JetBrains ประกาศเปิด CLion IDE ภาษา C/C++ ให้ใช้งานแบบ non-commercial ได้ฟรี ตามรอย IDE บางตัวที่เปิดฟรีไปก่อนหน้าคือ RustRover (Rust), WebStorm (JavaScript/TypeScript) และ Rider (Unreal)
JetBrains บอกว่าภายใต้เงื่อนไขใหม่นี้สามารถนำ IDE ไปใช้ศึกษาหาความรู้ พัฒนาแอพส่วนตัว หรือใช้กับโครงการโอเพนซอร์สได้เลย บริษัทเองก็จะได้ฐานผู้ใช้งานที่คุ้นเคยกับ IDE ของตัวเองในวงกว้างขึ้นด้วย ส่วนเหตุผลที่เลือก CLion เป็นเพราะภาษา C/C++ ค่อนข้างเรียนรู้ได้ยาก การมี IDE ช่วยย่อมทำให้การเขียนโปรแกรมง่ายขึ้น
ที่มา - JetBrains
กูเกิลอัพเดตโมเดล Gemini 2.5 Pro เป็นเวอร์ชั่น 05-06 (6 พฤษภาคม) โดยชูประเด็นสำคัญคือมันทำคะแนนทดสอบด้านการเขียนเว็บ หรือ WebDev Arena เอาชนะ Claude 3.7 ได้เป็นตัวแรก นับแต่แยกหมวดหมู่มา แถมยังชนะค่อนข้างขาดด้วยคะแนน ELO 1420
ทางกูเกิลระบุว่าตั้งใจจะเปิดตัวโมเดลเวอร์ชั่นนี้ในงาน Google I/O ที่กำลังจะจัดปลายเดือนนี้ แต่เปลี่ยนใจปล่อยออกมาทันทีเลยให้ใช้กันก่อนงาน
WebDev Arena เป็นบริการทดสอบปัญญาประดิษฐ์แบบเทียบกันตัวต่อตัว โดยผู้ใช้สามารถสั่งทำเว็บแบบต่างๆ ใน sandbox ได้ค่อนข้างอิสระ บริการนี้เปิดตัวมาตั้งแต่ปลายปี 2024 และ Claude ก็นำมาโดยตลอด ตั้งแต่ช่วงแรกที่นำโดย Claude 3.5 และภายหลังก็นำโดย Claude 3.7
AWS มีบริการแชทบ็อทชื่อ Amazon Q ที่มีเวอร์ชันย่อย Amazon Q Developer ช่วยทำงานเขียนโค้ด และถูกนำมาใช้งานจริงกับโปรแกรมเมอร์ของ Amazon เอง
ล่าสุด Amazon Q เปิดตัวฟีเจอร์ Agentic ยกระดับความสามารถเหมือนเป็นคู่หูโปรแกรมเมอร์ช่วยเขียนโค้ดได้มากกว่าเดิม แบบเดียวกับที่ GitHub Copilot เปิดตัวฟีเจอร์ Agentic ในเดือนกุมภาพันธ์
Amazon Q Developer สามารถเชื่อมกับ IDE โดยตรง (ช่วงแรก โหมด Agentic ยังรองรับเฉพาะ VS Code) ผู้ใช้สามารถเขียนพร็อมต์สั่งงานให้ Q อ่านไฟล์ทั้งหมดจาก repository แล้วสร้างซอฟต์แวร์ตามที่ต้องการได้
JetBrains ประกาศโอเพนซอร์ส Mellum โมเดลช่วยเติมโค้ดที่เปิดตัวในปี 2024 และใช้กับ IDE ในตระกูล JetBrains โดยมีจุดเด่นเรื่องความเร็วกว่าการใช้โมเดลภาษา LLM ตัวใหญ่
JetBrains เรียก Mellum ว่าเป็น "focal model" สร้างมาเพื่อเขียนโค้ดโดยเฉพาะ ไม่ใช่โมเดลภาษา LLM ที่ปรับมาใช้เขียนโค้ด และแผนการของบริษัทคือการสร้างโมเดล Mellum หลายๆ ตัวที่ทำงานเฉพาะทางต่างกันไป เช่น ช่วยเติมโค้ด (code completion) หรือช่วยพยากรณ์ diff ของโค้ดแต่ละเวอร์ชัน
