GSM Association
หลังแอปเปิลปล่อยอัพเดต iOS 18 ให้ผู้ใช้ทั่วไป สิ่งที่ตามมาคือโลก iPhone รองรับข้อความ RCS อย่างเป็นทางการ สามารถสื่อสารด้วยข้อความ RCS กับฝั่ง Android ได้แล้ว
GSM Association หรือ GSMA ในฐานะสมาคมด้านโทรคมนาคม จึงออกมาประกาศว่าจะผลักดันการสื่อสารด้วย RCS แบบเข้ารหัส end-to-end encryption หรือ E2EE ในขั้นถัดไป ซึ่งจะเป็นการเข้ารหัสข้อความที่ส่งข้ามแพลตฟอร์มได้ เพื่อยกระดับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ โดย GSMA จะหารือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมต่อไป
เว็บไซต์ MacRumors บอกว่าได้เห็นเอกสารภายในของแอปเปิล กำหนดนโยบายใหม่ให้ปฏิเสธการซ่อม iPhone เครื่องที่ถูกแจ้งว่าหาย
สมาคม GSMA ที่ดูแลมาตรฐานด้านโทรคมนาคม มีฐานข้อมูล GSMA Device Registry ที่เก็บเลขซีเรียลนัมเบอร์และ IMEI ของสมาร์ทโฟนทั่วโลก หากอุปกรณ์ชิ้นนั้นถูกแจ้งว่าหายหรือโดนขโมย GSMA จะอัพเดตลงในฐานข้อมูลนี้ เพื่อให้โอเปอเรเตอร์สามารถบล็อคการเข้าถึงเครือข่ายได้ เป้าหมายคือการลดประโยชน์ของสมาร์ทโฟนที่ถูกขโมยลง เนื่องจากขโมยไปก็ใช้งานไม่ได้นั่นเอง
ตามข่าวบอกว่า หากพนักงานซ่อมเครื่องของแอปเปิลเช็คกับระบบภายใน ที่เชื่อมกับฐานข้อมูลของ GSMA แล้วพบว่าเป็นเครื่องที่แจ้งหาย ให้ปฏิเสธการซ่อมทันที
ผู้จัดงาน Mobile World Congress (MWC) งานด้านโทรศัพท์มือถืองานใหญ่ประจำปีที่บาร์เซโลนา ประเทศสเปน ประกาศยืนยันการจัดงานในปีนี้ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน ถึง 1 กรกฎาคม หลังจากปีที่แล้วงานได้ยกเลิกไปจากการระบาดของโควิด-19 โดยจะจัดงานในรูปแบบเดิมคือให้ผู้ร่วมงานได้พบปะกันในสถานที่ (In-Person)
ทั้งนี้ GSM Association หรือ GSMA ผู้จัดงาน กล่าวว่าได้หารือกับหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดความเสี่ยงจากโควิด-19 เช่น การจำกัดจำนวนคนในแต่ละสถานที่ เพิ่มการรักษาระยะห่าง เพิ่มมาตรการความสะอาด รวมทั้งผู้เข้าร่วมงานต้องแสดงผลตรวจโควิดที่เป็นลบ และตรวจซ้ำทุก 72 ชั่วโมงด้วย
เว็บไซต์ the Telecoms รายงานอ้างอิงข้อมูลจากบริษัทที่ออกบูธ (exhibitor) 2 รายภายในงาน MWC 2020 ที่ถูกยกเลิกไปแล้ว ว่าไม่ได้รับเงินคืนหรือเงินชดเชยใด ๆ จากการยกเลิกงานดังกล่าว โดยทาง GSMA ผู้จัดงานอ้างเงื่อนไขข้อที่ 20.10 ในเงื่อนไขและข้อตกลง (T&C) ที่น่าจะเซ็นกันเอาไว้ก่อนเริ่มงาน
ข้อตกลงดังกล่าวระบุว่าผู้จัดงาน (GSMA) จะไม่รับผิดชอบความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ กรณีที่เกิดจากเหตุการณ์ที่เกินขอบเขตและการควบคุมของ GSMA อาทิ โรคระบาด, การหยุดงานประท้วง, ปรากฎการณ์ธรรมชาติ, ก่อการร้ายไปจนถึงสงคราม
GSM Association หรือ GSMA ผู้จัดงาน Mobile World Congress (MWC) ประกาศยกเลิกการจัดงานในปีนี้ จากเหตุระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีหลายบริษัทออกมาประกาศงดเข้าร่วมงาน
