Dynabook ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ Dynabook Portege X30W-J โน้ตบุ๊กอีกรุ่นในไลน์ Business Premium ที่ประสานความเบา ความทนทาน และประสิทธิภาพไว้ด้วยกัน พร้อมนำพาธุรกิจเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างคล่องตัว
สเปกภายในมาพร้อมซีพียู Intel Core 11th Gen เทคโนโลยีล่าสุดของ Intel พร้อมมาตรฐานแพลตฟอร์ม Intel Evo ที่รับรองว่าตัวเครื่องมาพร้อมความบางเบา ทำงานได้อย่างรวดเร็วเมื่อเปิดหน้าจอ และมีอายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่ยาวนาน สูงสุดถึง 15 ชั่วโมง
Dynabook แบรนด์โน้ตบุ๊กสายธุรกิจที่หลายๆ คนอาจจะยังไม่คุ้น เพราะเพิ่งรีแบรนด์มาจาก Toshiba Client Solutions หลัง SHARP เข้าถือหุ้นธุรกิจฝั่ง PC ของ Toshiba ในช่วงกลางปี 2018 จึงเปลี่ยนชื่อโน้ตบุ๊กและแท็บเล็ตสายธุรกิจเป็นชื่อนี้ ไลน์ย่อยของ Dynabook แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ
Toshiba ขายธุรกิจโน้ตบุ๊กให้เพื่อนร่วมชาติ Sharp ในปี 2018 โดย Sharp เลือกใช้แบรนด์ใหม่ Dynabook ทำตลาดแทน
แต่ Toshiba ยังมีหุ้นเหลืออยู่ 19.9% ในบริษัท Dynabook Inc. ซึ่งล่าสุด Toshiba ประกาศขายหุ้นก้อนนี้ให้กับ Sharp แล้ว (ตามเงื่อนไขตอนปี 2018 ที่ Sharp มีสิทธิซื้อหุ้นก้อนที่เหลือเพิ่มหรือ call option) ตอนนี้ Dynabook จึงมีสถานะเป็นบริษัทลูกของ Sharp แล้ว 100% และถือว่า Toshiba ถอนตัวออกจากธุรกิจโน้ตบุ๊กอย่างเป็นทางการ
ที่มา - Toshiba, The Register
จากที่ Sharp Thailand ประกาศนำโน้ตบุ๊กแบรนด์ Dynabook (Toshiba เดิม) เข้ามาทำตลาดไทย วันนี้มีรายละเอียดแล้วว่านำสินค้ามาขาย 3 รุ่น ได้แก่
หลายคนอาจคุ้นเคยโน้ตบุ๊กแบรนด์ Toshiba ที่เคยมาทำตลาดในบ้านเราอยู่ช่วงหนึ่ง (เช่น รุ่นบางเบา Portégé) แต่เมื่อ Toshiba ประสบปัญหาทางธุรกิจอย่างหนักในช่วงปี 2015 ทำให้ธุรกิจหลายส่วนหยุดชะงัก และจบด้วยการขายบางธุรกิจออกไปเพื่อลดการขาดทุน
ชะตากรรมของธุรกิจโน้ตบุ๊กของ Toshiba จบลงด้วยการขายให้ Sharp เพื่อนร่วมชาติในปี 2018 โดย Sharp ในฐานะเจ้าของใหม่เลือกใช้แบรนด์ Dynabook ทำตลาด แทนการบอกว่าเป็น Sharp หรือ Toshiba ตรงๆ (รีแบรนด์ในปี 2019) และเลือกทำตลาด Dynabook ในบางประเทศเท่านั้น เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า Sharp อยู่ในขั้นตอนเจรจาปิดดีล เพื่อซื้อส่วนธุรกิจพีซีทั้งหมดของ Toshiba ที่มูลค่าราว 5,000 ล้านเยน หรือประมาณ 1,500 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์นี้
Sharp คาดว่าดีลนี้จะทำให้บริษัทซึ่งถอนตัวจากธุรกิจพีซีไปตั้งแต่เมื่อปี 2010 จะกลับเข้าสู่ตลาดได้อีกครั้ง เนื่องจากตอนนี้มี Foxconn เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ และ Foxconn เองก็รับจ้างประกอบพีซีให้กับผู้ผลิตรายอื่นอยู่แล้ว ขณะเดียวกันธุรกิจพีซีก็เป็นธุรกิจที่ขาดทุนสะสมของ Toshiba การขายกิจการออกไปก็จะช่วยให้ฐานะการเงินบริษัทดีขึ้น
Toshiba ชี้แจงว่าบริษัทยังประเมินทางเลือกหลายอย่างสำหรับธุรกิจพีซี รวมทั้งมีการเจรจากับผู้สนใจซื้อกิจการบางรายอยู่จริง