ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ใช้ AI ช่วยสรุปเอกสาร หรือปรับปรุงบริการภาครัฐ แต่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์กลับใช้ AI ช่วยร่าง ทบทวน แก้ไขกฎหมาย คำพิพากษา และบริการของภาครัฐ หลังจากที่ค้นพบว่า การใช้ AI สามารถช่วยให้กระบวนการออกกฎหมายเร็วขึ้นถึง 70%
นี่เป็นครั้งแรกของโลกที่หน่วยงานรัฐใช้ AI เพื่อเขียนกฎหมาย โดยสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จะตั้งหน่วยงานใหม่ในคณะรัฐมนตรีชื่อว่า สำนักงานข่าวกรองด้านกฎระเบียบ (Regulatory Intelligence Office) เพื่อดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ
เรื่องมีอยู่ว่า Chungin Lee นักศึกษา Columbia University เปิดเผยว่าเขาถูกสั่งพักการศึกษา 1 ปี หลังจากพัฒนาเครื่องมือชื่อว่า Interview Coder ซึ่งเป็น AI ช่วยทำข้อสอบเขียนโค้ดบนแพลตฟอร์ม LeetCode ที่หลายองค์กรใช้เป็นขั้นตอนแรกก่อนเรียกสัมภาษณ์งาน โดยไม่ถูกจับได้ แต่เมื่อองค์กรบางแห่งทราบเรื่องนี้ เพราะ Lee ลองใช้งานจนผ่านขั้นตอนทดสอบ ได้ทำหนังสือเตือนมาทางมหาวิทยาลัย จึงทำให้ Columbia University สั่งพักการศึกษา Lee
ประเด็นเรื่องการประมวลผลหรือใช้งาน AI มีการใช้พลังงานไฟฟ้าสูง เป็นสิ่งที่รับรู้กันมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ในการสนทนากับแชทบอต AI นั้น บทสนทนาที่เพิ่มเติมเข้ามา แม้ทำให้ทุกอย่างดูสุภาพมีมารยาทขึ้น แต่ก็มองเป็นเรื่องเปลืองพลังงานได้
เรื่องนี้มาจากผู้ใช้งาน X @tomieinlove โพสต์ลอย ๆ ด้วยความสงสัยว่า OpenAI ต้องจ่ายค่าไฟไปเท่าไหร่ จากการที่ผู้ใช้งานพิมพ์ว่า please หรือ thank you ซึ่งทำให้มีส่วนคำที่ถูกนำไปประมวลผลเพิ่มขึ้น
Sam Altman ซีอีโอ OpenAI มาตอบโพสต์นี้เองว่า "รวมถึงตอนนี้ก็หลายสิบล้านดอลลาร์ คุณอาจไม่รู้กันมาก่อน"
Microsoft ประเทศไทย ร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดตัวโครงการ "THAI Academy ขับเคลื่อนอนาคต AI ประเทศไทย" ตั้งเป้าเสริมทักษะคนไทยมากกว่า 1 ล้านคนภายในปี 2025 เพื่อขับเคลื่อนไทยสู่ยุค AI First
Microsoft อ้างอิงข้อมูลจาก LinkedIn พบว่า 70% ของทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในอนาคตจะเปลี่ยนไปมาก ซึ่งต้องการทักษะการใช้ AI เพิ่มขึ้น 6 เท่า เพราะฉะนั้น หากต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ต้องเริ่มจากการพัฒนาคน พร้อม ๆ กับการสอนทักษะด้าน AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ
ประกาศสำคัญอย่างหนึ่งในงาน Google Cloud Next '25 ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาคือการเปิดตัว โปรโตคอล Agent2Agent ที่ออกแบบมาให้ AI agent คุยกันเองได้
