AWS เปิดบริการ EC2 Dedicated Host ให้ใช้งานแล้ว หลังประกาศข่าวครั้งแรกเมื่อเดือนที่แล้ว
EC2 Dedicated Host คือการเช่า EC2 เครื่องจริงทั้งเครื่องแทนการเช่าแยกเป็น VM จากนั้นเราค่อยมาแบ่ง VM เอาเองตามต้องการ (เท่าที่เครื่องจะสามารถรับไหว)
บริการใหม่จาก AWS ที่เปิดตัวมาเมื่อวานนี้มีบริการน่าสนใจตัวหนึ่งคือ Amazon Inspector เป็นเครื่องมือสแกนความปลอดภัย แม้จะไม่ได้สแกนระดับลึกนัก แต่การที่มันพร้อมใช้งานในคอนโซลของ AWS เลยก็น่าจะทำให้มันได้รับความนิยม
งาน re:Invent ปีนี้อเมซอนเพิ่มบริการจำนวนมาก ข่าวนี้คัดมาเฉพาะที่เกี่ยวกับ EC2 ที่เป็นบริการหลัก มีเซิร์ฟเวอร์สี่รูปแบบใหม่ให้เลือกใช้งานได้ตามความต้องการ ได้แก่
Amazon EC2 ประกาศเครื่องตระกูลใหม่ M4 ที่ให้ทั้งซีพียูและแรมสูง เครื่องรุ่นใหญ่สุด คือ m4.10xlarge นั้นให้ซีพียู 40 คอร์ ประสิทธิภาพตามหน่วย ECU ของอเมซอนอยู่ที่ 124.5 ECU แรม 160GB ราคาชั่วโมงละ 2.520 ดอลลาร์
เครื่องรุ่นใหม่นี้ใช้ซีพียูเป็น Intel Xeon E5-2676v3 ติดตั้งแล้วใน สหรัฐฯ, ยุโรป, เอเชียรวมถึงสิงคโปร์
นอกจากเปิดเครื่องรุ่นใหม่แล้ว ทางอเมซอนยังลดราคาเครื่องตระกูล M3 และ C4 ลงอีก 5% ในบางโซน แต่สิงคโปร์ที่คนไทยใช้กันเยอะนั้นยังไม่ได้ลดราคาในรอบนี้
ที่มา - Amazon Web Service
บริการ EC2 ปรับแนวทางคิดเงินสำหรับการจองเครื่องล่วงหน้า หรือ Reserve Instance โดยปรับเป็นสามแบบคือ จ่ายล่วงหน้าทันที (All Upfront), จ่ายบางส่วน (Partial Upfront), และไม่จ่ายล่วงหน้า (No Upfront)
ทั้งสามแบบจะมีส่วนลดไม่เท่ากัน โดยแบบจ่ายล่วงหน้าทั้งหมดจะได้รับส่วนลดสูงสุดถึง 63% ขณะที่แบบไม่จ่ายล่วงหน้าเลยจะมีส่วนลดน้อยที่สุด คือ 30% เมื่อเทียบกับการสร้างเครื่องแบบ On-Demand
อเมซอนประกาศเตรียมบูตเครื่องที่อยู่บนบริการ EC2 ทั้งหมดในอีกไม่กี่วันข้างหน้า คาดว่าเพื่อแพตช์บั๊ก XSA-108 ที่ยังไม่เปิดเผย
อเมซอนระบุว่าเครื่องประเภท HS1 และ R3 จะไม่ถูกรีบูตในรอบนี้ โดยทางอเมซอนจะไล่บูตเครื่องไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสิ้นสุดในวันอังคารหน้า
บั๊ก XSA-108 มีกำหนดเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะในวันที่ 1 ตุลาคมนี้
ที่มา - ArsTechnica
Amazon Web Services ออกเครื่องเซิร์ฟเวอร์เสมือน (instance) แบบใหม่ในตระกูล EC2 ชื่อ T2 ที่เน้นราคาถูกมากๆ
T2 แบ่งออกเป็น 3 รุ่นย่อยคือ micro, small, medium โดยรุ่นที่ถูกที่สุดคือ micro จะคิดค่าใช้บริการ 0.013 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง หรือถ้ารันต่อเนื่องทั้งเดือนจะอยู่ที่ 9.50 ดอลลาร์ (ประมาณ 310 บาท) เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม T2 มีสมรรถนะที่จำกัดมาก เช่น รุ่น t2.micro ตัวล่างสุดจะถูกจำกัดสมรรถนะการรันงานปกติ (baseline performance) ไว้ที่ 10% ของฮาร์ดแวร์เสมือน (ซีพียู Xeon คอร์เดี่ยว 2.5GHz + แรม 1GB) เท่านั้น