แถลงการณ์ของ GSMA ระบุว่าด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยทางสุขภาพในเมืองบาร์เซโลนา เมืองที่จัดงาน MWC ตลอดจนปัญหาข้อจำกัดในการเดินทางที่ประกาศก่อนหน้านี้ ทำให้ GSMA ไม่สามารถจัดงานได้เลย จึงตัดสินใจยกเลิกงานในปีนี้ โดย GSMA ยังคงแผนจัดงาน MWC ในปี 2021 ต่อไป
Intel, Vivo, NTT เป็นบริษัทชุดล่าสุดที่ประกาศไม่เข้าร่วมงาน MWC 2020 เนื่องจากปัญหาไวรัสโคโรนา ถัดจาก LG, Ericsson, NVIDIA, Amazon, Sony ที่ประกาศถอนตัวไปก่อนหน้านี้
จากปัญหาบริษัทยักษ์ใหญ่เริ่มถอนตัวไม่เข้าร่วมงาน ทำให้สมาคม GSMA ในฐานะผู้จัดงานต้องหาวิธีรับมือ โดยสื่อสเปน El Periódico รายงานว่า GSMA จะประชุมกันในวันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์นี้ เพื่อหารือกันว่าจะยกเลิกงานหรือไม่
จากการที่หลายบริษัทประกาศไม่เข้าร่วมงาน Mobile World Congress 2020 ที่บาร์เซโลนาช่วงปลายเดือนนี้ เนื่องจากกังวลจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ทำให้ทาง GSMA ผู้จัดงาน ประกาศออกมาตรการดูแลผู้เข้าร่วมงานแล้ว
โดยผู้ที่เดินทางมาจากหูเป่ย์จะไม่รับอนุญาตให้เข้าร่วมงาน ส่วนผู้ที่เดินทางจากจีน จะต้องแสดงข้อมูลเช่น หนังสือเดินทาง หรือใบตรวจสุขภาพ ว่าได้ออกนอกประเทศจีนมาแล้วเกิน 14 วัน ส่วนภายในงานจะมีเครื่องวัดอุณหภูมิติดตั้ง รวมทั้งขอให้ผู้ร่วมงานยืนยันว่าไม่เคยสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ
GSMA (Global System for Mobile Communications) องค์กรกำกับดูแลมาตรฐานการสื่อสารคาดว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนจะเป็นผู้นำด้านโครงข่าย 5G ภายในปี 2025 ด้วยจำนวนผู้ใช้ราว 600 ล้านคน นับเป็นส่วนแบ่งราว 40% ของจำนวนผู้ใข้ทั่วโลก
Sihan Bo Chen หัวหน้าของ GSMA ของสาธารณรัฐประชาชนจีนได้กล่าวกับสำนักข่าว China Xinhua ว่า ปริมาณผู้ใช้ 5G ทั่วโลกจะเพิ่มจาก 1.4 พันล้านคนเป็น 1.6 พันล้านคนในปี 2025 โดยปริมาณผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นจะมาจากแผนผลักดันของเครือข่ายผู้ให้บริการมือถือที่ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงคลื่น 5G ได้ในราคาที่ถูกลง
ท่ามกลางการประมูลคลื่น 700Mhz ที่ใกล้เข้ามา รวมถึงคลื่นความถี่สำหรับ 5G ในอนาคต GSMA หรือสมาคม GSM ได้ออกเอกสาร "แนวปฏิบัติที่ดีสำหรับการประมูล" ก่อนการประมูลคลื่นในไทย รวมถึงเตือนด้วยว่า การจัดประมูลคลื่นความถี่ที่ไม่มีประสิทธิภาพจะส่งผลเสียต่อผู้บริโภคโดยตรง
