตรต่างๆ ไว้ถึง 325 หน้ากระดาษ