สงครามราคาบริการกลุ่มเมฆทำให้ผู้บริโภคอย่างเราๆ ได้ประโยชน์เสมอ หลังจากกูเกิลประกาศลดราคาครั้งใหญ่เพียงวันเดียว Amazon AWS ก็ประกาศลดราคาทุกบริการลงทันที
ราคาใหม่จะปรับลดไม่เท่ากัน โดยรุ่นเล็กอย่าง M1, M2, และ C1 ลดราคาในช่วง 10-40% ขณะที่ C3 ลดราคา 30% และ M3 ลดราคา 38% นอกจากนี้ reserved instance ที่ต้องจ่ายล่วงหน้าจำนวนหนึ่งก็ลดราคาด้วยเช่นกัน ส่วนเครื่องที่เป็นวินโดวส์จะลดน้อยกว่า และ m1.micro ที่ราคาถูกที่สุดนั้นไม่มีการประกาศลดราคา
สำหรับนักพัฒนาที่ใช้บริการ S3 ปริมาณมากๆ ก็น่ายินดีว่า S3 นั้นลดราคาค่อนข้างมาก ตั้งแต่ 36% ถึง 65%
ราคาใหม่มีผลตั้งแต่เดือนเมษายนนี้เป็นต้นไป
เว็บ Infoworld ออกรายงานวัดประสิทธิภาพของบริการประมวลผลจากเซิร์ฟเวอร์ในกลุ่มเมฆ เพื่อวัดประสิทธิภาพราคาของแต่ละราย โดยวัดจากสามเจ้าหลัก ได้แก่ อเมซอน, กูเกิล, และไมโครซอฟท์
เครื่องที่ใช้ของทั้งสามเจ้าแบ่งเป็น (รายการเครื่องเป็น Amazon EC2, Google Compute Engine, และ Windows Azure ตามลำดับ)
เครื่องประเภท 8 คอร์ ได้แก่ m3.2xlarge แรม 30GB, n1-standard-8 แรม 30GB, Extra Large VM แรม 14GB
ทั้งหมดทดสอบด้วย Dacapo Benchmark ชุดทดสอบจาวา ผลทดสอบคือ
ความนิยมบริการคลาวด์เป็นกระแสทั่วโลกจากความสะดวกในการให้บริการ ทาง Netcraft ทำวิจัยว่าในบรรดาเครื่องที่ใช้บริการคลาวด์นั้นมีเครื่องที่ให้บริการเว็บ (web-facing) ตลอดปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไร พบว่าผู้ให้บริการน้องใหม่อย่าง DigitalOcean กำลังเติบโตด้วยความเร็วแซงหน้ารายใหญ่อย่าง Amazon EC2 ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา
Amazon EC2 นั้นมีเว็บมาใช้บริการเพิ่มขึ้นถึงเดือนละ 5,000-8,000 เครื่อง ขณะที่ DigitalOcean นั้นเพิ่งเปิดบริการมา และเมื่อช่วงต้นปีแทบไม่มีใครใช้บริการเลย โดยในเดือนธันวาคมนี้ มีเซิร์ฟเวอร์ย้ายจาก EC2 ไป DigitalOcean จำนวน 818 เว็บ ขณะที่มีเว็บย้ายในทางกลับกันเพียง 88 เว็บ
แนวคิดบริการกลุ่มเมฆที่สำคัญคือเรามองว่าผู้ให้บริการกลุ่มเมฆจะมีเครื่องสำรองไว้เสมอจนเราสามารถสั่งเช่าเครื่องเพิ่มเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ปรากฏหว่าเครื่อง C3 ของ Amazon EC2 ซึ่งเป็นเครื่องรุ่นใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนที่แล้ว กลับได้รับความนิยมอย่างสูง จนตอนนี้ลูกค้าไม่สามารถขอเครื่องเพิ่มได้
เครื่อง C3 ใช้ซีพียู Ivy Bridge 2.8 GHz และให้หน่วยความจำต่อเครื่องค่อนข้างสูง รุ่นเล็กที่สุดคือ 2 คอร์ และแรม 3.75 GiB ส่วนรุ่นสูงสุดคือ 32 คอร์ และแรม 60 GiB
