แอป Yahoo News ประกาศอัปเดตฟีเจอร์ใหม่ ซึ่งเป็นผลจากการซื้อกิจการ Artifact แอปอ่านข่าวที่คัดเลือกเนื้อหาด้วย AI ของสองผู้ก่อตั้ง Instagram
โดย Yahoo News เวอร์ชันนี้ใหม่นี้ได้เพิ่มความสามารถ AI หลายอย่าง เช่น ฟีดที่ปรับแต่งให้เข้ากับผู้ใช้งานแต่ละคน จากการเลือกหัวข้อและสื่อที่สนใจ แบบเดียวกับใน Artifact, มีฟีเจอร์สรุปเนื้อหาข่าว, แสดงส่วนสำคัญในช่วงย่อหน้า และฟีเจอร์โซเชียลอื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม Yahoo News มีให้ใช้งานเฉพาะในอเมริกาเท่านั้นบนอัปเดตล่าสุดของ iOS และ Android
ที่มา: Yahoo
ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า Artifact แอปอ่านข่าวที่คัดเลือกเนื้อหาด้วย AI ของสองผู้ก่อตั้ง Instagram ยังสามารถใช้งานได้ แม้บริการจะประกาศปิดตัวในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่ง Kevin Systrom หนึ่งในผู้ก่อตั้งก็บอกว่า เพราะเขาพบว่าค่าใช้จ่ายในการให้แอปทำงานตามต่อไปนั้นน้อยกว่าที่คิด ก็นำมาซึ่งความสงสัยว่าหรือเขากำลังดีลอะไรอยู่
Artifact แอปอ่านข่าวที่คัดเลือกข่าวและมีฟีเจอร์สรุปเนื้อหาด้วย AI ของสองผู้ก่อตั้ง Instagram ซึ่งประกาศปิดตัวภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งปี ด้วยเหตุผลโอกาสในการขยายตลาดมีความจำกัดมาก อย่างไรก็ตาม แอปนั้นเดิมกำหนดปิดตัวสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังใช้งานได้ตามปกติ
เรื่องนี้ไม่ใช่ความบังเอิญแต่อย่างใด Kevin Systrom หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Artifact บอกว่า เขาตัดสินใจให้แอปทำงานได้ต่อไปตามปกติ เพราะพบว่าค่าใช้จ่ายนั้นน้อยกว่าที่คิดไว้มาก จึงได้คุยกับ Mike Krieger ผู้ร่วมก่อตั้งอีกคน ว่าจะให้ Artifact ใช้งานได้ต่อไปก่อน และมีเขาแค่สองคนที่ดูแลระบบ จึงไม่มีอัปเดตฟีเจอร์ใดในช่วงนี้ จากนั้นจะหาแนวทางต่อไปสำหรับบริการนี้
Artifact แอปอ่านข่าวที่คัดเลือกเนื้อหาด้วย AI ของสองผู้ก่อตั้ง Instagram คือ Kevin Systrom และ Mike Krieger ประกาศปิดให้บริการแล้ว หลังจากเปิดตัวเมื่อกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว
Artifact บอกว่าถึงแม้เทคโนโลยีหลักจะทำให้ผู้ใช้ที่ชื่นชอบยังคงใช้งาน แต่ทีมงานได้ข้อสรุปว่าโอกาสในการขยายตลาดนั้นมีจำกัดมาก ซึ่งส่งผลต่อการได้เงินลงทุนขยายธุรกิจเพิ่มเติม จึงเห็นว่าควรมองหาโอกาสด้านอื่นที่เกี่ยวกับ AI มากกว่า
แอปจะยังใช้งานได้ต่อไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ โดยปิดการคอมเมนต์และโพสต์เนื้อหาเพิ่มเติม ส่วนทีมงานทั้งหมด 8 คน จะแยกย้ายกันไป
ที่มา: Artifact