โปรโตคอล Agent2Agent (ตัวย่อ A2A) เป็นความพยายามของกูเกิลในการวางมาตรฐานของยุค AI agent หลังจากที่กูเกิลเป็นผู้ตามมาตลอดในยุค generative AI ตัวอย่างคือ API ของโมเดล LLM ต้องอิงตาม API ของ OpenAI หรือ โปรโตคอลที่ใช้เชื่อมโมเดล LLM กับแหล่งข้อมูลภายนอก ใช้ MCP ของ Anthropic
ค่าย JetBrains มีบริการ AI ช่วยเขียนโค้ดมาตั้งแต่ปี 2023 โดยใช้โมเดลหลายๆ ตัวผสมผสานกัน เช่น Anthropic, OpenAI, Google
ล่าสุด JetBrains จัดแพ็กเกจ AI ช่วยเขียนโค้ดใหม่ ใช้ได้กับ IDE ทุกตัวในเครือ แถมมี free-tier ให้เลือกด้วย
แพ็กเกจ AI ของ JetBrains แยกออกเป็น 4 ระดับคือ AI Free, AI Pro, AI Ultimate, AI Enterprise โดยเวอร์ชันฟรีจะสามารถรันโมเดล Mellum ของ JetBrains เองแบบ local (ผ่าน Ollama หรือ LM Studio) พร้อมกับมีเครดิตให้รันโมเดลบนคลาวด์ได้เล็กน้อย
ส่วนแพ็กเกจแบบเสียเงินเริ่มที่ AI Pro ราคา 10 ดอลลาร์ต่อเดือน และ AI Ultimate ที่ 30 ดอลลาร์ต่อเดือน ได้เครดิตในการรันโมเดลบนคลาวด์เพิ่มขึ้น
Ted Sarandos ซีอีโอร่วมของ Netflix ตอบคำถามในงานแถลงผลประกอบการไตรมาส 1/2025 ในประเด็นการนำ AI มาใช้กับการสร้างภาพยนตร์-ซีรีส์
Sarandos อ้างอิงบทสัมภาษณ์ของ James Cameron ที่บอกว่า AI ช่วยลดต้นทุนการสร้างหนังลงได้ 50% ว่าในมุมมองของเขา มันไม่ใช่แค่การลดต้นทุนลง แต่ AI สามารถช่วยเปิดโอกาสให้เราสร้างหนังให้ดีขึ้นกว่าเดิม 10% ได้ด้วย ตอนนี้ทีมงาน Netflix นำ AI มาใช้ในกระบวนการต่างๆ เช่น การสร้างภาพอ้างอิงสำหรับฉากถ่ายทำ (set reference), การเตรียมลำดับของเอฟเฟคต์ ฯลฯ ช่วยให้กระบวนการถ่ายทำภาพยนตร์มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ไมโครซอฟท์เปิดตัวฟีเจอร์ Computer Use ใหม่ใน Copilot Studio สำหรับ UI Automation ที่ AI Agents สามารถคลิก พิมพ์ และโต้ตอบกับแอปเดสก์ท็อปและเว็บได้ โดยไม่ต้องใช้ API
Microsoft Copilot Studio เป็นแพลตฟอร์มที่จะช่วยให้ทุกคนสามารถสร้าง Bot และ AI Agent ของตัวเอง โดยฟีเจอร์ Computer Use ทำงานบนโครงสร้างพื้นฐานที่โฮสต์โดยไมโครซอฟท์และใช้งานโมเดล Computer-Using Agent (CUA) ของ OpenAI (เหมือนกับ Operator) ให้ AI Agent ตอบสนองต่อข้อมูลและเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองตามเงื่อนไขและภารกิจที่กำหนดไว้ เช่น การแยกข้อมูลจากใบแจ้งหนี้และป้อนเข้าสู่ระบบบัญชีโดยอัตโนมัติ
AMD เปิดตัว Amuse 3.0 แพลตฟอร์มที่ AMD พัฒนาร่วมกับ TensorStack AI สำหรับสร้างรูปภาพหรือวิดีโอสั้นด้วย AI แบบโลคอลบนฮาร์ดแวร์ของ AMD ด้วยโมเดลสร้างรูปภาพแบบปรับแต่งของ Stability AI ผู้พัฒนาโมเดล Stable Diffusion
