สัญญาณอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศบังกลาเทศไม่สามารถใช้งานได้ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ทำให้ตอนนี้บริการต่าง ๆ ถูกระงับเข้าสู่วันที่สี่ หลังจากเกิดเหตุการณ์ประท้วงรัฐบาลซึ่งมีการปะทะกันและมีผู้เสียชีวิต
รัฐมนตรีกระทรวงสารสนเทศของบังกลาเทศแถลงว่าอินเทอร์เน็ตที่ใช้งานไม่ได้ เป็นผลจากกลุ่มผู้ไม่หวังดีโดยเผาสายเคเบิ้ลหลายจุดในประเทศ ซึ่งรัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหานี้ อย่างไรก็ตามข้อมูลจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ บอกว่าการตัดอินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้นเป็นคำสั่งของรัฐบาลเอง
Alibaba เข้าซื้อกิจการทั้งหมดของ HungryNaki บริการเดลิเวอรีอาหารในบังกลาเทศ โดยไม่เปิดเผยมูลค่าของดีล ซึ่งดีลนี้เป็นการซื้อกิจการผ่าน Daraz อีคอมเมิร์ซจากปากีสถานที่ Alibaba เข้าซื้อกิจการไปเมื่อปี 2018
HungryNaki ก่อตั้งในปี 2013 ปัจจุบันให้บริการใน 5 เมืองของบังกลาเทศ มีจำนวนผู้ใช้งานราว 5 แสนคน ร้านอาหารในระบบกว่า 4 พันแห่ง เงินลงทุนก้อนใหม่นี้จะนำมาใช้ขยายโครงสร้างพื้นฐานของแพลตฟอร์ม รวมทั้งขยายตลาดสู่เมืองใหม่ ๆ เพิ่มเติม
สิ่งที่น่าสนใจของดีลนี้คือการขยายฐานของ Alibaba ที่ครอบคลุมภูมิภาคเอเชียใต้มากขึ้นผ่าน Daraz
รัฐบาลบังกลาเทศ โดยคณะกรรมการกำกับดูแลโทรคมนาคมได้สั่งปิด 3G และ 4G ซึ่งจะมีผลทันทีและจะเปิดอีกครั้งหลังจบการเลือกตั้งรัฐสภาในวันที่ 30 ธันวาคม
ทางรัฐบาลระบุว่า การปิด 3G และ 4G นี้ เนื่องจากเพื่อป้องกันข่าวลือและข้อมูลประชาสัมพันธ์ซึ่งจะส่งผลต่อการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง แต่มีหลายฝ่ายคาดการณ์ว่าคำสั่งของรัฐบาลมีโอกาสที่จะเป็นการทำเพื่อซ่อนเหตุผลบางอย่าง เช่นตัดช่องทางที่จะสนับสนุนการชุมนุมประท้วงของฝ่ายค้าน โดยก่อนหน้านี้บังกลาเทศก็เคยปิดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมือถือหรือบล็อกแอพสนทนาในช่วงการชุมนุมประท้วงมาบ้างแล้ว
กสทช. ประเทศบังกลาเทศ สั่งปิดเครือข่าย 3G/4G ในประเทศชั่วคราว เพื่อป้องกันการเผยแพร่ "ข้อมูลเท็จ" ในช่วงการเลือกตั้งใหญ่วันนี้ (30 ธันวาคม 2018)
การเลือกตั้งรอบนี้เป็นการขับเคี่ยวระหว่างนายกรัฐมนตรี Sheikh Hasina ที่อยู่ในตำแหน่งมา 2 สมัยนาน 10 ปี และต้องการนั่งเก้าอี้นายกเป็นรอบที่สาม กับพรรคฝ่ายค้านที่นำโดย Kamal Hossain อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
หากใครยังจำกันได้ ช่วงต้นปีที่ผ่านมาธนาคารกลางบังกลาเทศโดนแฮกซึ่งสูญเงินไปกว่า 81 ล้านดอลลาร์ ล่าสุดมีรายงานว่า อาจจะมีเจ้าหน้าที่ของธนาคารที่มีส่วนในการช่วยแฮกเกอร์ในการเข้าถึงระบบธนาคารครั้งนี้ด้วย