เอกสารข้างต้นได้แสดงข้อกังวลหลักๆ หลายข้อจากการประมูล 4G และ 5G ทั่วโลก โดยเฉพาะปัญหาจากการที่รัฐบาลต่างๆ บีบให้ราคาคลื่นความถี่สูงขึ้น หรือการตั้งราคาเริ่มต้นการประมูลที่สูงมาก สร้างความเสี่ยงในการจำกัดการลงทุนเพื่อขยายเครือข่ายในอนาคต ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้บริโภค การจำกัดจำนวนคลื่นความถี่ที่ผู้ประกอบการสามารถมีได้ด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งสัดส่วน การคัดเลือกกลุ่มคลื่นความถี่สำหรับการประมูลที่ไม่เหมาะสม
GSMA สมาคมของโอเปอเรเตอร์และผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่าย เผยรายงานเรื่องการส่งข้อมูลข้ามพรมแดน หรือ Regional Privacy Frameworks and Cross-Border Data Flows ระบุว่าการปล่อยให้ข้อมูลไหลเวียนอย่างเป็นอิสระ จะช่วยเพิ่มจีดีพีโตขึ้น 10.1% คิดเป็นมูลค่า 2.8 ล้านล้านดอลลาร์ ช่วยส่งเสริมนวัตกรรมและก่อให้เกิดการพัฒนาทางเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐานและบริการใหม่ๆ
อย่างไรก็ตาม หลายประเทศยังมีการจำกัดการไหลเวียนข้อมูลข้ามพรมแดนด้วยเหตุผลหลายอย่าง ได้แก่ กังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล, กังวลเรื่องการสอดแนมจากต่างชาติ และ ความมั่นคงของชาติ
ตั้งแต่การประมูลคลื่น 900 เมื่อปี 2016 สืบเนื่องมาจนถึงการประมูลคลื่น 1800 ปีนี้ ประเด็นที่ถูกพูดถึงที่สุดคงหนีไม่พ้นเรื่องราคาคลื่นความที่ถี่ โดยเฉพาะการประมูลปีนี้ที่ กสทช. ตั้งราคาตั้งต้นเท่ากับราคาสุดท้ายของคราวก่อน ซึ่งสูงมากและหากยิ่งประมูล ราคาก็จะสูงขึ้นไปอีกนั้น
ทว่าประเด็นราคาคลื่นความถี่ที่สูงนี้ไม่ได้มีแต่เฉพาะในไทยเท่านั้น เมื่อ GSMA สมาคมที่ดูแลเรื่องการสื่อสาร ได้เปิดเผยรายงานการววิจัยที่พบว่า ราคาคลื่นความถี่ในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่แล้วเฉลี่ยสูงเหมือนกัน และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศพัฒนาแล้วด้วยซ้ำ
จากที่ทาง GSMA Intelligence เผยข้อมูลว่าปัจจุบันมีผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือแล้วไม่ต่ำกว่า 5 พันล้านราย ล่าสุดรายงานของ GSMA หัวข้อ Mobile Economy: Asia Pacific คาดว่าภายในปี 2020 จะมีผู้ใช้สมาร์ทโฟน (new mobile subscribers) เพิ่มขึ้นราว 753 ล้านคน
ในจำนวนนั้นจะมีผู้ใช้ชาวอินเดียอยู่ราว 206 ล้านคนคิดเป็น 27% และจีนราว 155 ล้านคน คิดเป็นราว 21% ขณะที่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จากที่มีอยู่ราว 2.7 พันล้านคนเมื่อสิ้นปีที่แล้ว ก็น่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.1 พันล้านคนภายใน 2020 ด้วย คิดเป็นสัดส่วนราว 2 ใน 3 ของจำนวนที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก
GSMA องค์กรกำกับดูแลมาตรฐานการสื่อสารร่วมกับ China Academy of Information and Communications Technology (CAICT) ได้ร่วมกันศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการคาดการณ์สภาพตลาดและการใช้งานเทคโนโลยี 5G ทั้งฝั่งผู้บริโภคและองค์กรในเอเชีย