Amuse 3.0 ที่ปรับแต่งบนฮาร์ดแวร์ของ AMD ทำให้ขั้นตอน Inference ทำได้เร็วขึ้นสูงสุด 4.3 เท่า บน AMD Radeon RX 9070 XT ด้วยโมเดล Stable Diffusion 1.5 และ 3.3 เท่าบน Stable Diffusion 3.5 Large
ดูรายละเอียดโมเดลทั้งหมดที่ปรับแต่งสำหรับจีพียู AMD ได้ที่ Hugging Face
Kaggle แพลตฟอร์มชุมชน data science ซึ่งมีกูเกิลเป็นเจ้าของ ประกาศความร่วมมือกับ Wikimedia Foundation ผู้ดูแลโครงการ Wikipedia นำชุดข้อมูล (dataset) แบบ structured ที่ปรับแต่งให้เหมาะกับการฝึกฝน AI เผยแพร่ผ่านชุมชน Kaggle
ชุดข้อมูลที่นำมาเผยแพร่นี้มีมากกว่า 461,000 ชุดข้อมูล ในภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส นำมาจากบน Wikipedia การนำข้อมูลมาจัดใหม่นี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล นักวิจัย หรือบุคคลที่สนใจ สามารถนำไปศึกษาใช้งานได้ต่ออย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น
แอปเปิลมีฟีเจอร์ปัญญาประดิษฐ์ Apple Intelligence เพิ่มมาตั้งแต่ iOS 18.1 ซึ่งสามารถเรียกใช้งานได้ผ่านแอปต่าง ๆ ในอุปกรณ์ สำหรับนักพัฒนานั้นแอปเปิลก็มีช่องทางให้เชื่อมต่อกับ Apple Intelligence ในแอปของตนเองได้
...แต่ไม่ใช่บริษัทที่ชื่อ Meta
มีรายงานการค้นพบว่าแอปบน iOS ในเครือ Meta เช่น Facebook, WhatsApp หรือ Threads ไม่สามารถเรียกใช้งานความสามารถของ Apple Intelligence ได้แล้ว เช่น Writing Tools เครื่องมือช่วยเขียน, Genmoji ตัวสร้างอีโมจิแบบคัสตอม ซึ่งเดิมนั้นสามารถทำได้
รายงานจาก Filtered.com สำรวจ 100 อันดับการใช้ Generative AI ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยรวมพบว่ากระแส AI มาแรงขึ้นกว่าเดิม ไม่ได้เป็นแค่เครื่องมือสำหรับเล่นสนุก หรือช่วยงานทั่วไปเท่านั้น แต่กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของหลาย ๆ คนไปแล้ว
ที่น่าสนใจคือ AI ไม่ได้ช่วยเรื่องเทคนิค หรือทำงานเบื้องหลังอีกต่อไป มันเข้าไปช่วยในเรื่องส่วนตัวมากขึ้น กลายเป็นเพื่อนคู่คิด ที่ช่วยสะท้อนตัวตนของผู้ใช้ออกมาให้ชัดขึ้น เห็นได้จาก 3 อันดับแรกจากการใช้งาน Generative AI ยอดนิยมในปีนี้ ได้แก่ ใช้บำบัดจิตใจ/เป็นเพื่อน, จัดระเบียบชีวิต, และค้นหาจุดหมาย
ส่วนอันดับที่ 4 และ 5 เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว นั่นก็คือ ใช้เพิ่มประสิทธิภาพการเรียน และเขียนโค้ด
Deezer แพลตฟอร์มสตรีมเพลง พบเพลงที่สร้างด้วย AI มากกว่า 18% จากจำนวนเพลงใหม่ที่อัปโหลดขึ้นแพลตฟอร์มในแต่ละวัน หรือราว ๆ 20,000 แทร็กต่อวัน เพิ่มขึ้นจาก 10% ในเดือนมกราคม 2025
หัวหน้าฝ่ายนวัตกรรมของ Deezer บอกว่า แม้ AI จะเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้กับการสร้างเพลง แต่ก็ต้องมีความรับผิดชอบในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ เพื่อปกป้องสิทธิ์ของศิลปิน และทำให้ทุกอย่างโปร่งใสกับผู้ฟัง
