JetBrains ประกาศปรับเปลี่ยนไลเซนส์ของ IDE ในเครือ 2 ตัวคือ WebStorm (JavaScript/TypeScript) และ Rider (Unreal) ให้ใช้งานฟรี หากไม่ได้ใช้งานในเชิงพาณิชย์ (non-commercial use)
JetBrains อธิบายว่าก่อนหน้านี้ได้ออก IDE ใหม่ๆ อย่าง RustRover (Rust) และ Aqua (QA/Test Automation) ที่มีไลเซนส์แบบ non-commercial อยู่แล้ว จึงขยายไลเซนส์แบบเดียวกันมายัง WebStorm กับ Rider เพิ่มด้วย
ค่าย JetBrains มีบริการใช้ AI ช่วยเขียนโค้ดชื่อ JetBrains AI Assistant ประมวลผลที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ เปิดบริการมาตั้งแต่ปี 2023 โดยใช้โมเดลภาษาจากหลายค่ายผสมกัน ที่เคยระบุชื่อไว้คือจาก OpenAI และ Google LLM
ล่าสุด JetBrains เปิดตัวโมเดลภาษาของตัวเองชื่อ Mellum ที่บอกว่าสร้างมาเพื่องานช่วยเติมโค้ด (code completion) โดยเฉพาะ เมื่อเป็นโมเดลสำหรับงานเขียนโค้ดอย่างเดียว ทำให้โมเดลมีขนาดเล็ก ช่วยเติมโค้ดได้เร็วกว่าโมเดลภาษาอื่นๆ ในท้องตลาด
กูเกิลเปิดให้นักพัฒนาแอพบน Android เรียกใช้งานโมเดล Gemini Nano เป็นการทั่วไป หลังจากทดสอบแบบจำกัดวงมาตั้งแต่ Google I/O 2024 โดยตอนนี้ใช้โมเดล Gemini Nano 2 ที่มีประสิทธิภาพดีขึ้นด้วย
การใช้งาน Gemini Nano ต้องเรียกผ่าน AICore โดยมี AI Edge SDK อีกที ตอนนี้การใช้งานยังจำกัดเฉพาะบนฮาร์ดแวร์ Pixel 9 series เท่านั้น และสถานะการเปิดใช้ยังเป็นการทดลองใช้งาน (experimental)
การเปิดให้แอพภายนอกใช้ Gemini Nano แบบ on device ทำให้แอพมีฟีเจอร์ด้าน AI จัดการข้อความได้ทันที เช่น rephrasing (ปรับแก้ไขข้อความ), smart reply, proofreading, summarization
กูเกิลออก Android Studio Ladybug เวอร์ชัน 2024.2.1 ตามระบบการออกรุ่นแบบใหม่ ที่เวอร์ชันลงท้ายด้วย .1 จะอัพเดตเฉพาะตัวแกน IntelliJ เท่านั้น
Android Studio รุ่นแรกที่ใช้นโยบายนี้คือ Koala (รหัส K) ที่ออกรุ่น 2024.1.1 (อัพเดตแกน) ในเดือนมิถุนายน และออก 2024.1.2 (Feature Drop) ในเดือนสิงหาคม
Android Studio Ladybug (รหัส L) เป็นรุ่นที่สองที่เดินตามนโยบายนี้ ข่าวนี้คือการออกรุ่น 2024.2.1 ที่อัพเดตเฉพาะแกน และยังไม่มีฟีเจอร์ใหม่อย่างอื่นนั่นเอง
Ruby on Rails เว็บเฟรมเวิร์คที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในงานสาย startup เปิดตัวเวอร์ชัน 8.0.0 Beta 1 เป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2567 โดยมีสโลแกนใหม่ของการอัปเดตครั้งนี้ว่าเพื่อการ deploy แอป โดยไม่ต้องใช้ PaaS (Platform as a Service)
ใน Rails 8.0.0 Beta 1 มีฟีเจอร์สำคัญดังนี้:
Replit บริษัทเจ้าของ IDE ผ่านเบราว์เซอร์ ที่ช่วงหลังหันมาเอาดีเรื่อง AI ช่วยเขียนโค้ด และก่อนหน้านี้เพิ่งเปิดตัว Code Repair การใช้โมเดลภาษา LLM ช่วยแก้บั๊กในโค้ด ล่าสุดเปิดตัว Replit Agent บริการ AI ช่วยเสกแอพ แค่พิมพ์สั่งว่าต้องการอะไรใน prompt แล้วจะได้แอพสำเร็จรูปออกมาเลย
Amjad Masad ซีอีโอของ Replit เดโมการสร้างแอพแผนที่แบบง่ายๆ ด้วยการพิมพ์สั่งใน prompt ของ Replit IDE เพียงแค่ว่า
Create an app that shows a map of local landmarks based on my location. Use Wikipedia to fetch the landmarks.
