กูเกิลเปิดตัวโมเดลแต่งเพลงชื่อ Lyria สามารถสั่งสร้างเพลงได้จากพร็อมต์ข้อความได้เลย ตัวโมเดลจะเปิดใช้งานบน Vertex AI ในระยะถัดไป
ในแง่ความสามารถของ Lyria คงไม่ต่างจากโมเดลแต่งเพลงอื่นๆ นัก (คงต้องให้ผู้เชี่ยวชาญลองพิสูจน์กัน) แต่จุดขายของกูเกิลคือมีโมเดลสร้างสื่อครบทุกอย่างแล้ว ตั้งแต่ Gemini (ข้อความ), Imagen 3 (ภาพ), Veo 2 (วิดีโอ), Chirp 3 (เสียงพูด) และล่าสุดคือ Lyria (เสียงเพลง)
เก็บตกประกาศจากงาน Google Cloud Next '25 กูเกิลเปิดให้นำโมเดล Gemini ไปรันนอกคลาวด์ของกูเกิลเอง โดยลูกค้าองค์กรที่มีความต้องการรันโมเดลในศูนย์ข้อมูลตัวเองแบบ on premise (เช่น งานหน่วยงานภาครัฐหรือการทหาร ที่มีข้อกังวลเรื่องนำข้อมูลออก) สามารถรัน Gemini ผ่าน Google Distributed Cloud (GDC) บริการคลาวด์นอกศูนย์ข้อมูลกูเกิล ได้
กูเกิลมีบริการ Google Distributed Cloud (GDC) มาตั้งแต่ปี 2021 แต่ก่อนหน้านี้ยังจำกัดอยู่ที่บริการคลาวด์ทั่วๆ ไป พอเป็นงานรันโมเดล AI ที่มีความซับซ้อนสูง ต้องการฮาร์ดแวร์เฉพาะทาง กูเกิลจึงจับมือกับ NVIDIA และ Dell นำเซิร์ฟเวอร์ DGX B200 และ HGX B200 มาให้บริการกับลูกค้าที่ต้องการ
กูเกิลจับมือกับ The Sphere อาคารรูปโดมของลาสเวกัสที่ด้านนอกเป็นจอภาพ นำภาพยนตร์คลาสสิคปี 1939 เรื่อง The Wizard of Oz กลับขึ้นมาฉายบนจอของ The Sphere ในช่วงเดือนสิงหาคม 2025
ความน่าสนใจของเรื่องนี้คือ The Wizard of Oz ถ่ายไว้ตั้งแต่ปี 1939 ด้วยฟิล์ม 35 มิลลิเมตร สัดส่วน 4:3 และฟิล์มต้นฉบับก็เก่ามากแล้ว การนำภาพยนตร์เก่ามาฉายบนจอโค้งขนาดยักษ์ 1.6 แสนฟุตของ The Sphere จึงต้องปรับปรุงอย่างมาก ทั้งเรื่องการขยายความละเอียดของภาพ และวิธีการถ่ายและตัดต่อหนังแบบดั้งเดิม ที่สลับกล้องไปมาระหว่างใบหน้าของตัวละครบางตัว แต่ไม่เห็นภาพรวมของทั้งฉาก (ตัวอย่าง)
กูเกิลโอเพนซอร์สเฟรมเวิร์ค Agent Development Kit (ADK) สำหรับการพัฒนา Agent ในรูปแบบต่างๆ โดยแม้จะพัฒนาโดยกูเกิลแต่ก็รองรับโมเดลจากผู้ผลิตหลากหลาย และเชื่อมต่อเครื่องมือภายนอกผ่านโปรโตคอล MCP ได้
ความพิเศษของ ADK ต่อกูเกิลเองคือ Vertex AI รองรับโดยตรงผ่าน Vertex AI Agent Engine อย่างไรก็ดี ตัว ADK นั้นแพ็กเกจเป็นคอนเทนเนอร์ทำให้ไปรันที่ไหนก็ได้อยู่แล้ว และกูเกิลระบุว่า ADK ออปติไมซ์ให้ทำงานกับ Gemini 2.5 Pro เป็นพิเศษ