Deezer ยังคงเป็นแพลตฟอร์มเจ้าใหญ่เจ้าเดียว ที่ร่วมลงนามในแถลงการณ์ระดับโลกเรื่องการฝึก AI อย่างรับผิดชอบ ซึ่งล่าสุด เริ่มถอดเพลงที่สร้างด้วย AI ออกจากระบบแนะนำเพลงของแพลตฟอร์ม ต่างจาก Spotify ที่ยังเปิดกว้างให้กับเพลงที่สร้างด้วย AI
xAI ประกาศเพิ่มความสามารถให้ปัญญาประดิษฐ์ Grok สามารถจดจำข้อมูลพื้นฐานของผู้ใช้งาน เพื่อใช้สำหรับอ้างอิงในการให้คำตอบที่ตรงตามความต้องการของแต่ละคนมากยิ่งขึ้น
ฟีเจอร์การจดจำข้อมูลผู้ใช้งานกำลังเป็นความสามารถพื้นฐานของบริการแชทบอต AI ซึ่งมีอยู่แล้วทั้งใน ChatGPT และ Gemini
ผู้ใช้งาน Grok สามารถเรียกดูรายละเอียดข้อมูลพื้นฐานที่ Grok จดจำได้ เพื่อสามารถปรับปรุงให้ตรงที่ต้องการยิ่งขึ้น
ฟีเจอร์นี้เปิดให้ใช้งานแล้วในสถานะเบต้าผ่าน Grok.com และแอป Grok ใน iOS กับ Android ยกเว้นผู้ใช้งานในประเทศสหราชอาณาจักร และกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ส่วน Grok บน X จะเพิ่มมาในภายหลัง
ไมโครซอฟท์ร่วมมือกับ OpenAI เปิดให้องค์กรธุรกิจใช้งาน OpenAI o3 และ o4-mini ใน Azure AI Foundry แล้ว รวมถึง GitHub Copilot ใน VS Code และ GitHub Models สำหรับนักพัฒนา
o3 และ o4-mini เป็น Reasoning Model ที่สามารถใช้เครื่องมือทั้งหมดภายใน ChatGPT ได้เป็นครั้งแรก ซึ่งได้แก่การค้นหาบนเว็บ, Python, การวิเคราะห์รูปภาพ, การตีความไฟล์ และการสร้างรูปภาพ โดย OpenAI เพิ่งประกาศเปิดตัววันนี้
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วกูเกิลได้เริ่มอัปเดตฟีเจอร์ Gemini Live หรือชื่อเดิม Project Astra ที่สามารถใช้กล้องของโทรศัพท์มือถือดูภาพสิ่งต่าง ๆ รอบตัว แล้ว Gemini สามารถอธิบายสิ่งที่เห็นตรงหน้าได้ สำหรับผู้ใช้ Pixel 9 และ Galaxy S25 โดยต้องเป็นลูกค้าที่สมัคร Gemini Advanced แบบเสียเงิน
มาวันนี้กูเกิลประกาศว่าความสามารถ Gemini Live จะเปิดให้กับผู้ใช้งาน Android ทุกคนฟรี เพียงแค่มีแอป Gemini เท่านั้น โดยคาดว่าจะอัปเดตให้ผู้ใช้แอป Gemini ครบทุกคนภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
OpenAI เปิดตัวเครื่องมือใหม่ Codex CLI พร้อมกับการเปิดตัวสองโมเดลใหม่ o3 และ o4-mini ซึ่งเป็น Agent ผู้ช่วยเขียนโค้ดที่รันโลคอลผ่าน Terminal บนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งาน
Codex CLI เป็น Agent ขนาดเล็ก รองรับอินพุทในแบบข้อมูลผสมผสาน ทั้งการแปะภาพจับหน้าจอเพื่อให้อ่าน command line, ภาพร่าง ไปจนถึงการอ่านโค้ดที่รันอยู่บนอุปกรณ์ ซึ่ง OpenAI บอกว่าเครื่องมือนี้ออกแบบมาเพื่อเรียกใช้ประสิทธิภาพของ o3 และ o4-mini สูงสุด และจะรองรับโมเดล GPT-4.1 ผ่าน API ด้วย