ปรากฎว่าจีน ถูกคาดว่าจะเป็นตลาด 5G ที่ใหญ่ที่สุด ด้วยจะมีอุปกรณ์เชื่อมต่อ 5G ไม่ต่ำกว่า 428 ล้านอุปกรณ์ ภายในปี 2025 คิดเป็น 39% ของการเชื่อมต่อกว่า 1.1 พันล้านการเชื่อมต่อทั่วโลก ภายใต้กรอบเวลาดังกล่าว สาเหตุหลักๆ มาจากความร่วมมือกับโอเปอเรเตอร์ในจีน ที่ตอนนี้ร่วมกันพัฒนาและเตรียมการก้าวไปสู่เทคโนโลยี 5G ร่วมกับรัฐบาลและองค์กรต่างๆ
GSMA Intelligence ฝ่ายวิจัยของ GSMA องค์กรดูแลมาตรฐาน GSM เผยตัวเลขจำนวนคนที่มีโทรศัพท์มือถือทั่วโลกที่ลงทะเบียนเชื่อมต่อสัญญาณแบบ unique (1 subscription ต่อ 1 คน) เกิน 5 พันล้านคนแล้ว นับเป็น 2/3 ของประชากรทั้งโลกที่ถูกประมาณว่ามีอยู่ราว 7.5 พันล้านคน
ขณะที่โทรศัพท์ที่ลงทะเบียนมีทั้งหมด 8.1 พันล้านเครื่อง (1 คนมีมากกว่า 1 เครื่อง) ซึ่งรวมการเชื่อมต่อแบบ M2M ด้วย อย่างไรก็ตาม GSMA คาดว่าโทรศัพท์มือถือ (ไม่รวม M2M) มีการเชื่อมต่อสัญญาณจริงๆ ในปัจจุบัน มีอยู่ราวๆ 7.7 พันล้านเครื่องเท่านั้น
GSMA หน่วยงานที่กำกับดูแลมาตรฐาน GSM รวมถึงเป็นหนึ่งในผู้จัดงาน Mobile World Conference ได้รวบรวมข้อมูลผลิตภัณฑ์จากงาน MWC เพื่อมอบรางวัล Global Mobile Award หรือ GloMo เป็นประจำทุกปี ซึ่งปีนี้ผู้ที่ได้รับสมาร์ทโฟนยอดเยี่ยมประจำปี 2016 (Best Smartphone 2016) ที่ผ่านมาตกเป็นของ Galaxy S7 edge
ส่วน Xperia XZ Premium ก็คว้ารางวัลสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ยอดเยี่ยม (Best New Smartphone) จากงานนี้ไปครองเช่นกัน ทางด้าน Amazon เองก็ได้รางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยม (Disruptive Device Innovation Award) จาก Amazon Echo ที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จในปีที่แล้ว
รางวัลอื่นๆ ดูได้จากที่มาครับ
ปีที่แล้วเราเห็นข่าว กูเกิลซื้อ Jibe Mobile เพื่อผลักดันการส่งข้อความแบบ RCS บน Android ล่าสุดสมาคม GSMA พร้อมโอเปอเรเตอร์รายใหญ่ทั่วโลก ประกาศความร่วมมือกับกูเกิลเพื่อผลักดัน RCS เต็มตัว
Rich Communication Services (RCS) เป็นมาตรฐานการส่งข้อความแบบใหม่ที่มาแทน SMS โดยมีฟีเจอร์สมัยใหม่อย่างแชทกลุ่ม วิดีโอคอลล์ แชร์ไฟล์ ฯลฯ ความแตกต่างของ RCS กับแอพแชทในปัจจุบันคือ RCS สามารถคุยได้ข้ามโอเปอเรเตอร์-ข้ามค่าย (ถ้าหากโอเปอเรเตอร์รองรับ)
สมาคม GSMA ออกสเปกซิมการ์ดแบบใหม่ที่ช่วยให้เจ้าของซิมสามารถย้ายอุปกรณ์ได้โดยไม่ต้องใช้ซิม ซิมแบบนี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Consumer Remote SIM Provisioning (RSP) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า eSIM
eSIM จะถูกฝังมาในอุปกรณ์เลย ถอดเปลี่ยนเองไม่ได้ เหมาะสำหรับอุปกรณ์แบบสวมใส่อย่างสมาร์ทวอทช์ หรือสายรัดข้อมือฟิตเนส ข้อดีของมันคือขนาดเล็กมากเพราะเป็นชิปเพียงตัวเดียว ไม่เปลืองพื้นที่แบบซิมการ์ดดั้งเดิม ผู้ใช้งานสามารถสั่ง activate ซิมเพื่อใช้งานกับเบอร์โทรที่ตัวเองมีอยู่แล้วได้เลย (ออกแบบมาใช้กับกรณี 1 เบอร์หลายเครื่องเป็นหลัก)