กูเกิลประกาศเพิ่มบริการ Gemini เข้า Google Distributed Cloud (GDC) ทำให้ลูกค้าสามารถซื้อ Gemini และ Agentspace ไปรันในศูนย์ข้อมูลของตัวเองได้ โดยไม่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตหรือส่งข้อมูลออกนอกเน็ตเวิร์คองค์กร
โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างกูเกิลและ NVIDIA โดยลูกค้าต้องใช้ DGX B200 หรือ HGX B200 สามารถติดตั้งแบบ air-gapped ไม่เชื่อมต่อกับโลกภายนอกเลย โดยได้รับอนุญาตสำหรับใช้กับข้อมูลชั้นความลับ หรือลับสุดยอดของรัฐบาลสหรัฐฯ แล้ว
ที่งาน Google Cloud Next 2025 กูเกิลเปิดตัวชิป TPU Ironwood ชิปปัญญาประดิษฐ์ของกูเกิลเองรุ่นถัดจาก TPU v5p โดยชูประเด็นการเชื่อมต่อระหว่างชิป Inter-Chip Interconnect (ICI) ที่เปิดทางให้สร้างคลัสเตอร์ขนาดใหญ่ระดับเกือบหมื่นชิป
ตัวชิป TPU Ironwood เองมีพลังประมวลผล 4,614 TeraFLOPS แรงกว่า TPU v5p เกินสิบเท่าตัว (ชาร์ตข้าม Trillium ที่ดีกว่า v5e อยู่ 4.7 เท่าตัว) แต่ละชิปมาพร้อมแรม HBM ขนาด 192GB แบนวิดท์ 7.4TB/s ประสิทธิภาพต่อพลังงานดีขึ้นกว่า TPU Trillium สองเท่าตัว
ลูกค้า Google Cloud สามารถเลือกใช้ Ironwood เป็นคลัสเตอร์ได้สองขนาด คือ 256 ชิป และ 9,216 ชิป อัดเต็มไปถึง 42.5 ExaFLOPS
มีประเด็นเพิ่มเติมจากดีลที่กูเกิลซื้อกิจการบริษัทแพลตฟอร์มความปลอดภัย Wiz ถึง 3.2 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยกูเกิลเคยหารือเรื่องนี้กับ Wiz เมื่อปีที่แล้วด้วยมูลค่าที่น้อยกว่าคือ 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์ แต่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ อะไรคือสิ่งที่เปลี่ยนไปจนทำให้ดีลใหม่เกิดขึ้นในเวลาไม่ถึงหนึ่งปี และบรรลุข้อตกลงในที่สุด
กูเกิลประกาศบรรลุข้อตกลงเพื่อซื้อกิจการ Wiz บริษัทพัฒนาแพลตฟอร์มความปลอดภัยบนคลาวด์ ด้วยมูลค่า 32,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.08 ล้านล้านบาท อย่างเป็นทางการ โดยดีลทั้งหมดจ่ายเป็นเงินสด เมื่อกระบวนการทั้งหมดเสร็จสิ้น Wiz จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ Google Cloud
Wiz เป็นสตาร์ทอัปจากอิสราเอลที่ให้บริการโซลูชันความปลอดภัยบนคลาวด์ มูลค่ากิจการล่าสุดอยู่ที่ประมาณ 16,000 ล้านดอลลาร์ จากการซื้อหุ้นคืนบางส่วนจากพนักงาน หลังจากบริษัทไม่สามารถบรรลุข้อตกลงขายกิจการให้กูเกิลได้เมื่อปีที่แล้ว โดยมีรายงานว่าเป็นความกังวลเรื่องการผูกขาดธุรกิจ ซึ่งมูลค่าที่กูเกิลเสนอซื้อกิจการปีที่แล้วอยู่ที่ประมาณ 23,000 ล้านดอลลาร์ เท่ากับว่ากูเกิลกลับมาเจรจาใหม่ด้วยมูลค่าที่เพิ่มขึ้นเกือบ 40%