ทางอเมซอนแจ้งว่ากำลังเร่งเพิ่มเครื่องเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ
Amazon จับมือกับ NVIDIA เปิดตัวบริการใหม่ในตระกูล EC2 ชื่อว่า G2 instance
G2 instance เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือนชนิดใหม่ใน EC2 ที่รันด้วย NVIDIA Grid ซึ่งประกอบด้วย CUDA core จำนวน 1,536 คอร์และหน่วยความจำกราฟิก 4GB, รองรับเทคโนโลยีกราฟิกสมัยใหม่ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น DirectX, OpenGL, CUDA, OpenCL
เป้าหมายของ G2 ก็ชัดเจนว่าต้องการจับตลาดลูกค้าที่อยากประมวลผลกราฟิก การเรนเดอร์วิดีโอ งานสามมิติ บริการเกมแบบสตรีมมิ่ง ฯลฯ ที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เดิมที Amazon เคยเปิดบริการคล้ายๆ กันเมื่อ 2 ปีก่อนในชื่อ Cluster GPU (CG1) แต่เน้นลูกค้าตลาดงานวิจัยและวิศวกรรมเป็นหลัก ส่วน G2 เน้นตลาดกราฟิกและมัลติมีเดียอย่างชัดเจน
อเมซอนเปิดตัว SDK สำหรับเบราว์เซอร์ทำให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่อยู่บนเบราว์เซอร์แล้วเชื่อมต่อเข้ากับบริการบางตัว ได้แก่ S3 (เก็บภาพและข้อมูล), SQS (คิวข้อความ), SNS (ระบบแจ้งเตือน), และ DynamoDB (ฐานข้อมูล) โดยไม่ต้องการเซิร์ฟเวอร์เฉพาะอีกต่อไป
นักพัฒนาสามารถเปิดให้ผู้ใช้เข้าถึงบริการเหล่านี้โดยต้องล็อกอินผ่านบริการ web identity federation (WIF) ของอเมซอนเอง
SDK นี้เปิดให้นักพัฒนาสามารถให้บริการโดยตรงจากบริการของอเมซอน เช่น การฝังอัลบั้มรูปในเว็บ แล้วเปิดสิทธิให้อ่านภาพจาก S3 ทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าดูเว็บแล้วโหลดภาพออกจาก S3 มาแสดงได้โดยตรง หรือจะจำกัดสิทธิบางอย่างก็ทำได้เช่นกัน
ศูนย์ข้อมูลที่รัฐเวอร์จิเนียของ Amazon Web Services ล่ม ทำให้บริการจำนวนมากที่อยู่ในศูนย์นี้พากันล่มตามไปด้วย นับแต่บริการดังๆ เช่น Instagram, Vine, Airbnb, และ Netflix
อเมซอนระบุว่าปัญหาต้นเหตุได้รับการแก้ไขไปแล้ว และเครื่องที่ใช้ EBS เป็นที่เก็บข้อมูลทั้งหมดสามารถทำงานได้เป็นปกติ แต่ยังมีปัญหากับระบบกระจายโหลด
การที่บริการจำนวนมากจะไปพึ่งพิงกับศูนย์ข้อมูลของอเมซอนทำให้บริการล่มพร้อมกันหมดเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง ทำให้คำถามว่าการพึ่งกับบริการแบบกลุ่มเมฆเป็นเรื่องสมเหตุสมผลหรือไม่
ที่มา - TechCrunch
Amazon มักลดราคาบริการกลุ่มเมฆของตัวเองอยู่เรื่อย ๆ ล่าสุดก็ประกาศลดราคาผลิตภัณฑ์หลัก EC2 ลงอีกรอบ
การลดราคาครั้งนี้ครอบคลุม EC2 กลุ่ม Standard Instances รุ่นที่ใช้ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ (กลุ่มที่เป็นวินโดวส์ไม่ลดราคา) โดยราคาลดลงมาราว 18% รายละเอียดค่อนข้างเยอะ ติดตามกันเองจากลิงก์ต้นทางครับ