เกมเด่นของค่าย EA ในไตรมาสที่ผ่านมาคือ เกมอเมริกันฟุตบอล EA SPORTS College Football 25 ที่มีผู้เล่นมากกว่า 5 ล้านคน โดยปัจจัยที่ทำให้เกมนี้โด่งดัง มีทั้งการเป็นเกมในซีรีส์ College Football ที่คัมแบ็คภาคแรกในรอบ 11 ปี (ภาคสุดท้ายคือ NCAA Football 14 ออกปี 2013) รวมถึงการได้สิทธิในหน้าตานักกีฬา ทีมอเมริกันฟุตบอล และสนามแข่งจำนวน 134 สนาม ตรงตามสนามจริงๆ ส่งผลให้แฟนๆ กีฬาเข้ามาเล่นทีมที่ตัวเองเชียร์กันได้ถ้วนหน้า ไม่ว่าเชียร์ทีมไหน
จากข่าว Android Studio ปรับวิธีการออกรุ่นใหม่เมื่อเดือนพฤษภาคม 2024 โดยแยกเป็น 2 รุ่นย่อยคือ อัพเดตเวอร์ชันตัวแกน IntelliJ ให้ก่อน และอัพเดตฟีเจอร์ตามมาภายหลัง
Android Studio Koala เป็นเวอร์ชันแรกที่ใช้นโยบายออกรุ่นแบบนี้ เมื่อเดือนมิถุนายน กูเกิลได้ออก Koala 2024.1.1 ที่อัพเดตแกน IntelliJ เวอร์ชัน 2024.1 ให้แล้ว คราวนี้จึงเป็นคิวของ Koala 2024.1.2 ที่เรียกว่ารุ่น Feature Drop ตามมา
เมื่องาน Google I/O 2024 กูเกิลเปิดบริการ Android Device Streaming สำหรับนักพัฒนาแอพ Android ทดสอบแอพของตัวเองบนเครื่องจริงจากระยะไกล เข้ามายัง Android Studio ได้โดยตรง
ล่าสุดกูเกิลประกาศรองรับเครื่องฮาร์ดแวร์จากพันธมิตร 3 แบรนด์คือ Samsung, Xiaomi, Oppo ให้รองรับการทดสอบบนเครื่องของแบรนด์เหล่านี้ด้วย นอกเหนือจากของเดิมที่มีแต่ Pixel เพียงแบรนด์เดียว
ตอนนี้บริการทดสอบเครื่องของแบรนด์อื่นๆ ยังมีสถานะเป็น Early Access ต้องสมัครและผ่านการคัดเลือกก่อน เบื้องหลังการขยายเครื่องให้ทดสอบหลายแบรนด์ เป็นความร่วมมือของกูเกิลกับบริษัท OmniLab ที่ช่วยจัดการเครื่อง Pixel สำหรับทดสอบให้กูเกิลอยู่เดิมแล้ว
AWS เปิดบริการ App Studio บริการโฮสต์แอปพลิเคชั่นแบบ low code ที่ชูจุดเด่น AI ช่วยเขียนแอปตามความต้องการใช้งาน
เมื่อผู้ใช้ล็อกอินเข้า App Studio และพยายามสร้างแอปใหม่จะมี AI มาคุยกับผู้ใช้ก่อนว่าต้องการสร้างแอปอะไร และมี requirement อย่างไรบ้าง จากนั้นจึงร่าง requirement และ flow การใช้งานอย่างละเอียดมาให้เราอ่านอีกทีหนึ่งก่อนจะสร้างแอป เมื่อได้เอกสารฟีเจอร์ต่างๆ ของแอปพลิเคชั่นจนครบแล้วจึงสั่งสร้างแอปมาให้เราปรับแต่งต่อ
Visual Studio Code ออกเวอร์ชัน 1.91 อัพเดตรอบเดือนมิถุนายน 2024 มีของใหม่ที่น่าสนใจดังนี้
