Hacking Team บริษัทขายช่องโหว่คอมพิวเตอร์สำเร็จรูปที่ทำให้หน่วยงานรัฐทั่วโลกสามารถเจาะเข้าไปยังคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือของเป้าหมายได้โดยง่ายถูกแฮกเมื่อปีที่แล้ว จนข้อมูลกว่า 500GB ถูกเผยแพร่ต่อสาธารณะ ตอนนี้แฮกเกอร์ที่เรียกตัวเองว่า Phineas Fisher ก็ออกมาอ้างความรับผิดชอบและเขียนถึงกระบวนการที่เขาดาวน์โหลดข้อมูลภายในทั้งหมดออกมา
Hacking Team บริษัทซอฟต์แวร์เจาะระบบที่รวบรวมเอาช่องโหว่จากแหล่งต่างๆ มาขายให้กับหน่วยงานรัฐเพื่อแฮกเข้าไปยังคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เคลื่อนที่ ตอนนี้ถูกรัฐบาลอิตาลีเพิกถอนใบอนุญาตส่งออกโดยไม่มีการชี้แจงเหตุผล
ข้อมูลลูกค้าของ Hacking Team เป็นความลับจนกระทั่งถูกแฮกอีเมลไปเมื่อปีที่แล้ว ทำให้ข้อมูลทั้งหมดรั่วไหลสู่อินเทอร์เน็ต รายชื่อลูกค้ารวมถึงรัฐบาลไทย
ใบอนุญาตส่งออกของ Hacking Team จะหมดอายุวันที่ 30 เมษายน 2018 แต่ Federica Guidi รัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาเศรษฐกิจก็สั่งยกเลิกใบอนุญาตนี้ก่อนจะลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมา
หลังจากที่ตกเป็นข่าวใหญ่เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เพราะมีการรั่วไหลของข้อมูล มาตอนนี้ Hacking Team บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์อาศัยช่องโหว่เพื่อขายกับหน่วยงานรัฐบาลทั่วโลก ประกาศว่าบริษัทได้กลับมาดำเนินการเหมือนเดิมอีกครั้งหนึ่ง และกลับมาขายเครื่องมือเจาะระบบให้กับองค์กรหรือหน่วยงานรัฐที่บังคับใช้กฎหมายแล้ว
ไมโครซอฟท์ออกแพตช์ความปลอดภัยตามรอบปกติ (patch Tuesday) รอบนี้มีช่องโหว่ที่รวมๆ มาสำหรับแอพพลิเคชั่นหลายตัว ได้แก่ Internet Explorer, Microsoft Edge, Windows, Office, Sharepoint Foundation
ช่องโหว่หนึ่งที่น่าสนใจคือ CVE-2015-2509 หรือ MS15-100 เป็นช่องโหว่ที่ Trend Micro แจ้งไมโครซอฟท์เพราะพบจากเอกสารที่ได้จาก Hacking Team โดยกระทบกับผู้ใช้ Windows Media Center เพราะสามารถเปิดไฟล์ MCL ที่เป็นลิงก์สำหรับเปิดเว็บใน Media Center แต่กลับสามารถสั่งให้เครื่องที่เปิดไฟล์รันคำสั่งใดๆ ก็ได้ บั๊กนี้อยู่ในระดับ "สำคัญ"
Kaspersky ติดตามกลุ่มแฮกเกอร์ผู้ควบคุมมัลแวร์ DarkHotel ที่เริ่มเจาะเครือข่ายโรงแรมต่างๆ ทั่วโลกมาตั้งแต่ปี 2013 ตอนนี้กลุ่มนี้ยังคงปฎิบัติการต่อเนื่องและมีการออกมัลแวร์เวอร์ชั่นใหม่ออกมา และช่องโหว่ล่าสุดที่ใช้คือช่องโหว่จาก Hacking Team
อีเมลของ Hacking Team ที่ถูกเปิดเผยออกมานอกจากแสดงรายชื่อลูกค้าแล้ว อีกด้านที่สำคัญอย่างมากคือรายชื่อผู้ขายช่องโหว่ อีเมลเปิดหลุดออกมาแสดงให้เห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงของบริษัทที่เปลี่ยนจากบริษัทที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยมาเป็นบริษัทขายซอฟต์แวร์ดักฟังข้อมูล