Visual Studio Code เปิดฟีเจอร์ Copilot Agent Mode ให้ผู้ใช้ทุกคนแล้ว หลังจากเปิดทดสอบแบบพรีวิวมาสักระยะหนึ่ง
Copilot Agent Mode เป็นเวอร์ชันอัพเกรดของ GitHub Copilot ปัญญาประดิษฐ์ช่วยเขียนโค้ด จากเดิมที่ตัวปัญญาประดิษฐ์ช่วยทำงานตามสั่งเป็นชิ้นๆ ไป ตอนนี้พัฒนาเป็นร่าง Agent เสมือนมีเพื่อนโปรแกรมเมอร์อีกคนช่วยทำ peer programming คอยรับคำสั่งที่ซับซ้อนกว่าเดิม วิเคราะห์โค้ดเดิมของเราทั้งหมด อ่านไฟล์ที่จำเป็น นำเสนอแนวทางแก้ไขโค้ด รันคำสั่งในเทอร์มินัล รันทดสอบ แก้ข้อผิดพลาดต่างๆ แล้วทำเป็นลูปวนซ้ำๆ จนกว่างานที่สั่งจะเสร็จสิ้น
ไมโครซอฟท์จะมีอายุครบ 50 ปีในวันพรุ่งนี้ (ก่อตั้ง 4 เมษายน 1975) ในโอกาสนี้ผู้ก่อตั้งอย่างบิล เกตส์ จึงนำซอร์สโค้ดของ Altair Basic ซอฟต์แวร์ตัวแรกของไมโครซอฟท์ นำมาเผยแพร่ต่อสาธารณะ
เกตส์เล่าว่าเขากับพอล อัลเลน (เสียชีวิตในปี 2018) ใช้เครื่อง PDP-10 ของบริษัท DEC ในห้องแล็บคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ฝึกสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากนั้นในปี 1975 เมื่อบริษัท MITS ออกเครื่องมินิคอมพิวเตอร์รุ่น Altair 8800 และโฆษณาในนิตยสาร Popular Electronics ทำให้พวกเขาทั้งสองคนมองว่านี่คือยุคสมัยของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่กำลังจะเริ่มต้นขึ้น
ความเคลื่อนไหวน่าสนใจในวงการภาษา Rust นั่นคือ โครงการ Rust รองรับสเปกการเขียนโปรแกรม Ferrocene Language Specification (FLS) ส่งผลให้ภาษา Rust มีเอกสารสเปกของภาษาเป็นครั้งแรก
อ่านแล้วอาจสับสนอยู่บ้าง ต้องเท้าความก่อนว่า ภาษา Rust เกิดขึ้นในปี 2015 แม้ได้รับความนิยมแพร่หลายตลอด 10 ปี แต่ตัวโครงการ Rust ไม่เคยมีเอกสารสเปกของภาษาอย่างเป็นทางการ (official language specification) มาก่อน ซึ่งแปลว่าหากมีคนสร้างคอมไพเลอร์ Rust ขึ้นมาใหม่ อาจมีพฤติกรรมบางอย่างที่แตกต่างไปจากคอมไพเลอร์ของโครงการ Rust เอง
แอปเปิลปล่อย Swiftly โปรแกรมจัดการการติดตั้งภาษา Swift เวอร์ชั่น 1.0 เป็นแนวทางมาตรฐานในการติดตั้งภาษา Swift นอก XCode ตัว Swiftly เป็นเครื่องมือที่พัฒนาด้วยภาษา Swift เองทั้งหมด แสดงให้เห็นความสามารถในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นภาษา Swift ได้ทั้งบนแมคและลินุกซ์ (บนวินโดวส์ยังติดตั้ง Swift ผ่าน WinGet)