กูเกิลเปิดราคาของ Veo 2 ปัญญาประดิษฐ์สร้างวิดีโอ ที่เปิดตัวเดือนธันวาคม 2024 ตอนนี้เปิดให้เช่าใช้งานผ่าน Google Cloud ในราคา 0.50 ดอลลาร์ต่อวินาที
จุดเด่นของ Veo 2 คือการสร้างวิดีโอคุณภาพสูง ควบคุมและปรับเปลี่ยนมุมกล้องได้ เท่ากับว่าในทางทฤษฎี เราสามารถเช่า Veo 2 เพื่อสร้างภาพยนตร์ด้วย AI ทั้งเรื่อง ความยาว 120 นาที ได้ในราคา 3,600 ดอลลาร์ หรือประมาณ 1.2 แสนบาท (คุณภาพว่ากันอีกที) ซึ่งถูกลงจากต้นทุนสร้างภาพยนตร์ในปัจจุบันมาก
คู่แข่งโดยตรงของ Veo 2 คือ OpenAI Sora นั้นผนวกอยู่ในแพ็กเกจ ChatGPT Plus/Pro และเปิดให้สร้างวิดีโอความยาวสูงสุดไม่เกิน 20 วินาที ส่วนโมเดลการจ่ายแบบเช่าใช้งานยังไม่มีในตอนนี้
Google Cloud เริ่มเปิดบริการให้เช่าเครื่อง VM ที่ใช้จีพียู NVIDIA Blackwell B200 ตามหลัง Microsoft Azure ที่เริ่มให้บริการไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2024 (ค่าย AWS ยังไม่มา)
เครื่องของ Google Cloud ใช้ชื่อรุ่นว่า A4 VM ตอนนี้ยังมีสถานะเป็นพรีวิว เบื้องหลังเป็นเครื่อง NVIDIA HGX B200 มีจีพียู Blackwell 8 ตัวเชื่อมต่อผ่าน NVLink เวอร์ชัน 5 พ่วงด้วยสถาปัตยกรรม Titanium ML ของกูเกิลเองเพื่อให้ส่งข้อมูลระหว่างเซิร์ฟเวอร์ได้เร็วขึ้น
Google Cloud เปิดตัวบริการ Automotive AI Agent สร้างผู้ช่วยส่วนตัวพลัง AI สำหรับตลาดเฉพาะทาง ซึ่งในที่นี้คือรถยนต์
ลูกค้ารายแรกที่ประกาศใช้บริการคือ Mercedes-Benz ที่จะนำระบบของกูเกิลไปใช้กับ MBUX Virtual Assistant ภายในรถยนต์ของตัวเอง โดยจะเริ่มใช้งานกับ Mercedes-Benz CLA ซีรีส์ใหม่ที่จะเปิดตัวในปี 2025 ซึ่งจะเป็นรถยนต์รุ่นแรกที่ใช้ระบบปฏิบัติการ MB.OS ตัวใหม่ด้วย ส่วนรถยนต์รุ่นอื่นๆ มีแผนจะอัพเกรด MBUX Virtual Assistant ให้ในภายหลัง
Google Cloud โชว์บริการ Hypercompute Cluster การให้เช่า VM ขนาดใหญ่กำลังสูงๆ สำหรับประมวลผล AI เพื่อมาต่อเป็นคลัสเตอร์ขนาดใหญ่ เสมือนเป็นการเช่า "ซูเปอร์คอมพิวเตอร์" ที่รันอยู่บนคลาวด์ของกูเกิลอีกที
แกนหลักของ Hypercompute Cluster คือ VM ที่ออกแบบมาสำหรับประมวลผล AI โดยเฉพาะ ซึ่งเลือกได้ระหว่างเครื่องสาย TPU ของกูเกิลเอง (มีเครื่องที่รัน Trillium หรือ TPU v6 แล้ว) กับเครื่องรุ่น A3 Ultra ที่ใช้จีพียู NVIDIA H200 จากนั้นนำเครื่องเหล่านี้มาต่อเป็นคลัสเตอร์ภายใต้บริการ Google Kubernetes Engine (GKE) บวกกับซอฟต์แวร์ด้านการจัดการของกูเกิลอีกจำนวนหนึ่ง