Hacking Team เริ่มสะสมช่องโหว่จากบริษัทภายนอกตั้งแต่ปี 2009 โดยซื้อช่องโหว่จาก D2Sec และ VUPEN แต่ปรากฎว่าช่องโหว่ที่ซื้อมายังไม่เป็นตามที่หวัง ในปี 2013 Hacking Team พยายามหานักวิจัยรายใหม่ๆ เพื่อติดต่อซื้อช่องโหว่ รวมถึงสร้างทีมงานภายในเพื่อหาช่องโหว่ด้วยตัวเอง
Trend Micro ออกรายงานวิเคราะห์การทำงานของ RCSAndroid ซอฟต์แวร์ดักฟังแบบเจาะลึกจาก Hacking Team ที่หลุดออกมาพร้อมเอกสารจำนวนมาก
เอกสารแสดงให้เห็นว่ากระบวนการเจาะระบบของ Hacking Team สำหรับแอนดรอยด์แบ่งออกเป็นสี่ส่วน ได้แก่ การเจาะระบบ, ซอฟต์แวร์ระดับล่างที่เป็นโค้ดเนทีฟ, ซอฟต์แวร์ระดับบนเป็นจาวา, และเซิร์ฟเวอร์ควบคุมสั่งการ
เอกสารที่หลุดออกมาจาก Hacking Team แม้จะมีชื่อลูกค้าเป็นหน่วยงานของไทยอยู่ด้วยตั้งแต่แรกๆ แต่ก็ระบุว่าไลเซนส์หมดอายุไปแล้วตั้งแต่กลางปี 2014 รายงานล่าสุดระบุว่าอีกหน่วยงานคือกองทัพบกของไทยก็อยู่ระหว่างการสั่งซื้อซอฟต์แวร์จาก Hacking Team ด้วยเช่นกัน โดยอีเมลคำสั่งซื้อช่วงเดือนธันวาคม 2014 ระบุว่าการซื้อมีมูลค่า 360,000 ยูโร
พันเอกวินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบกระบุกับ Bangkok Post ว่าเขาไม่ทราบว่ามีการซื้อครั้งนี้
ที่มา - Bangkok Post
Trend Micro รายงานถึงบริการหนึ่งของ Hacking Team จากเอกสารที่หลุดออกมาเป็น rootkit สำหรับ Insyde BIOS ที่ได้รับความนิยมสูงในหมู่ผู้ผลิตโน้ตบุ๊ก พร้อมกับบริการสร้าง rootkit สำหรับไบออสรุ่นอื่นๆ หากลูกค้าต้องการ
บริการนี้จำเป็นต้องติดตั้งที่ตัวเครื่องโดยตรง เช่นการดักแก้ไขเครื่องก่อนส่งถึงมือลูกค้า แต่ Trend Micro เตือนว่ายังมีความเป็นไปได้ที่ rootkit นี้จะถูกติดตั้งจากระยะไกล
ไมโครซอฟท์ออกแพตช์ความปลอดภัยตามรอบปกติเมื่อวานนี้ มีช่องโหว่ระดับวิกฤติสี่่รายการ เป็นช่องโหว่ใน Internet Explorer, VBScript, RDP, และ Hyper V โดยช่องโหว่ใน IE นั้นกระทบตั้งแต่ IE6 ไปจนถึง IE11 และเป็นช่องโหว่ที่หลุดออกมาจากอีเมลของ Hacking Team
ผู้วิเคราะห์อีเมลเหล่านี้คือ Vectra Networks ที่ค้นอีเมลแล้วพบว่ามีนักวิจัยภายนอก Hacking Team เสนอขายช่องโหว่โดยส่งตัวอย่างการโจมตีมาให้ ทางทีมงาน Hacking Team ทดสอบแล้วพบว่าไฟล์ที่ส่งมาสามารถทำให้ IE แครชได้จริง แต่ช่องโหว่ดูซับซ้อนทำให้ Hacking Team ตัดสินใจไม่ซื้อช่องโหว่นี้
อีเมลเสนอขายช่องโหว่นี้เพิ่งถูกส่งเมื่อเดือนที่แล้วแสดงว่าช่องโหว่นี้เพิ่งถูกพบไม่นานนัก
สัปดาห์ที่ผ่านมา Adobe ออกแพตช์เพื่ออุดช่องโหว่จาก Hacking Team ไปแล้วหนึ่งช่องโหว่ ตอนนี้ @w3bd3vil และ @dummys1337 ก็ออกมาระบุว่าช่องโหว่ยังถูกแก้ไม่หมด
ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดของช่องโหว่นี้ แต่ภาพแสดงว่าช่องโหว่ยังคงทำงานได้บน Flash รุ่น 18.0.0.203 ที่ Adobe เพิ่งปล่อยออกมาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ระหว่างนี้ถ้าใครกังวลเรื่องความปลอดภัย คงต้องปิด Flash กันไปก่อนครับ
เอกสารของ Hacking Team ที่หลุดออกมานอกจากจะมีซอร์สโค้ดจำนวนมากแล้ว ยังมีเอกสารการซื้อขายช่องโหว่ ตอนนี้ทาง ArsTechnica ก็รวบรวมกระบวนการซื้อขายช่องโหว่จากอีเมลของ Hacking Team พบการซื้อขายช่องโหว่ครั้งหนึ่งเมื่อปี 2013
ทีมงาน Hacking Team ได้รับการติดต่อ Vitaliy Toropov (OSVDB) เสนอขายช่องโหว่ 6 ช่องโหว่ของ Flash, Silverlight, Java, Windows, OS X, และ Safari ช่องโหว่ทั้งหมดเป็นช่องโหว่คุณภาพสูง สามารถข้ามการป้องกันเช่น ASLR และ DEP โดยไม่ต้องใช้เทคนิคที่คาดเดาได้ยากอย่าง ROP หรือ heap spray (อ่านเพิ่มเติม Exploit DB)
ข่าวช่องโหว่ Adobe Flash ของ Hacking Team ออกมาไม่กี่ชั่วโมง ตอนนี้ก็ร้อนไปถึง Adobe ต้องรีบออกมารายงานช่องโหว่นี้ โดยระบุว่าทาง Adobe รับรู้แล้ว และกำลังจะปล่อยแพตช์ออกมาภายในวันพรุ่งนี้ (ตามเวลาสหรัฐฯ)
ช่องโหว่นี้รายงานเข้าไปยังทาง Adobe โดย Project Zero และ Morgan Marquis-Boire จากเดิมที่ก่อนหน้านี้ Firefox เคยประกาศว่าจะให้รางวัลการรายงานช่องโหว่กับผู้ที่รายงานช่องโหว่คนแรก รายงานของ Adobe ทำให้เรารู้ว่าทาง Project Zero กำลังไล่ขุดช่องโหว่ออกมารายงานไปยังผู้ผลิตกันอยู่เช่นกัน
ข้อมูลจาก Hacking Team หลุดออกมาจำนวนมาก ตอนนี้หลายคนก็เริ่มขุดหาว่าฟีเจอร์ของ Hacking Team นั้นสามารถเจาะเข้าแพลตฟอร์มใดได้บ้าง ปรากฎว่ารายการสินค้าและราคานั้นบอกข้อจำกัดไว้ทั้งหมด
จากรายการสินค้า แพลตฟอร์มต่างๆ จะมีฟีเจอร์ต่างกันไป
ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากแฮกเกอร์นิรนามยึดทวิตเตอร์ของ Hacking Team แล้วโพสลิงก์ไปยังข้อมูลจำนวนมาก ตอนนี้ก็มีคนแกะเอาซอร์สโค้ดออกมาอัพโหลดขึ้น GitHub แล้ว
โค้ดที่อัพโหลดแสดงช่องโหว่ของระบบปฎิบัติการต่างๆ จำนวนมาก กระบวนการแฮกแยกตามระบบปฎิบัติการ, รุ่นที่ใช้ เช่นแอนดรอยด์จะแยกที่ก่อน 4.1 กับหลัง 4.2 เพราะ SELinux โค้ดหลายส่วนแยกตามรุ่นโทรศัพท์มือถือ
บริษัท Hacking Team ผู้ผลิตซอฟต์แวร์อาศัยช่องโหว่เพื่อขายกับหน่วยงานรัฐบาลทั่วโลกกลับถูกแฮกทวิตเตอร์ในวันนี้พร้อมกับข้อความระบุว่า "เราไม่มีอะไรต้องปิดบัง และเราจะเปิดเผยอีเมล, เอกสาร, และซอร์สโค้ดของเราทั้งหมด"
เอกสารที่ปล่อยออกมามีขนาดถึง 500GB ระบุถึงรายได้, รายชื่อลูกค้า, รวมไปถึงรหัสผ่านเซิร์ฟเวอร์ทั่วโลก หนึ่งในรายชื่อลูกค้ามีหน่วยงานไทยหนึ่งหน่วยงาน โดยระบุว่าซ่อมบำรุงไปครั้งสุดท้ายเมื่อช่วงกลางปีที่แล้ว และไลเซนส์ซอฟต์แวร์ได้หมดอายุไปแล้ว สำหรับประเทศอื่นๆ ในอาเซียนก็อยู่ในรายชื่อ เช่น มาเลเซียมีสามหน่วยงาน นอกจากนี้ยังมี เกาหลีใต้, สหรัฐฯ, รัสเซีย อยู่ในรายชื่อลูกค้า