โครงการใช้ไลบรารีมาตรฐานในโมดูล Foundation ของตัวภาษาเองเป็นหลัก และใช้ไลบรารี AsyncHTTPClient ร่วมกับ Swift OpenAPI Generator สำหรับการสร้างไลบรารีเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ swift.org
การซัพพอร์ตลินุกซ์มีความยากที่ไลบรารีของแต่ละดิสโทรนั้นไม่ตรงกัน และฟีเจอร์ของ Swift เองตรวจจับระบบปฎิบัติการได้แต่ยังตรวจดิสโทรไม่ได้จึงต้องใช้ Static Linux SDK ยกไลบรารีไปด้วยเลย
Oracle ประกาศออก Java 24 ตามรอบการออกทุก 6 เดือน โดย Java 24 เป็นรุ่นซัพพอร์ตระยะสั้น (ตัว LTS ล่าสุดตอนนี้คือ Java 21)
Java 24 มีของใหม่มากถึง 24 อย่าง (นับตามจำนวนสเปก JEP) ซึ่งถือว่าเยอะที่สุดใน Java ยุคหลังๆ ตัวอย่างฟีเจอร์กลุ่มที่เข้าสถานะเสถียรแล้วได้แก่
การเปลี่ยนแปลงสำคัญอีกอย่างใน Java 24 คือการเก็บกวาดฟีเจอร์เก่าที่ไม่ใช้งานแล้ว ได้แก่
ทีมวิจัยความปลอดภัยไซเบอร์ของกูเกิล ออกมาเรียกร้องให้วงการไอทีสร้างมาตรฐานความปลอดภัยของหน่วยความจำ (memory safety standards)
กูเกิลบอกว่าตอนนี้เราเห็นการสร้างภาษาโปรแกรมที่เป็น memory-safety มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งภาษาใหม่แบบ Kotlin, Rust หรือซับเซ็ตของภาษาเก่า เช่น Safe Buffers for C++ ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าช่วยลดช่องโหว่ด้านหน่วยความจำลงได้มาก
TypeScript โครงการส่วนขยาย JavaScript ให้รองรับ static typing ประกาศแนวทางการย้ายตัวคอมไพล์เลอร์จากเดิมเขียนด้วย TypeScript/JavaScript โดยระบุเหตุผลสำคัญคือประสิทธิภาพการทำงานที่คอมไพล์เลอร์ (หรือ transpiler) ที่เขียนด้วย Go นั้นเร็วขึ้นเฉลี่ย 10 เท่าตัว
ทางโครงการระบุว่าจะพัฒนาคอมไพล์เลอร์เดิมไปจนถึง 6.x (ตอนนี้อยู่ที่เวอร์ชั่น 5.8) โดยเวอร์ชั่น 6.0 จะเริ่มมีจุด breaking change เพื่อปรับให้คอมไพล์เลอร์สองตัวทำงานได้ตรงกัน และเมื่อคอมไพล์เลอร์ที่เขียนด้วย Go ทำงานทดแทนได้เต็มตัวแล้วก็จะออกเป็นเวอร์ชั่น 7.0 ตัดจบยุคไป
ความเร็วที่เพิ่มขึ้นนี้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตนักพัฒนา เช่น การโหลดโปรเจคขนาดใหญ่ที่เคยใช้เวลาเปิดโปรเจคถึง 9.6 วินาทีก็จะเหลือเพียง 1.2 วินาทีเท่านั้น