นอกจากนี้ EC2 ยังเพิ่ม instance ที่ใช้ฮาร์ดแวร์รุ่นที่สอง (รหัส m3) อีกสองตัวคือ m3.xlarge และ m3.2xlarge สำหรับงานที่ต้องการพลังประมวลผลมากขึ้นด้วย
ผมไม่แน่ใจว่าคนแถวนี้ใช้ EC2 กันมากน้อยแค่ไหน ถ้ามีก็ช่วยแสดงตัวด้วยแล้วกันนะครับ
ที่มา - AWS
บริการ EC2 ของอเมซอนให้บริการเช่าเครื่องใช้งานเป็นหน่วย "ซีพียู" โดยไม่เปิดเผยว่าเครื่องที่เรากำลังซื้อนั้นจริงๆ แล้วเป็นซีพียูอะไร แต่งานวิจัยล่าสุดก็แสดงให้เห็นการอัพเกรดเซิร์ฟเวอร์ในปีนี้อเมซอนกำลังย้ายมาใช้งานอินเทล Xeon E5645 เกือบทั้งหมด
ในปีที่แล้ว EC2 มีซีพียูเอเอ็มดีให้บริการอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะเครื่องขนาดเล็กที่มี Opteron 270 และ Opteron 2218HE ให้บริการอยู่ในเครื่องขนาดใหญ่ แต่ปีนี้กลับหายไปเกือบหมด และย้ายไปให้บริการเครื่องขนาดเล็กเท่านั้น
ในระบบ EC2 ของอเมซอนนั้นแม้จะเปิดให้เราซื้อเครื่องเพิ่มเติมได้ตามการใช้งานจริงแต่ก็ให้เราจ่ายเงินล่วงหน้าซื้อเวลาเครื่องได้สูงสุดสามปีเพื่อรับส่วนลดตั้งแต่ 36% ถึง 71% ปัญหาสำหรับลูกค้าหลายราย คือ เมื่อจ่ายล่วงหน้ามาแล้วหลายครั้งกลับไม่ได้ใช้งานเวลาที่ซื้อไว้จริง ทำให้เปลืองค่าช่วงเวลาเหล่านี้ไป และตอนนี้อเมซอนก็เปิดตลาดขายช่วงเวลาเหล่านี้ให้บริการเพิ่มเติม
ข่าวนี้เก่าไปหลายเดือน แต่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่อยากรู้ว่าบริการยอดฮิตอย่าง Instagram สามารถรองรับโหลดปริมาณมหาศาลจากผู้ใช้ทั่วโลกได้อย่างไร
เรื่องนี้มีอธิบายไว้ในบล็อก Instagram Engineering
เซิร์ฟเวอร์
ระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์เป็น Ubuntu 11.04 โดยทีมงานบอกว่า Ubuntu รุ่นก่อนๆ มีปัญหากับ EC2 แต่ในรุ่นนี้ไม่มีแล้ว
Load Balancing
เดิมที Instagram ใช้เซิร์ฟเวอร์ NGINX สองตัว สลับกันแบบ DNS Round-Robin
ข่าวนี้ต้องย้อนความนิดนึงครับ เริ่มจากช่วงกลางปีที่แล้ว Citrix เข้าซื้อกิจการ Cloud.com และจากนั้นไม่นานก็
อเมซอนประกาศลดราคาบริการกลุ่มเมฆ Amazon EC2 สำหรับเช่าเซิร์ฟเวอร์ตามการใช้งานจริง (หรือ On-Demand Instance) สูงสุดถึง 10% และลดราคาสำหรับเช่าเซิร์ฟเวอร์แบบจองล่วงหน้า (หรือ Reserved Instance) สูงสุดถึง 37% ส่วนลูกค้าที่เช่าเซิร์ฟเวอร์ประเภท Reserved Instance จำนวนมากๆ อเมซอนจะลดราคาเพิ่มให้อีก เช่น ถ้าลูกค้าเช่าเซิร์ฟเวอร์เป็นเงินกว่า 2 แสน 5 หมื่นเหรียญ อเมซอนจะลดค่าบริการให้อีก 10% และถ้าลูกค้าเช่าเซิร์ฟเวอร์เป็นเงินกว่า 2 ล้านเหรียญ อเมซอนจะลดค่าบริการให้อีก 20% เป็นต้น