Google Cloud เปิดบริการเช่าเครื่องรุ่น C4A ที่ใช้ซีพียู Axiom และสตอเรจ Titanium SSD ที่กูเกิลออกแบบเอง
กูเกิลเปิดตัวซีพียู Axiom เมื่อปี 2024 เป็นซีพียู Arm64 แบบคัสตอมสำหรับรันงานประมวลผลทั่วไป มีจุดเด่นที่ประสิทธิภาพต่อราคาดีกว่าซีพียู Arm อื่นๆ ราว 10% และ 65% หากเทียบกับซีพียู x86 บน Google Cloud
กูเกิลอัพเกรดความสามารถของ Gemini Code Assist บริการ AI ช่วยแนะนำโค้ดที่เปิดตัวในเดือนเมษายน 2024
อย่างแรกคือการปรับมาใช้โมเดล Gemini 2.0 Flash ตัวใหม่ ให้คำตอบมีคุณภาพสูงขึ้น และระยะเวลาการตอบสั้นลง
Looker บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ (business intelligence) ขายกิจการให้กูเกิลมาตั้งแต่ปี 2019 และกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของบริการ Google Cloud
แต่ในยุคเศรษฐกิจแบบนี้ ไม่เลือกงานไม่ยากจน Looker ไม่จำเป็นต้องถูกจำกัดแต่บน Google Cloud เพียงอย่างเดียวนี่นา ล่าสุดกูเกิลจึงนำ Looker ขึ้นไปขายบน AWS Marketplace ด้วย เพื่อให้ลูกค้า AWS (ที่มีเยอะกว่า Google Cloud) สามารถเลือกซื้อ Looker ได้ถ้าต้องการ
กูเกิลเปิดบริการ Google Agentspace บริการแชตกับข้อมูลภายในองค์กรที่สามารถเชื่อมกับแหล่งข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Google Drive, Sharepoint หรือแอปพลิเคชั่นงานอย่าง ServiceNow, Jira
แนวทางการใช้งาน คือการสร้าง agent สำหรับงานประเภทต่างๆ เช่น ฝ่ายบุคคลต้องการสร้าง HR Agent เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับสวัสดิการ และกฎการทำงานต่างๆ หรือฝ่ายการเงินอาจจะสร้าง agent สำหรับการเบิกค่าใช้จ่ายต่างๆ บริการนี้รวมเอา NotebookLM Enterprise ไว้ในตัว ทำให้สามารถค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ รวมเอาเป็นรายงานฉบับเดียว แล้วสร้าง podcast ไว้ฟังสรุปได้ทีเดียว
Google Cloud ประกาศเริ่มนำโมเดลปัญญาประดิษฐ์สร้างวิดีโอ Veo มาให้บริการ นับเป็นคลาวด์รายใหญ่รายแรกที่มีบริการสร้างวิดีโอ แต่ยังเป็นบริการวงปิดอยู่