Bjarne Stroustrup ผู้สร้าางภาษา C++ เขียนบันทึกถึงกรรมการมาตรฐานภาษา C++ หรือ WG21 ระบุว่าการรองรับมาตรฐานภาษาปลอดภัยต่อบั๊กหน่วยความจำเป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะตอนนี้ภาษา C++ กำลังถูกโจมตีอย่างไม่เคยมีมาก่อน
แม้จะไม่ได้พูดถึงภาษาคู่แข่งอื่น แต่ก็อนุมานได้ว่า Stroustrup กำลังพูดถึงภาษา Rust ที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการรองรับการเขียนแบบปลอดภัยจากบั๊กหน่วยความจำ
ไมโครซอฟท์เพิ่มฟีเจอร์เล็กๆ ให้กับ GitHub Copilot ปัญญาประดิษฐ์ช่วยเขียนโค้ด โดยฟีเจอร์ Copilot Chat รองรับการใส่รูปภาพในช่องแชทแล้ว เราสามารถแปะภาพจาก clipboard หรือไฟล์ภาพ PNG, JPG, GIF เพื่อใช้โมเดล vision ทำความเข้าใจภาพ ประกอบกับคำสั่งใน prompt ได้ (ตัวโมเดลเป็น GTP-4o)
ตัวอย่างที่ไมโครซอฟท์นำมาโชว์คือภาพของเกม breakout แล้วให้ Copilot บอกวิธีเขียนโค้ดสร้างเกมลักษณะนี้ขึ้นมา หรือจะนำภาพข้อความ error เข้ามาถาม Copilot ก็ได้เช่นกัน
ฟีเจอร์นี้เปิดใช้แล้วใน Visual Studio 17.13 Preview
ที่มา - Microsoft
กูเกิลเปิดบริการ AI ช่วยเขียนโค้ด Gemini Code Assist ให้คนทั่วไปใช้งานฟรี จากเดิมคิดราคา 19 ดอลลาร์ต่อคนต่อเดือน
Gemini Code Assist เวอร์ชันปัจจุบันใช้โมเดล Gemini 2.0 รุ่นใหม่ล่าสุดเวอร์ชันที่ปรับแต่งมาเพื่อการเขียนโค้ด รองรับภาษาโปรแกรมทุกตัว วิธีการใช้งานตอนนี้ยังรองรับเฉพาะบน Visual Studio Code และ IDE ในเครือ JetBrains
โครงการภาษา Rust เผยผลการสำรวจข้อมูลนักพัฒนาประจำปี 2024 มีผู้ตอบแบบสอบถามสำเร็จทั้งหมด 7,310 คน น้อยลงกว่าในปี 2023 ที่มีผู้ตอบสำเร็จ 9,710 คน ด้วยเหตุผลเรื่องระยะเวลาเปิดแบบสอบถามที่สั้นกว่า
ภาษา Go ออกเวอร์ชัน 1.24 มีฟีเจอร์ใหม่ที่น่าสนใจคือปรับปรุงการแปลงโค้ด Go เป็น WebAssembly (Wasm) ให้สามารถแปลงโค้ดได้โดยตรงแล้ว
Go เริ่มรองรับการแปลงโค้ดเป็น Wasm มาตั้งแต่เวอร์ชัน 1.11 แต่ต้องผ่าน js/wasm อีกชั้น ภายหลังเมื่อโลกของ WebAssembly มีมาตรฐาน API กลางที่เรียกว่า WebAssembly System Interface (WASI) ภายใต้การกำกับดูแลของ W3C เกิดขึ้นเพื่อให้ภาษาต่างๆ แปลงเป็น Wasm ได้ง่ายขึ้น ทำให้ Go เริ่มหันมารองรับ WASI แบบพรีวิวมาตั้งแต่เวอร์ชัน 1.21
Andrew Ng เขียนบทความแสดงความเห็นว่า อาชีพ AI Product Manager จะเป็นที่ต้องการมากขึ้น ในยุคที่ใช้ AI ช่วยเขียนโค้ดได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ในราคาถูกกว่าเดิมมาก