แอปเปิลกับซัมซุงกำลังเข้าเจรจากับ GSMA หน่วยงานที่กำกับดูแลมาตรฐาน GSM เกี่ยวกับการทำซิมการ์ดอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-SIM Card ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานมือถือสามารถเลือกเปลี่ยนเครือข่ายได้ตามใจชอบเมื่อใดก็ได้โดยที่ไม่ต้องถอดเปลี่ยนซิมการ์ดใหม่แต่อย่างใด
โดยทางฝั่งผู้ให้บริการเครือข่ายที่คาดว่าจะเห็นด้วยกับโครงการนี้ ได้แก่ AT&T, Deutsche Telekom, Etisalat, Hutchison Whampoa, Orange, Telefonica และ Vodafone
แม้ว่าจะมีการเจรจากันแล้วก็ตาม ตัวแทนจาก GSMA บอกว่าขั้นตอนต่อไปก็คือการหาข้อตกลงร่วมกัน จากนั้นก็ต้องมีการกำหนดสเปค ซึ่งกว่าจะถึงขั้นนั้นก็จะต้องใช้เวลามากกว่าหนึ่งปี
Mozilla ยังเดินหน้าขยายพื้นที่ Firefox OS อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดประกาศบุกทวีปแอฟริกาแล้ว โดยจับมือกับโอเปอเรเตอร์รายใหญ่ 3 รายคือ Airtel, MTN South Africa และ Tigo แต่ยังไม่ประกาศแผนว่าจะขายมือถือ Firefox OS ในประเทศใดบ้าง และขายเมื่อไร
ปัจจุบัน Firefox OS มีสินค้าวางขายใน 25 ประเทศ และถ้านับเป็นทวีปก็คือ เอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย อเมริกาใต้/ละตินอเมริกา (ยังขาดแค่อเมริกาเหนือเท่านั้น)
นอกจากนี้ Mozilla ยังประกาศความร่วมมือกับกลุ่ม GSMA สมาคมโอเปอเรเตอร์ทั่วโลกที่มีสมาชิกกว่า 800 บริษัท เพื่อทำโครงการสนับสนุนสมาร์ทโฟนราคาถูกพร้อมเนื้อหาที่เหมาะกับคนในท้องถิ่นในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า ตอนนี้โครงการนำร่องเริ่มที่บังกลาเทศ เคนยา บราซิล อินเดียแล้ว
บริษัทเว็บอย่าง Facebook สมัครเข้าเป็นสมาชิกของ GSMA (GSM Associatation) สมาคมของโอเปอเรเตอร์และผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่าย
ตัวแทนของ Facebook ระบุว่าการเข้าร่วม GSMA ครั้งนี้เป็นเพราะบริษัทต้องการผลักดันวงการอุปกรณ์พกพา และก็พยายามหาเวทีในการทำงานร่วมกับบริษัทอื่นๆ โดยเฉพาะเหล่าโอเปอเรเตอร์ทั้งหลาย ส่วนฝั่งของ GSMA เองก็ออกมาแสดงความยินดีที่บริษัทชื่อดังอย่าง Facebook เข้าร่วมเป็นสมาชิก
ในอนาคตเราอาจเห็น Facebook เริ่มไปออกบูธหรือจัดเวทีในงาน Mobile World Congress งานแสดงมือถือใหญ่ประจำปีที่จัดโดย GSMA ก็เป็นได้
ที่มา - FierceWireless
รายงานข่าวจากเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ The New York Times ระบุว่า บริษัทวิจัยด้านความปลอดภัยในประเทศเยอรมนีตรวจพบช่องโหว่ในการเข้ารหัสของซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือที่ใช้การเข้ารหัสแบบ D.E.S. (Data Encryption Standard) ที่ใช้มาตั้งแต่ช่วงปี 1970 ซึ่งทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถดึงเอารหัสดิจิตอลของซิมการ์ดจำนวน 56 หลักออกมา และสามารถใช้ซิมการ์ดนั้นเสมือนว่าเป็นของตนเองได้ทันที