Veo สามารถสร้างวิดีโอได้จากภาพและจากข้อความ ดังนั้นเราจึงสามารถสร้างภาพต้นแบบจากโมเดล Imagen ก่อนแล้วค่อยทำเป็นภาพเคลื่อนไหวก็ได้ ตอนนี้ยังเป็นบริการวงปิดเฉพาะผู้ได้รับอนุญาต โดยกูเกิลระบุว่า Agoda นั้นใช้เครื่องมือ AI ทั้ง Veo, Gemini, และ Imagen ช่วยทำโฆษณาเพื่อลดระยะเวลาการสร้างงานแล้ว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดตัวบริการ ChulaGENIE ผู้ช่วยแบบ LLM สำหรับบุคลากรและนิสิตรวมกว่า 50,000 คน โดยภายในเป็นการซื้อ Gemini Pro และ Gemini Flash แบบ API ผ่านทางบริการ Vertex AI บน Google Cloud มาเปิดให้ภายในใช้งาน
บริการนี้เตรียมเปิดตัวเป็นเฟส โดยช่วงแรกมกราคม 2025 จะเปิดให้เฉพาะคณาจารย์และบุคลากรก่อน จากนนั้นจึงเปิดให้นิสิตทุกคนใช้งานในเดือนมีนาคม ช่วงแรกจะใช้ Gemini 1.5 Flash และ Gemini 1.5 Pro โดยมีแผนจะเพิ่มตัวเลือก Claude และ Llama ต่อไป
หน้าจอ ChulaGENIE ที่เปิดเผยออกมานั้นเหมือนกับโครงการ OpenWebUI ที่เป็นโครงการโอเพนซอร์สที่ได้รับความนิยมสูง ภายในมีการสร้างตัวช่วยเฉพาะเรื่อง เช่น ผู้ช่วยงานวิจัย, ผู้ช่วยการศึกษา, และผู้ช่วยด้านการบริหารและธุรการ
กูเกิลออกบัญชีสำหรับนักพัฒนา Google Developer Program เวอร์ชัน Premium ที่มีค่าสมาชิกปีละ 299 ดอลลาร์ (เวอร์ชันปกติสมัครฟรี) แลกกับ
ราคานี้ดูคุ้มค่าหากเป็นนักพัฒนาที่ใช้บริการ Google Cloud และต้องการพัฒนาในสายอาชีพผ่านการสอบใบรับรอง
Google Cloud ประกาศแผนการบังคับใช้ multi-factor authentication (MFA) ทุกกรณี โดยจะทยอยบังคับใช้เป็นเฟสๆ จนถึงสิ้นปี 2025
กูเกิลบอกว่าตอนนี้ผู้ใช้กูเกิล 70% ใช้งาน MFA อยู่แล้ว และแนะนำให้เปิดใช้งาน MFA ได้ทันทีในวันนี้เลยผ่านหน้าจอตั้งค่าใน Google Account ไม่ต้องรอบังคับใช้แต่อย่างใด
กูเกิลเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ตระกูล C4A ใช้ซีพียู Axion ที่เปิดตัวเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยชูประเด็นความคุ้มราคาดีกว่า x86 ที่ขนาดเท่ากันสูงสุดถึง 65% และยังระบุว่าดีกว่าชิป Arm ของคู่แข่งอยู่ 10% แม้จะไม่ระบุว่าเป็นของคลาวด์รายใด
เมื่อแยกตามประเภทงาน C4A ดีกว่า x86 แตกต่างกันไป เช่น SPEC 2017 ทดสอบการประมวลผลเลขจำนวนเต็มประสิทธิภาพดีกว่ามาก แต่ดีกว่า 30% เมื่อเป็น MySQL และ 35% เมื่อเป็น Redis
เครื่องมีให้เลือก 3 กลุ่ม ได้แก่ Standard 1 คอร์ต่อแรม 4GB, High CPU 1 คอร์ต่อแรม 2GB, และ High Memory 1 คอร์ต่อแรม 8GB อัดสุดได้ 72 คอร์ แรม 576GB พร้อมเน็ตเวิร์ค 100 Gbps
มีให้ใช้งานทั้งสหรัฐฯ, ยุโรป, และสิงคโปร์แล้ววันนี้
Google แถลงร่วมกับรัฐบาล ประกาศแผนการลงทุน 3.6 หมื่นล้านบาท สำหรับแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์และศูนย์ข้อมูลในกรุงเทพและชลบุรี หลังประกาศตั้งรีเจี้ยนมาตั้งแต่ปี 2022