หัวหน้าฝ่ายสืบสวนของรัฐบาลบังกลาเทศที่ทำหน้าที่สืบคดีเรื่องนี้กล่าวว่า เรื่องนี้น่าจะมีเจ้าหน้าที่ธนาคารที่ประมาททำให้เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น 5 คน แต่ช่วงระหว่างการสืบสวนพบว่ามีเจ้าหน้าที่ธนาคารบางคนที่รู้เห็นและสร้างช่องโหว่ในการเชื่อมต่อระหว่างธนาคารและระบบหลักของ SWIFT
หลังการตีแผ่ข้อมูลเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ที่แฮคเกอร์เจาะระบบของธนาคารกลางบังคลาเทศจนสามารถขโมยเงิน 80 ล้านดอลลาร์ไปได้ บทวิเคราะห์และการแถลงข่าวจากองค์กรที่เกี่ยวข้องก็ทยอยมีออกมาเรื่อย ล่าสุด BAE บริษัทวิจัยด้านความปลอดภัยไซเบอร์จากสหราชอาณาจักรก็ออกมาชี้ถึงความเป็นไปได้ว่าแฮคเกอร์ใช้มัลแวร์เข้าช่วยในการเจาะซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องในงานนี้ ในขณะที่ SWIFT ซึ่งเป็นองค์กรกลางที่ดูแลการถ่ายโอนเงินระหว่างธนาคารข้ามประเทศก็ออกมาเผยเรื่องการตรวจพบมัลแวร์และมาตรการแก้ไขสถานการณ์
เมื่อเดือนก่อนเกิดการแฮคหลอกเอาเงินครั้งใหญ่ที่ผู้ก่อการหวังเอาเงินก้อนใหญ่นับพันล้านดอลลาร์ แต่ดันสะกดชื่อบัญชีผิดจึงถูกตรวจพบและยับยั้งความเสียหายไว้ได้ก่อน ตอนนี้ผลการสืบสวนโดยตำรวจก็เปิดเผยออกมาว่างานนี้ธนาคารกลางบังคลาเทศผิดพลาดมหันต์เพราะระบบการเชื่อมต่อไม่มี Firewall ไว้ป้องกันอะไรเลย
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคือแฮคเกอร์ได้เจาะเข้าเซิร์ฟเวอร์ของธนาคารกลางบังคลาเทศ และได้มาซึ่งสิทธิ์ในการใช้งานบริการของ SWIFT ซึ่งสามารถส่งคำร้องให้ Federal Reserve Bank ที่ New York โอนเงินไปยังบัญชีต่างๆ รวมเป็นมูลค่าเกือบพันล้านดอลลาร์ แต่เนื่องจากธนาคารในเยอรมนีที่เป็นทางผ่านของเงินสังเกตพบชื่อบัญชีที่สะกดไม่ถูกต้องจึงเกิดการตรวจสอบและยับยั้งการโอนเงินไว้ได้โดยสูญเงินไป 80 ล้านดอลลาร์เท่านั้น ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวก็มีการสืบสวนกันว่าแฮคเกอร์สามารถเข้าถึงระบบของธนาคารกลางบังคลาเทศได้อย่างไร
Samsung Z1 สมาร์ทโฟนราคาย่อมเยาพลัง Tizen ที่เปิดตัวในอินเดียไปเมื่อช่วงต้นปี ก่อนจะโดนรีวิวอัดยับว่าไม่มีอะไรดีกว่า Android ซักอย่าง แต่ยังพอมีบางประเทศที่ Z1 ทำผลงานได้ค่อนข้างดีอยู่
ประเทศที่ Z1 ทำผลงานได้ดีนั้นคือบังคลาเทศ จากรายงานของ Counterpoint ในไตรมาสแรกที่ผ่านมา สามารถขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของยอดขายสมาร์ทโฟนในบังคลาเทศได้สำเร็จ โดยซัมซุงเองก็ก้าวขึ้นเป็นเบอร์สองของยอดขายสมาร์ทโฟนในบังคลาเทศ ตามหลัง Symphony ที่เป็นแบรนด์ในประเทศอยู่พอสมควร