Neelie Kroes รองประธานคณะกรรมการสหภาพยุโรป (EC) ได้ออกมาบอกว่าเธออยากเห็นการยกเลิกค่าโรมมิ่งเครือข่ายมือถือภายนสหภาพยุโรปทั้งหมด ในช่วงแรกของปี 2014 โดยเธอได้พูดกลางสภาสหภาพยุโรปว่า อยากให้ตัวแทนสมาชิกสภาสหภาพยุโรปทุกคน กลับไปบอกประชาชนในพื้นที่ตัวเอง ว่าพวกเขาจะได้เห็นวันที่ไม่มีค่าบริการโรมมิ่งอีกต่อไป
เธอยังบอกอีกว่าก่อนหน้านี้ที่สหภาพยุโรป สามารถบังคับให้ผู้ให้บริการลดค่าโรมมิ่งมาอยู่ที่ 0.70 ยูโรต่อเมกะไบต์ได้ด้วยกฎหมายที่เพิ่งบังคับใช้ในปี 2012 ถือว่าเป็นความสำเร็จที่แม้แต่ผู้ที่ไม่ชอบสหภาพยุโรปยังต้องยอมรับว่า EU ทำได้ดี
ก่อนหน้านี้ได้มีข่าวลือออกมาว่าแอปเปิลกำลังหาวิธีที่จะผลิตระบบซิมการ์ดแบบใหม่สำหรับไอโฟน โดยตัวซิมการ์ดนั้นจะ Built-in ลงไปในตัวเครื่อง จะทำให้ผู้ใช้สามารถที่จะเลือกใช้ผู้ให้บริการเครือข่ายรายใดเมื่อใดก็ได้ โดยไม่ต้องที่จะติดต่อกับศูนย์บริการเครือข่ายโดยตรง โดยทาง GSM Association เองก็ได้ออกมาแสดงความเห็นสนับสนุนเทคโนโลยีนี้ ด้วยการเริ่มการศึกษาหาวิธีที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้จริงได้อย่างใด โดยจะต้องขอความร่วมมือจากตัวแทนผู้ให้บริการเครือข่าย GSM รายอื่น ๆ เข้ามาช่วยในการพัฒนาระบบนี้ด้วย
เมื่อเร็วๆนี้ สมาคม จีเอสเอ็ม (GSMA) ซึ่งเป็นองค์กรด้านอุตสาหกรรมสื่อสารไร้สายระดับโลกองค์กรหนึ่ง ได้ตกลงเลือกนาย Alexander Izosimov ซึ่งเป็น CEO ของกลุ่มบริษัท VimpelCom ดำรงตำแหน่งประธาน GSMA คนใหม่ โดยมีวาระ 2 ปี ในขณะที่นาย Bill Hague ซึ่งเป็นรองประธานอาวุโสของบริษัท AT&T ได้รับเลือกเป็นรองประธานสมาคมฯ
หน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมของบังกลาเทศ (BTRC) ออกมายืนยันอย่างเป็นทางการแล้วว่า จะออกใบอนุญาตโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ในประเทศได้ภายในมีนาคม 2552 ผ่านการประมูลแบบเปิด (open auction) หลังจากก่อนหน้านี้ BTRC เคยประกาศว่าจะออกใบอนุญาต 3G ได้ภายในปี 2551 แต่ก็เกิดความล่าช้า
ประธาน BTRC กล่าวว่า หลังจากที่มีการทดสอบโครงข่าย 3G ของอิริคสัน (Ericsson) แล้วเมื่อสิงหาคม ได้ประเมินมูลค่าของใบอนุญาต 3G ควรอยู่ที่ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 7,000 ล้านบาท)
เมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่านมา BTRC เคยอนุญาตให้คลื่นความถี่เพิ่มเติมแก่ผู้ให้บริการรายเดิม 3 รายด้วยเหตุผลมีจำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น โดยมีค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 204 ล้านเหรียญสหรัฐ