Codex CLI เป็นโปรแกรมโอเพนซอร์ส สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ GitHub
Grok แชทบอต AI จากบริษัท xAI ของ Elon Musk ออกเครื่องมือใหม่ Grok Studio เป็นพื้นที่สำหรับแก้ไขปรับแต่งผลลัพธ์จาก AI แบบต่อเนื่อง ในรูปแบบ canvas เหมือนกับเครื่องมือที่เคยเห็นจากค่ายอื่น
Grok Studio ทำงานโดยเรียกหน้าต่างแยกออกมา เพื่อจัดการเนื้อหาและผลลัพธ์โดยเฉพาะ ความสามารถที่นำเสนอคือ Code Execution สามารถสร้างโค้ด ดูพรีวิวผลลัพธ์ ตอนนี้รองรับ HTML, Python, C++, Javascript, Typescript และ bash นอกจากนี้ยังใช้งานด้านอื่น เช่น การแก้ไขเนื้อหาเฉพาะส่วน ปรับแต่งข้อมูลตามที่ไฮไลท์ เป็นต้น
ผู้ใช้ Cursor จำนวนหนึ่งประสบปัญหาถูกตัดออกจากบริการเมื่อล็อกอินพร้อมกันหลายเครื่อง ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้แต่เมื่อผู้ใช้อีเมลไปถามซัพพอร์ต AI ซัพพอร์ตกลับยืนยันว่าเป็นเป็นตามนโยบายการล็อกอิน
เมื่อผู้ใช้ Cursor ได้รับการยืนยันว่าหลังจากนี้จะบังคับล็อกอินทีละเครื่องทำให้ลูกค้าจำนวนมากไม่พอใจ หลายคนประกาศว่าจะเลิกใช้บริการ แต่ภายหลัง mntruell ผู้ร่วมก่อตั้ง Cursor ก็ออกมายืนยันว่าบริษัทไม่ได้มีนโยบายห้ามล็อกอินหลายเครื่อง พร้อมกับบอกว่าหน้า UI ของ Cursor เองถึงกับมีส่วนที่บอกว่าล็อกอินไว้ที่ไหนบ้างด้วยซ้ำ โดยปัญหาที่ผู้ใช้ถูกเตะออกจากระบบเมื่อล็อกอินหลายเครื่องเกิดจากการอัพเดตความปลอดภัยหลังบ้าน
กูเกิลเริ่มนำ Veo 2 ปัญญาประดิษฐ์สร้างวิดีโอ ที่เปิดตัวช่วงปลายปี 2024 มาให้ลูกค้า Gemini Advanced แบบเสียเงินในแพ็กเกจ Google One AI Premium ใช้งานแล้ว หลังจากเปิดให้เช่าใช้งานผ่าน Google Cloud Vertex AI มาระยะหนึ่ง
การใช้งาน Veo 2 ผ่าน Gemini จำกัดความละเอียด 720p ความยาวไม่เกิน 8 วินาที ไฟล์สัดส่วน 16:9 และได้ผลลัพธ์เป็นฟอร์แมต MP4 เท่านั้น อีกทั้งยังจำกัดจำนวนคลิปที่สามารถสร้างได้ต่อเดือน ตัวอย่างวิดีโอดูได้จากคลิปท้ายข่าว
นอกจากฟีเจอร์ Research สำหรับค้นหาข้อมูลเชิงลึกแล้ว Anthropic ยังเพิ่มความสามารถเชื่อมต่อกับ Google Workspace เพิ่มเติมให้กับ Claude จากก่อนหน้านี้รองรับการเชื่อมต่อกับ Google Docs
บริการที่ Claude รองรับเพิ่มเติมได้แก่ Gmail และ Google Calendar ซึ่ง Anthropic บอกว่าทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องเสียเวลาอัปโหลดไฟล์ หรือให้บริบทข้อมูลเพิ่ม เพราะ Claude จะเรียนรู้ข้อมูลพื้นฐานของผู้ใช้งานแต่ละคนได้แล้ว
ตัวอย่างการใช้งาน Claude ที่ใช้ความสามารถการเข้าถึง Google Workspace เช่น ให้สรุปสิ่งที่ต้องทำจากอีเมล, ค้นหาข้อมูลที่ต้องการจากไฟล์เอกสาร, สร้างคู่มือทำงานจากเอกสารต้นฉบับ, สรุปหัวข้อสำคัญในสัปดาห์จากตารางนัดหมาย เป็นต้น