Source Control view ปรับวิธีการแสดงผล visualization ว่าโค้ดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร (incoming and outgoing changes) โดยแสดงเป็นเส้นกราฟให้เห็นชัดเจน ตอนนี้ยังมีสถานะเป็นพรีวิว
Eclipse Foundation ประกาศออก Theia IDE (อ่านว่า "ธีอา") เวอร์ชัน 1.50 ซึ่งนับเป็นรุ่นเสถียรรุ่นแรก ปลดป้าย Beta ออก และแนะนำให้คนทั่วไปใช้งาน
Eclipse Theia เป็นการนำซอร์สโค้ดของ Visual Studio Code มาพัฒนาต่อ โดยรองรับทั้งการรันบนเดสก์ท็อปและผ่านเบราว์เซอร์ ตัวโครงการเริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2017 โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ Theia platform ที่เป็นแพลตฟอร์มสำหรับให้องค์กรอื่นๆ นำไปสร้าง IDE แบบคัสตอม (เช่น Red Hat CodeReady Workspaces และ Arm Mbed Studio) กับตัว Theia IDE ที่เป็น IDE มาตรฐานของ Eclipse Theia เอง (เดิมชื่อว่า Theia Blueprint)
Android Studio ออกเวอร์ชันเสถียร Koala (2024.1.1) ซึ่งเป็นเวอร์ชันแรกตามนโยบายการออกเวอร์ชันแบบใหม่ ที่เพิ่งประกาศออกมา เวอร์ชันที่ลงท้ายด้วย .1 จะเป็นตัวแรกในซีรีส์ ที่อัพเดตตัวแกนของ IntelliJ ให้เป็นเวอร์ชันใหม่ (2024.1)
หลังจากนั้น Android Studio จะออกเวอร์ชัน Koala (2024.1.2) ที่เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ ตามมาในระยะถัดไป
ที่มา - Android Studio
ไมโครซอฟท์ค่อยๆ ผลักดัน .NET MAUI (อ่านว่า เมาอิ) ชุดเครื่องมือสร้าง UI ข้ามแพลตฟอร์มด้วย C# มาอย่างช้าๆ หลังจาก Visual Studio ตัวเต็มรองรับแล้วในปี 2022 ก็ต้องใช้เวลาอีก 2 ปีกว่าจะมาถึง VS Code
แอปเปิลเปิดตัว Xcode 16 ตามรอบการเปิดตัวปีละครั้งที่งาน WWDC มีของใหม่ที่สำคัญคือฟีเจอร์ AI ช่วยเติมโค้ด ทำงาน 2 ระดับ ลักษณะเดียวกับ Apple Intelligence
เก็บตกประเด็นจากงาน Build 2024 ประกาศอันหนึ่งที่น่าสนใจในงานคือ ไมโครซอฟท์บอกว่าการพัฒนาแอพแบบ Win32 บนวินโดวส์ จากนี้ไปจะแนะนำให้ใช้เครื่องมือสร้าง UI เพียงแค่ 2 ตัวคือ WPF (Windows Presentation Foundation) และ WinUI 3 เท่านั้น (ลาก่อน WinForms คือไม่ถึงขั้นไม่ยอมให้รัน แต่ไม่แนะนำให้ใช้แล้ว)
Project IDX โครงการ IDE ผ่านเบราว์เซอร์ของกูเกิลที่เปิดตัวในปี 2023 ตอนนี้เปิดให้คนทั่วไปใช้งานแบบ Open Beta แล้ว