Andrew บอกว่างานพัฒนาซอฟต์แวร์ ประกอบด้วยตำแหน่ง Product Manager หรือ PM ที่ตัดสินใจว่าจะสร้างฟีเจอร์ไหน และ Software Developer ที่ทำงานเขียนโค้ดจริงๆ โดยปกติแล้ว สัดส่วน Engineer:PM อยู่ราว 6:1 แต่ก็อาจปรับเปลี่ยนได้ตามแต่ละบริษัท (เช่น 4:1 ไปจนถึง 10:1)
GitHub โชว์การใช้ GitHub Copilot ช่วยแก้ปัญหาโค้ดเก่าๆ (legacy) ที่เขียนไว้นานมากแล้ว ไม่มีใครรู้จักโค้ดชุดนั้นเหลืออยู่ในองค์กรแล้ว หากเป็นมนุษย์ทั่วไปอาจต้องใช้เวลาอย่างมากในการทำความเข้าใจโค้ดเก่าเหล่านี้ แต่เมื่อเป็น Copilot จะเป็นโค้ดเก่าหรือใหม่ ล้วนมองเหมือนกัน
วิธีการใช้งานสามารถใช้ Copilot Chat สั่งให้อธิบายโค้ดเก่าๆ ได้เหมือนกับโค้ดเขียนใหม่เลย ตัวอย่างในคลิปสั่งให้ Copilot Chat อ่านโค้ดภาษา COBOL แล้วแปลงมาเป็นภาษา Python ที่โปรแกรมเมอร์คนนั้นๆ คุ้นเคยและเข้าใจได้ง่ายกว่า ใช้พร้อมท์แค่ “Explain this code to me like I’m a Python developer.” เท่านั้น
Satya Nadella ซีอีโอไมโครซอฟท์ประกาศว่า GitHub Copilot Workspace เครื่องช่วยนักพัฒนาจัดการงานในทุกขั้นตอนด้วยพลัง Copilot ซึ่งเปิดตัวไปตั้งแต่เมษายนปีที่แล้ว ตอนนี้เปิดให้นักพัฒนาบน GitHub ทุกคนสามารถใช้งานได้แล้วตั้งแต่วันนี้ จากก่อนหน้านี้เป็นระบบ waitlist
GitHub Copilot Workspace เป็น environment สำหรับนักพัฒนาที่ทำงานบน GitHub Copilot เช่น ระบบแนะนำโค้ด, เครื่องมือดีบั๊ก ตลอดจนเครื่องมือช่วยการทำงานร่วมกันระหว่างโครงการโดยมี AI ผู้ช่วยหรือ Agentic AI เป็นตัวดำเนินการ
ที่มา: Visual Studio Magazine
Fish Shell ซอฟต์แวร์ shell กลุ่มเดียวกับ Bash และ PowerShell ออกเวอร์ชั่น 4.0 Beta 1 เป็นเวอร์ชั่นแรกที่พอร์ตฟังก์ชั่นแกนกลางไปยังภาษา Rust นับเป็นความเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในเวอร์ชั่นหลักครั้งนี้ ฟีเจอร์เดียวแก้ไข 126 ไฟล์ มีการ commit ใน pull request ถึง 50 รายการ รวมเวอร์ชั่น 4.0 มีการแก้ไขไฟล์ 1155 ไฟล์ เพิ่ม 110,247 บรรทัด ลบ 88,941 บรรทัด
ridiculousfish หนึ่งในนักพัฒนาหลักของ Fish เสนอแนวทางนี้เมื่อต้นปี 2023 ระบุเหตุผลว่า "ไม่มีใครชอบ C++ หรือ CMake จริงๆ หรอก" เพราะกระบวนการเซ็ตอัพยุ่งยาก การใช้ C++ ทำให้นักพัฒนาใหม่ๆ เข้าร่วมได้ยาก และ Rust ยังเปิดทางให้สามารถรันงานแบบ concurrent ได้อย่างปลอดภัยขึ้นในอนาคต