Anthropic เพิ่มความสามารถใหม่ Research ให้กับบริการ Claude ซึ่งมีรูปแบบการทำงานเหมือนกับผู้ให้บริการปัญญาประดิษฐ์ค่ายอื่นตามชื่อ โดย AI Agent จะค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ แล้วเชื่อมโยงมาเป็นคำตอบให้ตามคำถามที่ผู้ใช้งานระบุไว้ พร้อมกับแหล่งอ้างอิงสำหรับดูเพิ่มเติม
Anthropic บอกว่า Research ให้คำตอบที่มีคุณภาพสูง ในเวลาไม่กี่นาที ซึ่งเกิดจากการผสมผสานการทำงานร่วมกัน
ฟีเจอร์ Research เริ่มให้บริการแล้วในสถานะเบต้า สำหรับลูกค้า Max, Team และ Enterprise เฉพาะในสหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น และบราซิล
ที่มา: Anthropic
OpenAI เปิดเผยว่า GPT-4.5 โมเดล AI ขนาดใหญ่ที่เปิดตัวเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จะปิดการเข้าถึงใช้งาน API สำหรับนักพัฒนา ตั้งแต่ 14 กรกฎาคมเป็นต้นไป หลังจาก OpenAI เปิดตัวโมเดลใหม่ GPT-4.1 เมื่อคืนนี้
OpenAI บอกว่า GPT-4.1 มีความสามารถการทำงานที่ใกล้เคียงหรือดีกว่า GPT-4.5 ในหลายด้าน ด้วยต้นทุนการใช้งานที่ต่ำกว่า ดังนั้นบริษัทจะปิดการใช้งานโมเดลนี้ เพื่อนำทรัพยากรไปโฟกัสที่การพัฒนาโมเดลใหม่ในอนาคตแทน
ปัจจุบันโมเดล GPT-4.5 เปิดให้ใช้งานในสถานะพรีวิวงานวิจัยโดยยังใช้งานได้ต่อไปผ่าน ChatGPT
Apple Machine Learning Research หน่วยงานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ของแอปเปิล เผยแพร่แนวทางการปรับปรุงการทำงานของฟีเจอร์ AI เพิ่มเติม โดยยังยึดพื้นฐานคือการรักษาความเป็นส่วนตัวผู้ใช้งานไว้
หัวข้อแรกเป็นวิธีการปรับปรุงฟีเจอร์ Genmoji ที่ผู้ใช้งานสามารถป้อน prompt เพื่อสร้างอีโมจิผสมผสานขึ้นมาเอง แอปเปิลบอกว่าอุปกรณ์ที่เปิดการทำงาน Device Analytics ซึ่งส่งข้อมูลกลับมาที่แอปเปิลแบบไม่ระบุอุปกรณ์หรือผู้ใช้งาน ทำให้แอปเปิลสามารถเห็นเทรนด์ของอีโมจิผสมที่ผู้ใช้งานนิยม ทำให้สามารถปรับปรุงเฉพาะคำที่นิยมได้ ทั้งนี้แอปเปิลจะไม่รู้ prompt ทั้งหมด รวมถึงข้อมูลผู้ใช้งาน
Hugging Face แพลตฟอร์ม AI สำหรับนักพัฒนา ประกาศซื้อกิจการ Pollen Robotics สตาร์ทอัปด้านหุ่นยนต์จากฝรั่งเศส โดยไม่มีการเปิดเผยมูลค่าที่เข้าซื้อ
ทั้งสองบริษัทมีความร่วมมือกันมาก่อนหน้านี้แล้วโดย Hugging Face ได้ร่วมกับ Pollen ก่อตั้ง LeRobot แพลตฟอร์ม AI สำหรับฝึกฝนหุ่นยนต์แบบโอเพนซอร์ส ซึ่งมีการตอบรับที่ดีจนนำมาสู่การซื้อกิจการครั้งนี้
Hugging Face บอกว่าการซื้อบริษัทผลิตหุ่นยนต์เข้ามา ทำให้บริษัทมีหุ่นยนต์ชื่อ Reachy 2 ซึ่งพัฒนาโดย Pollen ขาย โดย Reachy 2 เป็นหุ่นยนต์สำหรับการศึกษาวิจัย รองรับทั้งการมองเห็น-ฟังเสียง ราคาตัวละ 70,000 ดอลลาร์
ที่มา: Hugging Face