IDX เป็นการนำ Visual Studio Code มาให้บริการผ่านเบราว์เซอร์ โดยเพิ่มเครื่องมืออำนวยความสะดวกดึงโค้ดจาก GitHub มาสร้าง VM เพื่อรันโค้ด, เชื่อมต่อกับบริการในเครือของกูเกิลเอง เช่น Firebase, Flutter, Google Maps API และ ใช้โมเดล Gemini ช่วยเขียนโค้ด-ถามตอบเรื่องโค้ด
กูเกิลบอกว่าในช่วงที่ผ่านมา มีนักพัฒนาเข้ามาทดลองใช้งาน IDX มากกว่า 100,000 ราย และหากมีบัญชีนักพัฒนาของ Google Developer Profile จะได้สิทธิเปิด workspace จำนวนสูงสุด 5 อันฟรีด้วย
เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม Unity ออก Unity 6 Preview ซึ่งเป็นพรีวิวรุ่นแรกของเอนจิน Unity 6 ที่เปิดตัวช่วงปลายปี 2023
นอกจากฟีเจอร์ด้านระบบกราฟิกและเครื่องมือช่วยสร้างเกมต่างๆ ในแง่ของแพลตฟอร์มที่รองรับเกม ยังมีของใหม่มากมาย ดังนี้
กูเกิลประกาศออกเฟรมเวิร์ค Angular เวอร์ชัน 18 ซึ่งถือเป็นเวอร์ชันแรกหลังประกาศแผนการระยะยาวว่าจะควบรวม Angular กับเฟรมเวิร์ค Wiz ที่กูเกิลใช้ภายในบริษัทเอง
ความแตกต่างของ Angular กับ Wiz คือ Angular เน้นใช้สำหรับเว็บที่มีลูกเล่นเยอะๆ ไม่เน้นประสิทธิภาพมากนัก ส่วน Wiz ใช้กับเว็บที่คนเข้าเยอะๆ เน้นประสิทธิภาพสูง แต่เมื่อเส้นแบ่งของงานกลุ่มนี้จางลงเรื่อยๆ กูเกิลจึงตัดสินใจควบรวมเฟรมเวิร์คสองตัวเข้าด้วยกัน
ในงาน Build 2023 ปีที่แล้ว ไมโครซอฟท์เปิดตัว Dev Home โหมดนักพัฒนาของ Windows 11 และมีฟีเจอร์เด่นคือ Dev Drive หรือการใช้ระบบไฟล์ ReFS จากฝั่ง Windows Server มาใช้แทน NTFS ทำให้ประสิทธิภาพการเขียนอ่านไฟล์ดีขึ้นกว่าเดิม 30%
ล่าสุดใน Build 2024 ไมโครซอฟท์พัฒนา Dev Drive เพิ่มฟีเจอร์ชื่อ Filesystem Block Cloning ทำให้การคัดลอกไฟล์ขนาดใหญ่ทำได้เร็วขึ้นมากๆ ตัวอย่างการคัดลอกไฟล์ขนาด 10GB ของเดิมใช้เวลาเกือบ 8 วินาที แต่ถ้าเปิดฟีเจอร์นี้ จะเหลือเวลาเพียง 641 ms หรือประมาณ 0.7 วินาทีเท่านั้น
ฟีเจอร์นี้จะเริ่มเปิดใช้ใน Windows 11 24H2 ที่จะออกช่วงครึ่งหลังของปีนี้
ไมโครซอฟท์ประกาศออก .NET Aspire รุ่นเสถียร (General Availability)
.NET Aspire เป็นชุดซอฟต์แวร์ (stack) สำหรับพัฒนาแอพสาย .NET แบบ cloud native คือรันในคอนเทนเนอร์ โครงการนี้เริ่มต้นแบบพรีวิวมาตั้งแต่ .NET 8 เมื่อปี 2023 และเข้าสถานะเสถียรในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