Kevin Systrom ผู้ร่วมก่อตั้ง Instagram ซึ่งปัจจุบันเขาทำแอปอ่านข่าวแนวโซเชียล Artifact ให้สัมภาษณ์กับ The Messenger ในหลายประเด็น และมีตอนหนึ่งพูดถึง Instagram, Threads และ X หรือ Twitter เดิมด้วย
โดยเมื่อถามความเห็นเขาที่ Instagram สร้างแอปใหม่ Threads ที่เป็นโซเชียลข้อความสั้นแนว Twitter เขาบอกว่ายังเร็วไปที่จะบอกว่าโครงการประสบความสำเร็จหรือไม่ แต่เห็นชัดคือช่วงเปิดตัวทำได้ดีกว่าที่ทีมงานคาดแน่นอน เขานึกถึงคำพูดของผู้ก่อตั้ง Twitter คนหนึ่งว่า แพลตฟอร์มโซเชียลนั้นต้องอาศัยเวลาถึงจะประสบความสำเร็จ Twitter ก็ประสบความสำเร็จสูงแบบข้ามคืน แต่กว่าจะถึงวันนั้นต้องรอ 4 ปี
Artifact แอปอ่านข่าวพลัง AI โดยสองผู้ก่อตั้ง Instagram เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ตัวช่วยสรุปเนื้อหาข่าว (Summaries Tool) ซึ่งแอปใช้ AI แบบสร้างเนื้อหาช่วยเขียนสรุป ทำให้ผู้ใช้งานเห็นภาพรวมเนื้อหา
อย่างไรก็ตาม Artifact บอกว่า AI นี้อาจมีข้อจำกัดในการเขียนสรุป และอาจสรุปผิดพลาดได้ด้วย จึงยังคงแนะนำให้อ่านเนื้อหาข่าวฉบับเต็มด้วย
ฟีเจอร์สรุปนี้ยังใส่ลูกเล่นที่น่าสนใจในแง่ AI สร้างเนื้อหา โดยสามารถเลือกการสรุปข่าวในสำนวนแบบปกติ (Normal) ไปจนถึงการสรุปแบบใช้ภาษาเข้าใจง่าย (Explain like I'm five) และแบบ Gen Z ได้ด้วย ลองดูตัวอย่างได้ท้ายข่าว
ที่มา: Artifact
Artifact แอปอ่านข่าวที่คัดเนื้อหาด้วย AI ของสองผู้ก่อตั้ง Instagram ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ เพื่อให้แอปเป็นโซเชียลมากขึ้น โดยเพิ่มระบบคอมเมนต์ โต้ตอบ สนทนา ท้ายข่าวหรือหัวข้อนั้น ๆ
Artifact บอกว่าเพื่อให้การสนทนาเป็นไปในเชิงบวกและมีบรรยากาศที่ดีในการสนทนา ระบบจึงมีการให้คะแนนสำหรับแต่ละความคิดเห็นด้วย โดยใช้ปัจจัยหลายอย่างมาคำนวณ ซึ่งรวมทั้งระบบ Upvote / Downvote แต่ละคอมเมนต์ คะแนนนี้จะมีผลผูกพันต่อบัญชีนั้น ๆ สำหรับคอมเมนต์อื่นในอนาคต และช่วยกรองความเห็นจากบัญชีที่ไม่เหมาะสมได้ด้วย
ฟีเจอร์ใหม่นี้มีในอัพเดตเวอร์ชันล่าสุดของ Artifact
Artifact แอปอ่านข่าวที่คัดเลือกเนื้อหาด้วย AI ของสองผู้ก่อตั้ง Instagram คือ Kevin Systrom และ Mike Krieger ประกาศเปิดให้ผู้ใช้งานทุกคนดาวน์โหลดและสมัครใช้งานได้เลย ไม่ต้องรอ waitlist แล้ว รวมทั้งไม่ต้องใช้เบอร์โทรศัพท์เพื่อยืนยันตัวตนด้วย
แอปสามารถดาวน์โหลดได้ทั้งใน iOS และ Android
นอกจากนี้ Artifact ยังประกาศฟีเจอร์ใหม่หลายอย่าง เช่น แสดงเนื้อหายอดนิยม อ้างอิงจากเครือข่ายผู้ติดต่อของเรา พร้อมแสดง badge บทความนั้น หากมีจำนวนคนอ่านมากถึงตัวเลขหนึ่ง, มีฟีเจอร์แสดงหมวดเนื้อหาที่เราชอบอ่าน, เพิ่มปุ่มนิ้วโป้งชี้ลง (thumb down) เพื่อบอกระบบว่าไม่ต้องการอ่านเนื้อหาประเภทนี้