Bret Taylor อดีตซีอีโอร่วมของ Salesforce และประธานบอร์ด OpenAI (ปัจจุบันกำลังทำบริษัทใหม่ชื่อ Sierra เป็น enterprise AI) โพสต์ลงบล็อกส่วนตัว ชวนคิดว่าวงการโปรแกรมมิ่งกำลังจะเข้าสู่ยุคอัตโนมัติ (Autonomous Era) จึงต้องเปลี่ยนวิธีคิดอย่างมากมาย เพราะพื้นฐานมันแตกต่างจากยุคผู้ช่วยกึ่งอัตโนมัติ (Autopilot Era) ในปัจจุบัน
Meta รายงานถึงความคืบหน้าในการย้ายโค้ด Android จาก Java ไปเป็น Kotlin หลังจากเปลี่ยนแนวทางมาใช้ Kotlin เป็นหลักตั้งแต่ปี 2020 แต่ก็ยังมีโค้ด Java จำนวนมาก แต่ในช่วงหลังก็สามารถเร่งความเร็วในการแปลงโค้ดได้จากการทำงานร่วมกับ JetBrains ผู้สร้าง IntelliJ
ก่อนหน้านี้ Meta แปลง Java เป็น Kotlin โดยอาศัยฟีเจอร์แปลงโค้ดของ IntelliJ เป็นหลัก การแปลงแต่ละครั้งอาศัยนักพัฒนาคลิก IDE ทีละไฟล์เอง กระบวนการนี้ทำให้การแปลงโค้ดช้ามาก ทาง Meta เข้าไปช่วย IntelliJ พัฒนา J2K ที่เป็นเอนจินแปลงโค้ดภายใน IntelliJ ให้สามารถรันได้โดยไม่ต้องการ IntelliJ
หลังจากนั้น Meta พัฒนาเครื่องมือภายใน ชื่อว่า Kotlinator ที่ใช้ J2K เป็นแกน แต่มีฟีเจอร์ต่างๆ เพิ่มเติม
GitHub ประกาศเปิดบริการ GitHub Copilot Free ให้ผู้ใช้ทุกคนใช้งาน AI ช่วยเขียนโค้ดฟรีใน Visual Studio Code โดยมีข้อจำกัดดังนี้
บริการฟรีสามารถเลือกได้ทั้งโมเดล Claude 3.5 Sonnet หรือ GPT-4o โดยช่วงปีใหม่จะเพิ่มโมเดล GPT-4 o1 และ Gemini เข้ามาด้วย
วิธีใช้งานเพียงต้องล็อกอินบัญชี GitHub และเปิดฟีเจอร์นี้ ข้อมูลจากในเอกสารของ VS Code
ทีมพัฒนา Flutter ประกาศว่าโครงการเข้าสู่ยุค "Production Era" พร้อมต่อการใช้งานจริงในระดับโปรดักชันแล้ว
Flutter เริ่มพัฒนาครั้งแรกในปี 2014 ตอนนั้นใช้โค้ดเนมว่า "Sky" ถือเป็นยุคแรกแห่งการทดลอง (Experimental Era) แล้วเมื่อออกเวอร์ชัน 1.0 ในปี 2018 เข้าสู่ยุคเติบโต (Growth Era) ขยายมารองรับการเขียนแอพบนเดสก์ท็อปในเวอร์ชัน 3.0 และตอนนี้เข้าสู่ยุค Production Era เรียบร้อยแล้ว มีองค์กรใหญ่ๆ อย่าง Toyota, Scandinavian Airlines, Universal Studios, LG นำไปใช้งานในแอพของตัวเองบนแพลตฟอร์มใหม่ๆ เช่น รถยนต์หรือสมาร์ททีวี
กูเกิลอัพเกรดความสามารถของ Gemini Code Assist บริการ AI ช่วยแนะนำโค้ดที่เปิดตัวในเดือนเมษายน 2024
อย่างแรกคือการปรับมาใช้โมเดล Gemini 2.0 Flash ตัวใหม่ ให้คำตอบมีคุณภาพสูงขึ้น และระยะเวลาการตอบสั้นลง