GitHub Copilot ประกาศเปิดส่วนขยาย Extension ให้พาร์ทเนอร์รายอื่นเข้ามาต่อเชื่อมได้ โดยยังรองรับเฉพาะส่วน GitHub Copilot Chat เท่านั้น
รูปแบบการใช้งานคือ บริษัทเทคโนโลยีภายนอกอย่าง MongoDB, DataStax, Docker, Sentry, Stripe สามารถเข้ามาเชื่อมต่อกับ Copilot Chat ให้ตอบคำถามเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของตัวเองได้อย่างตรงจุด ฝั่งของนักพัฒนาก็ถามปัญหาได้จากหน้าจอ IDE โดยตรง (VS Code หรือ Visual Studio) โดยไม่ต้องสลับแอพไปมา ตัวอย่างที่ไมโครซอฟท์นำเสนอคือถามปัญหาเกี่ยวกับ Docker ว่าวิธีการตั้ง environment variable ทำอย่างไร เป็นต้น
ที่มา - GitHub
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows Copilot Runtime ชุดพัฒนาสำหรับสร้างแอปพลิเคชั่นปัญญาประดิษฐ์บนเครื่องผู้ใช้โดยตรง ไม่ต้องส่งข้อมูลขึ้นคลาวด์ โดยมีส่วนประกอบตั้งแต่ตัวแอปพลิเคชั่นที่ไมโครซอฟท์ให้ไปกับ Copilot+ PC กับ API ต่างๆ เพิ่มเติม
ส่วนประกอบสำคัญคือ Windows Copilot Library ชุดโมเดลปัญญาประดิษฐ์มากกว่า 40 รายการที่รันอยู่บนเครื่องผู้ใช้อยู่แล้ว เปิดทางให้พัฒนาแอปพลิเคชั่นโดยใช้ฟีเจอร์ต่างๆ เช่น แปลภาษา, แปลงเสียงเป็นข้อความ, ข้อมูลกิจกรรมที่ผู้ใช้ทำบนเครื่อง, ตลอดจน API สำหรับการสร้างแอปพลิเคชั่น RAG เช่น embedding
กูเกิลประกาศซัพพอร์ต Kotlin Multiplatform (KMP) แนวทางการเขียนแอพข้ามแพลตฟอร์มด้วยภาษา Kotlin อย่างเป็นทางการในงาน Google I/O 2024
Kotlin Multiplatform เป็นโครงการของ JetBrains ที่พัฒนาให้ภาษา Kotlin เขียนแอพข้ามแพลตฟอร์มได้ทั้ง Android, iOS, Web, Desktop, Server
แนวคิดของมันคือการที่แอพ Android ยุคใหม่เขียนด้วย Kotlin เป็นหลักอยู่แล้ว ก็นำโค้ดส่วนนี้ไปใช้กับแพลตฟอร์มอื่นๆ จะได้เขียนครั้งเดียวใช้ได้ [เกือบ] ทุกที่ โดยงานฝั่งจัดการ UI ของแต่ละแพลตฟอร์ม ตัวเฟรมเวิร์ค KMP จะช่วยจัดการให้
กูเกิลประกาศปรับนโยบายการออกรุ่น Android Studio ใหม่อีกครั้ง โดยจะแบ่งการออกรุ่นเป็น 2 แบบ ได้แก่ การออกรุ่นตามแพลตฟอร์ม IntelliJ และการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่เฉพาะของ Android Studio
ในปี 2020 Android Studio เปลี่ยนมาใช้เลขเวอร์ชันตาม IntelliJ และหันมาใช้โค้ดเนมชื่อสัตว์ โดยใช้แนวทางนี้มาเรื่อยๆ ตลอดเวลา 4 ปี รุ่นเสถียรล่าสุดคือ Jellyfish เลขเวอร์ชัน 2023.3.1