Google ระบุว่าจะมีส่วนช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 1.4 แสนล้านบาทแก่ GDP ของประเทศไทย ภายในปี 2029 และสร้าง 14,000 ตำแหน่งต่อปีโดยเฉลี่ย ตั้งแต่ปี 2025 ถึง 2029 จากการศึกษาของบริษัท Deloitte
กูเกิลยื่นคำร้องกล่าวหาไมโครซอฟท์ ต่อหน่วยงานกำกับดูแลป้องกันการผูกขาดตลาดแห่งสหภาพยุโรป ในประเด็นการแข่งขันของบริการประมวลผลบนคลาวด์ โดยระบุว่าไมโครซอฟท์ใช้อำนาจที่มีในตลาดซอฟต์แวร์องค์กร ผลักดันให้ลูกค้าใช้งาน Azure และใช้วิธีการที่ทำให้ลูกค้าต้องอยู่กับบริการนี้ต่อไป (Lock-In)
ตัวแทนของไมโครซอฟท์ชี้แจงว่า ก่อนหน้านี้บริษัทได้เจรจายุติการร้องเรียนในลักษณะเดียวกัน กับผู้ให้บริการคลาวด์ในยุโรป จึงเชื่อว่าคำร้องเรียนของกูเกิลต่อสหภาพยุโรปก็จะไม่มีผลเช่นกัน
ปัจจุบันบริการคลาวด์ของกูเกิลมีส่วนแบ่งตลาดรวมเป็นอันดับ 3 รองจาก AWS ของ Amazon และ Azure ของไมโครซอฟท์
นอกจาก Warner Bros. Discovery แล้ว Google Cloud ยังประกาศความร่วมมือกับ Snap เจ้าของแอป Snapchat เพื่อสนับสนุนการประมวลผล AI ในบริการแชทบอต My AI ของ Snapchat
Snapchat จะนำโมเดล AI ข้อมูลผสมผสานของ Gemini ที่ทำงานบน Vertex AI ซึ่งรองรับข้อมูลทั้งตัวหนังสือ ภาพ วิดีโอ เสียง มาพัฒนาเป็นฟีเจอร์ใหม่ให้ผู้ใช้งาน My AI เช่น แปลป้ายตามถนนในภาษาต่าง ๆ ได้ หรือถ่ายภาพขนมแล้วให้ AI เลือกว่าอันไหนดีต่อสุขภาพที่สุด เป็นต้น
Snap และ Google Cloud เป็นพาร์ตเนอร์ในบริการต่าง ๆ มานานมากกว่า 10 ปี ทั้งการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และเทคโนโลยี AI ต่าง ๆ
Warner Bros. Discovery ร่วมมือกับ Google Cloud นำโซลูชันสร้างคำบรรยาย Closed Captions มาใช้กับคอนเทนต์Warner Bros. Discovery ประกาศความร่วมมือกับ Google Cloud เพื่อนำโซลูชันสำหรับสร้างคำบรรยายด้วย AI เรียกชื่อภายในว่า Caption AI มาใช้งานบนแพลตฟอร์มในสหรัฐอเมริกา ซึ่งรันอยู่ใน Vertex AI
ในเบื้องต้น Warner Bros. Discovery มีแผนนำ Caption AI มาใช้สร้างคำบรรยายแทนเสียงแบบปิด (Closed Captions: CC) สำหรับรายการที่ไม่มีบท เช่น รายการเรียลลิตี้ รายการสัมภาษณ์ ซึ่งช่วยลดเวลาและต้นทุนในการผลิตได้ ทั้งนี้ CC แตกต่างจากการถอดเสียงออกมาเป็นข้อความ เพราะต้องบรรยายสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นด้วย