Amazon Web Services เปิดตัวบริการระดับใหม่ของ EC2 มันคือ instance ตัวใหม่ที่ชื่อว่า "Cluster Compute Eight Extra Large" (ย่อ CC2 หรือ CC2.8xlarge) สำหรับคนที่ต้องการพลังประมวลผลสุดแรงโดยเฉพาะ
แรงแค่ไหน? Amazon ส่งผลการทดสอบ CC2 ที่ต่อกัน 1024 instance เข้าทำเนียบซูเปอร์คอมพิวเตอร์โลก TOP500 รอบล่าสุด ผลปรากฏว่าติดอันดับ 42 ครับ (ตัวเลขผลการทดสอบคือ 240.09 teraFLOPS)
Amazon Virtual Private Cloud หรือ Amazon VPC นั้นเปิดตัวมานานแล้ว เครื่องใน VPC นี้จะไม่สามารถต่ออินเทอร์เน็ตโดยตรงได้ แต่ผู้ใช้จะต้องเชื่อมต่อ VPN เข้าไปยัง Amazon เพื่อเข้าถึงเครื่องเหล่านี้ แม้จะตอบปัญหาความปลอดภัยของลูกค้าองค์กรได้ แต่กลับสร้างปัญหาใหม่คือบริการ VPC นี้ไม่สามารถใช้ทำเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือบริการอื่นๆ ที่ต้องต่ออินเทอร์เน็ตได้ และวันนี้ปัญหานี้ก็ถูกแก้ไขแล้ว
ActiveState ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่ออำนวยความสะดวกในการพัฒนาภาษาสคริปต์ได้เปิดตัว ActivePython Amazon EC2 AMI สำหรับการพัฒนาแอพลิเคชั่นด้วยภาษาไพธอนบนกลุ่มเมฆประมวลผลของอเมซอน
ทาง ActiveState ระบุว่าสินค้าใหม่นี้ไม่ได้เป็นคู่แข่งกับ Google App Engine โดยตรงเพราะ App Engine นั้นจำกัดการประมวลผลอยู่ที่แต่ละครั้งของการเรียกขอข้อมูลเท่านั้น และการคิดราคาก็เป็นการคิดราคาต่อครั้งที่มีการเรียกใช้โดยตรง ขณะที่ EC2 ของอเมซอนนั้นเราสามารถเลือกซื้อทรัพยากรสำหรับการประมวลผลจากอเมซอนได้อย่างอิสระ
เพิ่งมีข่าว WikiLeaks ย้ายเซิร์ฟเวอร์ไปใช้บริการ Amazon Web Services เพื่อหลบ DDoS ไปเมื่อไม่กี่วันก่อน ปรากฎว่าต้องย้ายออกแล้วครับ เหตุผลก็คงไม่ใช่อย่างอื่น เป็นเพราะข้อมูลที่ WikiLeaks เผยออกมานั้นส่งผลกระทบต่อรัฐบาลสหรัฐอย่างมากนั่นเอง
วุฒิสมาชิกของสหรัฐ Joe Lieberman เปิดเผยว่า เขาได้รับแจ้งจาก Amazon ว่าได้หยุดให้บริการแก่ WikiLeaks แล้ว พร้อมทั้งเสริมว่าไม่ควรมีบริษัทอเมริกันแห่งใดให้ความช่วยเหลือแก่ WikiLeaks อย่างสิ้นเชิง
ทาง Amazon ยังไม่ออกมาให้ข้อมูลใดๆ ส่วน WikiLeaks ตอนนี้ย้ายกลับไปยังโฮสต์เก่าที่สวีเดนแล้ว
ข่าวที่ Wikileaks แฉเอกสารตอบโต้ของสถานทูตสหรัฐอเมริกาครั้งล่าสุด หลังจากนั้นเซิร์ฟเวอร์ของทาง Wikileaks ก็ถูกโจมตีมาโดยตลอดด้วยเทคนิค DDOS จนทำให้ระบบล่มบ่อย ล่าสุดมีรายงานจากหนังสือพิมพ์ Guardian ในอังกฤษว่า Wikileaks เตรียมย้ายเซิร์ฟเวอร์ของตนไปใช้บริการ Elastic Cloud Computing (EC2) ของ Amazon เพื่อกำจัดปัญหาจากการโจมตีด้วยเทคนิค DDOS
จากข่าวบอกว่า Amazon Web Services มีระบบการป้องกันการโจมตีด้วยเทคนิค DDOS ที่ดีและมีต้นทุนที่ถูกกว่าการวางระบบป้องกันเอง
ป.ล. ก่อนหน้านี้ก็มีข่าว Wikileaks ย้ายเซิร์ฟเวอร์ไปอยู่ในหลุมหลบภัยนิวเคลียร์มาแล้ว