นอกจากในอินเดียแล้ว กูเกิลประกาศแผนจะขยายตลาดของ Android One อย่างเป็นทางการเพิ่มขึ้นในอีก 3 ประเทศใกล้เคียงคือเนปาล บังคลาเทศ และศรีลังกาครับ
ทั้งนี้กูเกิลยังไม่ได้ให้รายละเอียดว่าจะเปิดตัวใน 3 ประเทศนี้เมื่อใด แต่ที่แน่ๆ Symphony ผู้ให้บริการรายหนึ่งในบังคลาเทศเตรียมจะวางจำหน่ายสมาร์ทโฟน Android One ในเร็ววันนี้แล้ว
ที่มา - The Next Web
ตลาดมือถือเอเชียใต้ช่วงนี้ร้อนระอุ ช่วงเดียวกับที่ Android One บุกอินเดีย ฝั่งของ Mozilla ก็เดินหน้าบุกบังกลาเทศด้วย Firefox OS
Mozilla จับมือกับบริษัท Grameenphone บริษัทลูกของเครือ Telenor เจ้าของเดียวกับ dtac เปิดตัวมือถือรุ่น GoFox F15 ผลิตโดย Symphony Mobile บริษัทมือถือท้องถิ่นของบังกลาเทศ และตั้งราคาเพียง 60 ดอลลาร์หรือประมาณ 2,000 บาท
กลุ่มแฮกเกอร์ Bangladesh Cyber Army ได้ทำการขู่ประเทศอินเดียผ่าน YouTube ว่าจะทำการโจมตีระบบการเงินและตลาดหลักทรัพย์ของอินเดียอีกครั้ง เพื่อเป็นการเรียกร้องให้กองกำลังป้องกันแนวชายแดนของอินเดีย (BSF) หยุดเข่นฆ่าผู้บริสุทธิ์ชาวบังคลาเทศตามแนวชายแดน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ทางกลุ่ม Bangladesh Cyber Army ได้ทำการโจมตีเว็บไซต์สำคัญที่เกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์ด้วยวิธี DDoS ไปแล้วถึง 3 เว็บไซต์ โดยทั้งหมดล่มไปในช่วงเวลาที่มีการใช้งานหนาแน่น ทำให้ไม่สามารถดำเนินธุรกรรมใดๆ ได้เป็นเวลา 10 ชั่วโมง การโจมตีครั้งนี้อาจสร้างความเสียหายให้กับระบบการเงินในอินเดียอย่างรุนแรง ซึ่งอาจมีค่าเสียหายหลายล้านรูปีเลยทีเดียว
หน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมของบังกลาเทศ (BTRC) ออกมายืนยันอย่างเป็นทางการแล้วว่า จะออกใบอนุญาตโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ในประเทศได้ภายในมีนาคม 2552 ผ่านการประมูลแบบเปิด (open auction) หลังจากก่อนหน้านี้ BTRC เคยประกาศว่าจะออกใบอนุญาต 3G ได้ภายในปี 2551 แต่ก็เกิดความล่าช้า
ประธาน BTRC กล่าวว่า หลังจากที่มีการทดสอบโครงข่าย 3G ของอิริคสัน (Ericsson) แล้วเมื่อสิงหาคม ได้ประเมินมูลค่าของใบอนุญาต 3G ควรอยู่ที่ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 7,000 ล้านบาท)
เมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่านมา BTRC เคยอนุญาตให้คลื่นความถี่เพิ่มเติมแก่ผู้ให้บริการรายเดิม 3 รายด้วยเหตุผลมีจำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น โดยมีค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 204 ล้านเหรียญสหรัฐ